ภายหลังวันที่ 21-22 ก.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านกลุ่มมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ได้เดินทางมายังกทม. เพื่อยื่นหนังสือถึงหน่วยงานราชการ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยล่าสุด ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขที่ 116 /2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล ลงวันที่ 22 ก.ค.57 ตามข้อเสนอของเครือข่ายชาวเล ที่ต้องการให้มีคณะกรรมการชุดนี้ เข้ามาแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน โดย เฉพาะกรณีความขัดแย้งเรื่องที่ดิน ซึ่งชาวเล ถูกขับไล่ และฟ้องร้องอย่างหนัก
ทั้งนี้ ในคำสั่งดังกล่าว ระบุองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ซึ่งมีด้วยกัน 35 คน มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้แทนชาวบ้าน โดยมี พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นประธาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็น รองประธาน สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ คือ
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและปัญหาในเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ระกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีชาวเล
2. อำนวยการและติดตามผลการดำเนินการของส่วนราชการ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม
4. เชิญผู้แทนส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐและบุคคล เข้าร่วมประชุมชี้แจง ข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแก้ไข
5. ปฎิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
พล.อ.สุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แล้วนั้น ตนและกรรมการ จะเรียกประชุมครั้งแรกภายใน 3 วัน โดยจะวางแผนแก้ปัญหาเร่งด่วน กรณีชุมชนชาวเลหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต โดยอาจมุ่งแก้ปัญหาเรื่องสิทธิทำกินในทะลอันดามัน เพื่อให้ชาวประมงได้ประกอบอาชีพอย่างไม่เดือดร้อน และเร่งติดตามกรณี ดีเอสไอ ตรวจกระดูกโบราณ ซึ่งน่าจะใช้ประกอบการสู้คดีของชาวเล ที่ถูกดำเนินคดีไปแล้ว
ส่วนกรณีชาวเล บนเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล คาดว่าจะเร่งรัดเรื่องการประสานงานให้มีการชะลอการฟ้องไล่รื้อ และคุ้มครองคุณภาพชีวิตชุมชน ตลอดจนชะลอเรื่องการบุกรุกพื้นที่วัฒนธรรม รวมทั้งเร่งรัดในการตรวจสอบเอกสารสิทธิของเอกชน โดยจะเร่งขอความร่วมมือให้ผู้ครอบครองมาชี้แจงข้อมูลที่ถือครองที่ดิน และเร่งรัดเรื่องการคุ้มครองชาวเล จากการข่มขู่และคุกคามของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ซึ่งอาจจะลงพื้นที่เพื่อประสานงานร่วมกับชุมชน ภายใน 1 -2 เดือน นี้
"กรณีหลีเป๊ะ แก้ยากเพราะ ชาวบ้านขัดแย้งกันเองด้วย ชาวเลบางรายก็พยายามจะโกงที่ดินของเพื่อนบ้าน ขณะที่เอกชนเองก็พยายามจะใช้พวกเขาเป็นเครื่องมือ อีกทั้งอุทยานแห่งชาติฯ ก็ถือว่ามีความขัดแย้งกับชาวเลไม่น้อย เพราะในที่ประชุม(วันที่ 22 ก.ค.) อุทยานฯ เองก็ระบุว่า จะเอาจริงเรื่องการบุกรุกที่อุทยานฯ ซึ่งมีการเผยข้อมูลว่า ชาวเลบางรายก็บุกรุก เพราะรับจ้างนายทุน ส่วนนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่กหากใครทำผิด ก็ว่าไปตามผิด ใครเดือดร้อนจริง ก็คงต้องช่วยเขา เพราะความรุนแรงเกิดกับชาวเลเกาะหลีเป๊ะนั้น ถือว่าอิทธิพลมืดมีมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยเหลือยาก" พล.อ.สุรินทร์ กล่าว
ขณะที่ นายเจียม สับสันติเรน ชาวเกาะหลีเป๊ะ กล่าวว่า ตนย้ายมาอยู่กับภรรยาที่เกิดในเกาะหลีเป๊ะ ได้ประมาณ 3 ปี ภรรยาบอกว่าที่ดินเป็นของพ่อ-แม่ของเขา แรกๆ ก็อยู่อย่างสบายใจ ระยะหลังมีคนอาอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ พยายามไล่เราออก ยิงปืนขู่ ส่งคนมาเตือน ชาวเลทุกคนอยู่ในความกลัว แต่โชคดีที่ขณะนี้ชาวเลได้รับความคุ้มครองจากกองทัพเรือ ภาค 3 ความรุนแรงลดลงก็จริง แต่ไม่อาจไว้ใจสถานการณ์ได้ โดยครอบครัวของตนมีบ้าน 1 หลัง แบ่งให้ลูกกับครอบครัวอยู่ด้วยกัน ขณะนี้ถูกนายทุนเจ้าของรีสอร์ทไล่รื้อ โดยเสนอเงินให้ 30,000 บาท แต่ไม่ได้บอกว่าให้ย้ายไปอยู่ที่ใด ตนจึงปฏิเสธ เพราะเกรงว่าไม่มีที่ดินทำกิน
"อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นใจเรา ตอนนี้เราไม่รู้ว่า ทำไมเอกชนเขามีเอกสารสิทธิ์ ทำไมเราไม่มีอะไรเลย ทั้งที่เราอยู่มาก่อน เขาเอาอะไรมาวัดว่า พวกเราผิด ต้องออกจากพื้นที่ เรารับไม่ได้ และไม่รู้ที่มาของปัญหานี้ ไม่รู้ใครโกงเอกสาร ใครโกงที่ดิน อยู่ๆ เขาถือเอกสาร นส.3 มาแสดงให้เราดู แล้วก็เสนอให้เราอออกไปจากพื้นที่ ผมกลัวว่าวันหนึ่งเขาจะฟ้องศาล ก็ยังไม่รู้จะทำอย่างไร หากเรื่องถึงศาล แต่ยืนยันว่า เราอยู่มานาน 4 รุ่นแล้ว" นายเจียม กล่าว
ทั้งนี้ ในคำสั่งดังกล่าว ระบุองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ซึ่งมีด้วยกัน 35 คน มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้แทนชาวบ้าน โดยมี พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นประธาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็น รองประธาน สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ คือ
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและปัญหาในเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ระกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีชาวเล
2. อำนวยการและติดตามผลการดำเนินการของส่วนราชการ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม
4. เชิญผู้แทนส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐและบุคคล เข้าร่วมประชุมชี้แจง ข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแก้ไข
5. ปฎิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
พล.อ.สุรินทร์ กล่าวว่า หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แล้วนั้น ตนและกรรมการ จะเรียกประชุมครั้งแรกภายใน 3 วัน โดยจะวางแผนแก้ปัญหาเร่งด่วน กรณีชุมชนชาวเลหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต โดยอาจมุ่งแก้ปัญหาเรื่องสิทธิทำกินในทะลอันดามัน เพื่อให้ชาวประมงได้ประกอบอาชีพอย่างไม่เดือดร้อน และเร่งติดตามกรณี ดีเอสไอ ตรวจกระดูกโบราณ ซึ่งน่าจะใช้ประกอบการสู้คดีของชาวเล ที่ถูกดำเนินคดีไปแล้ว
ส่วนกรณีชาวเล บนเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล คาดว่าจะเร่งรัดเรื่องการประสานงานให้มีการชะลอการฟ้องไล่รื้อ และคุ้มครองคุณภาพชีวิตชุมชน ตลอดจนชะลอเรื่องการบุกรุกพื้นที่วัฒนธรรม รวมทั้งเร่งรัดในการตรวจสอบเอกสารสิทธิของเอกชน โดยจะเร่งขอความร่วมมือให้ผู้ครอบครองมาชี้แจงข้อมูลที่ถือครองที่ดิน และเร่งรัดเรื่องการคุ้มครองชาวเล จากการข่มขู่และคุกคามของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ซึ่งอาจจะลงพื้นที่เพื่อประสานงานร่วมกับชุมชน ภายใน 1 -2 เดือน นี้
"กรณีหลีเป๊ะ แก้ยากเพราะ ชาวบ้านขัดแย้งกันเองด้วย ชาวเลบางรายก็พยายามจะโกงที่ดินของเพื่อนบ้าน ขณะที่เอกชนเองก็พยายามจะใช้พวกเขาเป็นเครื่องมือ อีกทั้งอุทยานแห่งชาติฯ ก็ถือว่ามีความขัดแย้งกับชาวเลไม่น้อย เพราะในที่ประชุม(วันที่ 22 ก.ค.) อุทยานฯ เองก็ระบุว่า จะเอาจริงเรื่องการบุกรุกที่อุทยานฯ ซึ่งมีการเผยข้อมูลว่า ชาวเลบางรายก็บุกรุก เพราะรับจ้างนายทุน ส่วนนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่กหากใครทำผิด ก็ว่าไปตามผิด ใครเดือดร้อนจริง ก็คงต้องช่วยเขา เพราะความรุนแรงเกิดกับชาวเลเกาะหลีเป๊ะนั้น ถือว่าอิทธิพลมืดมีมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยเหลือยาก" พล.อ.สุรินทร์ กล่าว
ขณะที่ นายเจียม สับสันติเรน ชาวเกาะหลีเป๊ะ กล่าวว่า ตนย้ายมาอยู่กับภรรยาที่เกิดในเกาะหลีเป๊ะ ได้ประมาณ 3 ปี ภรรยาบอกว่าที่ดินเป็นของพ่อ-แม่ของเขา แรกๆ ก็อยู่อย่างสบายใจ ระยะหลังมีคนอาอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ พยายามไล่เราออก ยิงปืนขู่ ส่งคนมาเตือน ชาวเลทุกคนอยู่ในความกลัว แต่โชคดีที่ขณะนี้ชาวเลได้รับความคุ้มครองจากกองทัพเรือ ภาค 3 ความรุนแรงลดลงก็จริง แต่ไม่อาจไว้ใจสถานการณ์ได้ โดยครอบครัวของตนมีบ้าน 1 หลัง แบ่งให้ลูกกับครอบครัวอยู่ด้วยกัน ขณะนี้ถูกนายทุนเจ้าของรีสอร์ทไล่รื้อ โดยเสนอเงินให้ 30,000 บาท แต่ไม่ได้บอกว่าให้ย้ายไปอยู่ที่ใด ตนจึงปฏิเสธ เพราะเกรงว่าไม่มีที่ดินทำกิน
"อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นใจเรา ตอนนี้เราไม่รู้ว่า ทำไมเอกชนเขามีเอกสารสิทธิ์ ทำไมเราไม่มีอะไรเลย ทั้งที่เราอยู่มาก่อน เขาเอาอะไรมาวัดว่า พวกเราผิด ต้องออกจากพื้นที่ เรารับไม่ได้ และไม่รู้ที่มาของปัญหานี้ ไม่รู้ใครโกงเอกสาร ใครโกงที่ดิน อยู่ๆ เขาถือเอกสาร นส.3 มาแสดงให้เราดู แล้วก็เสนอให้เราอออกไปจากพื้นที่ ผมกลัวว่าวันหนึ่งเขาจะฟ้องศาล ก็ยังไม่รู้จะทำอย่างไร หากเรื่องถึงศาล แต่ยืนยันว่า เราอยู่มานาน 4 รุ่นแล้ว" นายเจียม กล่าว