ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีนายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 209 ( 2) ของรัฐธรรมนูญ 50 ในวันที่ 29 พ.ค. แต่เนื่องจากมีการรัฐประหาร และคณะรักษาความสงบเรียบร้อย (คสช.)ได้ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 11 ให้รัฐธรรมนูญปี 50 สิ้นสุดลง แต่ยังให้ศาลทั้งหลาย ยังคงอยู่ และมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทางตุลาการฯ จึงเห็นว่า นายจรูญ ก็ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 209 ( 2 ) ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 แล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ในตำแหน่งตุลาการฯ ต่อไปตามประกาศ คสช.
อย่างไรก็ตาม การอยู่ในตำแหน่งของคณะตุลาการขณะนี้ จะไม่มีการพิจารณาวินิจฉัยคดีความต่างๆ เพราะที่ผ่านมาคณะตุลาการฯจะใช้รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นฐานในการพิจารณา แต่เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 50 ไป ก็ทำให้คณะตุลาการต้องงดเว้นการพิจารณาคดีไปก่อน โดยจะรอดูความชัดเจนจาก คสช. และธรรมนูญการปกครอง ที่ทาง คสช.จะออกมา ว่าจะให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติอย่างไร
ทั้งนี้ ก่อนการรัฐประหาร นายจรูญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. โดยยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และต่อมาในวันที่ 21 พ.ค. ที่ประชุมคณะตุลาการฯ ได้มีมติเลือกนายนุรักษ์ มาประณีต ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ และยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง แต่ก็มาเกิดการรัฐประหารเสียก่อน ทำให้ขณะนี้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครบ 9 คน แต่ไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกัน ก็รายงานว่า ทางสำนักงานศาลปกครองได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ว่ามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสัดส่วนที่มาจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา 204 (2) ของรัฐธรรมนูญปี 50 ว่างลง จึงขอให้ดำเนินการสรรหาแต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการประชุมของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยคาดว่ามีสาเหตุมาจากการที่รัฐธรรมนูญ ปี 50 ถูกยกเลิก และทางศาลปกครองสูงสุด ต้องการรอความชัดเจนจากประกาศ คสช. หรือธรรมนูญการปกครองที่จะออกมา ว่าจะให้มีการดำเนินการในกรณีนี้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม การอยู่ในตำแหน่งของคณะตุลาการขณะนี้ จะไม่มีการพิจารณาวินิจฉัยคดีความต่างๆ เพราะที่ผ่านมาคณะตุลาการฯจะใช้รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นฐานในการพิจารณา แต่เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 50 ไป ก็ทำให้คณะตุลาการต้องงดเว้นการพิจารณาคดีไปก่อน โดยจะรอดูความชัดเจนจาก คสช. และธรรมนูญการปกครอง ที่ทาง คสช.จะออกมา ว่าจะให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติอย่างไร
ทั้งนี้ ก่อนการรัฐประหาร นายจรูญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. โดยยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และต่อมาในวันที่ 21 พ.ค. ที่ประชุมคณะตุลาการฯ ได้มีมติเลือกนายนุรักษ์ มาประณีต ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ และยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง แต่ก็มาเกิดการรัฐประหารเสียก่อน ทำให้ขณะนี้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครบ 9 คน แต่ไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกัน ก็รายงานว่า ทางสำนักงานศาลปกครองได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ว่ามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสัดส่วนที่มาจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา 204 (2) ของรัฐธรรมนูญปี 50 ว่างลง จึงขอให้ดำเนินการสรรหาแต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการประชุมของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยคาดว่ามีสาเหตุมาจากการที่รัฐธรรมนูญ ปี 50 ถูกยกเลิก และทางศาลปกครองสูงสุด ต้องการรอความชัดเจนจากประกาศ คสช. หรือธรรมนูญการปกครองที่จะออกมา ว่าจะให้มีการดำเนินการในกรณีนี้อย่างไร