คสช.สั่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเร่งจัดทำแผนงาน จัด 9 หมวด งานขนส่ง พลังงาน สื่อสาร สาธารณูปการ สถาบันการเงิน เทคโนโลยี อุตสาหกรรม เกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ สั่งบีโอไอปลดล็อกทุนทุนต่างชาติ ด้าน ปชป.หวัง คสช.หาคนดีคุมบอร์ดปลอดการเมือง โดยเฉพาะ ปตท.
ภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง พล.อ.อ.ประจิน จั่นทอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 56 หน่วยงาน ใช้เวลาในการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมง พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ได้แบ่งงานดูแลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็น 9 กลุ่ม โดย พล.อ.อ.ประจิน รับผิดชอบ 4 กลุ่ม ได้แก่ งานขนส่ง พลังงาน สื่อสาร และสาธารณูปการ ส่วนพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. รับผิดชอบ 5 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการเงิน เทคโนโลยี อุตสาหกรรม เกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ
สำหรับการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการให้สมบูรณ์โดยเร็ว เพื่อเดินหน้านโยบายการลงทุนตามแผนเดิม ส่วนข้อเสนอที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้อนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติโครงการ แทนบอร์ดชุดใหญ่ได้นั้น ขอไปศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมายก่อน
สำหรับการพิจารณาโยกย้ายประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจอื่นๆ นั่น มองว่า จำเป็นต้องมีการทบทวนและปรับเปลี่ยน เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มีเวลาทำงานมากเข้ามาทำงานแทนคนที่มีเวลาทำงานน้อย โดย คสช.จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณารายชื่อคณะกรรมการใหม่ด้วย โดยจะดำเนินการภายใต้กฎกติกาเดิม
โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนดำเนินงานระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว นำส่งให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เป็นผู้รวบรวม เพื่อเสนอต่อ คสช. พิจารณาในวันที่ 2 มิถุนายน ก่อน 12.00 น. ก่อนจะสรุปเสนอให้หัวหน้า คสช.พิจารณาในวันถัดไป
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ จะแยกเป็นโครงการเร่งด่วน ที่ค้างจากงบประมาณปี 57 ที่ติดการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี ( ครม.) และแผนงานปีงบประมาณ ปี58 และ ปร59 ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนโร้ดแมพของประเทศ
"คสช.จะดูแลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงานอย่างเท่าเทียมกัน ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา หัวหน้า คสช. ได้ให้นโยบายไว้ คือต้องทบทวนการดำเนินงาน ของรัฐวิสากิจให้ดีขึ้น ทันสมัย รวมถึงพิจารณาความมั่นคงด้านพลังงาน การพิจารณานโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมพลังงานทดแทนทั้งจากแสงแดด และพืชพลังงานอื่นๆ ให้เหมาะสมโดยเร็ว ซึ่งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับแผนให้อยู่ในระเบียบ มีมาตรฐาน มีบุลคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีการบริหารงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี"
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า อยากให้ทหารปฏิรูปในสิ่งที่นักการเมืองทำไม่ได้ รัฐบาลที่ผ่านๆ มา จะใช้บอร์ดรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนหนึ่งในแย่งชิงอำนาจ เมื่อมาเป็นรัฐบาล ก็จะโละบอร์ดวิสาหกิจ คาดหวังว่า คสช.จะพิจารณาบุคคลที่เป็นมืออาชีพในการบริหารงานจริงเข้ามาทำงาน แต่ถ้าที่สุดแล้วมีแต่ทหารเข้ามาเป็นประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ก็ไม่ต่างกันกับรัฐบาลอื่นๆ ที่มีการแย่งชิงอำนาจ แต่ตนยังเชื่อมั่นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นคนดี จึงต้องดูว่าการตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจมีการใช้แนวคิดในพันธกิจเดิมๆ หรือไม่ โดยบอร์ดที่น่าจับตาดูมากที่สุด ปตท.
ขณะนี้หลายหน่วยงานสามารถเดินหน้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เช่น กระทรวงการคลัง แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ซึ่งมีกระทรวงพลังงานเป็นแม่งาน กลับไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะปัญหาพลังงานแก๊สหุงต้มภาคครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น ส่วนตัวมองว่า คสช. รับฟังข้าราชการกระทรวงพลังงานมากเกินไปหรือไม่ จึงทำให้การแก้ปัญหายังอยู่ในวังวนเดิม อยากให้คสช.รับฟังความเห็นจากภาคส่วนอื่นบ้าง เช่น กลุ่มเอ็นจีโอ นักวิชาการสายอื่น อดีต ส.ว.เพราะแต่ละกลุ่มมีข้อดีคนละมุม
ส่วนการจัดทำร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2558 นั้น ขณะนี้ถือเป็นจังหวะดีที่สุด เพราะไม่มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดทำงบจะไม่เป็นเบี้ยหัวแตก แต่อยากให้ดูใน 2 เรื่องคือ เรื่องความคุ้มค่าในบางโครงการ และงบประมาณค่าที่ปรึกษาในโครงการต่างๆ คสช.อย่าเชื่อข้าราชการมากเกินไป โดยเฉพาะกรณีการหยิบบางโครงการของร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มาทบทวน
"ขอเตือนว่าระวังจะถูกข้าราชการยัดไส้ ขณะที่งบประมาณตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท บางโครงการยังไม่ผ่านการสำรวจผลกระทบในด้านต่างๆ ที่สำคัญ พ.ร.ก.ดังกล่าวหมดอายุไปตั้งแต่เดือน มิ.ย. 56 แล้ว จึงต้องระวังหากถูกข้าราชการยัดไส้จะทำให้ คสช.เดินผิด เหมือนกับรัฐบาลเดิมที่เดินพลาดมาแล้ว" นายอรรถวิชช์ กล่าว.
ภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง พล.อ.อ.ประจิน จั่นทอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 56 หน่วยงาน ใช้เวลาในการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมง พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ได้แบ่งงานดูแลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็น 9 กลุ่ม โดย พล.อ.อ.ประจิน รับผิดชอบ 4 กลุ่ม ได้แก่ งานขนส่ง พลังงาน สื่อสาร และสาธารณูปการ ส่วนพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. รับผิดชอบ 5 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการเงิน เทคโนโลยี อุตสาหกรรม เกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ
สำหรับการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการให้สมบูรณ์โดยเร็ว เพื่อเดินหน้านโยบายการลงทุนตามแผนเดิม ส่วนข้อเสนอที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้อนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติโครงการ แทนบอร์ดชุดใหญ่ได้นั้น ขอไปศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมายก่อน
สำหรับการพิจารณาโยกย้ายประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจอื่นๆ นั่น มองว่า จำเป็นต้องมีการทบทวนและปรับเปลี่ยน เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มีเวลาทำงานมากเข้ามาทำงานแทนคนที่มีเวลาทำงานน้อย โดย คสช.จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณารายชื่อคณะกรรมการใหม่ด้วย โดยจะดำเนินการภายใต้กฎกติกาเดิม
โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจัดทำแผนดำเนินงานระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว นำส่งให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เป็นผู้รวบรวม เพื่อเสนอต่อ คสช. พิจารณาในวันที่ 2 มิถุนายน ก่อน 12.00 น. ก่อนจะสรุปเสนอให้หัวหน้า คสช.พิจารณาในวันถัดไป
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ จะแยกเป็นโครงการเร่งด่วน ที่ค้างจากงบประมาณปี 57 ที่ติดการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี ( ครม.) และแผนงานปีงบประมาณ ปี58 และ ปร59 ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนโร้ดแมพของประเทศ
"คสช.จะดูแลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทุกหน่วยงานอย่างเท่าเทียมกัน ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา หัวหน้า คสช. ได้ให้นโยบายไว้ คือต้องทบทวนการดำเนินงาน ของรัฐวิสากิจให้ดีขึ้น ทันสมัย รวมถึงพิจารณาความมั่นคงด้านพลังงาน การพิจารณานโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมพลังงานทดแทนทั้งจากแสงแดด และพืชพลังงานอื่นๆ ให้เหมาะสมโดยเร็ว ซึ่งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับแผนให้อยู่ในระเบียบ มีมาตรฐาน มีบุลคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีการบริหารงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี"
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า อยากให้ทหารปฏิรูปในสิ่งที่นักการเมืองทำไม่ได้ รัฐบาลที่ผ่านๆ มา จะใช้บอร์ดรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนหนึ่งในแย่งชิงอำนาจ เมื่อมาเป็นรัฐบาล ก็จะโละบอร์ดวิสาหกิจ คาดหวังว่า คสช.จะพิจารณาบุคคลที่เป็นมืออาชีพในการบริหารงานจริงเข้ามาทำงาน แต่ถ้าที่สุดแล้วมีแต่ทหารเข้ามาเป็นประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ก็ไม่ต่างกันกับรัฐบาลอื่นๆ ที่มีการแย่งชิงอำนาจ แต่ตนยังเชื่อมั่นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นคนดี จึงต้องดูว่าการตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจมีการใช้แนวคิดในพันธกิจเดิมๆ หรือไม่ โดยบอร์ดที่น่าจับตาดูมากที่สุด ปตท.
ขณะนี้หลายหน่วยงานสามารถเดินหน้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เช่น กระทรวงการคลัง แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ซึ่งมีกระทรวงพลังงานเป็นแม่งาน กลับไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะปัญหาพลังงานแก๊สหุงต้มภาคครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น ส่วนตัวมองว่า คสช. รับฟังข้าราชการกระทรวงพลังงานมากเกินไปหรือไม่ จึงทำให้การแก้ปัญหายังอยู่ในวังวนเดิม อยากให้คสช.รับฟังความเห็นจากภาคส่วนอื่นบ้าง เช่น กลุ่มเอ็นจีโอ นักวิชาการสายอื่น อดีต ส.ว.เพราะแต่ละกลุ่มมีข้อดีคนละมุม
ส่วนการจัดทำร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2558 นั้น ขณะนี้ถือเป็นจังหวะดีที่สุด เพราะไม่มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดทำงบจะไม่เป็นเบี้ยหัวแตก แต่อยากให้ดูใน 2 เรื่องคือ เรื่องความคุ้มค่าในบางโครงการ และงบประมาณค่าที่ปรึกษาในโครงการต่างๆ คสช.อย่าเชื่อข้าราชการมากเกินไป โดยเฉพาะกรณีการหยิบบางโครงการของร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มาทบทวน
"ขอเตือนว่าระวังจะถูกข้าราชการยัดไส้ ขณะที่งบประมาณตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท บางโครงการยังไม่ผ่านการสำรวจผลกระทบในด้านต่างๆ ที่สำคัญ พ.ร.ก.ดังกล่าวหมดอายุไปตั้งแต่เดือน มิ.ย. 56 แล้ว จึงต้องระวังหากถูกข้าราชการยัดไส้จะทำให้ คสช.เดินผิด เหมือนกับรัฐบาลเดิมที่เดินพลาดมาแล้ว" นายอรรถวิชช์ กล่าว.