นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยถึงการประชุมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเลือกตั้ง ให้มีความทันสมัยมากขึ้นว่า ตนมีแนวความคิด ที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการจัดการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันและปราบปรามให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต และมีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อว่า "สมาร์ท อีซีที " โดยจะมีการแบ่งเป็น 5 กลุ่มงาน
กลุ่มแรก เป็นเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ของกกต.เอง ที่ตอนนี้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินการอยู่ โดยจะใช้งบประมาณในการส่วนนี้สูงถึงประมาณ 100 กว่าล้านบาท ต่อการเลือกตั้งหนึ่งครั้ง ต่อไปอาจจะปรับมาให้กกต. เป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก รวมถึงจะมีการอัพเดทข้อมูลผู้มีสิทธิในต่างแดน และอาจปรับปรุงกฎหมายให้มีการลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิก่อนการเลือกตั้งในส่วนนี้ด้วย ซึ่งอาจให้ดำเนินการผ่านทางอินเตอร์เนต แต่ถ้ายังไม่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้มีการลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ ตรงนี้ก็จะเป็นส่วนของการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าแทน
ส่วนที่สอง เป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่จะใช้ชื่อว่า“แอพตาสับปะรด”ให้ประชาชนใช้ฟรี เพื่อเป็นช่องทางในแจ้งเหตุผิดปกติในการเลือกตั้ง เช่น การซื้อสิทธิ ขายเสียง การขนคนไปลงคะแนน โดยจะมีทั้งการส่งภาพถ่าย ส่งคลิปวีดีโอ และข้อความมายังกกต. ซึ่งผู้ที่แจ้งข้อมูลเข้ามาต้องแจ้งประวัติส่วนตัว และที่อยู่ติดต่อกลับด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุง แอพพลิเคชั่นดังกล่าวอยู่ และจะมีทีมงานที่จะตรวจสอบความน่าเชื่อถือในส่วนนี้ และขอให้ประชาชนทั่วไปมั่นใจว่า ข้อมูลต่างๆ จะเป็นความลับ เพื่อความปลอดภัยของผู้แจ้งเหตุ และหวังว่าแอพนี้ จะเป็นการป้องกันมากกว่าการปราบปราม
ส่วนที่สาม จะเป็นการพัฒนาศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยต้องสามารถจัดประชุม วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ กับกกต. จังหวัดทั่วประเทศ อีกทั้งต้องสามารถตรวจสอบความพร้อมของหน่วยเลือกตั้งต่างๆ และให้หน่วยต่างๆ สามารถรายงานสถานการณ์ต่างๆเข้ามาได้ด้วย
ส่วนที่สี่ จะเป็นการพัฒนาเครื่องลงคะแนน ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้นโยบายไปดูตัวอย่างการคงคะแนนที่ประเทศอินเดีย ที่ใช้เครื่องลงคะแนนทั้งประเทศ ซึ่งที่มีความทันสมัยมาก และต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ก็ให้ศึกษาการเชื่อมโยงนำบัตรประชาชนที่เป็นสมาร์ทการ์ดมาปรับใช้กับการเลือกตั้งด้วย
ส่วนที่ห้า จะเกี่ยวกับการนับคะแนน ซึ่งขณะนี้ที่ยังไม่เห็นรูปแบบเลือกตั้งที่ชัดเจน จึงให้ระงับในส่วนนี้ไว้ชั่วคราว
สำหรับระยะเวลาและงบประมาณ ในการดำเนินการโครงการนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละส่วน ส่วนแรกถ้าทันต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป ก็จะใช้เป็นฐานข้อมูลของเราเอง แต่ถ้าหากไม่ทันก็ต้องใช้ฐานข้อมูลของกรมการปกครองเช่นเดิมไปก่อน ส่วนแอพพลิเคชั่นนั้นคาดว่า 6 เดือนข้างหน้าคงแล้วเสร็จ ส่วนเรื่องงบประมาณนั้นก็แตกต่างกันไปอย่างการทำฐานข้อมูลในการประเมินเมื่อปี 2550 อยู่ที่ 400 ล้านบาท ขณะนี้ที่มีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีค่าใช้จ่ายก็น่าจะถูกลง และเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ใช้ในเรื่องการทำฐานข้อมูลแต่ละครั้งถือว่าคุ้มค่า โดยในส่วนอื่นๆ คงใช้งบไม่มากนัก ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้นำเอาหลักการของโครงการดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมกกต.และได้รับการยอมรับจากทีป่ระชุมแล้ว หากโครงการแล้วเสร็จเมื่อใด ก็จะมีการเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง
กลุ่มแรก เป็นเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ของกกต.เอง ที่ตอนนี้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินการอยู่ โดยจะใช้งบประมาณในการส่วนนี้สูงถึงประมาณ 100 กว่าล้านบาท ต่อการเลือกตั้งหนึ่งครั้ง ต่อไปอาจจะปรับมาให้กกต. เป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก รวมถึงจะมีการอัพเดทข้อมูลผู้มีสิทธิในต่างแดน และอาจปรับปรุงกฎหมายให้มีการลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิก่อนการเลือกตั้งในส่วนนี้ด้วย ซึ่งอาจให้ดำเนินการผ่านทางอินเตอร์เนต แต่ถ้ายังไม่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้มีการลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ ตรงนี้ก็จะเป็นส่วนของการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าแทน
ส่วนที่สอง เป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่จะใช้ชื่อว่า“แอพตาสับปะรด”ให้ประชาชนใช้ฟรี เพื่อเป็นช่องทางในแจ้งเหตุผิดปกติในการเลือกตั้ง เช่น การซื้อสิทธิ ขายเสียง การขนคนไปลงคะแนน โดยจะมีทั้งการส่งภาพถ่าย ส่งคลิปวีดีโอ และข้อความมายังกกต. ซึ่งผู้ที่แจ้งข้อมูลเข้ามาต้องแจ้งประวัติส่วนตัว และที่อยู่ติดต่อกลับด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุง แอพพลิเคชั่นดังกล่าวอยู่ และจะมีทีมงานที่จะตรวจสอบความน่าเชื่อถือในส่วนนี้ และขอให้ประชาชนทั่วไปมั่นใจว่า ข้อมูลต่างๆ จะเป็นความลับ เพื่อความปลอดภัยของผู้แจ้งเหตุ และหวังว่าแอพนี้ จะเป็นการป้องกันมากกว่าการปราบปราม
ส่วนที่สาม จะเป็นการพัฒนาศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยต้องสามารถจัดประชุม วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ กับกกต. จังหวัดทั่วประเทศ อีกทั้งต้องสามารถตรวจสอบความพร้อมของหน่วยเลือกตั้งต่างๆ และให้หน่วยต่างๆ สามารถรายงานสถานการณ์ต่างๆเข้ามาได้ด้วย
ส่วนที่สี่ จะเป็นการพัฒนาเครื่องลงคะแนน ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้นโยบายไปดูตัวอย่างการคงคะแนนที่ประเทศอินเดีย ที่ใช้เครื่องลงคะแนนทั้งประเทศ ซึ่งที่มีความทันสมัยมาก และต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ก็ให้ศึกษาการเชื่อมโยงนำบัตรประชาชนที่เป็นสมาร์ทการ์ดมาปรับใช้กับการเลือกตั้งด้วย
ส่วนที่ห้า จะเกี่ยวกับการนับคะแนน ซึ่งขณะนี้ที่ยังไม่เห็นรูปแบบเลือกตั้งที่ชัดเจน จึงให้ระงับในส่วนนี้ไว้ชั่วคราว
สำหรับระยะเวลาและงบประมาณ ในการดำเนินการโครงการนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละส่วน ส่วนแรกถ้าทันต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป ก็จะใช้เป็นฐานข้อมูลของเราเอง แต่ถ้าหากไม่ทันก็ต้องใช้ฐานข้อมูลของกรมการปกครองเช่นเดิมไปก่อน ส่วนแอพพลิเคชั่นนั้นคาดว่า 6 เดือนข้างหน้าคงแล้วเสร็จ ส่วนเรื่องงบประมาณนั้นก็แตกต่างกันไปอย่างการทำฐานข้อมูลในการประเมินเมื่อปี 2550 อยู่ที่ 400 ล้านบาท ขณะนี้ที่มีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีค่าใช้จ่ายก็น่าจะถูกลง และเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ใช้ในเรื่องการทำฐานข้อมูลแต่ละครั้งถือว่าคุ้มค่า โดยในส่วนอื่นๆ คงใช้งบไม่มากนัก ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้นำเอาหลักการของโครงการดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมกกต.และได้รับการยอมรับจากทีป่ระชุมแล้ว หากโครงการแล้วเสร็จเมื่อใด ก็จะมีการเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง