หลวงปู่ใบ รตนญาโณ วัดป่าภูตคาม อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น ให้คำสอนประเภท “ลัดสั้นทันธรรม” ว่า... “รู้ล่ะ” ครั้นลูกศิษย์ขอให้ขยายความหน่อย ท่านก็ว่า... “ให้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็ละทุกอย่างทุกสิ่ง ถ้ารู้แล้วไม่ละไม่เลิก มันจะหนัก มันจะทุกข์ เป็นคนไม่ปกติ เหมือนบ้าหอบฟาง บ้าสมบัติ บ้าสมมติ”
การรู้ในที่นี้ ไม่จำเพาะเพียงสัญญา-จำได้หมายรู้เท่านั้น แต่เหนือขึ้นไปอีก คือการรับรู้ หรือรู้สึกตัว หรือมีสติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้และความรู้ตัวทั่วพร้อม)
การรับรู้จะต้องอาศัยการสังเกตและการปฏิบัติ
กูรูสมาธิแบบเคลื่อนไหว บอกว่า...การรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างซื่อตรง ไม่เพียงไม่ต้องอาศัยความคิด แต่ยังช่วยคงไว้ซึ่งการตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ใครจะรู้หากไม่เคยสังเกต
สมาธิเป็นภาวะที่ไม่เพียงสงบ แต่ยังช่วยผ่อนคลายความเครียดที่สะสมอยู่ ใครจะรู้หากไม่เคยลองทำ
การหายใจเข้าออกอย่างถูกต้อง ไม่เพียงได้สติ แต่ยังช่วยสูดซับพลังที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย ใครจะรู้หากไม่เคยทดลองปฏิบัติ
(ที่มา : โอโชบำบัด/โอโช-บรรยาย/กำธร เก่งสกุล-แปล/สนพ.โพสต์บุ๊กส์)
การทดลองฝึกปฏิบัติให้รู้สึกตัว หรือการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว (ในอิริยาบถนั่ง) ตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ มี 15 จังหวะ ดังนี้...
1. วางฝ่ามือทั้งสองไว้บนเข่าสองข้าง
2. พลิกมือขวาตะแคงขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
3. ยกมือขวาขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
4. ลดมือขวามาไว้ที่สะดือ รู้สึกตัว แล้วหยุด
5.พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
6. ยกมือซ้ายขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
7. ลดมือซ้ายมาทับมือขวา รู้สึกตัว แล้วหยุด
8. เคลื่อนมือขวาขึ้นมาที่หน้าอก รู้สึกตัว แล้วหยุด
9. เคลื่อนมือขวาออก รู้สึกตัว แล้วหยุด
10. ลดมือขวาลงไว้ที่หัวเข่า รู้สึกตัว แล้วหยุด
11. คว่ำมือขวาลง รู้สึกตัว แล้วหยุด
12. เคลื่อนมือซ้ายขึ้นมาที่หน้าอก รู้สึกตัว แล้วหยุด
13. เคลื่อนมือขวาออก รู้สึกตัว แล้วหยุด
14. ลดมือซ้ายลงที่หัวเข่า รู้สึกตัว แล้วหยุด
15. คว่ำมือซ้ายลง รู้สึกตัว แล้วหยุด
(และทำการเคลื่อนไหวตั้งแต่เริ่มต้นมาอีก ให้ต่อเนื่องกันไป)
...(รู้ทุกข์ รู้ธรรม ประสบการณ์เจริญสติของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ)
การฝึกทำเช่นนี้ทำให้ “รู้สึกตัว” ที่ตัวเรา คือกายเป็นเบื้องต้น ต่อไปก็จะรู้สึกตัวที่ใจเรา และต่อๆ ไปก็จะรู้สึกตัวหรือรับรู้ทุกสิ่งทั่วโลกและจักรวาล
การรับรู้หรือการรู้สึกตัว เป็นรากเหง้าของบุญ การไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป
หยุดนิ่งเคลื่อนไหวเป็นสองด้านของชีวิต ที่ต้องติดตามรู้เท่ารู้ทันทุกขณะ เป็นภาวะหรือการดำรงอยู่ในปัจจุบัน มิฉะนั้น อดีตและอนาคตก็จะฉกฉวยเอาไปเป็นเหยื่อ
ในเคลื่อนมีนิ่ง ในความเคลื่อนไหวแฝงให้เห็นถึงความสงบ สรรพสิ่งในโลก (และจักรวาล) เกี่ยวเนื่องกันและกัน ทุกอย่างเป็นสิ่งสัมพันธ์ ไม่มีอะไรสัมบูรณ์ ความสงบร่มเย็นของความเป็นไปเองตามธรรมชาติ ธรรมะ ก็คือธรรมชาติ ปรากฏอยู่ทุกที่ทุกขณะ เข้าใจความเป็นธรรมดา เข้าใจความเกี่ยวกันระหว่างกันของสรรพสิ่ง
สายน้ำกระทบกรวด ละอองน้ำแตกกระจาย นกในอากาศกับตัวเราเอง ต่างก็ล้วนเกี่ยวพันอยู่ด้วยกัน มนุษย์ควรจะสำนึกว่า ทุกสิ่งที่เรากระทำลงไป ล้วนกระทบถึงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล
... (ที่มา : โชติช่วง นาดอน/ความสงบสุขแห่งฌาน/สนพ.เต๋าประยุกต์)
โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม? เคยเห็นไหม? น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม? ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะคล้ายๆ กับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม? แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่งกับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยม มันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้
... (พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท/ปกิณณกธรรม/คณะศิษยานุศิษย์ชมรมเผยแผ่พุทธธรรมเจริญผล จัดพิมพ์)
ในหยุดนิ่งมีเคลื่อนไหว-ในเคลื่อนไหวมีหยุดนิ่ง เป็นธรรมชาติธรรมดาของสรรพสิ่ง การไปห้ามหรือปิดกั้นภาวะเช่นนั้น ไม่ต่างอะไรกับไปอ้อนวอนให้น้ำไหลจากที่ต่ำไปสู่ที่สูง
ร่มเย็นเป็นไฟ คำว่า “ร่มเย็น” หมายถึงอยู่สุขสบาย ไม่เดือดร้อน ซึ่งเกิดจาก “ความสงบ” อันปราศจากความทุกข์ ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มีความกระวนกระวานระส่ำระสาย ไม่ถูกห่อหุ้ม พัวพัน ตบตี ทิ่มแทง เผาลน แต่ประการใด จึงนับว่าเป็นความสงบแท้จริง
ส่วนคำว่า “เป็นไฟ” ก็อยู่ในลักษณะตรงกันข้ามกับ “ร่มเย็น” ขนาดอยู่ในห้องแอร์ก็เอาไม่อยู่ฮอทสุดๆ ประมาณนั้น
ปัจจุบันบ้านเมืองของเราเหมือนถูกไฟไหม้ จนทหารเข้ามาแก้ไขด้วยรัฐประหาร ดูเหมือนไฟกำลังลดลงกลายเป็นความเย็น (คนขี้สงสัยก็ยังกังขาอยู่ ตอนก่อนกู้เงินสองล้านล้าน ถูกต่อต้านทั่วบ้านทั่วเมือง ไงตอนนี้จะกู้สามล้านล้าน กลับเงียบเป็นเป่าสาก?)
ความเย็นเกิดจากความร้อนค่อยๆ ลดลง ขณะเดียวกันความร้อนก็เกิดจากความเย็นค่อยๆ ลดลง
ในภาวะเช่นนี้ ผู้นำจึงมีบทบาทสำคัญยิ่ง เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย? ไฟดับมอด? ประชาชนผู้แบกรับหนี้สิน (ทั้งของตนและรัฐบาล) หวังเช่นนั้น
การคิดการเขียนแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็ต้องสำรวมระมัดระวัง เพราะยังไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเกราะป้องกัน แต่ก็อดที่จะเขียนถึงผู้นำไม่ได้ เพราะท่านเป็นบุคคลสำคัญยิ่งของประเทศ ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ จำเป็นต้องอาศัยท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยขยายความนัยให้ใจได้ผ่อนคลายบ้าง...
จากเต๋าเต็กเก็ง บทที่ 15 นี้ เราสรุปคุณลักษณะของผู้นำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้
1. มีความรอบคอบ ระมัดระวังดังหนึ่งกำลังเดินไปบนธารน้ำแข็งบางๆ น้ำแข็งนั้นอาจจะรับน้ำหนักเราไม่ได้ แตกทะลุทำให้เราตกน้ำแล้วผุดขึ้นรูเดิมไม่ได้ มีแต่ตายสถานเดียว
2. ระวังระไวดั่งหนึ่งมีศัตรูรอบทิศทาง
3. สำรวมกิริยา วาจา ใจ ดั่งหนึ่งเป็นแขกที่ไปเยือน ไม่ใช่ทำตัวตามสบายอย่างเจ้าบ้าน
4. ทำตัวโอนอ่อนเหมือนน้ำแข็งที่กำลังละลาย
5. ทำตัวซื่อตรงไม่แต่งจริต เหมือนไม้ที่ยังมิได้ถูกตกแต่งสลักเสลากลายเป็นภาพหลอน ไม่ใช่ของแท้ไปแล้ว
6. ใจกว้างและว่างเหมือนกับหุบเหว
ลักษณะอย่างนี้ ถ้าแกล้งทำก็เป็นการเล่นเล่ห์ แต่ก็ไม่มีใครจะเล่นเล่ห์ ลวงโลก ทำตัวตามคุณลักษณะข้างต้นไปได้ตลอดหรอก เพราะคุณลักษณะเหล่านั้นปฏิบัติได้ยากมาก ใจต้องเข้าถึงเต๋าแล้ว จึงจะสามารถทำตัวอย่างนั้นได้ อย่างเป็นธรรมชาติตลอดไป
สำหรับข้อห้ามของผู้นำ ดูได้จากเต๋าเต็กเก็ง บทที่ 24 ดังนี้
ผู้ที่เขย่งปลายเท้า ไม่อาจยืนตรง
ผู้ก้าวย่างไป กลับเดินไม่ไกล
ผู้สำแดงตน จะไม่ผุดผ่อง
ผู้อวดอ้างตัว จะไม่โชติช่วง
ผู้ยกตน จะไร้วีรกรรม
ผู้ผยองลำพอง จะไม่ยั่งยืน
สิ่งเหล่านี้เต๋าเรียกว่ากากเดน และเนื้อร้ายวิปริต แม้ปุถุชนยังรังเกียจ ดังนั้นผู้ตั้งมั่นในเต๋าจึงยิ่งไม่กระทำ
สรุปเป็นข้อความสั้นๆ ท่องจำง่ายๆ คือ...
ยามปกติ “ไม่อวดเก่ง ไม่ยกตน” ยามประสบความสำเร็จก็ “ไม่แสดงความลำพองใจ”
ทำตัวอย่างนี้ อยู่ที่ไหนใครๆ ก็รัก มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ไม่มีใครอิจฉาริษยา ไม่มีใครคิดร้าย
รู้แล้วว่าอะไรเป็นเนื้อร้ายวิปริต จะเอามันแปะไว้บนใบหน้าของเราอีกทำไม นิสัยนั้นแก้ได้ สันดานก็แก้ได้ ถ้าเรามีสติปัญญา
การตื่นรู้ ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปอยู่ในป่า จงเรียนรู้ในท่ามกลางความวุ่นวายนี่แหละ ถ้าท่าน “วางดาบ” ก็อาจพลันพบ “พุทธะ”
... (โชติช่วง นาดอน/ความสงบสุขแห่งฌาน/สนพ.เต๋าประยุกต์)
ก็ใครเล่าทำ ไม่อยากด่วนตัดสิน ไม่อยากโทษฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก ไม่อยากฟันธงว่าสองฝ่ายทะเลาะกัน (ฝ่ายไหนผิดฝ่ายไหนถูกล่ะ หรือผิดทั้งสอง หรือถูกทั้งสอง อะไรกันนี่ มีอย่างนี้ด้วยเหรือ?)
ผมทำเอง แม้ผมจะทำหรือไม่ทำก็ตาม (ทำคือไม่ทำ-ไม่ทำคือทำ) สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเกี่ยวพันอยู่ด้วยกัน
(ถ้ายังเป็น) มนุษย์ควรจะสำนึกว่า ทุกสิ่งที่เรากระทำลงไป หรือไม่กระทำอะไรเลย ล้วนมีผลกระทบถึงทุกสรรพสิ่งในโลกแลจักรวาล
“รับรู้ทุกสิ่ง
หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
ร่มเย็นเป็นไฟ
ก็ใครเล่าทำ”
ก่อนจบ มีของฝากจะให้เป็นของฝากสุดยอดจากพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า... “ความสุขทางผัสสะนั้นมีอยู่ ปีติสุขเปี่ยมล้นก็มีอยู่ จงสละความสุขทางผัสสะ แล้วปีติสุขเปี่ยมล้นจะเป็นของท่าน”
จงพินิจพิจารณาพระพุทธวจนะนี้ ในสมาธิภาวนาระดับลึกเท่าที่จะลึกได้ เพราะพระพุทธวจนะนี้แฝงไว้ด้วยสัจธรรมอันลึกซึ้งถึงแก่น จงทำความเข้าใจและพิจารณาคำสี่คำนี้ คำแรกคือ ความสุขทางผัสสะ คำที่สองคือ ความสุขทางใจ คำที่สามคือ ความเบิกบานยินดี คำที่สี่คือ ปีติสุขเปี่ยมล้น
แล้วท่านจะก้าวจากเปลือกนอกสู่แก่นแท้
การรู้ในที่นี้ ไม่จำเพาะเพียงสัญญา-จำได้หมายรู้เท่านั้น แต่เหนือขึ้นไปอีก คือการรับรู้ หรือรู้สึกตัว หรือมีสติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้และความรู้ตัวทั่วพร้อม)
การรับรู้จะต้องอาศัยการสังเกตและการปฏิบัติ
กูรูสมาธิแบบเคลื่อนไหว บอกว่า...การรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างซื่อตรง ไม่เพียงไม่ต้องอาศัยความคิด แต่ยังช่วยคงไว้ซึ่งการตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ใครจะรู้หากไม่เคยสังเกต
สมาธิเป็นภาวะที่ไม่เพียงสงบ แต่ยังช่วยผ่อนคลายความเครียดที่สะสมอยู่ ใครจะรู้หากไม่เคยลองทำ
การหายใจเข้าออกอย่างถูกต้อง ไม่เพียงได้สติ แต่ยังช่วยสูดซับพลังที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย ใครจะรู้หากไม่เคยทดลองปฏิบัติ
(ที่มา : โอโชบำบัด/โอโช-บรรยาย/กำธร เก่งสกุล-แปล/สนพ.โพสต์บุ๊กส์)
การทดลองฝึกปฏิบัติให้รู้สึกตัว หรือการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว (ในอิริยาบถนั่ง) ตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ มี 15 จังหวะ ดังนี้...
1. วางฝ่ามือทั้งสองไว้บนเข่าสองข้าง
2. พลิกมือขวาตะแคงขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
3. ยกมือขวาขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
4. ลดมือขวามาไว้ที่สะดือ รู้สึกตัว แล้วหยุด
5.พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
6. ยกมือซ้ายขึ้น รู้สึกตัว แล้วหยุด
7. ลดมือซ้ายมาทับมือขวา รู้สึกตัว แล้วหยุด
8. เคลื่อนมือขวาขึ้นมาที่หน้าอก รู้สึกตัว แล้วหยุด
9. เคลื่อนมือขวาออก รู้สึกตัว แล้วหยุด
10. ลดมือขวาลงไว้ที่หัวเข่า รู้สึกตัว แล้วหยุด
11. คว่ำมือขวาลง รู้สึกตัว แล้วหยุด
12. เคลื่อนมือซ้ายขึ้นมาที่หน้าอก รู้สึกตัว แล้วหยุด
13. เคลื่อนมือขวาออก รู้สึกตัว แล้วหยุด
14. ลดมือซ้ายลงที่หัวเข่า รู้สึกตัว แล้วหยุด
15. คว่ำมือซ้ายลง รู้สึกตัว แล้วหยุด
(และทำการเคลื่อนไหวตั้งแต่เริ่มต้นมาอีก ให้ต่อเนื่องกันไป)
...(รู้ทุกข์ รู้ธรรม ประสบการณ์เจริญสติของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ)
การฝึกทำเช่นนี้ทำให้ “รู้สึกตัว” ที่ตัวเรา คือกายเป็นเบื้องต้น ต่อไปก็จะรู้สึกตัวที่ใจเรา และต่อๆ ไปก็จะรู้สึกตัวหรือรับรู้ทุกสิ่งทั่วโลกและจักรวาล
การรับรู้หรือการรู้สึกตัว เป็นรากเหง้าของบุญ การไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป
หยุดนิ่งเคลื่อนไหวเป็นสองด้านของชีวิต ที่ต้องติดตามรู้เท่ารู้ทันทุกขณะ เป็นภาวะหรือการดำรงอยู่ในปัจจุบัน มิฉะนั้น อดีตและอนาคตก็จะฉกฉวยเอาไปเป็นเหยื่อ
ในเคลื่อนมีนิ่ง ในความเคลื่อนไหวแฝงให้เห็นถึงความสงบ สรรพสิ่งในโลก (และจักรวาล) เกี่ยวเนื่องกันและกัน ทุกอย่างเป็นสิ่งสัมพันธ์ ไม่มีอะไรสัมบูรณ์ ความสงบร่มเย็นของความเป็นไปเองตามธรรมชาติ ธรรมะ ก็คือธรรมชาติ ปรากฏอยู่ทุกที่ทุกขณะ เข้าใจความเป็นธรรมดา เข้าใจความเกี่ยวกันระหว่างกันของสรรพสิ่ง
สายน้ำกระทบกรวด ละอองน้ำแตกกระจาย นกในอากาศกับตัวเราเอง ต่างก็ล้วนเกี่ยวพันอยู่ด้วยกัน มนุษย์ควรจะสำนึกว่า ทุกสิ่งที่เรากระทำลงไป ล้วนกระทบถึงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล
... (ที่มา : โชติช่วง นาดอน/ความสงบสุขแห่งฌาน/สนพ.เต๋าประยุกต์)
โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม? เคยเห็นไหม? น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม? ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะคล้ายๆ กับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม? แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่งกับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยม มันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้
... (พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท/ปกิณณกธรรม/คณะศิษยานุศิษย์ชมรมเผยแผ่พุทธธรรมเจริญผล จัดพิมพ์)
ในหยุดนิ่งมีเคลื่อนไหว-ในเคลื่อนไหวมีหยุดนิ่ง เป็นธรรมชาติธรรมดาของสรรพสิ่ง การไปห้ามหรือปิดกั้นภาวะเช่นนั้น ไม่ต่างอะไรกับไปอ้อนวอนให้น้ำไหลจากที่ต่ำไปสู่ที่สูง
ร่มเย็นเป็นไฟ คำว่า “ร่มเย็น” หมายถึงอยู่สุขสบาย ไม่เดือดร้อน ซึ่งเกิดจาก “ความสงบ” อันปราศจากความทุกข์ ไม่มีความเร่าร้อน ไม่มีความกระวนกระวานระส่ำระสาย ไม่ถูกห่อหุ้ม พัวพัน ตบตี ทิ่มแทง เผาลน แต่ประการใด จึงนับว่าเป็นความสงบแท้จริง
ส่วนคำว่า “เป็นไฟ” ก็อยู่ในลักษณะตรงกันข้ามกับ “ร่มเย็น” ขนาดอยู่ในห้องแอร์ก็เอาไม่อยู่ฮอทสุดๆ ประมาณนั้น
ปัจจุบันบ้านเมืองของเราเหมือนถูกไฟไหม้ จนทหารเข้ามาแก้ไขด้วยรัฐประหาร ดูเหมือนไฟกำลังลดลงกลายเป็นความเย็น (คนขี้สงสัยก็ยังกังขาอยู่ ตอนก่อนกู้เงินสองล้านล้าน ถูกต่อต้านทั่วบ้านทั่วเมือง ไงตอนนี้จะกู้สามล้านล้าน กลับเงียบเป็นเป่าสาก?)
ความเย็นเกิดจากความร้อนค่อยๆ ลดลง ขณะเดียวกันความร้อนก็เกิดจากความเย็นค่อยๆ ลดลง
ในภาวะเช่นนี้ ผู้นำจึงมีบทบาทสำคัญยิ่ง เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย? ไฟดับมอด? ประชาชนผู้แบกรับหนี้สิน (ทั้งของตนและรัฐบาล) หวังเช่นนั้น
การคิดการเขียนแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็ต้องสำรวมระมัดระวัง เพราะยังไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเกราะป้องกัน แต่ก็อดที่จะเขียนถึงผู้นำไม่ได้ เพราะท่านเป็นบุคคลสำคัญยิ่งของประเทศ ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ จำเป็นต้องอาศัยท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยขยายความนัยให้ใจได้ผ่อนคลายบ้าง...
จากเต๋าเต็กเก็ง บทที่ 15 นี้ เราสรุปคุณลักษณะของผู้นำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้
1. มีความรอบคอบ ระมัดระวังดังหนึ่งกำลังเดินไปบนธารน้ำแข็งบางๆ น้ำแข็งนั้นอาจจะรับน้ำหนักเราไม่ได้ แตกทะลุทำให้เราตกน้ำแล้วผุดขึ้นรูเดิมไม่ได้ มีแต่ตายสถานเดียว
2. ระวังระไวดั่งหนึ่งมีศัตรูรอบทิศทาง
3. สำรวมกิริยา วาจา ใจ ดั่งหนึ่งเป็นแขกที่ไปเยือน ไม่ใช่ทำตัวตามสบายอย่างเจ้าบ้าน
4. ทำตัวโอนอ่อนเหมือนน้ำแข็งที่กำลังละลาย
5. ทำตัวซื่อตรงไม่แต่งจริต เหมือนไม้ที่ยังมิได้ถูกตกแต่งสลักเสลากลายเป็นภาพหลอน ไม่ใช่ของแท้ไปแล้ว
6. ใจกว้างและว่างเหมือนกับหุบเหว
ลักษณะอย่างนี้ ถ้าแกล้งทำก็เป็นการเล่นเล่ห์ แต่ก็ไม่มีใครจะเล่นเล่ห์ ลวงโลก ทำตัวตามคุณลักษณะข้างต้นไปได้ตลอดหรอก เพราะคุณลักษณะเหล่านั้นปฏิบัติได้ยากมาก ใจต้องเข้าถึงเต๋าแล้ว จึงจะสามารถทำตัวอย่างนั้นได้ อย่างเป็นธรรมชาติตลอดไป
สำหรับข้อห้ามของผู้นำ ดูได้จากเต๋าเต็กเก็ง บทที่ 24 ดังนี้
ผู้ที่เขย่งปลายเท้า ไม่อาจยืนตรง
ผู้ก้าวย่างไป กลับเดินไม่ไกล
ผู้สำแดงตน จะไม่ผุดผ่อง
ผู้อวดอ้างตัว จะไม่โชติช่วง
ผู้ยกตน จะไร้วีรกรรม
ผู้ผยองลำพอง จะไม่ยั่งยืน
สิ่งเหล่านี้เต๋าเรียกว่ากากเดน และเนื้อร้ายวิปริต แม้ปุถุชนยังรังเกียจ ดังนั้นผู้ตั้งมั่นในเต๋าจึงยิ่งไม่กระทำ
สรุปเป็นข้อความสั้นๆ ท่องจำง่ายๆ คือ...
ยามปกติ “ไม่อวดเก่ง ไม่ยกตน” ยามประสบความสำเร็จก็ “ไม่แสดงความลำพองใจ”
ทำตัวอย่างนี้ อยู่ที่ไหนใครๆ ก็รัก มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ไม่มีใครอิจฉาริษยา ไม่มีใครคิดร้าย
รู้แล้วว่าอะไรเป็นเนื้อร้ายวิปริต จะเอามันแปะไว้บนใบหน้าของเราอีกทำไม นิสัยนั้นแก้ได้ สันดานก็แก้ได้ ถ้าเรามีสติปัญญา
การตื่นรู้ ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปอยู่ในป่า จงเรียนรู้ในท่ามกลางความวุ่นวายนี่แหละ ถ้าท่าน “วางดาบ” ก็อาจพลันพบ “พุทธะ”
... (โชติช่วง นาดอน/ความสงบสุขแห่งฌาน/สนพ.เต๋าประยุกต์)
ก็ใครเล่าทำ ไม่อยากด่วนตัดสิน ไม่อยากโทษฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก ไม่อยากฟันธงว่าสองฝ่ายทะเลาะกัน (ฝ่ายไหนผิดฝ่ายไหนถูกล่ะ หรือผิดทั้งสอง หรือถูกทั้งสอง อะไรกันนี่ มีอย่างนี้ด้วยเหรือ?)
ผมทำเอง แม้ผมจะทำหรือไม่ทำก็ตาม (ทำคือไม่ทำ-ไม่ทำคือทำ) สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเกี่ยวพันอยู่ด้วยกัน
(ถ้ายังเป็น) มนุษย์ควรจะสำนึกว่า ทุกสิ่งที่เรากระทำลงไป หรือไม่กระทำอะไรเลย ล้วนมีผลกระทบถึงทุกสรรพสิ่งในโลกแลจักรวาล
“รับรู้ทุกสิ่ง
หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
ร่มเย็นเป็นไฟ
ก็ใครเล่าทำ”
ก่อนจบ มีของฝากจะให้เป็นของฝากสุดยอดจากพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า... “ความสุขทางผัสสะนั้นมีอยู่ ปีติสุขเปี่ยมล้นก็มีอยู่ จงสละความสุขทางผัสสะ แล้วปีติสุขเปี่ยมล้นจะเป็นของท่าน”
จงพินิจพิจารณาพระพุทธวจนะนี้ ในสมาธิภาวนาระดับลึกเท่าที่จะลึกได้ เพราะพระพุทธวจนะนี้แฝงไว้ด้วยสัจธรรมอันลึกซึ้งถึงแก่น จงทำความเข้าใจและพิจารณาคำสี่คำนี้ คำแรกคือ ความสุขทางผัสสะ คำที่สองคือ ความสุขทางใจ คำที่สามคือ ความเบิกบานยินดี คำที่สี่คือ ปีติสุขเปี่ยมล้น
แล้วท่านจะก้าวจากเปลือกนอกสู่แก่นแท้