คสช. ห้ามเจ้าหนี้นอกระบบข่มขู่ทวงหนี้ชาวนา ฝ่าฝืนโทษคุก 2 ปีปรับ 4 หมื่น นายทุนเมืองลำปางไม่สน ยกพวกตามบี้ลูกหนี้ถึงธนาคาร ยึดสมุดบัญชี-มอเตอร์ไซด์ ธ.ก.ส.เผย 4 วันจ่ายเงินจำนำข้าวทะลุ 2 หมื่น
ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เห็นชอบให้จ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา โดยคสช.จะกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) 9 หมื่นล้านบาท โดยงวดแรกกู้จาก ธ.ก.ส 4 หมื่นล้านบาท จ่ายให้กับชาวนาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม งวดที่ 2 กู้ 5 หมื่นล้านบาท ทยอยจ่ายให้หมดทุกรายภายใน 1 เดือน
แต่เนื่องจากชาวนาถือใบประทวนเพื่อรอรับเงินจำนำข้าวมากว่า 6 เดือนแล้ว ทำให้ต้องกู้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และลงทุนทำนารอบใหม่ โดยมีทั้งกู้จากธ.ก.ส. และกู้นอกระบบที่เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่ากฏหมายกำหนด และมักใช้ความรุนแรงกับลูกหนี้ หากติดตามทวงหนี้ไม่ได้นั้น
**ห้ามเจ้าหนี้นอกระบบทวงหนี้ชาวนา
เมื่อเวลา 11.50 น.วานนี้(29 พ.ค.) โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แพร่ภาพประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2557 เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้ ใจความว่า "ด้วยปรากฏว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีพฤติกรรมในการติดตามทวงถามหนี้จากชาวนาอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และโทษที่จะได้รับสำหรับความผิดนั้น เพื่อเป็นการรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงออกประกาศดังต่อไปนี้
ผู้ใดข่มขืนใจชาวนาให้ยอมให้หรือยอมจ่ายให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของชาวนา หรือของบุคคลที่ 3 จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
**แจงห่วงถูกข่มขู่-อย่าอ้างคำสั่งเบี้ยวหนี้
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ชี้แจงกรณีคสช.มีคำสั่งระงับไม่ให้ทวงหนี้ชาวนาว่า คสชเป็นห่วง เพราะที่ผ่านมาชาวนาไปกู้เงินนอกระบบ เมื่อได้เงินแล้วก็กลัวว่าเจ้าหนี้จะมาทวงเงินโดยวิธีการบังคับ ข่มขู่ ซึ่งคำสั่งคสช.เป็นการป้องปราม โดยจะให้ฝ่ายปกครอง ซึ่งชาวนาจะมาอ้างคำสั่งคสช.แล้วไม่ชำระหนี้ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายเมื่อเป็นหนี้ก็ต้องจ่าย เพียงแต่ว่าเจ้าหนี้ต้องทำถูกกฎหมาย คือ ต้องไม่ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขู่ให้หวาดกลัว ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของชาวนาว่าจะใช้ได้เท่าไหร่ เพราะต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนทำนาต่อไป หากคสช.พบว่าเจ้าหนี้รายใดมีพฤติกรรมขัดต่อคำสั่ง จะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด
**นายทุนลำปางลองของตามบี้ถึงธ.ก.ส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แพร่ภาพประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2557 แต่ยังเกิดเหตุข่มขู่ชาวนาขึ้นภายในธ.ก.ส.สาขาอาลัมภางค์ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง โดยร.ต.ท.จิตดนัย รัตนไพบูลย์เจริญ รองสวป.สภ.เมือง รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ 191 ลำปาง จึงนำกำลังตรวจสอบ พบนายชวน ชัยเลิศ อายุ 49 ปี ให้การว่าได้กู้เงินนางแสงหล้า ไชยจุก อายุ 42 ปี จำนวน 80,000 บาท มาเป็นทุนในการทำนา หลังจากไม่ได้รับเงินจำนำข้าวจากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อมาได้ขายรถไถนาให้กับนางแสงหล้า มูลค่า 80,000 บาทเพื่อล้างหนี้ โดยได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันแล้ว
จนวันที่ 28 พฤษภาคม นางแสงหล้าทราบข่าวว่าได้รับเงินจำนำข้าว จึงได้ตามมาพบที่ธ.ก.ส.สาขาอาลัมภางค์ เพื่อจะมาเอาเงินสด แต่นายชวนไม่ยอม เนื่องจากตกลงซื้อขายรถไถนาล้างหนี้กันแล้ว แต่นางแสงหล้าพาพรรคพวกมา 3-4 คน ยึดรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ฟีโน่ ทะเบียน 1 กก5821 ลำปาง และสมุดบัญชีธนาคารขอตนไปด้วย จึงแจ้งสมุดบัญชีหายเพื่ออายัด และแจ้งความที่นางแสงหล้ามายึดรถจักรยานยนต์ของตนเองไป
นายชวน กล่าวว่า วันที่ 29 พฤษภาคม ตนและภรรยามาที่ธนาคารเพื่อขอทำสมุดบัญชีธนาคารใหม่ แต่นางแสงหล้ายังติดตามมาที่ธนาคาร เพื่อข่มขู่จะเอาเงินสด อีก ทำให้องโทรศัพท์แจ้งตำรวจมา แต่เมื่ตำรวจมาถึงนางแสงหล้าก็หลบหนีไปแล้ว
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แนะนำให้นายชวนไปแจ้งความที่สภ.เมือง เพื่อตำรวจจะได้ติดตามเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบรายนี้มาดำเนินคดีต่อไป
**"ลักษณ์"เผย4วันจ่ายเงินทะลุ2หมื่นล้าน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า ผลการจ่ายเงินจำนำข้าวฤดูกาลผลิต 2556/57 ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม จ่ายให้เกษตรกรแล้ว 185,381 รายวงเงิน 19,246.64 ล้านบาท โดยยอดการเบิกจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากวันแรก 1,000 ล้านบาท เป็น 6,000 ล้านบาทในวันที่สอง และ 9,000 ล้านบาทในวันที่สาม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธ.ก.ส.ทำงานช่วงกลางคืนด้วยโดยป้อนข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วงเช้า
นายลักษณ์ กล่าวว่า แม้ขณะนี้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยใช้สภาพคล่องของธ.ก.ส.ไปก่อน 40,000 ล้านบาท และรอใช้เงินกู้อีก 50,000 ล้านบาท จะทำให้การใช้เงินในโครงการจำนำข้าวเกินกรอบตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เดิม 5 แสนล้านบาทแต่เชื่อว่าจะบริหารให้ลดลงมาเหลือ 5 แสนล้านบาทได้ เพราะจะมีเงินจากการระบายข้าวเข้ามา และการได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2558 ที่สำนักงบประมาณ ยืนยันว่าจะให้ทันวันที่ 1 ตุลาคมตามนโยบายคสช.
**เอกชนชมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจขยายตัว
นางฉวีวรรณ คำพา ประธานกรรมการบริษัท ฉวีวรรณฟาร์ม จำกัด ในฐานะนายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุดสาหรับการเข้ามาบริหารประเทศในขณะนี้ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ชาวนาที่เดือดร้อนมานาน ได้มีเงินทุนปลูกข้าวฤดูกาลใหม่แล้ว ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงิน ที่สำคัญทำให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยกู้ให้กลุ่มเกษตรกรมากขึ้น
นายนิยม จุฬาเสรีกุล นายกสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย กล่าวว่า การจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา ถือเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองควรทำ โดยเฉพาะนโยบายปราบปรามการทวงหนี้จากเงินกู้นอกระบบ ถือเป็นการสวมเสื้อเกราะให้ชาวนา ซึ่งตนเชื่อว่าการเร่งจ่ายเงินจำนำข้าว จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจกลับมาไม่น้อยกว่า 3-5% เพราะเมื่อชาวนาได้เงินจำนำข้าว ก็จะนำไปชำระหนี้สิน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นตามมา ซึ่งจะทำให้คนอีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านครัวเรือน ได้รับผลดีจากการมีเงินหมุนเข้าสู่ระบบ
**กู้ภาพลักษณ์เครดิตชาวนาแถมได้กู้เพิ่ม
นายประชา กิจตรงศิริ กรรมการผู้จัดการบริษัท กิจตรง ยามาฮ่า อุบลราชธานี จำกัด กล่าวว่า การจ่ายเงินจำนำข้าวใหชาวนาอุบลราชธานีเกือบ 6 พันล้านบาท เป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด เพราะยอดเงินดังกล่าวจะหมุนเวียนจากการใช้จ่ายถึง 3 รอบ ทำให้มียอดใช้จ่ายสูงเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ด้วยยอดเงินดังกล่าวกับขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด ถือว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล จึงเป็นผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด เพราะชาวนาจะนำเงินไปจ่ายค่าปุ๋ย ค่าอุปกรณ์การผลิต และจ่ายหนี้ธ.ก.ส. เมื่อจ่ายหนี้ให้ธ.ก.ส. ชาวนาที่เป็นลูกค้าชั้นดี ก็จะได้รับเงินกู้รอบใหม่ที่มีมูลค่ามากขึ้นมาใช้จ่ายอีก
**ร้านเคมี-อุปกรณ์การเกษตรหายใจโล่ง
ที่ร้านพันธ์ทวี ริมถนนขอนแก่น-เชียงยืน ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตรรายใหญ่ มีเกษตรกรจากจ.ขอนแก่น มหาสารคาม แลกาฬสินธุ์ มาซื้อสินค้ากันจำนวนมาก โดยน.ส.รัฐภา กล้าขยัน ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีเกษตรกรมาซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จซื้อปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ของกรมการข้าว โดยเมล็ดพันธุ์ราคากระสอบละ 720 บาท ข้าวกข. 6 ของศูนย์พันธุ์ข้าว กระสอบละ 720 บาท
ส่วนปุ๋ยเคมีราคากระสอบละ 640-760 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ ซึ่งทางร้านได้จัดโปรโมชันลดราคาพร้อมทั้งเตรียมของรางวัล เช่น โทรทัศน์สีจอ LED รถจักรยานยนต์ หม้อหุงข้าว พัดลม กระติกน้ำร้อน นาฬิกา เพื่อเป็นการสมนาคุณลูกค้า ที่มาซื้อสินค้าช่วงก่อนการทำนาปี
ร้านพรรษมลการเกษตร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจำหน่ายปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรใหญ่ที่สุดของอ.นครหลวง นายอดิศักดิ์ เขียวบัว เจ้าของร้าน ขึ้นป้ายขอบคุณคสช. ที่ทำให้ชาวนาได้รับเงินจำนำข้าว และมีเงินสดนำมาใช้หนี้ทางร้าน
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า มีลูกค้าประจำกว่า 100 รายที่มาซื้อสินค้าทางการเกษตร แต่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด โดยลงบัญชีเอาไว้ก่อน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ จึงจะนำเงินมาใช้หนี้ ซึ่งตั้งแต่นาปรังตั้งแต่ปีที่แล้วคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ทำให้ต้องแบกรับสภาพค้างจ่ายไปด้วย แต่ไม่ได้คิดดอกเบี้ยกับชาวนา เมื่อคสช.สั่งทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวที่ค้างจ่ายให้กับชาวนา ทางร้านจึงได้เงินสดคืน
"ผมก็ต้องขอขอบคุณคสช.ด้วย ที่ทำให้ชาวนาได้เงินค่าจำนำข้าว เพราะทำให้ทางร้านเริ่มคล่องตัวไปด้วย แต่เพาะปลูกรอบใหม่นี้ ผมก็จะต้องให้เครดิตชาวนาอีก เพราะคงไม่มีเงินสดในมือมากพอที่จะลงทุนทำนา"
**องค์กรต้านโกงขอกก.พิเศษตรวจจำนำข้าว
นายสมพล เกียรติไพบูลย์ รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) กล่าวว่า จะเสนอให้คสช.ตั้งคณะกรรมการพิเศษ 1 ชุดตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว โดยเฉพาะประเด็นที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการของกระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบช่วง 2 ปีกว่า ที่พบว่าขาดทุนสูงขึ้นถึง 5 แสนล้านบาทว่าขาดทุนอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ มีการทุจริตหรือไม่เพื่อเปิดเผยให้สาธารชนได้รับทราบ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก
"องค์กรเห็นว่าคสช.มีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ต่างจากคณะกรรมการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆได้ยากมาก ซึ่งการเสนอให้ตรวจสอบ เป็นความเห็นร่วมกันจากผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมใหญ่ขององค์กร เช่น นพ.ประเวศ วะสี ผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เป็นต้น"
**สตช.เผยมีคนร้องทุกข์ทั่วประเทศ250คดี
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร. กล่าวถึงคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวว่า ในนายกุฤทธิ์ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง คณะอนุกรรมการปิดบัญชี ได้เข้หารือเพื่อเร่งรัดติดตามคดีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษการทุจริต โดยพบว่ามีการร้องเรียนกล่าวโทษไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ(บก.ปปป.) ซึ่งพบว่ามีมูลอยู่ระหว่างดำเนินการ 10 คดี อีกส่วนหนึ่งเป็นการรับคำร้องทุกข์ที่กล่าวหาเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวอีก 250 คดี ซึ่งได้เร่งรัดให้ตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งในชั้นนี้ยังไม่มีคดีที่เชื่อมโยงนักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง
ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เห็นชอบให้จ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา โดยคสช.จะกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) 9 หมื่นล้านบาท โดยงวดแรกกู้จาก ธ.ก.ส 4 หมื่นล้านบาท จ่ายให้กับชาวนาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม งวดที่ 2 กู้ 5 หมื่นล้านบาท ทยอยจ่ายให้หมดทุกรายภายใน 1 เดือน
แต่เนื่องจากชาวนาถือใบประทวนเพื่อรอรับเงินจำนำข้าวมากว่า 6 เดือนแล้ว ทำให้ต้องกู้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และลงทุนทำนารอบใหม่ โดยมีทั้งกู้จากธ.ก.ส. และกู้นอกระบบที่เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่ากฏหมายกำหนด และมักใช้ความรุนแรงกับลูกหนี้ หากติดตามทวงหนี้ไม่ได้นั้น
**ห้ามเจ้าหนี้นอกระบบทวงหนี้ชาวนา
เมื่อเวลา 11.50 น.วานนี้(29 พ.ค.) โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แพร่ภาพประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2557 เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้ ใจความว่า "ด้วยปรากฏว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีพฤติกรรมในการติดตามทวงถามหนี้จากชาวนาอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และโทษที่จะได้รับสำหรับความผิดนั้น เพื่อเป็นการรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงออกประกาศดังต่อไปนี้
ผู้ใดข่มขืนใจชาวนาให้ยอมให้หรือยอมจ่ายให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของชาวนา หรือของบุคคลที่ 3 จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
**แจงห่วงถูกข่มขู่-อย่าอ้างคำสั่งเบี้ยวหนี้
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ชี้แจงกรณีคสช.มีคำสั่งระงับไม่ให้ทวงหนี้ชาวนาว่า คสชเป็นห่วง เพราะที่ผ่านมาชาวนาไปกู้เงินนอกระบบ เมื่อได้เงินแล้วก็กลัวว่าเจ้าหนี้จะมาทวงเงินโดยวิธีการบังคับ ข่มขู่ ซึ่งคำสั่งคสช.เป็นการป้องปราม โดยจะให้ฝ่ายปกครอง ซึ่งชาวนาจะมาอ้างคำสั่งคสช.แล้วไม่ชำระหนี้ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายเมื่อเป็นหนี้ก็ต้องจ่าย เพียงแต่ว่าเจ้าหนี้ต้องทำถูกกฎหมาย คือ ต้องไม่ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขู่ให้หวาดกลัว ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของชาวนาว่าจะใช้ได้เท่าไหร่ เพราะต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนทำนาต่อไป หากคสช.พบว่าเจ้าหนี้รายใดมีพฤติกรรมขัดต่อคำสั่ง จะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด
**นายทุนลำปางลองของตามบี้ถึงธ.ก.ส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แพร่ภาพประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2557 แต่ยังเกิดเหตุข่มขู่ชาวนาขึ้นภายในธ.ก.ส.สาขาอาลัมภางค์ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง โดยร.ต.ท.จิตดนัย รัตนไพบูลย์เจริญ รองสวป.สภ.เมือง รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ 191 ลำปาง จึงนำกำลังตรวจสอบ พบนายชวน ชัยเลิศ อายุ 49 ปี ให้การว่าได้กู้เงินนางแสงหล้า ไชยจุก อายุ 42 ปี จำนวน 80,000 บาท มาเป็นทุนในการทำนา หลังจากไม่ได้รับเงินจำนำข้าวจากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อมาได้ขายรถไถนาให้กับนางแสงหล้า มูลค่า 80,000 บาทเพื่อล้างหนี้ โดยได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันแล้ว
จนวันที่ 28 พฤษภาคม นางแสงหล้าทราบข่าวว่าได้รับเงินจำนำข้าว จึงได้ตามมาพบที่ธ.ก.ส.สาขาอาลัมภางค์ เพื่อจะมาเอาเงินสด แต่นายชวนไม่ยอม เนื่องจากตกลงซื้อขายรถไถนาล้างหนี้กันแล้ว แต่นางแสงหล้าพาพรรคพวกมา 3-4 คน ยึดรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ฟีโน่ ทะเบียน 1 กก5821 ลำปาง และสมุดบัญชีธนาคารขอตนไปด้วย จึงแจ้งสมุดบัญชีหายเพื่ออายัด และแจ้งความที่นางแสงหล้ามายึดรถจักรยานยนต์ของตนเองไป
นายชวน กล่าวว่า วันที่ 29 พฤษภาคม ตนและภรรยามาที่ธนาคารเพื่อขอทำสมุดบัญชีธนาคารใหม่ แต่นางแสงหล้ายังติดตามมาที่ธนาคาร เพื่อข่มขู่จะเอาเงินสด อีก ทำให้องโทรศัพท์แจ้งตำรวจมา แต่เมื่ตำรวจมาถึงนางแสงหล้าก็หลบหนีไปแล้ว
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แนะนำให้นายชวนไปแจ้งความที่สภ.เมือง เพื่อตำรวจจะได้ติดตามเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบรายนี้มาดำเนินคดีต่อไป
**"ลักษณ์"เผย4วันจ่ายเงินทะลุ2หมื่นล้าน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า ผลการจ่ายเงินจำนำข้าวฤดูกาลผลิต 2556/57 ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม จ่ายให้เกษตรกรแล้ว 185,381 รายวงเงิน 19,246.64 ล้านบาท โดยยอดการเบิกจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากวันแรก 1,000 ล้านบาท เป็น 6,000 ล้านบาทในวันที่สอง และ 9,000 ล้านบาทในวันที่สาม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธ.ก.ส.ทำงานช่วงกลางคืนด้วยโดยป้อนข้อมูลลงระบบคอมพิวเตอร์ โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วงเช้า
นายลักษณ์ กล่าวว่า แม้ขณะนี้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยใช้สภาพคล่องของธ.ก.ส.ไปก่อน 40,000 ล้านบาท และรอใช้เงินกู้อีก 50,000 ล้านบาท จะทำให้การใช้เงินในโครงการจำนำข้าวเกินกรอบตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เดิม 5 แสนล้านบาทแต่เชื่อว่าจะบริหารให้ลดลงมาเหลือ 5 แสนล้านบาทได้ เพราะจะมีเงินจากการระบายข้าวเข้ามา และการได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2558 ที่สำนักงบประมาณ ยืนยันว่าจะให้ทันวันที่ 1 ตุลาคมตามนโยบายคสช.
**เอกชนชมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจขยายตัว
นางฉวีวรรณ คำพา ประธานกรรมการบริษัท ฉวีวรรณฟาร์ม จำกัด ในฐานะนายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุดสาหรับการเข้ามาบริหารประเทศในขณะนี้ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ชาวนาที่เดือดร้อนมานาน ได้มีเงินทุนปลูกข้าวฤดูกาลใหม่แล้ว ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงิน ที่สำคัญทำให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยกู้ให้กลุ่มเกษตรกรมากขึ้น
นายนิยม จุฬาเสรีกุล นายกสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย กล่าวว่า การจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา ถือเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองควรทำ โดยเฉพาะนโยบายปราบปรามการทวงหนี้จากเงินกู้นอกระบบ ถือเป็นการสวมเสื้อเกราะให้ชาวนา ซึ่งตนเชื่อว่าการเร่งจ่ายเงินจำนำข้าว จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจกลับมาไม่น้อยกว่า 3-5% เพราะเมื่อชาวนาได้เงินจำนำข้าว ก็จะนำไปชำระหนี้สิน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นตามมา ซึ่งจะทำให้คนอีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านครัวเรือน ได้รับผลดีจากการมีเงินหมุนเข้าสู่ระบบ
**กู้ภาพลักษณ์เครดิตชาวนาแถมได้กู้เพิ่ม
นายประชา กิจตรงศิริ กรรมการผู้จัดการบริษัท กิจตรง ยามาฮ่า อุบลราชธานี จำกัด กล่าวว่า การจ่ายเงินจำนำข้าวใหชาวนาอุบลราชธานีเกือบ 6 พันล้านบาท เป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด เพราะยอดเงินดังกล่าวจะหมุนเวียนจากการใช้จ่ายถึง 3 รอบ ทำให้มียอดใช้จ่ายสูงเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ด้วยยอดเงินดังกล่าวกับขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด ถือว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล จึงเป็นผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด เพราะชาวนาจะนำเงินไปจ่ายค่าปุ๋ย ค่าอุปกรณ์การผลิต และจ่ายหนี้ธ.ก.ส. เมื่อจ่ายหนี้ให้ธ.ก.ส. ชาวนาที่เป็นลูกค้าชั้นดี ก็จะได้รับเงินกู้รอบใหม่ที่มีมูลค่ามากขึ้นมาใช้จ่ายอีก
**ร้านเคมี-อุปกรณ์การเกษตรหายใจโล่ง
ที่ร้านพันธ์ทวี ริมถนนขอนแก่น-เชียงยืน ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตรรายใหญ่ มีเกษตรกรจากจ.ขอนแก่น มหาสารคาม แลกาฬสินธุ์ มาซื้อสินค้ากันจำนวนมาก โดยน.ส.รัฐภา กล้าขยัน ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีเกษตรกรมาซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จซื้อปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ของกรมการข้าว โดยเมล็ดพันธุ์ราคากระสอบละ 720 บาท ข้าวกข. 6 ของศูนย์พันธุ์ข้าว กระสอบละ 720 บาท
ส่วนปุ๋ยเคมีราคากระสอบละ 640-760 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ ซึ่งทางร้านได้จัดโปรโมชันลดราคาพร้อมทั้งเตรียมของรางวัล เช่น โทรทัศน์สีจอ LED รถจักรยานยนต์ หม้อหุงข้าว พัดลม กระติกน้ำร้อน นาฬิกา เพื่อเป็นการสมนาคุณลูกค้า ที่มาซื้อสินค้าช่วงก่อนการทำนาปี
ร้านพรรษมลการเกษตร อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจำหน่ายปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรใหญ่ที่สุดของอ.นครหลวง นายอดิศักดิ์ เขียวบัว เจ้าของร้าน ขึ้นป้ายขอบคุณคสช. ที่ทำให้ชาวนาได้รับเงินจำนำข้าว และมีเงินสดนำมาใช้หนี้ทางร้าน
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า มีลูกค้าประจำกว่า 100 รายที่มาซื้อสินค้าทางการเกษตร แต่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด โดยลงบัญชีเอาไว้ก่อน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ จึงจะนำเงินมาใช้หนี้ ซึ่งตั้งแต่นาปรังตั้งแต่ปีที่แล้วคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ทำให้ต้องแบกรับสภาพค้างจ่ายไปด้วย แต่ไม่ได้คิดดอกเบี้ยกับชาวนา เมื่อคสช.สั่งทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวที่ค้างจ่ายให้กับชาวนา ทางร้านจึงได้เงินสดคืน
"ผมก็ต้องขอขอบคุณคสช.ด้วย ที่ทำให้ชาวนาได้เงินค่าจำนำข้าว เพราะทำให้ทางร้านเริ่มคล่องตัวไปด้วย แต่เพาะปลูกรอบใหม่นี้ ผมก็จะต้องให้เครดิตชาวนาอีก เพราะคงไม่มีเงินสดในมือมากพอที่จะลงทุนทำนา"
**องค์กรต้านโกงขอกก.พิเศษตรวจจำนำข้าว
นายสมพล เกียรติไพบูลย์ รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) กล่าวว่า จะเสนอให้คสช.ตั้งคณะกรรมการพิเศษ 1 ชุดตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว โดยเฉพาะประเด็นที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการของกระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบช่วง 2 ปีกว่า ที่พบว่าขาดทุนสูงขึ้นถึง 5 แสนล้านบาทว่าขาดทุนอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ มีการทุจริตหรือไม่เพื่อเปิดเผยให้สาธารชนได้รับทราบ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก
"องค์กรเห็นว่าคสช.มีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด ต่างจากคณะกรรมการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆได้ยากมาก ซึ่งการเสนอให้ตรวจสอบ เป็นความเห็นร่วมกันจากผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมใหญ่ขององค์กร เช่น นพ.ประเวศ วะสี ผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เป็นต้น"
**สตช.เผยมีคนร้องทุกข์ทั่วประเทศ250คดี
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร. กล่าวถึงคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวว่า ในนายกุฤทธิ์ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง คณะอนุกรรมการปิดบัญชี ได้เข้หารือเพื่อเร่งรัดติดตามคดีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษการทุจริต โดยพบว่ามีการร้องเรียนกล่าวโทษไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ(บก.ปปป.) ซึ่งพบว่ามีมูลอยู่ระหว่างดำเนินการ 10 คดี อีกส่วนหนึ่งเป็นการรับคำร้องทุกข์ที่กล่าวหาเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวอีก 250 คดี ซึ่งได้เร่งรัดให้ตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งในชั้นนี้ยังไม่มีคดีที่เชื่อมโยงนักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง