“สกพ.”วางเกณฑ์ดูแลผู้ใช้ไฟฟ้า 20 ล้านครัวเรือนให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น แจงตัดไฟขยายเวลาเป็น 21 วันโดยต้องแจ้งเตือนก่อน ค่าธรรมเนียมตัดต่อไปจะจ่ายต่อเมื่อตัดไฟแล้วจริงๆ เพิ่มช่องทางส่งใบแจ้งหนี้ได้ คุมตรวจสอบมาตรวัดทุก 1-2 ปีเพื่อให้คิดค่าไฟถูกต้องขึ้นลดปัญหาเรียกเงินคืนย้อนหลัง พร้อมเตรียมลดค่าไฟฟ้าชั่วคราวช่วยเหลือชุมชน 1.2แสนราย
นายประเทศ ศรีชมภู ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) เปิดเผยว่า สกพ.ได้ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ในการปรับเกณฑ์ต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้ใช้ไฟที่ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 20 ล้านครัวเรือนโดยเฉพาะเกณฑ์การตัดไฟเมื่อผู้ใช้ไฟผิดเวลาชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการตัดไฟ การปรับสัญญาบริการเพื่อเพิ่มช่องทางส่งใบแจ้งหนี้เพิ่ม รวมถึงการดูแลระบบมิเตรอ์ให้คิดค่าไฟให้เที่ยงธรรมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากรณีการเรียกเก็บค่าไฟย้อนหลัง และเตรียมลดอัตราค่าไฟฟ้าชั่วคราวให้ชุมชนทั่วประเทศ 1.2 แสนราย
สำหรับเกณฑ์การตัดไฟที่บังคับกับผู้ใช้ไฟรายย่อยถูกกำหนดว่าจะต้องจ่ายตามกำหนดภายใน 7 วันและหากไม่มาชำระใน 3 วันหลังจากนั้นจะถูกตัดไฟหรืองดให้บริการ รวมเป็นระยะเวลา 10 วันและจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตัดต่อไฟโดยส่วนของกฟน.คิดที่ 40 บาทกฟภ.คิดที่ 107 บาทแม้ว่าจะยังไม่ตัดไฟหากผิดชำระก็จะต้องจ่ายแต่เกณฑ์ใหม่จะขยายเวลาเป็น 15 วันโดยจะต้องมีหนังสือแจ้งเตือนหรือส่งข้อความ(SMS) และหลังจากนั้นให้การไฟฟ้าพิจารณาหลักการงดจ่ายไฟอีก 5-6 วันรวมระยะเวลา 21 วัน ส่วนค่าธรรมเนียมจะจ่ายต่อเมื่อมีการงดจ่ายไฟจริงแล้วเท่านั้น
“เราพบว่าผู้ใช้ไฟส่วนของภูมิภาคนั้นจะมี 17 ล้านราย ที่เหลือ3ล้านรายอยู่ในเขตนครหลวงหรือส่วนกลาง และใน 17 ล้านรายพบว่ามีปัญหามาชำระค่าไฟผิดเวลา 8 แสนรายต่อเดือนและเฉลี่ยจะโดนตัดไฟประมาณ 2 แสนรายต่อเดือน ก็พยายามจะดูแลผู้บริโภคร่วมกันซึ่งการยืดเวลาชำระไฟออกไปก็พิจารณาความเหมาะสมกับภาระของ2การไฟฟ้าแล้ว”นายประเทศกล่าว
นอกจากนี้ปัญหาผิดนัดชำระค่าไฟเกิดจากไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าบริการ ดังนั้นจึงกำหนดให้มีการเปิดช่องทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการโดยปรับแก้สัญญาบริการใหม่ด้วยการให้เพิ่มสถานที่ส่งใบแจ้งหนี้โดยการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ใช้ไฟกับการไฟฟ้านั้นๆ ได้ ขณะเดียวกันยังพบว่าประชาชนมีการร้องเรียนถึงความไม่แน่ใจว่าค่าไฟที่แพงขึ้นถูกต้องจริงหรือไม่ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับมิเตอร์วัดไฟซึ่งเดิมมีหลักปฏิบัติใช้มิเตอร์สอบเที่ยบโดยค่าเฉลี่ยต้องไม่เกินบวกลบ 2.5 ก็จะถือว่าปกติ ดังนั้นสกพ.จึงวางเกณฑ์ร่วมกันกับการไฟฟ้าในการตรวจสอบมาตรวัดทุก 1-2 ปี
อย่างไรก็ตามกรณีมิเตอร์มีความคลาดเคลื่อนโดยเฉพาะกรณีเดินช้าผิดปกติเมื่อตรวจสอบก็จะมีการเรียกเก็บค่าไฟย้อนหลังโดยหากไม่รู้เวลาว่าเกิดขึ้นเมื่อใดจะย้อนไป 6 เดือนหากตรวจสอบได้ก็จะย้อนไปตั้งแต่วันเกิดเหตุซึ่งจะกินเวลาหลายปี ดังนั้นเกณฑ์ใหม่ก็จะสอดรับกับการตรวจสอบมิเตอร์คือจะต้องไม่เกิน 1-2 ปี
นายประเทศกล่าวว่า ขณะนี้สกพ.ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราการใช้ไฟแบบชั่วคราวใหม่ซึ่งเดิมจะมีอัตราค่าไฟฟ้าคิดที่ 6-8 บาทต่อหน่วยเนื่องจากเป็นการใช้ไฟแบบไม่แน่นอนเช่น ก่อสร้าง งานแสดงสินค้า อย่างไรก็ตามสำหรับชุมชนซึ่งไม่มีทะเบียนบ้านปัจจุบันอยู่ในเขตกทม. 2
หมื่นครัวเรือนและภูมิภาคประมาณแสนครัวเรือนถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วยแต่มีการใช้ไฟระยะยาวที่แน่นอนกว่าดังนั้นจึงเตรียมจะปรับอัตราค่าบริการให้ต่ำลงมาแต่จะแพงกว่าค่าไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยโดยรายละเอียดจะต้องรอการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่อีกครั้งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
นายประเทศ ศรีชมภู ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) เปิดเผยว่า สกพ.ได้ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ในการปรับเกณฑ์ต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้ใช้ไฟที่ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 20 ล้านครัวเรือนโดยเฉพาะเกณฑ์การตัดไฟเมื่อผู้ใช้ไฟผิดเวลาชำระเงิน ค่าธรรมเนียมการตัดไฟ การปรับสัญญาบริการเพื่อเพิ่มช่องทางส่งใบแจ้งหนี้เพิ่ม รวมถึงการดูแลระบบมิเตรอ์ให้คิดค่าไฟให้เที่ยงธรรมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากรณีการเรียกเก็บค่าไฟย้อนหลัง และเตรียมลดอัตราค่าไฟฟ้าชั่วคราวให้ชุมชนทั่วประเทศ 1.2 แสนราย
สำหรับเกณฑ์การตัดไฟที่บังคับกับผู้ใช้ไฟรายย่อยถูกกำหนดว่าจะต้องจ่ายตามกำหนดภายใน 7 วันและหากไม่มาชำระใน 3 วันหลังจากนั้นจะถูกตัดไฟหรืองดให้บริการ รวมเป็นระยะเวลา 10 วันและจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตัดต่อไฟโดยส่วนของกฟน.คิดที่ 40 บาทกฟภ.คิดที่ 107 บาทแม้ว่าจะยังไม่ตัดไฟหากผิดชำระก็จะต้องจ่ายแต่เกณฑ์ใหม่จะขยายเวลาเป็น 15 วันโดยจะต้องมีหนังสือแจ้งเตือนหรือส่งข้อความ(SMS) และหลังจากนั้นให้การไฟฟ้าพิจารณาหลักการงดจ่ายไฟอีก 5-6 วันรวมระยะเวลา 21 วัน ส่วนค่าธรรมเนียมจะจ่ายต่อเมื่อมีการงดจ่ายไฟจริงแล้วเท่านั้น
“เราพบว่าผู้ใช้ไฟส่วนของภูมิภาคนั้นจะมี 17 ล้านราย ที่เหลือ3ล้านรายอยู่ในเขตนครหลวงหรือส่วนกลาง และใน 17 ล้านรายพบว่ามีปัญหามาชำระค่าไฟผิดเวลา 8 แสนรายต่อเดือนและเฉลี่ยจะโดนตัดไฟประมาณ 2 แสนรายต่อเดือน ก็พยายามจะดูแลผู้บริโภคร่วมกันซึ่งการยืดเวลาชำระไฟออกไปก็พิจารณาความเหมาะสมกับภาระของ2การไฟฟ้าแล้ว”นายประเทศกล่าว
นอกจากนี้ปัญหาผิดนัดชำระค่าไฟเกิดจากไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าบริการ ดังนั้นจึงกำหนดให้มีการเปิดช่องทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการโดยปรับแก้สัญญาบริการใหม่ด้วยการให้เพิ่มสถานที่ส่งใบแจ้งหนี้โดยการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ใช้ไฟกับการไฟฟ้านั้นๆ ได้ ขณะเดียวกันยังพบว่าประชาชนมีการร้องเรียนถึงความไม่แน่ใจว่าค่าไฟที่แพงขึ้นถูกต้องจริงหรือไม่ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับมิเตอร์วัดไฟซึ่งเดิมมีหลักปฏิบัติใช้มิเตอร์สอบเที่ยบโดยค่าเฉลี่ยต้องไม่เกินบวกลบ 2.5 ก็จะถือว่าปกติ ดังนั้นสกพ.จึงวางเกณฑ์ร่วมกันกับการไฟฟ้าในการตรวจสอบมาตรวัดทุก 1-2 ปี
อย่างไรก็ตามกรณีมิเตอร์มีความคลาดเคลื่อนโดยเฉพาะกรณีเดินช้าผิดปกติเมื่อตรวจสอบก็จะมีการเรียกเก็บค่าไฟย้อนหลังโดยหากไม่รู้เวลาว่าเกิดขึ้นเมื่อใดจะย้อนไป 6 เดือนหากตรวจสอบได้ก็จะย้อนไปตั้งแต่วันเกิดเหตุซึ่งจะกินเวลาหลายปี ดังนั้นเกณฑ์ใหม่ก็จะสอดรับกับการตรวจสอบมิเตอร์คือจะต้องไม่เกิน 1-2 ปี
นายประเทศกล่าวว่า ขณะนี้สกพ.ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราการใช้ไฟแบบชั่วคราวใหม่ซึ่งเดิมจะมีอัตราค่าไฟฟ้าคิดที่ 6-8 บาทต่อหน่วยเนื่องจากเป็นการใช้ไฟแบบไม่แน่นอนเช่น ก่อสร้าง งานแสดงสินค้า อย่างไรก็ตามสำหรับชุมชนซึ่งไม่มีทะเบียนบ้านปัจจุบันอยู่ในเขตกทม. 2
หมื่นครัวเรือนและภูมิภาคประมาณแสนครัวเรือนถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วยแต่มีการใช้ไฟระยะยาวที่แน่นอนกว่าดังนั้นจึงเตรียมจะปรับอัตราค่าบริการให้ต่ำลงมาแต่จะแพงกว่าค่าไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยโดยรายละเอียดจะต้องรอการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่อีกครั้งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้