วันนี้จะขอเขียนถึงเรื่องสมมติเรื่องหนึ่งที่มีผู้ส่งเข้ามาให้ผมตั้งแต่เมื่อปลายปี 2548 จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทางการเมืองและทางอื่น ๆ ในประเทศนี้ที่ดำรงต่อเนื่องมายาวนานจนกระทั่งเกิดรัฐประหารถึง 2 ครั้งในรอบ 8 ปี มีเพลงสวยงามมีความหวังเกิดขึ้นถึง 2 เพลง
เรื่องสมมตินี้เดิมทีเขาตั้งชื่อว่า “อากงกับโคมไฟ” แต่จะขอปรับเสียใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยของการสร้างบรรยากาศไปสู่การปรองดองสมานฉันท์และการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่
“โคมไฟกับมุมมอง”
.......
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...
มีอากงแก่ ๆ อยู่คนหนึ่ง อยากจะสอนข้อคิดอะไรบางอย่างให้หลาน ๆ ตามปะสาคนแก่ จึงชักชวนหลาน 4 คนมานั่งล้อมวงแล้วบอกว่า
“เอาล่ะหลาน ๆ ตอนนี้หลับตานะ...หลับตา”
พอหลาน ๆ หลับตา อากงก็เดินเข้าไปห้องเก็บของแล้วหยิบโคมไฟเก่า ๆ มาโคมหนึ่ง เปิดฝาครอบ จุดไฟ แล้วปิดฝาครอบไว้เหมือนเดิม
แล้วอากงก็บอกหลานทั้งสี่ว่า
“ลืมตาขึ้น แล้วบอกอากงซิว่าโคมไฟสีอะไร”
เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้นตอบไล่ ๆ กัน แต่ตอบไม่เหมือนกัน และเริ่มทะเลาะกัน...
คนที่นั่งด้านหนึ่งบอกว่าสีแดง อีกด้านนึ่งบอกว่าเขียว สีเหลือง และน้ำเงิน ตามลำดับ...
ทั้งสี่ทะเลาะกันพักหนึ่งก็มีเด็กคนนึ่งถามอากงว่า
“อากง ทำไมของอย่างเดียวกันมีตั้งหลายสี”
อากงก็เลยบอกว่า
“เดี๋ยวนะ อากงจะทำอะไรให้ดู”
ว่าแล้ว อากงเดินมาที่โต๊ะหยิบฝาครอบแล้วหมุนให้ดู ปรากฏว่าฝาครอบ 4 ด้านมี 4 สี คือ สีแดง สี เหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน...
หลังจากนั้น อากงก็บอกว่า
“เอ๊า ตอนนี้บอกอากงซิโคมไฟสีอะไร...”
หลาน ๆ ตอบเหมือนกันคือ
“สีของเปลวไฟ”
อากงเลยบอกว่า
“เอาละ หลาน ๆ อากงถามอะไรชัก 2 ข้อนะ ข้อที่ 1 เมื่อสักครู่นี้...ครั้งแรกใครผิด”
หลานตอบว่า
“ไม่รู้ครับ”
อากงบอกว่า
“อากงผิด”
อากงอรรถาธิบายขยายความอีกว่า...
“ฟังนะ เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ในที่เดียวกัน....มองของอย่างเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกันเลย ทำไม...ทำไมถึงไม่มีใครผิดล่ะ.... ก็เพราะคนทุกคนมองจากมุมมองของตัวเอง เห็นในสิ่งที่ตัวเองเห็น แต่..ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นเห็นอย่างที่เขาเห็น เจ้าก็เดินไปมองที่มุมของเขา แล้วเราก็จะเห็นอย่างที่เขาเห็น....
“แต่ถ้าลองนึกภาพนะ เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ที่เดียวกัน มองของอย่างเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกันเลย ในอนาคต....เวลาที่อยู่ในสังคม เป็นไปได้มั้ยว่าคนเราก็มองสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน...
“เพราะฉะนั้นเวลาที่คนอื่นคิดไม่เหมือนเรา...ใครผิด...
“ในอนาคตนะ เวลาที่เจ้าคิดไม่เหมือนคนอื่น อย่าไปโกรธว่าเขาผิด ในขณะเดียวกันก็อย่าไปกลัวว่าตัวเองผิด....
“เพราะคนแต่ละคนก็เห็นสิ่งต่าง ๆ จากขอบข่ายประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของตนเอง....
“ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น เจ้าก็เดินไปมุมของเขา และเมื่อเจ้ายอมเข้าใจคนอื่น อาจเป็นไปได้ว่าคนอื่นก็อาจจะยอมที่จะเดินมาและเข้าใจเจ้า”
อากงพักดื่มน้ำชาครู่หนึ่ง ก่อนจะตั้งคำถามที่ 2 แก่หลานทั้งสี่ต่อไป
“คำถามที่ 2 อากงขอถามว่าที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลังเป็นของอย่างเดียวกันมั้ย”
หลานทั้งสี่มองตากัน แล้วบอกว่า
“อย่างเดียวกันครับ”
อากงไล่ถามต่อไปว่า
“แล้วเห็นเหมือนกันมั้ย ครั้งแรกเห็นอะไร”
หลานตอบว่า
“ครั้งแรกเห็นฝาครอบ และครั้งหลังเห็นเปลวไฟ”
อากงเลยบอกว่า
“หลาน ๆ เอ๊ย ในอนาคตถ้าเลือกได้นะ อย่ามองสิ่งต่าง ๆ เพียงแค่ที่เห็น แต่จงเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างที่เป็น”
.........
เป็นเรื่องสมมติที่ออกจะอุดมคติจ๋าหรือโลกสวย
มันง่ายครับที่จะเรียกร้องให้ผู้คนปรองดอง สมานฉันท์ ให้พยายามมองจากมุมมองของบุคคลอื่นที่เห็นต่างกับเราดูบ้างอย่างที่อากงในเรื่องสมมตินี้แนะนำหลาน ๆ ให้ได้สติจากการทะเลาะกันเพราะเห็นต่างกัน
แต่มันยากที่ผู้คนในโลกแห่งความเป็นจริงจะได้สติอย่างหลาน ๆ อากงในเรื่องสมมติ
หลายปีมานี้ หรืออาจแม้กระทั่งทุกวันนี้ ที่เห็นที่เป็นอยู่ในสังคมไทยวันนี้คือคนที่คิดเห็นต่างกันยังมองกันด้วยอคติเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่เปิดโอกาสให้มีอากงอย่างในเรื่องสมมติออกมาให้สติให้ปัญญาได้ง่ายนัก หรือถึงจะพอมี แต่เสียงก็ไม่ดังพอที่จะแข่งกับเสียงอื่น ๆ
อย่าถามผมนะครับว่าลุงตู่จะทำสำเร็จเหมือนอากงหรือไม่
และอย่าถามว่าคนไทยจะฟังลุงตู่จนได้คิดเหมือนหลานอากงในเรื่องสมมตินี้หรือไม่
สังคมไทยจะปรองดองกันได้ สมานฉันท์กันได้ อย่างแท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ไม่ใช่แค่รัฐประหารแล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อกลับไปสู่การเลือกตั้งในอีก 1 หรือ 2 ปี และแน่นอนว่าไม่ใช่บริหารประเทศแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่มีมากมายมหาศาลไปตามปกติ แต่จะต้องเร่งนับ 1 ในการออกแบบสังคมใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศนี้มาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องมองพ้นกรอบของกฎหมายและกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป แต่จะต้องมองว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้องค์ประกอบทุกภาคส่วนของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
ตั้งโจทย์ให้ถูกก่อนตอบก็เป็นความสำเร็จประการสำคัญ
เรื่องสมมตินี้เดิมทีเขาตั้งชื่อว่า “อากงกับโคมไฟ” แต่จะขอปรับเสียใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยของการสร้างบรรยากาศไปสู่การปรองดองสมานฉันท์และการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่
“โคมไฟกับมุมมอง”
.......
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...
มีอากงแก่ ๆ อยู่คนหนึ่ง อยากจะสอนข้อคิดอะไรบางอย่างให้หลาน ๆ ตามปะสาคนแก่ จึงชักชวนหลาน 4 คนมานั่งล้อมวงแล้วบอกว่า
“เอาล่ะหลาน ๆ ตอนนี้หลับตานะ...หลับตา”
พอหลาน ๆ หลับตา อากงก็เดินเข้าไปห้องเก็บของแล้วหยิบโคมไฟเก่า ๆ มาโคมหนึ่ง เปิดฝาครอบ จุดไฟ แล้วปิดฝาครอบไว้เหมือนเดิม
แล้วอากงก็บอกหลานทั้งสี่ว่า
“ลืมตาขึ้น แล้วบอกอากงซิว่าโคมไฟสีอะไร”
เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้นตอบไล่ ๆ กัน แต่ตอบไม่เหมือนกัน และเริ่มทะเลาะกัน...
คนที่นั่งด้านหนึ่งบอกว่าสีแดง อีกด้านนึ่งบอกว่าเขียว สีเหลือง และน้ำเงิน ตามลำดับ...
ทั้งสี่ทะเลาะกันพักหนึ่งก็มีเด็กคนนึ่งถามอากงว่า
“อากง ทำไมของอย่างเดียวกันมีตั้งหลายสี”
อากงก็เลยบอกว่า
“เดี๋ยวนะ อากงจะทำอะไรให้ดู”
ว่าแล้ว อากงเดินมาที่โต๊ะหยิบฝาครอบแล้วหมุนให้ดู ปรากฏว่าฝาครอบ 4 ด้านมี 4 สี คือ สีแดง สี เหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน...
หลังจากนั้น อากงก็บอกว่า
“เอ๊า ตอนนี้บอกอากงซิโคมไฟสีอะไร...”
หลาน ๆ ตอบเหมือนกันคือ
“สีของเปลวไฟ”
อากงเลยบอกว่า
“เอาละ หลาน ๆ อากงถามอะไรชัก 2 ข้อนะ ข้อที่ 1 เมื่อสักครู่นี้...ครั้งแรกใครผิด”
หลานตอบว่า
“ไม่รู้ครับ”
อากงบอกว่า
“อากงผิด”
อากงอรรถาธิบายขยายความอีกว่า...
“ฟังนะ เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ในที่เดียวกัน....มองของอย่างเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกันเลย ทำไม...ทำไมถึงไม่มีใครผิดล่ะ.... ก็เพราะคนทุกคนมองจากมุมมองของตัวเอง เห็นในสิ่งที่ตัวเองเห็น แต่..ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นเห็นอย่างที่เขาเห็น เจ้าก็เดินไปมองที่มุมของเขา แล้วเราก็จะเห็นอย่างที่เขาเห็น....
“แต่ถ้าลองนึกภาพนะ เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ที่เดียวกัน มองของอย่างเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกันเลย ในอนาคต....เวลาที่อยู่ในสังคม เป็นไปได้มั้ยว่าคนเราก็มองสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน...
“เพราะฉะนั้นเวลาที่คนอื่นคิดไม่เหมือนเรา...ใครผิด...
“ในอนาคตนะ เวลาที่เจ้าคิดไม่เหมือนคนอื่น อย่าไปโกรธว่าเขาผิด ในขณะเดียวกันก็อย่าไปกลัวว่าตัวเองผิด....
“เพราะคนแต่ละคนก็เห็นสิ่งต่าง ๆ จากขอบข่ายประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของตนเอง....
“ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น เจ้าก็เดินไปมุมของเขา และเมื่อเจ้ายอมเข้าใจคนอื่น อาจเป็นไปได้ว่าคนอื่นก็อาจจะยอมที่จะเดินมาและเข้าใจเจ้า”
อากงพักดื่มน้ำชาครู่หนึ่ง ก่อนจะตั้งคำถามที่ 2 แก่หลานทั้งสี่ต่อไป
“คำถามที่ 2 อากงขอถามว่าที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลังเป็นของอย่างเดียวกันมั้ย”
หลานทั้งสี่มองตากัน แล้วบอกว่า
“อย่างเดียวกันครับ”
อากงไล่ถามต่อไปว่า
“แล้วเห็นเหมือนกันมั้ย ครั้งแรกเห็นอะไร”
หลานตอบว่า
“ครั้งแรกเห็นฝาครอบ และครั้งหลังเห็นเปลวไฟ”
อากงเลยบอกว่า
“หลาน ๆ เอ๊ย ในอนาคตถ้าเลือกได้นะ อย่ามองสิ่งต่าง ๆ เพียงแค่ที่เห็น แต่จงเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างที่เป็น”
.........
เป็นเรื่องสมมติที่ออกจะอุดมคติจ๋าหรือโลกสวย
มันง่ายครับที่จะเรียกร้องให้ผู้คนปรองดอง สมานฉันท์ ให้พยายามมองจากมุมมองของบุคคลอื่นที่เห็นต่างกับเราดูบ้างอย่างที่อากงในเรื่องสมมตินี้แนะนำหลาน ๆ ให้ได้สติจากการทะเลาะกันเพราะเห็นต่างกัน
แต่มันยากที่ผู้คนในโลกแห่งความเป็นจริงจะได้สติอย่างหลาน ๆ อากงในเรื่องสมมติ
หลายปีมานี้ หรืออาจแม้กระทั่งทุกวันนี้ ที่เห็นที่เป็นอยู่ในสังคมไทยวันนี้คือคนที่คิดเห็นต่างกันยังมองกันด้วยอคติเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่เปิดโอกาสให้มีอากงอย่างในเรื่องสมมติออกมาให้สติให้ปัญญาได้ง่ายนัก หรือถึงจะพอมี แต่เสียงก็ไม่ดังพอที่จะแข่งกับเสียงอื่น ๆ
อย่าถามผมนะครับว่าลุงตู่จะทำสำเร็จเหมือนอากงหรือไม่
และอย่าถามว่าคนไทยจะฟังลุงตู่จนได้คิดเหมือนหลานอากงในเรื่องสมมตินี้หรือไม่
สังคมไทยจะปรองดองกันได้ สมานฉันท์กันได้ อย่างแท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ไม่ใช่แค่รัฐประหารแล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อกลับไปสู่การเลือกตั้งในอีก 1 หรือ 2 ปี และแน่นอนว่าไม่ใช่บริหารประเทศแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่มีมากมายมหาศาลไปตามปกติ แต่จะต้องเร่งนับ 1 ในการออกแบบสังคมใหม่ให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศนี้มาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยจะต้องมองพ้นกรอบของกฎหมายและกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป แต่จะต้องมองว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้องค์ประกอบทุกภาคส่วนของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
ตั้งโจทย์ให้ถูกก่อนตอบก็เป็นความสำเร็จประการสำคัญ