ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รักษาการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) วาระพิเศษ ในวันนี้ (4 มิ.ย.) ที่ประชุมจะหารือเรื่องที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายการปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งในส่วนของการปฏิรูปการศึกษานั้น ทปอ.จะมีข้อเสนอด้านการศึกษา ได้แก่ นโยบายการผลักดันมหาวิทยาลัยให้เป็นอิสระ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีอิสระในการบริหารจัดการ ซึ่งขณะนี้มีร่างกฎหมายที่ยังค้างอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐบาลเดิมหลายฉบับ รวมถึง ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.... ด้วย นโยบายการส่งเสริมงานวิจัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยแข่งขันกับนานาชาติได้ , ทิศทางการผลักดันมหาวิทยาลัยสู่อาเซียน และ นโยบายการแยกกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย เนื่องจากการปรับปรุงกระทรวง ทบวง ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 12 ปีแล้ว เห็นได้ชัดว่า ทำให้มหาวิทยาลัยตกต่ำลง เนื่องจากรัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลกระทรวงศึกษาธิการ จะเน้นดูแลการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากกว่าอุดมศึกษา ขอยืนยันว่า การขอแยกกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย ไม่ใช่เรื่องใหม่ การเสนอต่อ คสช. ช่วงนี้ไม่ใช่เรื่องการฉวยโอกาส แต่เป็นปัญหาที่ ทปอ. หารือ และตั้งคณะทำงานขึ้น ศึกษามาตลอด เพราะมีปัญหาจริงๆ
อธิการบดี มธ. กล่าวต่อว่า นอกจาก ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับ แล้ว อุดมศึกษายังมีกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องที่ต้องการให้ คสช. ผลักดัน อีก 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ระบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ....ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.) แล้ว และ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) แล้ว ทั้งนี้ ร่าง กฎหมายต่างๆ คสช. สามารถอนุมัติให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที แต่อาจทำให้ชาวอุดมศึกษาบางส่วนไม่ค่อนสบายใจ ส่วนบทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการผลักดันงานปฏิรูปอื่นๆ ของ คสช.นั้น ศ.ดร.สมคิด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ด้านต่างๆ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ คสช.ได้ หากคสช.ร้องขอมา ซึ่งตนคิดว่า เรามีความพร้อมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
"การปฏิรูปการเมืองนั้น ควรมีการนำผลการศึกษาที่คณะบุคคลต่างๆ เคยศึกษาไว้มาดำเนินการต่อ อาทิ ผลการศึกษา ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน , ผลการศึกษาของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ของนายคณิต ณ นคร และผลการศึกษาของสมัชชาปฏิรูปประเทศ ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นต้น ”ศ.ดร.สมคิด กล่าว
อธิการบดี มธ. กล่าวต่อว่า นอกจาก ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับ แล้ว อุดมศึกษายังมีกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องที่ต้องการให้ คสช. ผลักดัน อีก 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ระบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ....ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.) แล้ว และ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) แล้ว ทั้งนี้ ร่าง กฎหมายต่างๆ คสช. สามารถอนุมัติให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที แต่อาจทำให้ชาวอุดมศึกษาบางส่วนไม่ค่อนสบายใจ ส่วนบทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการผลักดันงานปฏิรูปอื่นๆ ของ คสช.นั้น ศ.ดร.สมคิด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ด้านต่างๆ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ คสช.ได้ หากคสช.ร้องขอมา ซึ่งตนคิดว่า เรามีความพร้อมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
"การปฏิรูปการเมืองนั้น ควรมีการนำผลการศึกษาที่คณะบุคคลต่างๆ เคยศึกษาไว้มาดำเนินการต่อ อาทิ ผลการศึกษา ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน , ผลการศึกษาของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ของนายคณิต ณ นคร และผลการศึกษาของสมัชชาปฏิรูปประเทศ ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นต้น ”ศ.ดร.สมคิด กล่าว