8 เครือข่ายสุขภาพหยัน อภ.แก้ตัวไม่ขึ้น โยนความผิดให้ผู้บริหารชุดที่แล้วไม่ต่างจากนักการเมือง ถามกลับรู้ล่วงหน้าว่าจะขาดแคลนยาทำไมไม่แจ้งล่วงหน้า ปล่อยโรงพยาบาลเผชิญหน้าแก้ปัญหาเอง ย้ำเป็นหน้าที่ อภ.ต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้ยาขาดแคลน ทั้งที่สามารถจ้างโรงงานเอกชนผลิตได้ ซัดหยุดผลิตยาเม็ดหญิงตั้งครรภ์ ส่อเจตนาให้ไปซื้อจาก บ.เอกชนหรือไม่ ตั้งข้อสังเกตไม่เอาผิดบริษัททิ้งงานก่อสร้างโรงงานวัคซีนที่รังสิต แต่กลับจ้างเข้ามาใหม่อีก
วานนี้ (8 ก.ค.) นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การที่ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ออกมาชี้แจงว่า เหตุการณ์โรงพยาบาลขาดแคลนยาหลายตัวนั้น เกิดจากการรับปรุงโรงงานผลิตยาที่มีปัญหา โดยโยนว่าเกิดขึ้นคุณภาพการผลิตยาเกิดขึ้นจากการบริหารงานของผู้บริหารชุดก่อน เป็นการแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น ให้เหตุผลข้ออ้างแก้ตัวน้ำขุ่นๆ เหมือนนักการเมืองทั่วไปนิยม ทั้งที่การขาดแคลน และผลประกอบการที่ตกต่ำลงเกิดขึ้นในยุคนี้ ในยุคผู้บริหารชุดก่อนแทบไม่มีเลย โดยประเด็นนี้ นพ.พิพัฒน์ ไม่ยอมชี้แจง ซึ่งโดยระเบียบการจัดซื้อยาของหน่วยงานรัฐต้องซื้อจาก อภ. ดังนั้น บอร์ด อภ.ต้องบริหารจัดการทุกวิถีทาง ไม่ให้เกิดผลกระทบจนเกิดการขาดแคลนขึ้น เช่น การจ้างโรงงานเอกชนผลิต เป็นต้น ดังนั้น จึงถือเป็นการยอมรับโดยดุษณีแล้วว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อภ.ไม่สามารถดำเนินการตามพันธกิจของ อภ.ไว้ได้
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทาง 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพขอตั้งคำถามให้ อภ. ตอบ 6 ข้อ ดังนี้ 1.เหตุใด อภ.จึงปล่อยให้โรงพยาบาลแก้ปัญหาขาดแคลนยาเบาหวานและความดันเอง ทั้งที่ อภ.รู้ว่าจะขาดแคลนแต่ทำไมจึงไม่แจ้งล่วงหน้า การที่ อภ.ยกเลิกใบสั่งซื้อหรือที่เรียกว่า "ตัดจ่าย" ทีละเดือนๆ นั้น ทำให้วางแผนยากว่าจะซื้ออย่างไร และ อภ.จะหันกลับมาสนับสนุนได้เมื่อไร 2.ยาผู้ป่วยจิตเวช จะต้องรอนานอีกเท่าไร จึงจะเพียงพอแก่การบริการ 3.ยาเม็ด Triferdine สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่ต้องกินตลอดอายุการตั้งครรภ์ ทำไม อภ.จึงหยุดผลิต เหมือนเป็นการบังคับให้โรงพยาบาลต้องไปซื้อยาสูตรผสมของบริษัทเดียว เท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันหรือไม่ 4.ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิเวียร์ ที่ผลิตไม่ได้ และมีวัตถุดิบเหลืออีก 500 ล้านบาทนั้น จะเร่งแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อให้มียาเพียงพอก่อนจะเกิดการระบาดขึ้นอีก ดังที่เกิดปัญหาขึ้นเมื่อ 3 เดือนก่อนที่จังหวัดใหญ่ภาคอีสาน 5.ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ อภ.ขาดส่งให้สปสช. งวด เม.ย.-มิ.ย. 57 ส่งผลต่อคนไข้เอดส์ทั่วประเทศจะจัดการต่ออย่างไร และ 6.แผนงานระยะยาว เรื่องโรงงานผลิตที่รังสิต โรงงานผลิตวัคซีน ผ่านมา 1 ปี การก่อสร้างไม่คืบหน้า ไม่มีการแจ้งขึ้นบัญชีดำบริษัททิ้งงาน จะดำเนินการอย่างไรต่อ
ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการที่ประธานบอร์ด อภ. และ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ.ชี้แจง ยังพบว่าตอบได้ไม่ชัดเจน เลี่ยงประเด็น โดยเฉพาะกรณีโรงงานผลิตวัคซีนที่รังสิต อย่าเบี่ยงเบนประเด็น ขอให้ตอบมาว่าทำไม อภ.จึงไม่ดำเนินการใดๆ กับบริษัทที่ทิ้งงาน และทำไมยังมีความพยายามจะเลือก บริษัทที่ทิ้งงานให้ได้รับการว่าจ้างใหม่กลับเข้ามาอีก เท่ากับว่าเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้บริษัท หรือ บกพร่องในการบริหารงานหรือไม่
นายนิมิตร์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ว่ามีวัตถุดิบผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี AZT พอใช้อีก 6 เดือน และลามิวูดีน (lamivudine) 6 ตันนั้นเท็จจริงแค่ไหน เพราะเท่าที่ทราบมา วัตถุดิบลามิวูดีนมีเหลือแค่ 2 ตัน ที่สั่งอีก 4 ตันจนถึงขณะนี้ ผอ.อภ.ยังไม่ยอมเซ็นสัญญา ทั้งที่ยาเม็ดลามิวูดีน (lamivudine tab) เหลือในสต๊อกยาแค่ 2 เดือน ซึ่งฝ่ายผลิตขอเอาลามิวูดีนที่มีมาผลิตยาเม็ดลามิวูดีน แต่จริงหรือไม่ที่ นพ.สุวัช กลับสั่งให้ไปผลิต GPOVIR Z 250 ทั้งที่มีสต๊อกอยู่ถึง 6 เดือน แต่เพราะราคาแพงกว่ายาเม็ดลามิวูดีน และได้กำไรมากกว่าจึงเลือกผลิต อยากให้ตอบคำถามประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนด้วย
ด้าน นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเราเพียงแต่ชี้แจงลำดับเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร และไม่กล่าวโทษใคร ส่วนที่ต้องเอ่ยถึงอดีตผู้บริหารเก่า เพราะต้องเท้าความว่าปัญหาแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นนั้นมีที่มาอย่างไร หากไม่กล่าวถึงก็จะชี้แจงไม่ได้ว่าปัญหานั้นสะสมมาอย่างไร ขออย่าแปลเจตนาในแง่ลบ ส่วนกรณีการไม่ชี้แจงปัญหาต่อโรงพยาบาลว่าจะมีการหยุดผลิตยาหรือลดกำลังการผลิตยาบางชนิดลง อย่างยาเบาหวานนั้น เป็นขั้นตอนของฝ่ายปฏิบัติการคือ ผู้อำนวยการ อภ. ซึ่งตนเข้าใจว่าอาจจะมีการชี้แจงสื่อสารแล้ว แต่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะปัญหาเช่นนี้ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ส่วนข้อสงสัยเรื่องจ้างบริษัททิ้งงานให้กลับเข้ามาดูแลการก่อสร้างโรงงานที่รังสิตใหม่นั้น ต้องชี้แจงว่าช่วงขณะที่ให้ประกวดราคานั้น ยังไม่มีการประกาศว่าบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทผู้ทิ้งงาน เพราะกำลังอยู่ในขั้นตอนที่ฝ่ายปฏิบัติกำลังเสนอเรื่องพิจารณา จึงทำให้บริษัทมีสิทธิ์ที่จะเสนอเข้ามา ขอยืนยันว่าเราไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ใคร ซึ่งขณะนี้กำลังมุ่งแก้ไขทุกอย่างให้ดีขึ้น และพยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามไปยัง นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. แต่ยังไม่สามารถติดต่อเพื่อสอบถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้
นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. กล่าวว่า ขณะนี้วัตถุดิบในการผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิด 3TC มาถึงอภ.แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะขาดยา ส่วนวัตถุดิบในการผลิต ยาจีพีโอ เวียร์ แซท นั้น ไม่ใช่ตนไม่อนุมัติซื้อ แต่ติดปัญหาทางบริษัทต่างประเทศ เรื่องนี้จะมีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ด อภ.วันที่ 9 กรกฎาคม ส่วนยาเม็ดเสริมไอโอดีน ยาจิตเวช ทั้งหมดมีวัตถุดิบอยู่ระหว่างการผลิต แม้โรงงานจะยังอยู่ในช่วงปรับปรุง แต่ยังมีบางจุดที่ผลิตได้ ที่สำคัญได้พบเครื่องตอกยา 1 เครื่อง ซึ่งมีศักยภาพ แต่ที่ผ่านมากลับไม่ใช้ประโยชน์ จึงได้นำกลับมาใช้งาน
วานนี้ (8 ก.ค.) นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า การที่ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ออกมาชี้แจงว่า เหตุการณ์โรงพยาบาลขาดแคลนยาหลายตัวนั้น เกิดจากการรับปรุงโรงงานผลิตยาที่มีปัญหา โดยโยนว่าเกิดขึ้นคุณภาพการผลิตยาเกิดขึ้นจากการบริหารงานของผู้บริหารชุดก่อน เป็นการแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น ให้เหตุผลข้ออ้างแก้ตัวน้ำขุ่นๆ เหมือนนักการเมืองทั่วไปนิยม ทั้งที่การขาดแคลน และผลประกอบการที่ตกต่ำลงเกิดขึ้นในยุคนี้ ในยุคผู้บริหารชุดก่อนแทบไม่มีเลย โดยประเด็นนี้ นพ.พิพัฒน์ ไม่ยอมชี้แจง ซึ่งโดยระเบียบการจัดซื้อยาของหน่วยงานรัฐต้องซื้อจาก อภ. ดังนั้น บอร์ด อภ.ต้องบริหารจัดการทุกวิถีทาง ไม่ให้เกิดผลกระทบจนเกิดการขาดแคลนขึ้น เช่น การจ้างโรงงานเอกชนผลิต เป็นต้น ดังนั้น จึงถือเป็นการยอมรับโดยดุษณีแล้วว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อภ.ไม่สามารถดำเนินการตามพันธกิจของ อภ.ไว้ได้
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทาง 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพขอตั้งคำถามให้ อภ. ตอบ 6 ข้อ ดังนี้ 1.เหตุใด อภ.จึงปล่อยให้โรงพยาบาลแก้ปัญหาขาดแคลนยาเบาหวานและความดันเอง ทั้งที่ อภ.รู้ว่าจะขาดแคลนแต่ทำไมจึงไม่แจ้งล่วงหน้า การที่ อภ.ยกเลิกใบสั่งซื้อหรือที่เรียกว่า "ตัดจ่าย" ทีละเดือนๆ นั้น ทำให้วางแผนยากว่าจะซื้ออย่างไร และ อภ.จะหันกลับมาสนับสนุนได้เมื่อไร 2.ยาผู้ป่วยจิตเวช จะต้องรอนานอีกเท่าไร จึงจะเพียงพอแก่การบริการ 3.ยาเม็ด Triferdine สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่ต้องกินตลอดอายุการตั้งครรภ์ ทำไม อภ.จึงหยุดผลิต เหมือนเป็นการบังคับให้โรงพยาบาลต้องไปซื้อยาสูตรผสมของบริษัทเดียว เท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันหรือไม่ 4.ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิเวียร์ ที่ผลิตไม่ได้ และมีวัตถุดิบเหลืออีก 500 ล้านบาทนั้น จะเร่งแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อให้มียาเพียงพอก่อนจะเกิดการระบาดขึ้นอีก ดังที่เกิดปัญหาขึ้นเมื่อ 3 เดือนก่อนที่จังหวัดใหญ่ภาคอีสาน 5.ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ อภ.ขาดส่งให้สปสช. งวด เม.ย.-มิ.ย. 57 ส่งผลต่อคนไข้เอดส์ทั่วประเทศจะจัดการต่ออย่างไร และ 6.แผนงานระยะยาว เรื่องโรงงานผลิตที่รังสิต โรงงานผลิตวัคซีน ผ่านมา 1 ปี การก่อสร้างไม่คืบหน้า ไม่มีการแจ้งขึ้นบัญชีดำบริษัททิ้งงาน จะดำเนินการอย่างไรต่อ
ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการที่ประธานบอร์ด อภ. และ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ.ชี้แจง ยังพบว่าตอบได้ไม่ชัดเจน เลี่ยงประเด็น โดยเฉพาะกรณีโรงงานผลิตวัคซีนที่รังสิต อย่าเบี่ยงเบนประเด็น ขอให้ตอบมาว่าทำไม อภ.จึงไม่ดำเนินการใดๆ กับบริษัทที่ทิ้งงาน และทำไมยังมีความพยายามจะเลือก บริษัทที่ทิ้งงานให้ได้รับการว่าจ้างใหม่กลับเข้ามาอีก เท่ากับว่าเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้บริษัท หรือ บกพร่องในการบริหารงานหรือไม่
นายนิมิตร์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ว่ามีวัตถุดิบผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี AZT พอใช้อีก 6 เดือน และลามิวูดีน (lamivudine) 6 ตันนั้นเท็จจริงแค่ไหน เพราะเท่าที่ทราบมา วัตถุดิบลามิวูดีนมีเหลือแค่ 2 ตัน ที่สั่งอีก 4 ตันจนถึงขณะนี้ ผอ.อภ.ยังไม่ยอมเซ็นสัญญา ทั้งที่ยาเม็ดลามิวูดีน (lamivudine tab) เหลือในสต๊อกยาแค่ 2 เดือน ซึ่งฝ่ายผลิตขอเอาลามิวูดีนที่มีมาผลิตยาเม็ดลามิวูดีน แต่จริงหรือไม่ที่ นพ.สุวัช กลับสั่งให้ไปผลิต GPOVIR Z 250 ทั้งที่มีสต๊อกอยู่ถึง 6 เดือน แต่เพราะราคาแพงกว่ายาเม็ดลามิวูดีน และได้กำไรมากกว่าจึงเลือกผลิต อยากให้ตอบคำถามประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนด้วย
ด้าน นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเราเพียงแต่ชี้แจงลำดับเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร และไม่กล่าวโทษใคร ส่วนที่ต้องเอ่ยถึงอดีตผู้บริหารเก่า เพราะต้องเท้าความว่าปัญหาแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นนั้นมีที่มาอย่างไร หากไม่กล่าวถึงก็จะชี้แจงไม่ได้ว่าปัญหานั้นสะสมมาอย่างไร ขออย่าแปลเจตนาในแง่ลบ ส่วนกรณีการไม่ชี้แจงปัญหาต่อโรงพยาบาลว่าจะมีการหยุดผลิตยาหรือลดกำลังการผลิตยาบางชนิดลง อย่างยาเบาหวานนั้น เป็นขั้นตอนของฝ่ายปฏิบัติการคือ ผู้อำนวยการ อภ. ซึ่งตนเข้าใจว่าอาจจะมีการชี้แจงสื่อสารแล้ว แต่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะปัญหาเช่นนี้ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ส่วนข้อสงสัยเรื่องจ้างบริษัททิ้งงานให้กลับเข้ามาดูแลการก่อสร้างโรงงานที่รังสิตใหม่นั้น ต้องชี้แจงว่าช่วงขณะที่ให้ประกวดราคานั้น ยังไม่มีการประกาศว่าบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทผู้ทิ้งงาน เพราะกำลังอยู่ในขั้นตอนที่ฝ่ายปฏิบัติกำลังเสนอเรื่องพิจารณา จึงทำให้บริษัทมีสิทธิ์ที่จะเสนอเข้ามา ขอยืนยันว่าเราไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ใคร ซึ่งขณะนี้กำลังมุ่งแก้ไขทุกอย่างให้ดีขึ้น และพยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามไปยัง นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. แต่ยังไม่สามารถติดต่อเพื่อสอบถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้
นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. กล่าวว่า ขณะนี้วัตถุดิบในการผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิด 3TC มาถึงอภ.แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะขาดยา ส่วนวัตถุดิบในการผลิต ยาจีพีโอ เวียร์ แซท นั้น ไม่ใช่ตนไม่อนุมัติซื้อ แต่ติดปัญหาทางบริษัทต่างประเทศ เรื่องนี้จะมีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ด อภ.วันที่ 9 กรกฎาคม ส่วนยาเม็ดเสริมไอโอดีน ยาจิตเวช ทั้งหมดมีวัตถุดิบอยู่ระหว่างการผลิต แม้โรงงานจะยังอยู่ในช่วงปรับปรุง แต่ยังมีบางจุดที่ผลิตได้ ที่สำคัญได้พบเครื่องตอกยา 1 เครื่อง ซึ่งมีศักยภาพ แต่ที่ผ่านมากลับไม่ใช้ประโยชน์ จึงได้นำกลับมาใช้งาน