วานนี้ ( 4 มิ.ย.) นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวภายหลังเข้าประชุมเตรียมการปฏิรูป ที่มี พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ปฏิบัติหน้าที่ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานนำเสนอแนวทางเรื่องการปฏิรูป และปัญหาด้านต่างๆ ที่ผ่านมา โดยแต่ละหน่วยงานได้เสนอว่า ควรจะปฏิรูปเรื่องอะไรบ้าง ส่วนตนเสนอไปว่า ควรจะปฏิรูปในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เพราะเป็นเรื่องใหญ่ พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่างเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เพราะเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการลดความแตกแยกของคนในสังคมได้ด้วย
ที่ผ่านมากระทรวงการศึกษาธิการ ถือเป็นกระทรวงที่มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยที่สุด ประมาณทุก 6 เดือน ทำให้การขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ ชะงักอยู่เป็นประจำ ขณะเดียวกัน ยังเป็นกระทรวงที่มีงบประมาณจำนวนมาก จึงเสนอต่อที่ประชุมไปว่า ควรจะแยกกระทรวงศึกษาธิการออกมานอกระบบ ไม่ให้อยู่ภายใต้สังกัดต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือรัฐบาล เพื่อให้ปราศจากการแทรกแซงจากนักการเมือง แล้วแต่งตั้งนักวิชาชีพ หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เพื่อทำให้การสามารถพัฒนาด้านการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ไม่สะดุด
นอกจากนี้ ตนยังได้เสนอต่อที่ประชุมด้วยว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป ส่วนตัวก็มีแนวคิดเรื่องการตั้ง“สภาพลเมือง”ในทุกจังหวัด เนื่องจากสภาพัฒนาการเมืองนั้น มีสมาชิกอยู่ทุกจังหวัด ซึ่งรูปแบบจะเป็นเวทีในการสร้างความปรองดอง และรับฟังข้อเสนอเรื่องการปฏิรูป
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวคิดดังกล่าว ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการสภาพัฒนาการเมืองในวันที่ 6 มิ.ย.เพื่อขอความเห็นชอบในการดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการประชุมเตรียมการเรื่องปฏิรูปครั้งนี้ มีพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ได้มีการเชิญตัวแทนองค์กร ตัวแทนหน่วยงาน และหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยมีบุคคลที่น่าสนใจ อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตัวแทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นต้น
ทั้งนี้ พล.อ.สุรศักดิ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายนำเสนอกรอบการปฏิรูป ในส่วนที่เป็นภารกิจตัวเองว่าควรจะปฏิรูปอย่างไรอย่างเต็มที่ เช่น นายบวรศักดิ์ ได้นำเสนองานวิจัย และผลการศึกษาที่สถาบันพระปกเกล้าไปดำเนินการศึกษามา เช่นเดียวกับ นายนนทิกร ที่เสนอเรื่องการปฏิรูประบบราชการ โดยใช้เวลาหารือทั้งสิ้นประมาณกว่า 2 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ ออกมา และยังไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการใดๆ เนื่องจากต้องการรับฟังความคิดเห็นก่อนมาเป็นกรอบความคิดก่อน ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้มีการนัดหมายว่า จะมีการประชุมอีกครั้งเมื่อไร
ที่ผ่านมากระทรวงการศึกษาธิการ ถือเป็นกระทรวงที่มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยที่สุด ประมาณทุก 6 เดือน ทำให้การขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ ชะงักอยู่เป็นประจำ ขณะเดียวกัน ยังเป็นกระทรวงที่มีงบประมาณจำนวนมาก จึงเสนอต่อที่ประชุมไปว่า ควรจะแยกกระทรวงศึกษาธิการออกมานอกระบบ ไม่ให้อยู่ภายใต้สังกัดต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือรัฐบาล เพื่อให้ปราศจากการแทรกแซงจากนักการเมือง แล้วแต่งตั้งนักวิชาชีพ หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เพื่อทำให้การสามารถพัฒนาด้านการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ไม่สะดุด
นอกจากนี้ ตนยังได้เสนอต่อที่ประชุมด้วยว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป ส่วนตัวก็มีแนวคิดเรื่องการตั้ง“สภาพลเมือง”ในทุกจังหวัด เนื่องจากสภาพัฒนาการเมืองนั้น มีสมาชิกอยู่ทุกจังหวัด ซึ่งรูปแบบจะเป็นเวทีในการสร้างความปรองดอง และรับฟังข้อเสนอเรื่องการปฏิรูป
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวคิดดังกล่าว ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการสภาพัฒนาการเมืองในวันที่ 6 มิ.ย.เพื่อขอความเห็นชอบในการดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการประชุมเตรียมการเรื่องปฏิรูปครั้งนี้ มีพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ได้มีการเชิญตัวแทนองค์กร ตัวแทนหน่วยงาน และหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยมีบุคคลที่น่าสนใจ อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตัวแทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นต้น
ทั้งนี้ พล.อ.สุรศักดิ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายนำเสนอกรอบการปฏิรูป ในส่วนที่เป็นภารกิจตัวเองว่าควรจะปฏิรูปอย่างไรอย่างเต็มที่ เช่น นายบวรศักดิ์ ได้นำเสนองานวิจัย และผลการศึกษาที่สถาบันพระปกเกล้าไปดำเนินการศึกษามา เช่นเดียวกับ นายนนทิกร ที่เสนอเรื่องการปฏิรูประบบราชการ โดยใช้เวลาหารือทั้งสิ้นประมาณกว่า 2 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ ออกมา และยังไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการใดๆ เนื่องจากต้องการรับฟังความคิดเห็นก่อนมาเป็นกรอบความคิดก่อน ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้มีการนัดหมายว่า จะมีการประชุมอีกครั้งเมื่อไร