** หลังจากประเทศไทยว่างเว้นรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศไทยมา 2 เดือนเต็มๆ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในที่สุดกติกาสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ก็คลอดออกมาให้เห็นหน้าเห็นตากันแล้ว เบ็ดเสร็จมีทั้งสิ้น 48 มาตรา เยอะกว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2550 ที่มีเพียง 39 มาตรา เท่านั้น
รายละเอียดหลายอย่างตรงตามที่ปรากฏผ่านสื่อมาระยะหนึ่งแล้ว แต่บางอย่างก็เหนือความคาดหมาย อย่างเรื่องสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะกำเนิดมาเป็นลำดับแรก หลังรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับประกาศใช้แล้ว ไปๆ มาๆ จำนวนสมาชิกมีมากถึง 220 คน จากเดิมที่มีการคาดการณ์กันไว้ประมาณ 200 คน แถมเขียนสเปกบุคคลที่จะมาเป็นสมาชิก สนช. เอาไว้รัดติ้ว ปราศจากการเมืองมากที่สุด กำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะมาทำหน้าที่ ว่า ห้ามดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนได้รับตำแหน่ง
**งานนี้ทำเอาพวกนักการเมืองฝันสลาย กินแห้วแทนข้าวกันเป็นแถว
คนที่จะพาเหรดตบเท้ากันเข้ามาเป็นสมาชิก สนช. หากดูตามเนื้อผ้าและคุณสมบัติที่กำหนดไว้ คงจะมีบรรดาบิ๊กทหารหลายรายเข้ามาดำรงตำแหน่ง เหมือนกับสมัย สนช. ตอนปี 2549 ไล่เรียงไปถึงบรรดานักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิแขนงต่างๆ เรื่อยไปจนถึง อดีต ส.ว. ที่เพิ่งจะสิ้นสถานภาพไปตามคำสั่งของคสช. เชื่อขนมกินได้ หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดี
แต่ที่ต้องจับตา คือ ตัวประธาน สนช. และรองประธาน สนช. อีก 2 คน ว่า สุดท้ายจะลงเอยที่ใคร เพราะตำแหน่งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากประธาน สนช.จะต้องเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่ควบคุมการพิจารณากฎหมายสำคัญๆ ที่ คสช.ได้มีการกลั่นกรองไว้ หรือกฎหมายที่จะมีการเสนอใหม่เข้ามา
ฉะนั้นจำเป็นจะต้องบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ขณะเดียวกัน ก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และรู้ข้อบังคับการประชุมสภาฯเป็นอย่างดี ซึ่งในประเทศไทยก็มีไม่กี่คน
ขณะที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่สุดท้ายท้ายสุด มีจำนวนสมาชิก สปช. มากถึง 250 คน เรียกว่า แหกโผฝ่าอากาศตั้งกันมาเป็นกอบเป็นกำ แต่งานนี้ไม่ได้เขียนล็อกห้ามฝ่ายการเมืองเอาไว้ โดยบรรดานักการเมืองต่างๆ ยังสามารถทะลุทะลวงเข้าไปเป็นสมาชิก สปช.ได้ หากได้รับการสรรหาเข้าไป ซึ่งก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการให้มีความหลากหลายของกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อเหลือง กลุ่มกปปส. และกลุ่มคนเสื้อแดง เข้ามามีส่วนร่วม
สำหรับสมาชิก สปช. งวดนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญมาก เพราะได้รับผิดชอบภารกิจใหญ่ๆถึง 2 งาน คือ เรื่องการปฏิรูปประเทศ และการร่างรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับถาวร ปี 2558 โดยเฉพาะการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน จะต้องเขียนให้ครอบคลุมตามที่ คสช. กำหนดเอาไว้ ถึง 10 เรื่องด้วยกัน
**โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
นั่นเท่ากับรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ 36 อรหันต์ จะไปยกร่างขึ้นมา จะสกรีนนักการเมืองในประเทศไทยที่มีมลทิน โดยเฉพาะเรื่องทุจริตออกไปได้จำนวนมากโขทีเดียว หรือเรียกว่า ตัดตอนพวกโกงกิน ไม่ให้มีสิทธิมาแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองอีก หลังจากมีการปฏิรูปแล้ว ขณะเดียวกัน คณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ยังโดนเขียนบล็อกเอาไว้ด้วยว่า หลังจากหมดภารกิจ จะต้องถูกเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ใสสะอาดว่า ไม่ได้มีส่วนได้เสีย
นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรนี้ ไม่ได้ถูกเขียนกำหนดเอาไว้ว่า จะต้องทำประชามติ ฉะนั้นจะทำหรือไม่ทำก็ได้
ด้านตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จำนวน 36 คน ที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ก็คล้ายคลึงกับสมาชิก สนช. คือ กำหนดไว้ชัดเลยว่า ไม่เคย หรือเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาก่อนได้รับการแต่งตั้ง 3 ปี รวมทั้งกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็หมดสิทธิ์นั่งทำหน้าที่อำนาจฝ่ายบริหารเหมือนกัน
**ตรงนี้ทำให้เริ่มเห็นรูปร่างหน้าตาของว่าที่ ฝ่ายบริหาร 36 คน ว่าจะละม้ายคล้ายคลึงใคร เพราะหากย้อนไปดูบรรดาคณะที่ปรึกษา คสช. ไม่ว่าจะเป็น “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. “บิ๊กหนุ่ย”พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีต รองผบ.ทบ. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีต รมว.คลัง ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง นายวิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ อดีต ผบ.ทอ. เหล่านี้คุณสมบัติฉลุย ทุกคน
หรือแม้แต่ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้า คสช. รวมไปถึงบรรดารองหัวหน้า คสช. ฝ่ายต่างๆ ตลอดจนนายทหารระดับสูงในกองทัพ ข้าราชการระดับสูง เหล่านี้รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนห้ามเอาไว้เลย สามารถขึ้นแท่นเป็นเสนาบดีกันได้หมด
แต่คนที่หมดสิทธิ์อีกเช่นเคยก็คือ บรรดาเหล่านักการเมืองทั้งหลาย ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา เหล่านี้ไม่มีโอกาสได้แต่งตัวในนามรัฐบาลเฉพาะกิจ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้แน่ เพราะขาดคุณสมบัติเรียบวุธ
**กระนั้นก็ตาม ที่โดนวิพากษ์วิจารณ์มากสุด คงหนีไม่พ้น มาตรา 44 ที่ให้อำนาจหัวหน้า คสช. กว้างขวาง เบ็ดเสร็จ ครอบจักรวาล มากกว่า อำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เสียอีก จนโดนจ้องตาเขียวว่า ตกลงช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงเผด็จการชั่วคราว หรืออย่างไร
แต่ตามคิวเขียนกำกับเอาไว้แบบนี้ พอจับทางได้ว่า คสช. ต้องการเดินไปสู่เป้าหมายที่ตัวเองวางเอาไว้ คือ การปฏิรูปประเทศ การเขียนรัฐธรรมนูญให้เข้มขลัง ตามแบบฉบับที่ทุกคนอยากเห็น โดยให้ทุกอย่างอยู่ในสายตาทั้งหมด ชนิดหากใครแตกแถวตอนไหน ช่วงไหน คสช. สามารถเข้าไปปรับปรุง หรือยกออกได้แทบยกกระบิ เพื่อให้กลับเข้ารูปเข้ารอยตามโมเดล
หรือจะมองในอีกมุมหนึ่งคือ คสช.ระแวงว่า จะไม่สามารถควบคุมงานแต่ละอย่างที่วางเอาไว้ จึงต้องเขียนยันต์ขึ้นมากำกับ และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ จากความเห็นต่าง ความไม่เป็นเอกภาพของแต่ละก๊ก แต่ละกลุ่ม ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตามองคาพยพต่างๆ จึงสร้างมาตรานี้เข้ามาจัดการปัญหา เพื่อให้ทุกอย่างเรียบร้อย ราบรื่น ไม่ซ้ำรอยยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ของ “บิ๊กบัง”พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
แต่ทว่า แม้จะมีเจตนาที่ดีเพื่อให้สามารถจัดการปัญหาได้ แต่การเขียนกำหนดไว้แบบนั้น อาจทำให้ประชาชนตั้งแง่ถึงเรื่องอำนาจที่มากเกินไป หรือรวมไปถึงเรื่องการตรวจสอบ คสช. เองว่า เมื่อมีการระบุไว้อย่างนี้ ต่อไปใครจะกล้าแตะต้อง โดยเฉพาะเรี่องความโปร่งใส
**เป็นเรื่องที่คสช.ต้องเคลียร์ด่วนเหมือนกัน!!!
**เป็นเรื่องที่คสช.ต้องเปิดใจกว้างให้สังคมแตะได้บ้าง ไม่งั้นคงหนีไม่พ้นถูกนินทาว่าบ้าอำนาจ
รายละเอียดหลายอย่างตรงตามที่ปรากฏผ่านสื่อมาระยะหนึ่งแล้ว แต่บางอย่างก็เหนือความคาดหมาย อย่างเรื่องสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะกำเนิดมาเป็นลำดับแรก หลังรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับประกาศใช้แล้ว ไปๆ มาๆ จำนวนสมาชิกมีมากถึง 220 คน จากเดิมที่มีการคาดการณ์กันไว้ประมาณ 200 คน แถมเขียนสเปกบุคคลที่จะมาเป็นสมาชิก สนช. เอาไว้รัดติ้ว ปราศจากการเมืองมากที่สุด กำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะมาทำหน้าที่ ว่า ห้ามดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนได้รับตำแหน่ง
**งานนี้ทำเอาพวกนักการเมืองฝันสลาย กินแห้วแทนข้าวกันเป็นแถว
คนที่จะพาเหรดตบเท้ากันเข้ามาเป็นสมาชิก สนช. หากดูตามเนื้อผ้าและคุณสมบัติที่กำหนดไว้ คงจะมีบรรดาบิ๊กทหารหลายรายเข้ามาดำรงตำแหน่ง เหมือนกับสมัย สนช. ตอนปี 2549 ไล่เรียงไปถึงบรรดานักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิแขนงต่างๆ เรื่อยไปจนถึง อดีต ส.ว. ที่เพิ่งจะสิ้นสถานภาพไปตามคำสั่งของคสช. เชื่อขนมกินได้ หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดี
แต่ที่ต้องจับตา คือ ตัวประธาน สนช. และรองประธาน สนช. อีก 2 คน ว่า สุดท้ายจะลงเอยที่ใคร เพราะตำแหน่งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากประธาน สนช.จะต้องเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันยังต้องทำหน้าที่ควบคุมการพิจารณากฎหมายสำคัญๆ ที่ คสช.ได้มีการกลั่นกรองไว้ หรือกฎหมายที่จะมีการเสนอใหม่เข้ามา
ฉะนั้นจำเป็นจะต้องบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ขณะเดียวกัน ก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และรู้ข้อบังคับการประชุมสภาฯเป็นอย่างดี ซึ่งในประเทศไทยก็มีไม่กี่คน
ขณะที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่สุดท้ายท้ายสุด มีจำนวนสมาชิก สปช. มากถึง 250 คน เรียกว่า แหกโผฝ่าอากาศตั้งกันมาเป็นกอบเป็นกำ แต่งานนี้ไม่ได้เขียนล็อกห้ามฝ่ายการเมืองเอาไว้ โดยบรรดานักการเมืองต่างๆ ยังสามารถทะลุทะลวงเข้าไปเป็นสมาชิก สปช.ได้ หากได้รับการสรรหาเข้าไป ซึ่งก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการให้มีความหลากหลายของกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อเหลือง กลุ่มกปปส. และกลุ่มคนเสื้อแดง เข้ามามีส่วนร่วม
สำหรับสมาชิก สปช. งวดนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญมาก เพราะได้รับผิดชอบภารกิจใหญ่ๆถึง 2 งาน คือ เรื่องการปฏิรูปประเทศ และการร่างรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับถาวร ปี 2558 โดยเฉพาะการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน จะต้องเขียนให้ครอบคลุมตามที่ คสช. กำหนดเอาไว้ ถึง 10 เรื่องด้วยกัน
**โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
นั่นเท่ากับรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ 36 อรหันต์ จะไปยกร่างขึ้นมา จะสกรีนนักการเมืองในประเทศไทยที่มีมลทิน โดยเฉพาะเรื่องทุจริตออกไปได้จำนวนมากโขทีเดียว หรือเรียกว่า ตัดตอนพวกโกงกิน ไม่ให้มีสิทธิมาแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองอีก หลังจากมีการปฏิรูปแล้ว ขณะเดียวกัน คณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ยังโดนเขียนบล็อกเอาไว้ด้วยว่า หลังจากหมดภารกิจ จะต้องถูกเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ใสสะอาดว่า ไม่ได้มีส่วนได้เสีย
นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรนี้ ไม่ได้ถูกเขียนกำหนดเอาไว้ว่า จะต้องทำประชามติ ฉะนั้นจะทำหรือไม่ทำก็ได้
ด้านตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จำนวน 36 คน ที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ก็คล้ายคลึงกับสมาชิก สนช. คือ กำหนดไว้ชัดเลยว่า ไม่เคย หรือเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาก่อนได้รับการแต่งตั้ง 3 ปี รวมทั้งกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็หมดสิทธิ์นั่งทำหน้าที่อำนาจฝ่ายบริหารเหมือนกัน
**ตรงนี้ทำให้เริ่มเห็นรูปร่างหน้าตาของว่าที่ ฝ่ายบริหาร 36 คน ว่าจะละม้ายคล้ายคลึงใคร เพราะหากย้อนไปดูบรรดาคณะที่ปรึกษา คสช. ไม่ว่าจะเป็น “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. “บิ๊กหนุ่ย”พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีต รองผบ.ทบ. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีต รมว.คลัง ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง นายวิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ อดีต ผบ.ทอ. เหล่านี้คุณสมบัติฉลุย ทุกคน
หรือแม้แต่ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้า คสช. รวมไปถึงบรรดารองหัวหน้า คสช. ฝ่ายต่างๆ ตลอดจนนายทหารระดับสูงในกองทัพ ข้าราชการระดับสูง เหล่านี้รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนห้ามเอาไว้เลย สามารถขึ้นแท่นเป็นเสนาบดีกันได้หมด
แต่คนที่หมดสิทธิ์อีกเช่นเคยก็คือ บรรดาเหล่านักการเมืองทั้งหลาย ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา เหล่านี้ไม่มีโอกาสได้แต่งตัวในนามรัฐบาลเฉพาะกิจ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้แน่ เพราะขาดคุณสมบัติเรียบวุธ
**กระนั้นก็ตาม ที่โดนวิพากษ์วิจารณ์มากสุด คงหนีไม่พ้น มาตรา 44 ที่ให้อำนาจหัวหน้า คสช. กว้างขวาง เบ็ดเสร็จ ครอบจักรวาล มากกว่า อำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เสียอีก จนโดนจ้องตาเขียวว่า ตกลงช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงเผด็จการชั่วคราว หรืออย่างไร
แต่ตามคิวเขียนกำกับเอาไว้แบบนี้ พอจับทางได้ว่า คสช. ต้องการเดินไปสู่เป้าหมายที่ตัวเองวางเอาไว้ คือ การปฏิรูปประเทศ การเขียนรัฐธรรมนูญให้เข้มขลัง ตามแบบฉบับที่ทุกคนอยากเห็น โดยให้ทุกอย่างอยู่ในสายตาทั้งหมด ชนิดหากใครแตกแถวตอนไหน ช่วงไหน คสช. สามารถเข้าไปปรับปรุง หรือยกออกได้แทบยกกระบิ เพื่อให้กลับเข้ารูปเข้ารอยตามโมเดล
หรือจะมองในอีกมุมหนึ่งคือ คสช.ระแวงว่า จะไม่สามารถควบคุมงานแต่ละอย่างที่วางเอาไว้ จึงต้องเขียนยันต์ขึ้นมากำกับ และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ จากความเห็นต่าง ความไม่เป็นเอกภาพของแต่ละก๊ก แต่ละกลุ่ม ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตามองคาพยพต่างๆ จึงสร้างมาตรานี้เข้ามาจัดการปัญหา เพื่อให้ทุกอย่างเรียบร้อย ราบรื่น ไม่ซ้ำรอยยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ของ “บิ๊กบัง”พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
แต่ทว่า แม้จะมีเจตนาที่ดีเพื่อให้สามารถจัดการปัญหาได้ แต่การเขียนกำหนดไว้แบบนั้น อาจทำให้ประชาชนตั้งแง่ถึงเรื่องอำนาจที่มากเกินไป หรือรวมไปถึงเรื่องการตรวจสอบ คสช. เองว่า เมื่อมีการระบุไว้อย่างนี้ ต่อไปใครจะกล้าแตะต้อง โดยเฉพาะเรี่องความโปร่งใส
**เป็นเรื่องที่คสช.ต้องเคลียร์ด่วนเหมือนกัน!!!
**เป็นเรื่องที่คสช.ต้องเปิดใจกว้างให้สังคมแตะได้บ้าง ไม่งั้นคงหนีไม่พ้นถูกนินทาว่าบ้าอำนาจ