ASTVผู้จัดการรายวัน- คนใช้เบนซิน-แก๊สโซฮอล์โดนอีก“กบง.”รีดเงินโปะกองทุนน้ำมันฯใช้หนีเก่า70สตางค์-1 บาทต่อลิตทำให้ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ลดได้แค่ 0.30บาทต่อลิตรมีผล 7 ส.ค. ขณะที่สถาบันปิโตรเลียมแนะปฏิรูปพลังงานยึดหลักประสิทธิภาพเชื้อเพลิงเหมือนสหรัฐฯหลังโครงสร้างราคาไทยเพี้ยนหนักดึงเงินคนใช้เบนซินโปะ กางผลศึกษา LPG ขนส่งและ NGV ต้องมีราคาขึ้นจากขณะนี้อีกเท่าตัว
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเสรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยหลังเป็นประธาน คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) วันที่ 6 ส.ค. ว่า กบง. เห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ขึ้น 1 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 ขึ้น 0.70 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ผลการจัดเก็บดังกล่าวทำให้การเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯเป็นดังนี้ เบนซิน 95 จากเดิม 10.60 บาท/ลิตรเป็น 11.60 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 (E10) เดิม 3.90 เป็น 4.60 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล 91 (E10) เดิม1.80 เป็น 2.50บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์อี 20 เดิมอุดหนุน 0.45 เป็นเก็บเพิ่ม 0.25 บาท/ลิตร อี 85 เดิมอุดหนุน 11 เป็นเหลืออุดหนุน 10 บาท/ลิตร และดีเซลคงเดิมที่เก็บ 1.30 บาท/ลิตร และส่งผลให้กองทุนฯมีรายรับเพิ่มเดือนละ 500 ล้านบาทจากฐานะวันที่ 3 ส.ค.ติดลบ 8,795 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้กบง.ได้มีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเมื่อ 30 ก.ค.กลุ่มเบนซินทุกชนิดไปแล้ว 0.60 บาทต่อลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ค้าน้ำมันนำโดยบมจ.ปตท.และบมจ.บางจากได้แจ้งปรับลดราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลง 0.30 บาทต่อลิตรมีผลตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค.เป็นต้นไป ส่วนดีเซลราคาคงเดิม หลังกบง.ได้มีมติเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันแล้วแต่เนื่องจากค่าการตลาดยังสูงอยู่
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวในการบรรยายทางวิชาการเรื่อง "ราคาน้ำมันและก๊าซภาคขนส่ง ความสมดุลอยู่ที่ไหน" ว่า ปัจจุบันโครงสร้างราคาพลังงานของไทยไม่สะท้อนตามค่าความร้อนหรือประสิทธิภาพเชื้อเพลิงที่แท้จริงแต่ละประเภทซึ่งสหรัฐอเมริกาจะยึดหลักการนี้เป็นสำคัญทำให้ราคาตามประสิทธิภาพเชื้อเพลิงที่เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ ดีเซล เบนซิน แอลพีจี และเอ็นจีวี ราคาจะไล่จากสูงไปหาต่ำโดยเอ็นจีวีจะต่ำกว่าปกติกว่าชนิดอื่นๆ เท่านั้นแต่ของไทยกลับเพี้ยนไปที่เบนซินกลับสูงกว่ามาก ขณะที่แอลพีจีและเอ็นจีวีก็ต่ำกว่ามาก
“ ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงที่ให้ค่าพลังสูงสุด ราคาควรจะสูงสุดแต่ของไทยกลับไม่ใช่ ซึ่งหากไทยยังคงราคาแอลพีจีและเอ็นจีวีที่ต่ำเช่นนี้ต่อไปโอกาสในการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุนก็จะยิ่งมีมากขึ้นทั้งที่รัฐเองก็มีนโยบายต้องการที่จะลดการนำเข้าแอลพีจีก็คงจะทำได้ยาก เช่นเดียวกับการขยายการใช้เอ็นจีวีก็ทำยากเช่นกันหากไม่ปรับราคาเพิ่มเพื่อให้การใช้มีประสิทธิภาพ”นายศิริกล่าว
ทั้งนี้ สถาบันปิโตรเลียมฯ ได้ศึกษาร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเน้นเชื้อเพลิงด้านขนส่ง พบว่าหากภาครัฐต้องการอุดหนุนราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรเช่นปัจจุบัน และสนับสนุนให้การใช้พลังงานของประเทศเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเช่นเดิมด้วยนั้นกลุ่มเบนซินควรลดราคาลงทั้งระบบ อาทิ เบนซิน 95 ลดจาก 48.75 บาท เป็นประมาณ 27.74บาทต่อลิตร ส่วนก๊าซต้องปรับราคาขึ้น โดยแอลพีจีต้องปรับจาก 21.38 บาท เป็น 42.52 บาทต่อกิโลกรัม เอ็นจีวีปรับขึ้นจาก 10.50 บาท เป็น 21.80 บาทต่อกิโลกรัม
แต่หากภาครัฐต้องการยึดโยงกับราคากลุ่มเบนซินที่ประเทศไทยใช้มากที่สุด คือ แก๊สโซฮอลล์ 95 ที่ปัจจุบันราคา 40.23 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซ รวมทั้งกลุ่มเบนซินอื่นๆ จะปรับขึ้น ยกเว้นเบนซิน 95 จะลดลงจาก 48.75 บาท เหลือ 41.44 บาทต่อลิตร ดีเซลจะเพิ่มขึ้นเป็น 45.44 บาทต่อลิตร / แอลพีจีปรับเพิ่มเป็น 64.78 บาทต่อกิโลกรัม / เอ็นจีวีจะปรับเป็น 33.13 บาทต่อกิโลกรัม
"หากภาครัฐยึดตามราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ที่ไม่เสียภาษีเชื้อเพลิงอื่นๆก็ต้องไม่เสียภาษีเช่นกัน รัฐก็จะได้รายได้ลดลง ซึ่งยอมรับว่า หากปรับขึ้นตามโครงสร้างดังกล่าว ค่าครองชีพอาจจะต้องปรับเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว แต่ผลดีคือจะไม่มีการสนับสนุนข้ามประเภทจากผู้ใช้เบนซินไปอุดหนุนผู้ใช้แอลพีจี ขณะที่การอุดหนุนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่ให้ได้รับผลกระทบ ภาครัฐก็ควรจะจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจน ส่วนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงควรต้องมีอยู่ต่อไปเพื่อดูแลเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพราคาพลังงาน”นายศิริกล่าว
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเสรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยหลังเป็นประธาน คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) วันที่ 6 ส.ค. ว่า กบง. เห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ขึ้น 1 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 ขึ้น 0.70 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ผลการจัดเก็บดังกล่าวทำให้การเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯเป็นดังนี้ เบนซิน 95 จากเดิม 10.60 บาท/ลิตรเป็น 11.60 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 (E10) เดิม 3.90 เป็น 4.60 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล 91 (E10) เดิม1.80 เป็น 2.50บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์อี 20 เดิมอุดหนุน 0.45 เป็นเก็บเพิ่ม 0.25 บาท/ลิตร อี 85 เดิมอุดหนุน 11 เป็นเหลืออุดหนุน 10 บาท/ลิตร และดีเซลคงเดิมที่เก็บ 1.30 บาท/ลิตร และส่งผลให้กองทุนฯมีรายรับเพิ่มเดือนละ 500 ล้านบาทจากฐานะวันที่ 3 ส.ค.ติดลบ 8,795 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้กบง.ได้มีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเมื่อ 30 ก.ค.กลุ่มเบนซินทุกชนิดไปแล้ว 0.60 บาทต่อลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ค้าน้ำมันนำโดยบมจ.ปตท.และบมจ.บางจากได้แจ้งปรับลดราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลง 0.30 บาทต่อลิตรมีผลตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค.เป็นต้นไป ส่วนดีเซลราคาคงเดิม หลังกบง.ได้มีมติเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันแล้วแต่เนื่องจากค่าการตลาดยังสูงอยู่
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวในการบรรยายทางวิชาการเรื่อง "ราคาน้ำมันและก๊าซภาคขนส่ง ความสมดุลอยู่ที่ไหน" ว่า ปัจจุบันโครงสร้างราคาพลังงานของไทยไม่สะท้อนตามค่าความร้อนหรือประสิทธิภาพเชื้อเพลิงที่แท้จริงแต่ละประเภทซึ่งสหรัฐอเมริกาจะยึดหลักการนี้เป็นสำคัญทำให้ราคาตามประสิทธิภาพเชื้อเพลิงที่เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ ดีเซล เบนซิน แอลพีจี และเอ็นจีวี ราคาจะไล่จากสูงไปหาต่ำโดยเอ็นจีวีจะต่ำกว่าปกติกว่าชนิดอื่นๆ เท่านั้นแต่ของไทยกลับเพี้ยนไปที่เบนซินกลับสูงกว่ามาก ขณะที่แอลพีจีและเอ็นจีวีก็ต่ำกว่ามาก
“ ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงที่ให้ค่าพลังสูงสุด ราคาควรจะสูงสุดแต่ของไทยกลับไม่ใช่ ซึ่งหากไทยยังคงราคาแอลพีจีและเอ็นจีวีที่ต่ำเช่นนี้ต่อไปโอกาสในการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุนก็จะยิ่งมีมากขึ้นทั้งที่รัฐเองก็มีนโยบายต้องการที่จะลดการนำเข้าแอลพีจีก็คงจะทำได้ยาก เช่นเดียวกับการขยายการใช้เอ็นจีวีก็ทำยากเช่นกันหากไม่ปรับราคาเพิ่มเพื่อให้การใช้มีประสิทธิภาพ”นายศิริกล่าว
ทั้งนี้ สถาบันปิโตรเลียมฯ ได้ศึกษาร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเน้นเชื้อเพลิงด้านขนส่ง พบว่าหากภาครัฐต้องการอุดหนุนราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรเช่นปัจจุบัน และสนับสนุนให้การใช้พลังงานของประเทศเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเช่นเดิมด้วยนั้นกลุ่มเบนซินควรลดราคาลงทั้งระบบ อาทิ เบนซิน 95 ลดจาก 48.75 บาท เป็นประมาณ 27.74บาทต่อลิตร ส่วนก๊าซต้องปรับราคาขึ้น โดยแอลพีจีต้องปรับจาก 21.38 บาท เป็น 42.52 บาทต่อกิโลกรัม เอ็นจีวีปรับขึ้นจาก 10.50 บาท เป็น 21.80 บาทต่อกิโลกรัม
แต่หากภาครัฐต้องการยึดโยงกับราคากลุ่มเบนซินที่ประเทศไทยใช้มากที่สุด คือ แก๊สโซฮอลล์ 95 ที่ปัจจุบันราคา 40.23 บาทต่อลิตร ราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซ รวมทั้งกลุ่มเบนซินอื่นๆ จะปรับขึ้น ยกเว้นเบนซิน 95 จะลดลงจาก 48.75 บาท เหลือ 41.44 บาทต่อลิตร ดีเซลจะเพิ่มขึ้นเป็น 45.44 บาทต่อลิตร / แอลพีจีปรับเพิ่มเป็น 64.78 บาทต่อกิโลกรัม / เอ็นจีวีจะปรับเป็น 33.13 บาทต่อกิโลกรัม
"หากภาครัฐยึดตามราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ที่ไม่เสียภาษีเชื้อเพลิงอื่นๆก็ต้องไม่เสียภาษีเช่นกัน รัฐก็จะได้รายได้ลดลง ซึ่งยอมรับว่า หากปรับขึ้นตามโครงสร้างดังกล่าว ค่าครองชีพอาจจะต้องปรับเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว แต่ผลดีคือจะไม่มีการสนับสนุนข้ามประเภทจากผู้ใช้เบนซินไปอุดหนุนผู้ใช้แอลพีจี ขณะที่การอุดหนุนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่ให้ได้รับผลกระทบ ภาครัฐก็ควรจะจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจน ส่วนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงควรต้องมีอยู่ต่อไปเพื่อดูแลเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพราคาพลังงาน”นายศิริกล่าว