ASTVผู้จัดการรายวัน-เว็บไซต์ธุรกิจข้าวโลก แฉอีกโครงการจำนำข้าวทำหนี้สาธารณะไทยพุ่งแตะ 5.55 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 46% ของจีดีพี ด้านจังหวัดอุบลราชธานีเตรียมพร้อมตรวจโกดังข้าว หลังเก็บเยอะมูลค่ากว่า 7.9 พันล้าน ธ.ส.ก.เร่งจ่ายเงินมือระวิง คาดบางจังหวัดจ่ายครบก่อนสิ้นมิ.ย.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า oryza.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์วงการธุรกิจค้าข้าวโลก ได้อ้างแหล่งข่าวกระทรวงการคลังระบุว่าตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยอาจพุ่งสูงถึง 5.55 ล้านล้านบาท หรือราวร้อยละ 46 ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2557 เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 40.78 ของจีดีพีในปี 2554 ราวร้อยละ 5.22 อันเป็นผลจากโครงการรับจำนำข้าวอันแปดเปื้อนของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
oryza.com อ้างคำบอกเล่าของแหล่งข่าวกระทรวงการคลังย้ำว่า ไทยขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวราว 5 แสนล้านบาท และเน้นว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กู้ยืมเงินถึง 7.3 แสนล้านบาท ภายใต้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เพื่อเป็นทุนแก่โครงการในช่วง 5 ฤดูกาลเก็บเกี่ยวระหว่างปี 2554-2556 ซึ่งนั่นเท่ากับว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี สำหรับเคลียร์หนี้สินในปัจจุบันของโครงการดังกล่าว
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังบอกกับ oryza.com ด้วยว่า โครงการนี้เสี่ยงที่จะขาดทุนเพิ่มอีกปีละ 1.5 แสนล้านบาท โดยปัญหาการระบายสต๊อกข้าวล่าช้า จะเป็นตัวซ้ำเติมภาระดอกเบี้ยและตัวเลขขาดทุน
อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งความพยายามเทขายข้าวของรัฐบาล ก็เริ่มทำให้ราคาส่งออกข้าวไทยตกต่ำลง โดยจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พบว่าในเดือนพ.ค.2557 ราคาส่งออกข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ ดำดิ่งสู่ 390 เหรียญสหรัฐต่อตัน ต่ำกว่าชาติอื่นๆ ทั้งเวียดนาม 405 เหรียญสหรัฐต่อตัน อินเดีย 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ440 เหรียญสหรัฐต่อตันสำหรับข้าวของปากีสถาน
ทาง oryza.com รายงานปิดท้ายด้วยว่า เมื่อวันอังคารที่ 10 มิ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังเผชิญข้อกล่าวหาคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าว ได้ร้องขอต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้มีการไต่สวนพยานเพิ่มเติมอีก 8 ปาก ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า ประธานคณะผู้บริหารบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด และประธานคณะทำงานพิจารณากำหนดกรอบคุณภาพและกลไกราคาตามสภาพข้าวสารในสต็อกรัฐบาล โดยทนายความของเธอยืนยันว่าโครงการจำนำข้าว เป็นการทำตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และเธอไม่ได้มีส่วนร่วมหรือสมยอมในการทุจริต
วันเดียวกันนี้ ยังคงมีความเคลื่อนไหวในการตรวจสอบสต๊อกข้าวของรัฐบาล โดยที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นายธัชชัย ศรีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบดูแลโกดังกลางเก็บข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลตั้งแต่ฤดูกาลผลิต 2554-2556/2557 ซึ่งปัจจุบันจังหวัดมีโกดังเก็บข้าวเปลือกที่สีเป็นข้าวสารแล้ว 41 หลัง ใน 8 อำเภอ ปริมาณข้าวที่เก็บไว้ทั้งสิ้น 3,597,184 กระสอบ หรือกว่า 3.5 แสนตัน มูลค่า ณ วันที่ 10 มิ.ย. ประมาณ 7,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ ข้าวจำนวนดังกล่าว ได้มีการตรวจสอบรอบเดือนพ.ค.2557 โดยมีทหารจากมณฑลทหารบกที่ 22 ร่วมกับคณะกรรมการข้าวระดับจังหวัดเข้าตรวจ ซึ่งพบว่ายังคงมีปริมาณข้าวตรงตามบัญชี ไม่มีการสูญหายไปแต่อย่างใด
น.ส.ปาริชาติ วงศ์พันเทา ค้าภายในจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลรอการตรวจสต๊อกข้าวสารอย่างละเอียด หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาตรวจนับข้าวสารที่เก็บไว้ตามโกดังกลาง โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในสัปดาห์หน้า และการตรวจสอบจะเน้นตรวจทั้งปริมาณข้าวสาร ชนิดข้าว และตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วย
สำหรับความเคลื่อนไหวการจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังคงดำเนินการจ่ายเงินอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าภายในเดือนมิ.ย.นี้ จะจ่ายได้ครบทั้งหมด โดยบางจังหวัดอาจจะทำได้เร็วกว่านั้น เช่น กำแพงเพชร คาดว่าวันที่ 16 มิ.ย. จะจ่ายได้หมด อ่างทองจ่ายหมดวันที่ 18 มิ.ย. และนครสวรรค์ภายในวันที่ 22 มิ.ย. เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า oryza.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์วงการธุรกิจค้าข้าวโลก ได้อ้างแหล่งข่าวกระทรวงการคลังระบุว่าตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยอาจพุ่งสูงถึง 5.55 ล้านล้านบาท หรือราวร้อยละ 46 ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2557 เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 40.78 ของจีดีพีในปี 2554 ราวร้อยละ 5.22 อันเป็นผลจากโครงการรับจำนำข้าวอันแปดเปื้อนของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
oryza.com อ้างคำบอกเล่าของแหล่งข่าวกระทรวงการคลังย้ำว่า ไทยขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวราว 5 แสนล้านบาท และเน้นว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กู้ยืมเงินถึง 7.3 แสนล้านบาท ภายใต้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เพื่อเป็นทุนแก่โครงการในช่วง 5 ฤดูกาลเก็บเกี่ยวระหว่างปี 2554-2556 ซึ่งนั่นเท่ากับว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี สำหรับเคลียร์หนี้สินในปัจจุบันของโครงการดังกล่าว
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังบอกกับ oryza.com ด้วยว่า โครงการนี้เสี่ยงที่จะขาดทุนเพิ่มอีกปีละ 1.5 แสนล้านบาท โดยปัญหาการระบายสต๊อกข้าวล่าช้า จะเป็นตัวซ้ำเติมภาระดอกเบี้ยและตัวเลขขาดทุน
อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งความพยายามเทขายข้าวของรัฐบาล ก็เริ่มทำให้ราคาส่งออกข้าวไทยตกต่ำลง โดยจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พบว่าในเดือนพ.ค.2557 ราคาส่งออกข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ ดำดิ่งสู่ 390 เหรียญสหรัฐต่อตัน ต่ำกว่าชาติอื่นๆ ทั้งเวียดนาม 405 เหรียญสหรัฐต่อตัน อินเดีย 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ440 เหรียญสหรัฐต่อตันสำหรับข้าวของปากีสถาน
ทาง oryza.com รายงานปิดท้ายด้วยว่า เมื่อวันอังคารที่ 10 มิ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังเผชิญข้อกล่าวหาคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าว ได้ร้องขอต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้มีการไต่สวนพยานเพิ่มเติมอีก 8 ปาก ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า ประธานคณะผู้บริหารบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด และประธานคณะทำงานพิจารณากำหนดกรอบคุณภาพและกลไกราคาตามสภาพข้าวสารในสต็อกรัฐบาล โดยทนายความของเธอยืนยันว่าโครงการจำนำข้าว เป็นการทำตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และเธอไม่ได้มีส่วนร่วมหรือสมยอมในการทุจริต
วันเดียวกันนี้ ยังคงมีความเคลื่อนไหวในการตรวจสอบสต๊อกข้าวของรัฐบาล โดยที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นายธัชชัย ศรีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบดูแลโกดังกลางเก็บข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลตั้งแต่ฤดูกาลผลิต 2554-2556/2557 ซึ่งปัจจุบันจังหวัดมีโกดังเก็บข้าวเปลือกที่สีเป็นข้าวสารแล้ว 41 หลัง ใน 8 อำเภอ ปริมาณข้าวที่เก็บไว้ทั้งสิ้น 3,597,184 กระสอบ หรือกว่า 3.5 แสนตัน มูลค่า ณ วันที่ 10 มิ.ย. ประมาณ 7,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ ข้าวจำนวนดังกล่าว ได้มีการตรวจสอบรอบเดือนพ.ค.2557 โดยมีทหารจากมณฑลทหารบกที่ 22 ร่วมกับคณะกรรมการข้าวระดับจังหวัดเข้าตรวจ ซึ่งพบว่ายังคงมีปริมาณข้าวตรงตามบัญชี ไม่มีการสูญหายไปแต่อย่างใด
น.ส.ปาริชาติ วงศ์พันเทา ค้าภายในจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลรอการตรวจสต๊อกข้าวสารอย่างละเอียด หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาตรวจนับข้าวสารที่เก็บไว้ตามโกดังกลาง โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในสัปดาห์หน้า และการตรวจสอบจะเน้นตรวจทั้งปริมาณข้าวสาร ชนิดข้าว และตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วย
สำหรับความเคลื่อนไหวการจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังคงดำเนินการจ่ายเงินอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าภายในเดือนมิ.ย.นี้ จะจ่ายได้ครบทั้งหมด โดยบางจังหวัดอาจจะทำได้เร็วกว่านั้น เช่น กำแพงเพชร คาดว่าวันที่ 16 มิ.ย. จะจ่ายได้หมด อ่างทองจ่ายหมดวันที่ 18 มิ.ย. และนครสวรรค์ภายในวันที่ 22 มิ.ย. เป็นต้น