ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี เลขาธิการกลุ่มแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กล่าวถึง กรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีความเห็นร่วมกันว่า จะรับตรงโดยวิธีการสอบในช่วงเวลาเดียวกันประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ภายหลังจากนักเรียนเรียนครบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของนักเรียน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ ในปีการศึกษา 2559 โดยทาง สกอ. ขอให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) หารือกับ กสพท. ให้จัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ในคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ก่อนการจัดสอบอื่นๆ ว่า ตนยังไม่สามารถบอกได้ในเวลานี้ว่าเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวหรือไม่ และตอบไม่ได้ว่า จะขยับเวลาสอบของ กสพท. ให้เร็วขึ้นหรือไม่ เพราะยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งยังไม่ได้รับการประสานจาก ทปอ.
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กสพท. ได้ปรับเปลี่ยนการจัดสอบบ้าง ทุกครั้งจะยึดประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก เพราะฉะนั้น หากข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับนักเรียน ทาง กสพท. ก็ยินดีให้ความร่วมมือ และตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมของ กสพท ปลายเดือนมิถุนายน นี้
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชันฟอรั่ม ของ ทปอ. กล่าวว่า เท่าที่ดูภาพรวมมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ขัดในหลักการ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยนั้นมีสาขาวิชาที่หลากหลาย และมีสาขาวิชามากกว่า 3,500 สาขา ดังนั้นหากจะต้องมีการจัดสอบร่วมกันจริง คงต้องหารือในรายละเอียดว่า จะจัดสอบอย่างไร โดยในการประชุม ทปอ. วันที่ 22 มิ.ย.นี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือ ในรายละเอียดเพื่อหาข้อร่วมกัน
ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า การรับสอบตรงร่วมกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องใช้พลังผลักดันเยอะมาก ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่า จะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการสอบรับตรง จะเป็นแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ที่ไม่สามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตามความถนัด คณะ
สาขาต่างๆ จึงต้องไปจัดสอบเอง เพื่อคัดเลือกนักเรียนให้ตรงตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ ซึ่งข้อสอบที่แต่ละมหาวิทยาลัยใช้ ก็จะแตกต่างกัน แม้จะเป็นคณะเดียวกัน อาทิ นิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ข้อสอบรับตรงที่แต่ละแห่งออก ก็ไม่เหมือนกัน เพราะมีจุดเน้นต่างกัน และที่สำคัญ ขณะนี้มหาวิทยาลัยที่จัดสอบตรง ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญในการรับเด็กแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้แต่วิชาเฉพาะ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องบังคับให้เด็กสอบวิชาสามัญอีก
ด้าน รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะให้มีการสอบรับตรงพร้อมกัน แต่ควรแยกสอบออกเป็น 2 ช่วง และเป็นกลุ่มๆ เพราะเวลานี้เราสามารถแยกเด็กได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1. เด็กที่เรียนดีเรียนเก่งและมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะสอบเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำเก่าแก่
2. เด็กที่เรียนดี เรียนเก่งแต่ต้องการเรียนในมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ กลุ่ม มทร. เป็นต้น
3. เด็กที่เรียนเก่ง เรียนดี เรียนปานกลาง และไม่เก่ง กลุ่มนี้รวมกันมีมากถึง 40 % ซึ่งบางคนพลาดโอกาสจากกลุ่มที่ 1 และ 2 แต่ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่มีความตั้งใจที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยสายสังคมท้องถิ่น อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฎมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้หากให้สอบพร้อมกันหมดโดยไม่แยกกลุ่ม เด็กในกลุ่มที่ 3 ก็ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะอาจจะสอบได้ในสาขา หรือมหาวิทยาลัยที่ไม่ชอบ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนตามมาได้
ดังนั้น จึงควรมีทางเลือกและให้โอกาสที่จะได้สอบมากกว่า 1 ครั้ง แม้จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่เชื่อว่าเด็กจะพึงพอใจที่เขามีโอกาสที่จะได้เรียนในสาขาและมหาวิทยาลัยที่เขาอยากจะเรียนจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กสพท. ได้ปรับเปลี่ยนการจัดสอบบ้าง ทุกครั้งจะยึดประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก เพราะฉะนั้น หากข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับนักเรียน ทาง กสพท. ก็ยินดีให้ความร่วมมือ และตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมของ กสพท ปลายเดือนมิถุนายน นี้
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชันฟอรั่ม ของ ทปอ. กล่าวว่า เท่าที่ดูภาพรวมมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ขัดในหลักการ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยนั้นมีสาขาวิชาที่หลากหลาย และมีสาขาวิชามากกว่า 3,500 สาขา ดังนั้นหากจะต้องมีการจัดสอบร่วมกันจริง คงต้องหารือในรายละเอียดว่า จะจัดสอบอย่างไร โดยในการประชุม ทปอ. วันที่ 22 มิ.ย.นี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือ ในรายละเอียดเพื่อหาข้อร่วมกัน
ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า การรับสอบตรงร่วมกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องใช้พลังผลักดันเยอะมาก ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่า จะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการสอบรับตรง จะเป็นแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ที่ไม่สามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตามความถนัด คณะ
สาขาต่างๆ จึงต้องไปจัดสอบเอง เพื่อคัดเลือกนักเรียนให้ตรงตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ ซึ่งข้อสอบที่แต่ละมหาวิทยาลัยใช้ ก็จะแตกต่างกัน แม้จะเป็นคณะเดียวกัน อาทิ นิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ข้อสอบรับตรงที่แต่ละแห่งออก ก็ไม่เหมือนกัน เพราะมีจุดเน้นต่างกัน และที่สำคัญ ขณะนี้มหาวิทยาลัยที่จัดสอบตรง ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญในการรับเด็กแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้แต่วิชาเฉพาะ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องบังคับให้เด็กสอบวิชาสามัญอีก
ด้าน รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะให้มีการสอบรับตรงพร้อมกัน แต่ควรแยกสอบออกเป็น 2 ช่วง และเป็นกลุ่มๆ เพราะเวลานี้เราสามารถแยกเด็กได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1. เด็กที่เรียนดีเรียนเก่งและมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะสอบเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำเก่าแก่
2. เด็กที่เรียนดี เรียนเก่งแต่ต้องการเรียนในมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ กลุ่ม มทร. เป็นต้น
3. เด็กที่เรียนเก่ง เรียนดี เรียนปานกลาง และไม่เก่ง กลุ่มนี้รวมกันมีมากถึง 40 % ซึ่งบางคนพลาดโอกาสจากกลุ่มที่ 1 และ 2 แต่ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่มีความตั้งใจที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยสายสังคมท้องถิ่น อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฎมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้หากให้สอบพร้อมกันหมดโดยไม่แยกกลุ่ม เด็กในกลุ่มที่ 3 ก็ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะอาจจะสอบได้ในสาขา หรือมหาวิทยาลัยที่ไม่ชอบ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนตามมาได้
ดังนั้น จึงควรมีทางเลือกและให้โอกาสที่จะได้สอบมากกว่า 1 ครั้ง แม้จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่เชื่อว่าเด็กจะพึงพอใจที่เขามีโอกาสที่จะได้เรียนในสาขาและมหาวิทยาลัยที่เขาอยากจะเรียนจริงๆ