ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เช็กสถานการณ์การส่งออกสินค้าประมง พบยังไม่กระเทือน หลังสหรัฐฯ จัดอันดับการค้ามนุษย์เป็นต่ำสุด และยุโรปกล่าวหาเรื่องแรงงาน เหตุลูกค้ายังคงมั่นใจในสินค้าไทย
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการสำรวจผลกระทบจากการที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ปรับลดสถานะการค้ามนุษย์ของไทยมาอยู่ใน Tier 3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด และกรณีหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดี้ยนกล่าวหาเรื่องแรงงาน ว่า จากการตรวจสอบสถานการณ์การส่งออกสินค้าประมงของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ขณะที่ตลาดยุโรป เบื้องต้นก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นต่อบริษัทส่งออกของไทย ส่วนตลาดอื่นๆ พบว่ายังไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้น ลูกค้ายังคงเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าจากไทย
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าประมงของไทยในปี 2556 พบว่า ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มีสัดส่วน 20.9% ของการส่งออกสินค้าประมงไปตลาดโลก ส่งออกไปสหภาพยุโรปมีสัดส่วน 13.1% ส่วนตลาดอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สัดส่วน 31.1% จีนสัดส่วน 6.96% เวียดนาม สัดส่วน 3.55% และเกาหลีใต้ สัดส่วน 3.13% เป็นต้น
"เท่าที่ตรวจสอบการส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ยังประเมินไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะปัญหาเพิ่งเกิดขึ้น โดยในแง่จิตวิทยาก็คงมีบ้าง แต่เท่าที่ตรวจสอบดู ลูกค้าส่วนยังเชื่อมั่นในการทำการค้ากับไทย ส่วนตลาดอื่นๆ คาดว่าแนวโน้มยังคงส่งออกได้ดี”นางศรีรัตน์กล่าว
นางศรีรัตน์กล่าวว่า บริษัทสำคัญของไทยที่มีการส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดสหรัฐฯ พบว่า บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ มีรายได้จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ 13.8% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีรายได้คิดเป็น 1% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นอาจจะมีผลในด้านจิตวิทยาในตลาดสหรัฐฯ บ้างแต่คงเป็นเพียงระยะสั้น เพราะกระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะเดินสายไปสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ารายสำคัญๆ ของสหรัฐฯ แล้ว คาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้
ส่วนตลาดยุโรป จะเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกรณีที่บางบริษัทในยุโรป ได้เริ่มมีปฏิกิริยาต่อการนำเข้าสินค้าประมงจากบริษัทไทย หลังจากที่หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดี้ยน ได้มีการรายงานข่าวเรื่องแรงงาน ซึ่งได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำในภูมิภาคยุโรปเร่งทำความเข้าใจกับคู่ค้า เพราะจากการตรวจสอบในขณะนี้ พบว่า มีเพียงแค่บางบริษัทเท่านั้น ที่ได้ชะลอการทำการค้ากับบริษัทไทย แต่บางบริษัทได้ยืนยันที่จะทำการค้ากับไทยต่อไป เข่น วอลล์มาร์ท และคอสโก้ เป็นต้น
นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้แรงงาน ทำการชี้แจงและทำความเข้าใจกับคู่ค้า โดยยืนยันว่าในกระบวนการผลิตของไทยมีการดูแลในเรื่องมาตรฐานแรงงานในระดับสากล
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการสำรวจผลกระทบจากการที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ปรับลดสถานะการค้ามนุษย์ของไทยมาอยู่ใน Tier 3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด และกรณีหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดี้ยนกล่าวหาเรื่องแรงงาน ว่า จากการตรวจสอบสถานการณ์การส่งออกสินค้าประมงของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ขณะที่ตลาดยุโรป เบื้องต้นก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นต่อบริษัทส่งออกของไทย ส่วนตลาดอื่นๆ พบว่ายังไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้น ลูกค้ายังคงเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าจากไทย
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าประมงของไทยในปี 2556 พบว่า ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มีสัดส่วน 20.9% ของการส่งออกสินค้าประมงไปตลาดโลก ส่งออกไปสหภาพยุโรปมีสัดส่วน 13.1% ส่วนตลาดอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สัดส่วน 31.1% จีนสัดส่วน 6.96% เวียดนาม สัดส่วน 3.55% และเกาหลีใต้ สัดส่วน 3.13% เป็นต้น
"เท่าที่ตรวจสอบการส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ยังประเมินไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะปัญหาเพิ่งเกิดขึ้น โดยในแง่จิตวิทยาก็คงมีบ้าง แต่เท่าที่ตรวจสอบดู ลูกค้าส่วนยังเชื่อมั่นในการทำการค้ากับไทย ส่วนตลาดอื่นๆ คาดว่าแนวโน้มยังคงส่งออกได้ดี”นางศรีรัตน์กล่าว
นางศรีรัตน์กล่าวว่า บริษัทสำคัญของไทยที่มีการส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดสหรัฐฯ พบว่า บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ มีรายได้จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ 13.8% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีรายได้คิดเป็น 1% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นอาจจะมีผลในด้านจิตวิทยาในตลาดสหรัฐฯ บ้างแต่คงเป็นเพียงระยะสั้น เพราะกระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะเดินสายไปสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ารายสำคัญๆ ของสหรัฐฯ แล้ว คาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้
ส่วนตลาดยุโรป จะเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกรณีที่บางบริษัทในยุโรป ได้เริ่มมีปฏิกิริยาต่อการนำเข้าสินค้าประมงจากบริษัทไทย หลังจากที่หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดี้ยน ได้มีการรายงานข่าวเรื่องแรงงาน ซึ่งได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำในภูมิภาคยุโรปเร่งทำความเข้าใจกับคู่ค้า เพราะจากการตรวจสอบในขณะนี้ พบว่า มีเพียงแค่บางบริษัทเท่านั้น ที่ได้ชะลอการทำการค้ากับบริษัทไทย แต่บางบริษัทได้ยืนยันที่จะทำการค้ากับไทยต่อไป เข่น วอลล์มาร์ท และคอสโก้ เป็นต้น
นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้แรงงาน ทำการชี้แจงและทำความเข้าใจกับคู่ค้า โดยยืนยันว่าในกระบวนการผลิตของไทยมีการดูแลในเรื่องมาตรฐานแรงงานในระดับสากล