ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นไทยปรับฐาน ตามตลาดหุ้นในภูมิภาค นักลงทุนรอผลการประชุม FOMC ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดเฟดเดินหน้ายุติมาตราการ QE ส่งผลกดดันต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าให้อยู่ในระดับจำกัด เพราะน่าจะทำให้เงินดอลลาร์ฯ ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลเอเชียรวมถึงไทย
นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) สรุปเคลื่อนดัชนีหุ้นไทยวานนี้โดยช่วงเช้าดัชนีปรับขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1550 จุด ก่อนจะถูกแรงขายทำกำไรออกมาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ICT และ BANK กดดัชนีลงมาเคลื่อนไหวแดนลบและเคลื่อนไหวทรงตัวตลอดช่วงบ่ายจนปิดตลาดไปที่ 1,538.13 จุด ลดลง 5.72 จุด เปลี่ยนแปลง -0.37% มูลค่าการซื้อขาย 47,461.51 ล้านบาท โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุด 1,546.59 จุด และต่ำสุด 1,532.36 จุด โดยนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,939.93 ล้านบาท หลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 882.93 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 147.09 ล้านลาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 909.91 ล้านบาท
พร้อมคาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีพรุ่งนี้ SET น่าจะยัง Sideways ออกด้านข้าง นักลงทุนในประเทศยังคงมองปัจจัยบวกเรื่องการประชุมพิจารณาร่างยุทธ์ศาสตร์พัฒนาโครงสร้างฟื้นฐาน ด้านคมนาคมของประเทศ ในวันนี้ (29 ก.ค.) แต่ฝ่ายวิเคราะห์มองว่า เป็นจุดที่ต้องระวังแรงขาย Sell on fact หากการผลประชุมออกมาตามคาด เพราะคาดว่าหลักการต่างๆ น่าจะเหมือนเดิม คือเน้น โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย รถไฟทางคู่ ท่าเรือ และการคมนาคมทางอากาศ ดังนั้น หาก SET ดีดตัวขึ้นมาแรงๆ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มให้ความสำคัญกับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC วันที่ 29 - 30 ก.ค.มากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติยังคงมีการสลับซื้อขายสุทธิต่อไป มองแนวรับที่ 1530-1525 จุดแนวต้าน 1545-1550 จุด โดยคงคำแนะนำเน้นการเก็งกำไรผลประกอบการรายตัวและหุ้นปันผล
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การประชุมครั้งที่ 5 ของปี 2557 ในวันที่วันที่ 29-30 กรกฎาคม 2557 นี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC น่าจะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง จาก 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ/เดือน เหลือ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ/เดือน ท่ามกลางพัฒนาการของเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นไปตามที่คาด อาจส่งผลให้โครงการการซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณสิ้นสุดในเดือน ตุลาคม 2557 นี้ ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเฟดคงไม่น่าที่จะรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันใกล้ ท่ามกลาง ภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังคงมีความอ่อนแออยู่
สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่านักลงทุน รวมถึงตลาดทุนไทยคาดการณ์ล่วงหน้าแล้ว่า FOMC จะดำเนินการปรับลดขนาดซื้อสินทรัพย์ลงอย่างต่อเนื่อง จึงอาจไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินของไทยในรอบถัดไปมากนัก แต่น่าจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดแรงกดดันต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าให้อยู่ในระดับจำกัด โดยพัฒนาการที่ปรับดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับการสิ้นสุดโครงการซื้อสินทรัพย์ของเฟด น่าจะทำให้เงินดอลลาร์ฯ ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลเอเชียรวมถึงไทย
ดังนั้นการให้น้ำหนักของนักลงทุนต่อปัจจัยดังกล่าวก็คงจะมีผลชะลอการแข็งค่าของเงินบาทหรือปรับทิศค่าเงินบาทและเงินสกุลภูมิภาคให้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าใกล้ช่วงที่เฟดจะสิ้นสุดมาตรการการซื้อสินทรัพย์ (QE) ในเดือน ตุลาคม 2557 ส่วนผลกระทบในระยะกลาง-ยาวนั้น คงต้องจับตาพัฒนาการทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง การส่งสัญญาณถึงจังหวะในการปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด อันอาจที่จะส่งผลให้เกิดความผันผวนของกระแสเงินทุนโลกรอบหน้าได้ในอนาคต
นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) สรุปเคลื่อนดัชนีหุ้นไทยวานนี้โดยช่วงเช้าดัชนีปรับขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1550 จุด ก่อนจะถูกแรงขายทำกำไรออกมาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ICT และ BANK กดดัชนีลงมาเคลื่อนไหวแดนลบและเคลื่อนไหวทรงตัวตลอดช่วงบ่ายจนปิดตลาดไปที่ 1,538.13 จุด ลดลง 5.72 จุด เปลี่ยนแปลง -0.37% มูลค่าการซื้อขาย 47,461.51 ล้านบาท โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุด 1,546.59 จุด และต่ำสุด 1,532.36 จุด โดยนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,939.93 ล้านบาท หลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 882.93 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 147.09 ล้านลาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 909.91 ล้านบาท
พร้อมคาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีพรุ่งนี้ SET น่าจะยัง Sideways ออกด้านข้าง นักลงทุนในประเทศยังคงมองปัจจัยบวกเรื่องการประชุมพิจารณาร่างยุทธ์ศาสตร์พัฒนาโครงสร้างฟื้นฐาน ด้านคมนาคมของประเทศ ในวันนี้ (29 ก.ค.) แต่ฝ่ายวิเคราะห์มองว่า เป็นจุดที่ต้องระวังแรงขาย Sell on fact หากการผลประชุมออกมาตามคาด เพราะคาดว่าหลักการต่างๆ น่าจะเหมือนเดิม คือเน้น โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย รถไฟทางคู่ ท่าเรือ และการคมนาคมทางอากาศ ดังนั้น หาก SET ดีดตัวขึ้นมาแรงๆ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มให้ความสำคัญกับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC วันที่ 29 - 30 ก.ค.มากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติยังคงมีการสลับซื้อขายสุทธิต่อไป มองแนวรับที่ 1530-1525 จุดแนวต้าน 1545-1550 จุด โดยคงคำแนะนำเน้นการเก็งกำไรผลประกอบการรายตัวและหุ้นปันผล
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การประชุมครั้งที่ 5 ของปี 2557 ในวันที่วันที่ 29-30 กรกฎาคม 2557 นี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC น่าจะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง จาก 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ/เดือน เหลือ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ/เดือน ท่ามกลางพัฒนาการของเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นไปตามที่คาด อาจส่งผลให้โครงการการซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณสิ้นสุดในเดือน ตุลาคม 2557 นี้ ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเฟดคงไม่น่าที่จะรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันใกล้ ท่ามกลาง ภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังคงมีความอ่อนแออยู่
สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่านักลงทุน รวมถึงตลาดทุนไทยคาดการณ์ล่วงหน้าแล้ว่า FOMC จะดำเนินการปรับลดขนาดซื้อสินทรัพย์ลงอย่างต่อเนื่อง จึงอาจไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินของไทยในรอบถัดไปมากนัก แต่น่าจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดแรงกดดันต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าให้อยู่ในระดับจำกัด โดยพัฒนาการที่ปรับดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับการสิ้นสุดโครงการซื้อสินทรัพย์ของเฟด น่าจะทำให้เงินดอลลาร์ฯ ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลเอเชียรวมถึงไทย
ดังนั้นการให้น้ำหนักของนักลงทุนต่อปัจจัยดังกล่าวก็คงจะมีผลชะลอการแข็งค่าของเงินบาทหรือปรับทิศค่าเงินบาทและเงินสกุลภูมิภาคให้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าใกล้ช่วงที่เฟดจะสิ้นสุดมาตรการการซื้อสินทรัพย์ (QE) ในเดือน ตุลาคม 2557 ส่วนผลกระทบในระยะกลาง-ยาวนั้น คงต้องจับตาพัฒนาการทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง การส่งสัญญาณถึงจังหวะในการปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด อันอาจที่จะส่งผลให้เกิดความผันผวนของกระแสเงินทุนโลกรอบหน้าได้ในอนาคต