ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยสถานการณ์เอ็นพีแอลในระบบปรับตัวดีขึ้น พบปริมาณการเพิ่มขึ้นเอ็นพีแอลลดลงในไตรมาส 2 ของปีนี้ ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นในระบบ 3.8 พันล้านบาท จากไตรมาสแรกที่มียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.41 หมื่นล้านบาท ห่วงธุรกิจ SMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเฉพาะหมวดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ แม้สินเชื่อแผ่ว แต่หนี้โผล่เยอะ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ขณะนี้ภาพรวมสถานการณ์หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวดีขึ้นหรือมีอัตราการขยายตัวเอ็นพีแอลลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 57 โดยล่าสุดในไตรมาส 2 พบว่า การเพิ่มขึ้นเอ็นพีแอลลดลงอยู่ที่ 3,801 ล้านบาท จากไตรมาสแรกยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.41 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เนื่องจากปัจจุบันความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐมีการลงทุนและใช้จ่ายเริ่มออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างการจ่ายเงินที่ค้างชาวนาจากโครงการรับจำนำข้าวเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัญหาเอ็นพีแอล กลุ่มที่ห่วงมากที่สุด คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากสายป่านสั้นและเงินทุนน้อย ซึ่งอาจจะมีปัญหาขาดสภาพคล่องได้ ขณะเดียวกันการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคก็มีปัญหาเอ็นพีแอลค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในหมวดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ แม้อัตราการเติบโตสินเชื่อประเภทนี้จะชะลอลง แต่เริ่มโผล่ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น
ล่าสุดในไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า ยอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบมีทั้งสิ้น 2.85 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.29%ของสินเชื่อรวม จากไตรมาสก่อนมียอดคงค้างเอ็นพีแอล 2.81 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.26% และระยะเดียวกันปีก่อนมียอดคงค้าง 2.65 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.21% โดยไตรมาสนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มียอดคงค้างมากที่สุด 3.26 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1.56%ของสินเชื่อรวม รองลงมาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 2.10 หมื่นล้านบาท หรือ 1.08% อันดับสามธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 1.43 หมื่นล้านบาท หรือ 0.77%
ก่อนหน้านี้ นางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้สินเชื่อขยายตัวได้ดีในแง่ของเม็ดเงินใหม่ที่เข้ามา นอกจากนี้คุณภาพสินเชื่อไม่ได้มีปัญหาอะไร จึงมองว่าไม่น่าจะแย่ไปกว่านี้ รวมไปถึงฐานะระบบธนาคารพาณิชย์แข็งแกร่ง ผลกำไรค่อนข้างสูง และมีเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 15%ในปัจจุบัน
การตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญก็สูงกว่ายอดเอ็นพีแอลค่อนข้างมากและเอ็นพีแอลก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ฉะนั้น ภาคธนาคารไม่มีอะไรน่าห่วง
สำหรับสินเชื่อโดยรวมเริ่มชะลอลงจากปลายปีก่อนอยู่ที่ 11% ในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 9.8% และล่าสุดไตรมาสสองอยู่ที่ 7.3% หรือมียอดสินเชื่อรวม 10.9 ล้านล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.กับเดือนมิ.ย.57 พบว่า ภายในเดือนเดียวมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 4.6 หมื่นล้านบาท ถือว่าค่อนข้างเยอะ นอกจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจกลับมาดีขึ้นแล้ว ธนาคารพาณิชย์พยายามดูแลและช่วยเหลือลูกค้าด้วย จึงมองว่าช่วงครึ่งหลังของปีนี้สินเชื่อรวมจะดีขึ้น หลังจากเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้แล้ว.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ขณะนี้ภาพรวมสถานการณ์หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวดีขึ้นหรือมีอัตราการขยายตัวเอ็นพีแอลลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 57 โดยล่าสุดในไตรมาส 2 พบว่า การเพิ่มขึ้นเอ็นพีแอลลดลงอยู่ที่ 3,801 ล้านบาท จากไตรมาสแรกยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.41 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เนื่องจากปัจจุบันความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐมีการลงทุนและใช้จ่ายเริ่มออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างการจ่ายเงินที่ค้างชาวนาจากโครงการรับจำนำข้าวเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัญหาเอ็นพีแอล กลุ่มที่ห่วงมากที่สุด คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากสายป่านสั้นและเงินทุนน้อย ซึ่งอาจจะมีปัญหาขาดสภาพคล่องได้ ขณะเดียวกันการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคก็มีปัญหาเอ็นพีแอลค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในหมวดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ แม้อัตราการเติบโตสินเชื่อประเภทนี้จะชะลอลง แต่เริ่มโผล่ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น
ล่าสุดในไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า ยอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบมีทั้งสิ้น 2.85 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.29%ของสินเชื่อรวม จากไตรมาสก่อนมียอดคงค้างเอ็นพีแอล 2.81 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.26% และระยะเดียวกันปีก่อนมียอดคงค้าง 2.65 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.21% โดยไตรมาสนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มียอดคงค้างมากที่สุด 3.26 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1.56%ของสินเชื่อรวม รองลงมาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 2.10 หมื่นล้านบาท หรือ 1.08% อันดับสามธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 1.43 หมื่นล้านบาท หรือ 0.77%
ก่อนหน้านี้ นางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้สินเชื่อขยายตัวได้ดีในแง่ของเม็ดเงินใหม่ที่เข้ามา นอกจากนี้คุณภาพสินเชื่อไม่ได้มีปัญหาอะไร จึงมองว่าไม่น่าจะแย่ไปกว่านี้ รวมไปถึงฐานะระบบธนาคารพาณิชย์แข็งแกร่ง ผลกำไรค่อนข้างสูง และมีเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 15%ในปัจจุบัน
การตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญก็สูงกว่ายอดเอ็นพีแอลค่อนข้างมากและเอ็นพีแอลก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ฉะนั้น ภาคธนาคารไม่มีอะไรน่าห่วง
สำหรับสินเชื่อโดยรวมเริ่มชะลอลงจากปลายปีก่อนอยู่ที่ 11% ในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 9.8% และล่าสุดไตรมาสสองอยู่ที่ 7.3% หรือมียอดสินเชื่อรวม 10.9 ล้านล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.กับเดือนมิ.ย.57 พบว่า ภายในเดือนเดียวมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 4.6 หมื่นล้านบาท ถือว่าค่อนข้างเยอะ นอกจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจกลับมาดีขึ้นแล้ว ธนาคารพาณิชย์พยายามดูแลและช่วยเหลือลูกค้าด้วย จึงมองว่าช่วงครึ่งหลังของปีนี้สินเชื่อรวมจะดีขึ้น หลังจากเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้แล้ว.