เมื่อเวลา 09.00 น วานนี้ ( 20 ก.ค. ) ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถนนราชดำเนิน พ.อ.ธีรวัฒน์ บุญยวัฒน์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์ทั่วไป และรับทราบรายงานความคืบหน้าในการปฎิบัติงานของฝ่ายต่างๆตามนโยบายของหัวหน้า คสช. พร้อมกันนี้ในที่ประชุมได้สั่งให้มีการคิดตามข่าวสารทางโซเซียลเน็ตเวิร์ก เนื่องจากขณะนี้มีการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันฯ โดยเฉพาะกรณีของผู้พันสู้ตัวจริง ที่ได้โพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าว โดยทางคสช. สั่งให้ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด รวมถึงปรากฏว่า ขณะนี้มีการรวมตัวของกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม ที่พยายามออกมาต่อต้านการทำงานของ คสช. โดยจะเน้นไปที่กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทาง คสช. จะเร่งดำเนินการติดตามตัว มาปรับทัศนคติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งมีโอกาสสร้างความไม่สงบสุข และส่งผลกระทบต่อสังคมต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยืนยันการทำงานตามนโยบาย คสช. เพื่อเร่งคืนความสุขให้ประชาชนโดยเร็ว เป็นไปตามโรดแมปของหัวหน้า คสช. ที่ต้องการให้การดำเนินงานเป็นไปตามกรอบที่กำหนดไว้ทุกประการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคสช. ได้เดินทางเข้ามาในกองบัญชาการกองทัพบก เพื่อปฏิบัติงานตามปกติ แม้จะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม
**“ธีรเดช”วอนสังคมเชื่อมั่น คสช.
พล.อ.ธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา เปิดเผยถึงกรณีที่จะมีการสรรหาคณะบุคคล เพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า เสมือนกับการเป็นสมาชิกรัฐสภา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้แทนที่มาจากหลายสาขาอาชีพ โดยมองว่า การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะแต่งตั้งให้ผู้ใดเข้ามาดำรงตำแหน่งนั้น เชื่อว่าคงจะมีการพิจารณาคัดสรรมาเป็นอย่างดีแล้วว่า จะต้องมีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสมเพียงพอ ซึ่งเมื่อพูดถึงทหารแล้ว ก็อยากให้เข้าใจว่า ในทุกวันนี้ทหารได้รับการศึกษาวิชาความรู้เหมือนกับพลเรือนทั่วไป โดยในรั้วโรงเรียนนายหาร - นายตำรวจทั้งสี่เหล่า ก็มีการเรียนการสอนในหลากหลายสาขาวิชา เหมือนกับมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป เพราะฉะนั้นในด้านของความรู้ความสามารถ ก็น่าจะเหมือนกันกับคนไทยทุกคน ไม่ใช่ว่าเป็นทหาร แล้วจะมีความรู้ความสามารถด้อยกว่า หรือมีความรู้แค่เฉพาะด้านเท่านั้น
พล.อ.ธีรเดช กล่าวด้วยว่า สถาบันทหารเป็นสถาบันที่มีการศึกษาอบรมอยู่ตลอดเวลา เช่น โรงเรียนเสนาธิการ (รร.เสธ.) กับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในต้นแบบของสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั่วไปในประเทศ โดยเฉพาะในสาขาวิชาการบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเรื่องความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการ ตนไม่มีข้อสงสัยว่า ทหารจะมีความแตกต่างจากพลเรือน ซึ่งน่าจะทำหน้าที่ได้ดีเหมือนกัน จึงไม่อยากจะให้รังเกียจตรงที่ว่า หากมียศแล้ว จะต้องรู้น้อยกว่าคนไม่มียศ หรือจำเป็นจะต้องเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการรบอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่ตัวชี้วัด เพราะจริงๆ แล้ว ทหารมักจะเป็นต้นแบบขององค์ความรู้ในหลายๆด้าน
โดยสามารถดูได้จากผลงานของ คสช. ว่าที่ผ่านมาปรากฏผลงานอย่างไรบ้าง และหากเราให้เวลา คสช.มากพอ บ้านเมืองก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ เหมือนกับที่ คสช.พูดอยู่เสมอว่า จะคืนความสุขให้ประชาชน คสช. ก็คืนมาเป็นระยะๆ จนถึงวันนี้ก็คืนความสุขให้กับคนในชาติมาหลายเรื่องด้วยกันแล้ว เพราะฉะนั้นผลงานจะเป็นตัวชี้วัดได้เองว่า แค่ภายในเวลาขนาดนี้ คสช. ยังสามารถแก้ไขปัญหาได้ถึงระดับนี้ ก็อยากจะให้พี่น้องประชาชน ให้ความร่วมมือ และให้กำลังใจกับคสช. ให้มีโอกาสและให้เวลาได้ทำหน้าที่ แล้วผลงานก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า คสช.จะทำได้อย่างที่มุ่งมั่นตั้งใจแค่ไหนอย่างไร
พล.อ.ธีรเดชกล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัว ตนห่างจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. มากถึง 14 ปี แต่ก็รู้จักในฐานะที่เป็นนายทหารรุ่นน้อง ที่อยู่ในกองทัพบกด้วยกัน โดยตนเชื่อและก็ได้ยินมาว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้คำพูดเอาไว้ว่า เมื่อท่านได้เสียสละเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองแล้ว ท่านก็จะดำเนินการแก้ไขให้จบ ตนคิดว่าเป็นความมุ่งมั่นของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะฯ ที่แน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้เสร็จสิ้น และเสียงสะท้อนในขณะนี้ไม่ว่านักธุรกิจ หรือประชาชนโดยทั่วไปก็อยากจะเห็นประเทศชาติของเราสงบ มีความมั่นคง เพื่อจะได้ก้าวต่อไปได้เหมือนกับนานาประเทศ ถ้าความขัดแย้งมันยังอยู่ ก็ไม่มีความสงบ ไม่มีใครกล้ามาลงทุน บ้านเมืองก็เดินไปไม่ได้ เพราะ ฉะนั้นก็ควรให้เป็นไปตามเป้าหมาย และความตั้งใจของ คสช.
โดยให้เหตุผลว่าระยะเวลาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่ปัจจัยสำคัญคือทำยังไงที่จะสร้างความเชื่อถือให้กับคนในชาติและมิตรประเทศได้เห็นว่าบ้านเมืองของเราสงบ และมีความเรียบร้อยมีความมั่นคงในทุกๆ ด้าน ปัจจัยสำคัญจึง อยู่ที่ความปรองดอง ความขัดแย้งไม่มี และมีความมั่นคง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ คสช. อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปพักผ่อนที่ยุโรปในขณะที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดกรณีโครงการจำนำข้าว อดีตประธานวุฒิฯ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเข้าใจว่า ทั้ง คสช.และป.ป.ช. ต่างก็ทำตามหน้าที่ของตัวเองเหมือนๆกัน คือ เมื่ออดีตนายกฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอลาไปพักผ่อน คสช.เห็นว่าเหมาะสม ก็อนุญาต แต่ป.ป.ช.ก็ทำงานของป.ป.ช. ซึ่งชี้มูลมาตรงกันพอดี เพราะฉะนั้นอันนี้น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่าจงใจ แล้วก็มั่นใจว่า ทั้งคสช. และป.ป.ช. ก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งต่างฝ่ายก็พิจารณากันแล้วเห็นว่าเหมาะสมตามเหตุและผล เชื่อว่าไม่ใช่เป็นการตั้งใจปล่อยเสือเข้าป่า อย่างที่หลายๆ ฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ หรือตั้งข้อสงสัยกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมยืนยันการทำงานตามนโยบาย คสช. เพื่อเร่งคืนความสุขให้ประชาชนโดยเร็ว เป็นไปตามโรดแมปของหัวหน้า คสช. ที่ต้องการให้การดำเนินงานเป็นไปตามกรอบที่กำหนดไว้ทุกประการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคสช. ได้เดินทางเข้ามาในกองบัญชาการกองทัพบก เพื่อปฏิบัติงานตามปกติ แม้จะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม
**“ธีรเดช”วอนสังคมเชื่อมั่น คสช.
พล.อ.ธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา เปิดเผยถึงกรณีที่จะมีการสรรหาคณะบุคคล เพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า เสมือนกับการเป็นสมาชิกรัฐสภา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้แทนที่มาจากหลายสาขาอาชีพ โดยมองว่า การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะแต่งตั้งให้ผู้ใดเข้ามาดำรงตำแหน่งนั้น เชื่อว่าคงจะมีการพิจารณาคัดสรรมาเป็นอย่างดีแล้วว่า จะต้องมีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสมเพียงพอ ซึ่งเมื่อพูดถึงทหารแล้ว ก็อยากให้เข้าใจว่า ในทุกวันนี้ทหารได้รับการศึกษาวิชาความรู้เหมือนกับพลเรือนทั่วไป โดยในรั้วโรงเรียนนายหาร - นายตำรวจทั้งสี่เหล่า ก็มีการเรียนการสอนในหลากหลายสาขาวิชา เหมือนกับมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป เพราะฉะนั้นในด้านของความรู้ความสามารถ ก็น่าจะเหมือนกันกับคนไทยทุกคน ไม่ใช่ว่าเป็นทหาร แล้วจะมีความรู้ความสามารถด้อยกว่า หรือมีความรู้แค่เฉพาะด้านเท่านั้น
พล.อ.ธีรเดช กล่าวด้วยว่า สถาบันทหารเป็นสถาบันที่มีการศึกษาอบรมอยู่ตลอดเวลา เช่น โรงเรียนเสนาธิการ (รร.เสธ.) กับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในต้นแบบของสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั่วไปในประเทศ โดยเฉพาะในสาขาวิชาการบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเรื่องความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการ ตนไม่มีข้อสงสัยว่า ทหารจะมีความแตกต่างจากพลเรือน ซึ่งน่าจะทำหน้าที่ได้ดีเหมือนกัน จึงไม่อยากจะให้รังเกียจตรงที่ว่า หากมียศแล้ว จะต้องรู้น้อยกว่าคนไม่มียศ หรือจำเป็นจะต้องเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการรบอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่ตัวชี้วัด เพราะจริงๆ แล้ว ทหารมักจะเป็นต้นแบบขององค์ความรู้ในหลายๆด้าน
โดยสามารถดูได้จากผลงานของ คสช. ว่าที่ผ่านมาปรากฏผลงานอย่างไรบ้าง และหากเราให้เวลา คสช.มากพอ บ้านเมืองก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ เหมือนกับที่ คสช.พูดอยู่เสมอว่า จะคืนความสุขให้ประชาชน คสช. ก็คืนมาเป็นระยะๆ จนถึงวันนี้ก็คืนความสุขให้กับคนในชาติมาหลายเรื่องด้วยกันแล้ว เพราะฉะนั้นผลงานจะเป็นตัวชี้วัดได้เองว่า แค่ภายในเวลาขนาดนี้ คสช. ยังสามารถแก้ไขปัญหาได้ถึงระดับนี้ ก็อยากจะให้พี่น้องประชาชน ให้ความร่วมมือ และให้กำลังใจกับคสช. ให้มีโอกาสและให้เวลาได้ทำหน้าที่ แล้วผลงานก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า คสช.จะทำได้อย่างที่มุ่งมั่นตั้งใจแค่ไหนอย่างไร
พล.อ.ธีรเดชกล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัว ตนห่างจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. มากถึง 14 ปี แต่ก็รู้จักในฐานะที่เป็นนายทหารรุ่นน้อง ที่อยู่ในกองทัพบกด้วยกัน โดยตนเชื่อและก็ได้ยินมาว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้คำพูดเอาไว้ว่า เมื่อท่านได้เสียสละเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองแล้ว ท่านก็จะดำเนินการแก้ไขให้จบ ตนคิดว่าเป็นความมุ่งมั่นของ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะฯ ที่แน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้เสร็จสิ้น และเสียงสะท้อนในขณะนี้ไม่ว่านักธุรกิจ หรือประชาชนโดยทั่วไปก็อยากจะเห็นประเทศชาติของเราสงบ มีความมั่นคง เพื่อจะได้ก้าวต่อไปได้เหมือนกับนานาประเทศ ถ้าความขัดแย้งมันยังอยู่ ก็ไม่มีความสงบ ไม่มีใครกล้ามาลงทุน บ้านเมืองก็เดินไปไม่ได้ เพราะ ฉะนั้นก็ควรให้เป็นไปตามเป้าหมาย และความตั้งใจของ คสช.
โดยให้เหตุผลว่าระยะเวลาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่ปัจจัยสำคัญคือทำยังไงที่จะสร้างความเชื่อถือให้กับคนในชาติและมิตรประเทศได้เห็นว่าบ้านเมืองของเราสงบ และมีความเรียบร้อยมีความมั่นคงในทุกๆ ด้าน ปัจจัยสำคัญจึง อยู่ที่ความปรองดอง ความขัดแย้งไม่มี และมีความมั่นคง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ คสช. อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปพักผ่อนที่ยุโรปในขณะที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดกรณีโครงการจำนำข้าว อดีตประธานวุฒิฯ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเข้าใจว่า ทั้ง คสช.และป.ป.ช. ต่างก็ทำตามหน้าที่ของตัวเองเหมือนๆกัน คือ เมื่ออดีตนายกฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอลาไปพักผ่อน คสช.เห็นว่าเหมาะสม ก็อนุญาต แต่ป.ป.ช.ก็ทำงานของป.ป.ช. ซึ่งชี้มูลมาตรงกันพอดี เพราะฉะนั้นอันนี้น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่าจงใจ แล้วก็มั่นใจว่า ทั้งคสช. และป.ป.ช. ก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งต่างฝ่ายก็พิจารณากันแล้วเห็นว่าเหมาะสมตามเหตุและผล เชื่อว่าไม่ใช่เป็นการตั้งใจปล่อยเสือเข้าป่า อย่างที่หลายๆ ฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ หรือตั้งข้อสงสัยกัน