นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ซึ่งปรับลดระดับไทยให้อยู่ใน Tier 3ว่า ได้สั่งการให้สำนักพาณิชย์ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และบรัสเซลส์ และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในสหรัฐฯ และยุโรป ชี้แจงและทำความเข้าใจกับภาครัฐและภาคเอกชนในตลาดสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะบริษัทค้าปลีก ค้าส่ง ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน เพื่อนำไปสู่การยกเลิกการใช้มาตรการที่จะมีผลกระทบต่อการค้าของไทย
ทั้งนี้ ในระยะเร่งด่วน กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะดำเนินกิจกรรม รวมทั้งการเดินสายไปพบปะผู้นำเข้ารายสำคัญในเมืองต่างๆ ของสหรัฐฯ ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งได้ขอให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าไทย รวมทั้งผู้บริโภคในสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ได้ตั้งคณะกรรมการด้านการค้าและแรงงานขึ้น โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบทางการค้าอย่างรอบด้าน
อย่างไรก็ตาม ไทยยังได้รับการยืนยันจากสมาคมผู้นำเข้าอาหารทะเลรายใหญ่ของสหรัฐฯ (NFI) ที่ได้ออกแถลงการณ์ว่า จะทำการค้ากับไทยในฐานะคู่ค้าที่ตั้งใจและปฏิบัติตามมาตรฐานในด้านแรงงานต่อไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับไทย NFI ระบุด้วยว่า ผู้บริโภคไม่ควรเหมารวมว่าเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งอุตสาหกรรมกุ้งของไทย แต่ควรมองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่ง และเป็นความท้าทายของรัฐบาลไทยที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา และยืนยันว่าจะไม่นำเข้าหรือทำธุรกิจกับโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานด้านแรงงาน
ส่วนข้อกังวลเรื่องการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะภายใต้กฎหมาย Trafficking Victims Protection Act 2000 ไม่อนุญาตให้ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ เพิกถอนสิทธิประโยชน์และความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้า
นางศรีรัตน์ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไป กระทรวงฯ จะนัดหารือร่วมกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันประเมินผลกระทบและกำหนดท่าทีในการดำเนินการ ก่อนที่จะส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนเร่งด่วน และนำเสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาต่อไป เพราะภายใต้กฎหมายดังกล่าว สหรัฐฯ มีอำนาจที่จะเพิกถอนความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ด้านมนุษยธรรม และที่ไม่ใช่ด้านการค้า
ทั้งนี้ ในระยะเร่งด่วน กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะดำเนินกิจกรรม รวมทั้งการเดินสายไปพบปะผู้นำเข้ารายสำคัญในเมืองต่างๆ ของสหรัฐฯ ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งได้ขอให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าไทย รวมทั้งผู้บริโภคในสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ได้ตั้งคณะกรรมการด้านการค้าและแรงงานขึ้น โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบทางการค้าอย่างรอบด้าน
อย่างไรก็ตาม ไทยยังได้รับการยืนยันจากสมาคมผู้นำเข้าอาหารทะเลรายใหญ่ของสหรัฐฯ (NFI) ที่ได้ออกแถลงการณ์ว่า จะทำการค้ากับไทยในฐานะคู่ค้าที่ตั้งใจและปฏิบัติตามมาตรฐานในด้านแรงงานต่อไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับไทย NFI ระบุด้วยว่า ผู้บริโภคไม่ควรเหมารวมว่าเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งอุตสาหกรรมกุ้งของไทย แต่ควรมองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่ง และเป็นความท้าทายของรัฐบาลไทยที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา และยืนยันว่าจะไม่นำเข้าหรือทำธุรกิจกับโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานด้านแรงงาน
ส่วนข้อกังวลเรื่องการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะภายใต้กฎหมาย Trafficking Victims Protection Act 2000 ไม่อนุญาตให้ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ เพิกถอนสิทธิประโยชน์และความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้า
นางศรีรัตน์ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไป กระทรวงฯ จะนัดหารือร่วมกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันประเมินผลกระทบและกำหนดท่าทีในการดำเนินการ ก่อนที่จะส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนเร่งด่วน และนำเสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาต่อไป เพราะภายใต้กฎหมายดังกล่าว สหรัฐฯ มีอำนาจที่จะเพิกถอนความช่วยเหลือที่ไม่ใช่ด้านมนุษยธรรม และที่ไม่ใช่ด้านการค้า