ASTVผู้จัดการรายวัน-คปภ.มั่นใจเบี้ยประกันทั้งระบบแตะ 7 แสนล้านบาท แม้ช่วงต้นปีสะดุดเล็กน้อย แต่ภาพรวม 4 เดือนยังโต 15% พร้อมแนะผู้ประกอบการพัฒนาศักยพภาพแข่งขัน เดินหน้ารุกตลาดอาเซียนมากขึ้น ระบุกฎหมายแฟตก้ากระทบธุรกิจน้อยแม้ต้องมีต้นทุนดำเนินงานเพิ่ม
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจประกันภัยในปีนี้เชื่อว่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 13% หรือมีเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนล้านบาท จากเดิมในปี 2556 อยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นเบี้ยของธุรกิจประกันชีวิต 5 แสนล้านบาท และเบี้ยของธุรกิจประกันวินาศภัย 2 แสนล้านบาท
“ธุรกิจประกันตอนนี้เบี้ยจะอยู่ที่ 6%ต่อจีดีพี ซึ่งในช่วงต้นปีถือว่าโตช้ามาก แต่ก็ยังโตในระดับ 15% แต่ก็เชื่อว่าถ้าเป็นในลักษณะนี้ก็น่าจะโตได้ตามเป้าที่ 13% ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาจะโตประมาณ 13% ซึ่งตอนนี้เหลือเวลาอีก 8 เดือน และดูเหมือนจะมีบรรยากาศหรือมุมมองที่ดีขึ้นกว่าเดิม”นายประเวชกล่าว
ส่วนภาพรวมของธุรกิจประกันภัย 4 เดือนแรกของปีนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 237,505 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.14 มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ร้อยละ 6.1 จากธุรกิจประกันชีวิต ร้อยละ 4.4 และธุรกิจประกันวินาศภัยร้อยละ 1.7
โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 168,994 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นที่ร้อยละ 21.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อธุรกิจประกันชีวิต และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 68,510 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 39,565 ล้านบาท ขยายตัวเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.18 รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 23,330 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.90 และ การประกันอัคคีภัย จำนวน 3,813 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.47
นายประเวช กล่าวอีกว่า สำหรับการเติบโตของธุรกิจประกันภัยนั้นตามแผนในปีหน้าจะเข้าสู่แผนพัฒนาฉบับที่ 3 แต่นอกจากการขยายตัวภายในประเทศแล้ว อยากให้บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันไปต่างประเทศด้วย เนื่องจากเชื่อว่าตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนยังมีโอกาสอยู่อีกมากสำหรับธุรกิจประกันฯของไทย
ชี้กฎหมายแฟตก้ากระทบน้อย
นายประเวชกล่าวอีกว่า ในส่วนของกฎหมายจากอเมริกาหรือ แฟตก้าในการ ให้ธนาคาร และสถาบันการเงินในต่างประเทศราย งานธุรกรรมของบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติอเมริกัน ซึ่งก็รวมถึงธุรกิจประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในรูปแบบมูลค่าเงินสด ต้องรายงานข้อมูลทางบัญชีของลูกค้าเหล่านี้ให้กับกรมสรรพากรของสหรัฐฯนั้น ขณะนี้ เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตมากนัก เพราะจำนวนลูกค้าที่มีสัญชาติสหรัฐฯมีอยู่ค่อนข้างน้อย
อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีส่วนที่ก่อให้เกิดต้นทุนอยู่ โดยทางประเทศไทยมีข้อกังวลและได้ทำการยื่นขอผ่อนผันเกณฑ์ออกไป 2 ประการด้วยกันคือ 1.การยกเว้นสำหรับการประกันภัยรายย่อย 2.การยกเว้นในส่วนของการประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ซึ่งเรื่องนี้จะยังต้องรอคำตอบจากทางสหรัฐต่อไปว่าจะออกมาในรูปแบบใด
“เกณฑ์ที่จะต้องรายงานมันประมาณ 1.5 ล้านบาทหรือ 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ ซึ่งถ้าเป็นไมโครอินชัวรันส์หรือรายย่อยเบี้ยมันน้อยมาก ซึ่งตรงนี้เราก็พยายามชี้แจง แต่เชื่อว่าถึงแม้จะมีต้องขั้นตอนกับแบบฟอร์มที่เพิ่มขึ้นคงจะกระทบธุรกิจประกันไม่มาก เพราะดูจากตัวเลขแล้วลูกค้าที่มีสัญชาติสหรัฐฯของบริษัทประกันมันจะมีน้อยมากในปัจจุบัน”
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจประกันภัยในปีนี้เชื่อว่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 13% หรือมีเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 แสนล้านบาท จากเดิมในปี 2556 อยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นเบี้ยของธุรกิจประกันชีวิต 5 แสนล้านบาท และเบี้ยของธุรกิจประกันวินาศภัย 2 แสนล้านบาท
“ธุรกิจประกันตอนนี้เบี้ยจะอยู่ที่ 6%ต่อจีดีพี ซึ่งในช่วงต้นปีถือว่าโตช้ามาก แต่ก็ยังโตในระดับ 15% แต่ก็เชื่อว่าถ้าเป็นในลักษณะนี้ก็น่าจะโตได้ตามเป้าที่ 13% ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาจะโตประมาณ 13% ซึ่งตอนนี้เหลือเวลาอีก 8 เดือน และดูเหมือนจะมีบรรยากาศหรือมุมมองที่ดีขึ้นกว่าเดิม”นายประเวชกล่าว
ส่วนภาพรวมของธุรกิจประกันภัย 4 เดือนแรกของปีนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 237,505 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.14 มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ร้อยละ 6.1 จากธุรกิจประกันชีวิต ร้อยละ 4.4 และธุรกิจประกันวินาศภัยร้อยละ 1.7
โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยจากธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 168,994 ล้านบาท ขยายตัวอย่างโดดเด่นที่ร้อยละ 21.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อธุรกิจประกันชีวิต และจากธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวนรวมทั้งสิ้น 68,510 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการประกันภัยรถมีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด จำนวน 39,565 ล้านบาท ขยายตัวเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.18 รองลงมาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จำนวน 23,330 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.90 และ การประกันอัคคีภัย จำนวน 3,813 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.47
นายประเวช กล่าวอีกว่า สำหรับการเติบโตของธุรกิจประกันภัยนั้นตามแผนในปีหน้าจะเข้าสู่แผนพัฒนาฉบับที่ 3 แต่นอกจากการขยายตัวภายในประเทศแล้ว อยากให้บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันไปต่างประเทศด้วย เนื่องจากเชื่อว่าตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนยังมีโอกาสอยู่อีกมากสำหรับธุรกิจประกันฯของไทย
ชี้กฎหมายแฟตก้ากระทบน้อย
นายประเวชกล่าวอีกว่า ในส่วนของกฎหมายจากอเมริกาหรือ แฟตก้าในการ ให้ธนาคาร และสถาบันการเงินในต่างประเทศราย งานธุรกรรมของบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติอเมริกัน ซึ่งก็รวมถึงธุรกิจประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในรูปแบบมูลค่าเงินสด ต้องรายงานข้อมูลทางบัญชีของลูกค้าเหล่านี้ให้กับกรมสรรพากรของสหรัฐฯนั้น ขณะนี้ เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตมากนัก เพราะจำนวนลูกค้าที่มีสัญชาติสหรัฐฯมีอยู่ค่อนข้างน้อย
อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีส่วนที่ก่อให้เกิดต้นทุนอยู่ โดยทางประเทศไทยมีข้อกังวลและได้ทำการยื่นขอผ่อนผันเกณฑ์ออกไป 2 ประการด้วยกันคือ 1.การยกเว้นสำหรับการประกันภัยรายย่อย 2.การยกเว้นในส่วนของการประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ซึ่งเรื่องนี้จะยังต้องรอคำตอบจากทางสหรัฐต่อไปว่าจะออกมาในรูปแบบใด
“เกณฑ์ที่จะต้องรายงานมันประมาณ 1.5 ล้านบาทหรือ 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ ซึ่งถ้าเป็นไมโครอินชัวรันส์หรือรายย่อยเบี้ยมันน้อยมาก ซึ่งตรงนี้เราก็พยายามชี้แจง แต่เชื่อว่าถึงแม้จะมีต้องขั้นตอนกับแบบฟอร์มที่เพิ่มขึ้นคงจะกระทบธุรกิจประกันไม่มาก เพราะดูจากตัวเลขแล้วลูกค้าที่มีสัญชาติสหรัฐฯของบริษัทประกันมันจะมีน้อยมากในปัจจุบัน”