คสช.ตัดสินใจกู้ 9.2 หมื่นล้าน เริ่มจ่ายเงินจำนำข้าวชาวนาวันนี้นี้ คาดครบภายใน 1 เดือน ชาวนาไปรับเงินที่กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศในพื้นที่ หรือที่ ธ.ก.ส. ด้านหอการค้าไทยเสนอตั้งศูนย์ทำงานร่วม คสช.-เอกชน หวังทำงานใกล้ชิด ขณะที่ชาวนาแห่ตบเท้าชูป้ายขอบคุณ "ประยุทธ์" เตรียมรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะ คสช.วันนี้
พ.อ.ณัฐวัฒน์ จันทร์เจริญ รองผู้อำนวยการกองกรมกิจการพลเรือน ทหารบก ในฐานะรองโฆษกกองทัพบก แถลงผลการประชุมการบริหารราชการ 7 กลุ่มงาน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ว่า การบริหารราชการให้ดำเนินการตามปกติ โดยให้ปลัดกระทรวงดำเนินการเป็นการชั่วคราว ส่วนแผนงาน หรือโครงการใหม่ๆ ที่ใช้เงินงบประมาณสูง จะยังไม่มีการพิจารณาในช่วงนี้ แต่ถ้าแผนงานที่ใช้เงินงบประมาณไม่สูงมาก ให้แต่ละกระทรวงรวบรวมเข้าพิจารณาในที่ประชุม คสช.อนุมัติต่อไป
ส่วนงานด้านธุรการ และเอกสารจะลดขั้นตอนเพื่อให้กระชับลง และให้การแก้ไขปัญหาเกิดได้ทันท่วงที โดยทุกกลุ่มงานจะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส และทำงานร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ในการดูแลทุกขั้นตอน
ขณะที่หัวหน้า คสช.ได้ให้แนวทางการแก้ไขปัญหา เป็น 3 ด้าน คือปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาระยะสั้น และปัญหาระยะยาว โดยในช่วงนี้จะเน้นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นอันดับแรก โครงการที่จะทำเร่งด่วนคือ การจ่ายเงินให้กับชาวนา ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าว โดยมีการค้างจ่ายของโครงการประมาณ 9.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งทาง คสช.จึงตัดสินใจกู้เงิน 2 ช่วง โดยแบ่งจากสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และสถาบันการเงินภายในประเทศประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเศษ คาดว่าจะเริ่มจ่ายได้ในวันพรุ่งนี้ (26 พ.ค.) และคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินให้ชาวนาได้ครบไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งชาวนาไม่จำเป็นต้องเดินทางมา แต่จะตั้งจุดจ่ายเงินที่กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ในพื้นที่ หรืออาจจะเป็นที่ ธ.ก.ส.
ทั้งนี้ ในจังหวัดใดไม่มีหน่วยทหารสำหรับจ่ายเงิน ทางกองทัพจะจัดรถโมบายลงพื้นที่ร่วมกับ ธ.ก.ส. เพื่อจ่ายเงินให้กับชาวนา ซึ่งทางทหารจะมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารรับเงิน แต่ ธ.ก.ส.จะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับชาวนา เนื่องจากเอกสารใบประทวนอยู่ที่ ธ.ก.ส. ด้านกระทรวงพาณิชย์ จะเร่งระบายข้าว โดยคาดว่าจะสามารถระบายข้าวต่อเดือนได้ประมาณ 5-8 พันล้านบาท และจะใช้หนี้จากการกู้เงินได้ภายใน 15 เดือน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้พูดถึงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 โดยเชื่อว่าไม่มีข้อติดขัดแต่อย่างใด ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ทันตามปฏิทินงบประมาณแน่นอน นอกจากนี้ หัวหน้าคสช. ได้รับทราบในหลักการในเรื่องของการต่ออายุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ร้อยละ 7 ต่อไปด้วย
ด้านนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้มอบ นโยบายใหญ่ๆ 5-6 ข้อ เช่น จะดำเนินการให้มีการ ค้าเสรี การลงทุนเสรี แก้ ปัญหาการค้าระหว่าง ประเทศ จ่ายหนี้ค่าข้าวให้ กับชาวนา ซึ่งทุกหน่วยงานที่ร่วมประชุม ทั้งภาค รัฐและเอกชนพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้เศรษฐกิจไทยกลับมา แข็งแกร่ง และเดินหน้าต่อ ไปได้
ส่วนกระทรวงพาณิชย์ ได้นำเสนองานหลักๆ ที่ ต้องเร่งผลักดัน เช่น การแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือก ตกต่ำและการช่วยเหลือ ชาวนา การเร่งรัดผลักดัน การส่งออก และนำรายได้ เข้าประเทศ การเจรจาการ ค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะเป็น เครื่องมือในการสร้างแต้ม ต่อให้ประเทศ อย่างไร ก็ตาม ตนไม่ได้แจ้งว่า การ ยึดอำนาจครั้งนี้จะทำให้ หลายประเทศ ที่อยู่ ระหว่างเจรจาจัดทำข้อ ตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟ ทีเอ) กับไทยต้องยกเลิก หรือชะลอการเจรจาหรือ ไม่ เพราะมีเวลาน้อย จึงนำ เสนอแต่ปัญหาในภาพกว้างมากกว่า
"การประชุมครั้งนี้มี หลายหน่วยงานเข้าร่วม ด้วย แต่ละหน่วยงานก็ เสนอแบบภาพกว้างๆ ไม่ ได้ลงลึกในรายละเอียด แต่พล.อ.ประยุทธ์ได้เน้น ให้ทุกหน่วยงานทำงาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ปรองดอง และสมานฉันท์ และช่วยกันสร้างความเชื่อ มั่นของประเทศให้กลับคืน มาโดยเร็ว"
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการ ค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทยกล่าวว่า การประชุมวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้กำชับให้ ที่ประชุมทราบว่า จะเร่งแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ และ กำหนดนโยบายขับเคลื่อน เศรษฐกิจ การค้าขายโดย เร็วโดยเรื่องหลักๆ ที่ต้อง เน้นดำเนินการคือ การคืน เงินให้กับชาวนาที่เข้าร่วม โครงการจำนำข้าว การขับ เคลื่อนเงินทุนและการค้า เสรี รวมถึงการแก้ปัญหา การค้าระหว่างประเทศ
สำหรับหอการค้าไทย ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานร่วม ระหว่าง คสช. และภาค เอกชน เพื่อให้การทำงาน ร่วมกัน หรือการติดต่อ สื่อสารระหว่างกันสะดวก มากขึ้น เพราะขณะนี้สิ่งที่ ต้องเร่งดำเนินการคือ การ ร่วมกันสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน ทั้งของไทยและต่าง ประเทศ เพื่อให้มีความเชื่อ มั่นในประเทศไทยต่อไป การดูแลผู้ประกอบการ ขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่กำลังเดือดร้อน จากปัญหาเศรษฐกิจชะลอ ตัว เร่งรัดให้จัดตั้งคณะ กรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) การ ส่งเสริมการค้าชายแดน เป็นต้น
"การประชุมวันนี้ หลักๆ ได้คุยกันถึงการแก้ปัญหา เศรษฐกิจประเทศ ทั้งใน ระยะสั้นและยาวซึ่งภาค เอกชนต้องการให้ คสช. ทำงานร่วมกับภาคเอกชน อย่างใกล้ชิด และเร่งเสริม สร้างความเชื่อมั่นของไทย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ หอการค้าต่างประเทศ คสช.คงจะมีการชี้แจงใน เร็วๆ นี้ โดยในช่วงบ่ายๆ วานนี้ (25 พ.ค.) ผมจะนำ นักลงทุนต่างชาติจาก ญี่ปุน และเจโทร (องค์การ ส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศของญี่ปุน) เข้าพบ คสช.ด้วย" นายอิสระกล่าว
**ชาวนาแห่ตบเท้าชูป้ายขอบคุณบิ๊กตู่
ชาวนาหลายจังหวัดรวมตัวกันแสดงความขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้กระทรวงการคลัง เร่งหาเงินมาจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าวชาวนาให้ได้ภายใน 15-20 วัน อาทิ ที่จ.สุโขทัย ชัยนาท และอ่างทอง โดยนางกนกพร วงศ์วิเศษ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.สารจิตร อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย กล่าวว่า ชาวนาต่างดีใจมาก และเชื่อมั่นว่าจะไม่ผิดหวังซ้ำอีก เพราะทหารมีอำนาจเต็มที่จะแก้ปัญหา จตึงขอขอบคุณ ที่เห็นความทุกข์ยากของชาวนา และช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ชาวสารจิตรจะขอเป็นกำลังใจให้ทหาร นำชาติบ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตไปได้โดยเร็ว
ขณะที่ชาวนาต.บ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ระบุว่า ชาวนายิ้มได้ในรอบ 6 เดือน เพราะที่ผ่านมาต้องกู้เงินดอกเบี้ยร้อยละ 5-10 มาใช้จ่ายในครอบครัวและทำนารอบใหม่ หากได้เงินค่าจำนำข้าวจะรีบเอาไปจ่ายหนี้สินก่อน
ขณะที่นายวิบูลย์ ไทยโอสถ ชาวนาต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กล่าวว่า ยังมีปัญหาที่สร้างความกังวลให้ชาวนา คือ ราคาข้าวตกต่ำ โดยปัจจุบันโรงสีรับซื้อตันละ 6,000-6,500 บาท ต้นทุนต่อไร่อยู่ที่ 4,500-5,000 บาท หากมีเพลี้ย แมลง หรือหนูนาระบาด ผลผลิตเสียหายเกี่ยวขายขายได้น้อย และหากชาวนาทำนาแล้วขาดทุน ในอนาคตอาจจะพากันขายที่นาให้นายทุน จึงฝากให้คสช.หรือรัฐบาลใหม่พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วนด้วย
นายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ขอให้คสช.กำหนดแนวทางพยุงราคาข้าวเปลือกด้วย เพราะปัจจุบันตกต่ำมาก อยู่ที่ตันละ 4,500-6,000 บาท ขณะที่ต้นทุนสูงเกือบเท่าราคาที่ขายได้ ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ประกอบกับช่วง 3-4 เดือนข้างหน้าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังพร้อมกัน ทำให้มีผลผลิตข้าวเปลือกมากที่สุดในรอบปี หากไม่กำหนดแนวทางช่วยเหลือ ราคาอาจตกต่ำกว่านี้
***โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประยุทธ์วันนี้
รายงานข่าวจากคสช. แจ้งว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 26 พ.ค. ที่กองบัญชาการกองทัพบก จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จะมีการแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพูล) ให้ทราบถึงขึ้นตอนการดำเนินการให้ทราบ โดยจะออกธรรมนูญชั่วคราวขึ้นมาแทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ก็อาจจะมีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ
วันเดียวกัน พล.ท.ภาณุวัชร นาควงษ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายพลเรือน เผยว่า ในวันที่ 26 พ.ค. เวลา 10.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ครส.) จะรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้เป็นหัวหน้าคณะครส. จากนั้นจะมีธรรมนูญปกครองชั่วคราว และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเพื่อบริหารประเทศ โดยจะมีสภานิติบัญญัติและสภาปฏิรูปต่อไป รายละเอียด พล.อ.ประยุทธ์จะแถลงต่อสื่อมวลชนหลังรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ.
พ.อ.ณัฐวัฒน์ จันทร์เจริญ รองผู้อำนวยการกองกรมกิจการพลเรือน ทหารบก ในฐานะรองโฆษกกองทัพบก แถลงผลการประชุมการบริหารราชการ 7 กลุ่มงาน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ว่า การบริหารราชการให้ดำเนินการตามปกติ โดยให้ปลัดกระทรวงดำเนินการเป็นการชั่วคราว ส่วนแผนงาน หรือโครงการใหม่ๆ ที่ใช้เงินงบประมาณสูง จะยังไม่มีการพิจารณาในช่วงนี้ แต่ถ้าแผนงานที่ใช้เงินงบประมาณไม่สูงมาก ให้แต่ละกระทรวงรวบรวมเข้าพิจารณาในที่ประชุม คสช.อนุมัติต่อไป
ส่วนงานด้านธุรการ และเอกสารจะลดขั้นตอนเพื่อให้กระชับลง และให้การแก้ไขปัญหาเกิดได้ทันท่วงที โดยทุกกลุ่มงานจะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส และทำงานร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ในการดูแลทุกขั้นตอน
ขณะที่หัวหน้า คสช.ได้ให้แนวทางการแก้ไขปัญหา เป็น 3 ด้าน คือปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาระยะสั้น และปัญหาระยะยาว โดยในช่วงนี้จะเน้นในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นอันดับแรก โครงการที่จะทำเร่งด่วนคือ การจ่ายเงินให้กับชาวนา ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าว โดยมีการค้างจ่ายของโครงการประมาณ 9.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งทาง คสช.จึงตัดสินใจกู้เงิน 2 ช่วง โดยแบ่งจากสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และสถาบันการเงินภายในประเทศประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเศษ คาดว่าจะเริ่มจ่ายได้ในวันพรุ่งนี้ (26 พ.ค.) และคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินให้ชาวนาได้ครบไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งชาวนาไม่จำเป็นต้องเดินทางมา แต่จะตั้งจุดจ่ายเงินที่กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ในพื้นที่ หรืออาจจะเป็นที่ ธ.ก.ส.
ทั้งนี้ ในจังหวัดใดไม่มีหน่วยทหารสำหรับจ่ายเงิน ทางกองทัพจะจัดรถโมบายลงพื้นที่ร่วมกับ ธ.ก.ส. เพื่อจ่ายเงินให้กับชาวนา ซึ่งทางทหารจะมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารรับเงิน แต่ ธ.ก.ส.จะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับชาวนา เนื่องจากเอกสารใบประทวนอยู่ที่ ธ.ก.ส. ด้านกระทรวงพาณิชย์ จะเร่งระบายข้าว โดยคาดว่าจะสามารถระบายข้าวต่อเดือนได้ประมาณ 5-8 พันล้านบาท และจะใช้หนี้จากการกู้เงินได้ภายใน 15 เดือน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้พูดถึงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 โดยเชื่อว่าไม่มีข้อติดขัดแต่อย่างใด ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ทันตามปฏิทินงบประมาณแน่นอน นอกจากนี้ หัวหน้าคสช. ได้รับทราบในหลักการในเรื่องของการต่ออายุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ร้อยละ 7 ต่อไปด้วย
ด้านนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้มอบ นโยบายใหญ่ๆ 5-6 ข้อ เช่น จะดำเนินการให้มีการ ค้าเสรี การลงทุนเสรี แก้ ปัญหาการค้าระหว่าง ประเทศ จ่ายหนี้ค่าข้าวให้ กับชาวนา ซึ่งทุกหน่วยงานที่ร่วมประชุม ทั้งภาค รัฐและเอกชนพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้เศรษฐกิจไทยกลับมา แข็งแกร่ง และเดินหน้าต่อ ไปได้
ส่วนกระทรวงพาณิชย์ ได้นำเสนองานหลักๆ ที่ ต้องเร่งผลักดัน เช่น การแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือก ตกต่ำและการช่วยเหลือ ชาวนา การเร่งรัดผลักดัน การส่งออก และนำรายได้ เข้าประเทศ การเจรจาการ ค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะเป็น เครื่องมือในการสร้างแต้ม ต่อให้ประเทศ อย่างไร ก็ตาม ตนไม่ได้แจ้งว่า การ ยึดอำนาจครั้งนี้จะทำให้ หลายประเทศ ที่อยู่ ระหว่างเจรจาจัดทำข้อ ตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟ ทีเอ) กับไทยต้องยกเลิก หรือชะลอการเจรจาหรือ ไม่ เพราะมีเวลาน้อย จึงนำ เสนอแต่ปัญหาในภาพกว้างมากกว่า
"การประชุมครั้งนี้มี หลายหน่วยงานเข้าร่วม ด้วย แต่ละหน่วยงานก็ เสนอแบบภาพกว้างๆ ไม่ ได้ลงลึกในรายละเอียด แต่พล.อ.ประยุทธ์ได้เน้น ให้ทุกหน่วยงานทำงาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ปรองดอง และสมานฉันท์ และช่วยกันสร้างความเชื่อ มั่นของประเทศให้กลับคืน มาโดยเร็ว"
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการ ค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทยกล่าวว่า การประชุมวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้กำชับให้ ที่ประชุมทราบว่า จะเร่งแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ และ กำหนดนโยบายขับเคลื่อน เศรษฐกิจ การค้าขายโดย เร็วโดยเรื่องหลักๆ ที่ต้อง เน้นดำเนินการคือ การคืน เงินให้กับชาวนาที่เข้าร่วม โครงการจำนำข้าว การขับ เคลื่อนเงินทุนและการค้า เสรี รวมถึงการแก้ปัญหา การค้าระหว่างประเทศ
สำหรับหอการค้าไทย ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานร่วม ระหว่าง คสช. และภาค เอกชน เพื่อให้การทำงาน ร่วมกัน หรือการติดต่อ สื่อสารระหว่างกันสะดวก มากขึ้น เพราะขณะนี้สิ่งที่ ต้องเร่งดำเนินการคือ การ ร่วมกันสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน ทั้งของไทยและต่าง ประเทศ เพื่อให้มีความเชื่อ มั่นในประเทศไทยต่อไป การดูแลผู้ประกอบการ ขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่กำลังเดือดร้อน จากปัญหาเศรษฐกิจชะลอ ตัว เร่งรัดให้จัดตั้งคณะ กรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) การ ส่งเสริมการค้าชายแดน เป็นต้น
"การประชุมวันนี้ หลักๆ ได้คุยกันถึงการแก้ปัญหา เศรษฐกิจประเทศ ทั้งใน ระยะสั้นและยาวซึ่งภาค เอกชนต้องการให้ คสช. ทำงานร่วมกับภาคเอกชน อย่างใกล้ชิด และเร่งเสริม สร้างความเชื่อมั่นของไทย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ หอการค้าต่างประเทศ คสช.คงจะมีการชี้แจงใน เร็วๆ นี้ โดยในช่วงบ่ายๆ วานนี้ (25 พ.ค.) ผมจะนำ นักลงทุนต่างชาติจาก ญี่ปุน และเจโทร (องค์การ ส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศของญี่ปุน) เข้าพบ คสช.ด้วย" นายอิสระกล่าว
**ชาวนาแห่ตบเท้าชูป้ายขอบคุณบิ๊กตู่
ชาวนาหลายจังหวัดรวมตัวกันแสดงความขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้กระทรวงการคลัง เร่งหาเงินมาจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าวชาวนาให้ได้ภายใน 15-20 วัน อาทิ ที่จ.สุโขทัย ชัยนาท และอ่างทอง โดยนางกนกพร วงศ์วิเศษ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.สารจิตร อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย กล่าวว่า ชาวนาต่างดีใจมาก และเชื่อมั่นว่าจะไม่ผิดหวังซ้ำอีก เพราะทหารมีอำนาจเต็มที่จะแก้ปัญหา จตึงขอขอบคุณ ที่เห็นความทุกข์ยากของชาวนา และช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ชาวสารจิตรจะขอเป็นกำลังใจให้ทหาร นำชาติบ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตไปได้โดยเร็ว
ขณะที่ชาวนาต.บ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ระบุว่า ชาวนายิ้มได้ในรอบ 6 เดือน เพราะที่ผ่านมาต้องกู้เงินดอกเบี้ยร้อยละ 5-10 มาใช้จ่ายในครอบครัวและทำนารอบใหม่ หากได้เงินค่าจำนำข้าวจะรีบเอาไปจ่ายหนี้สินก่อน
ขณะที่นายวิบูลย์ ไทยโอสถ ชาวนาต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กล่าวว่า ยังมีปัญหาที่สร้างความกังวลให้ชาวนา คือ ราคาข้าวตกต่ำ โดยปัจจุบันโรงสีรับซื้อตันละ 6,000-6,500 บาท ต้นทุนต่อไร่อยู่ที่ 4,500-5,000 บาท หากมีเพลี้ย แมลง หรือหนูนาระบาด ผลผลิตเสียหายเกี่ยวขายขายได้น้อย และหากชาวนาทำนาแล้วขาดทุน ในอนาคตอาจจะพากันขายที่นาให้นายทุน จึงฝากให้คสช.หรือรัฐบาลใหม่พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วนด้วย
นายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ขอให้คสช.กำหนดแนวทางพยุงราคาข้าวเปลือกด้วย เพราะปัจจุบันตกต่ำมาก อยู่ที่ตันละ 4,500-6,000 บาท ขณะที่ต้นทุนสูงเกือบเท่าราคาที่ขายได้ ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ประกอบกับช่วง 3-4 เดือนข้างหน้าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังพร้อมกัน ทำให้มีผลผลิตข้าวเปลือกมากที่สุดในรอบปี หากไม่กำหนดแนวทางช่วยเหลือ ราคาอาจตกต่ำกว่านี้
***โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประยุทธ์วันนี้
รายงานข่าวจากคสช. แจ้งว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 26 พ.ค. ที่กองบัญชาการกองทัพบก จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ จะมีการแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพูล) ให้ทราบถึงขึ้นตอนการดำเนินการให้ทราบ โดยจะออกธรรมนูญชั่วคราวขึ้นมาแทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ก็อาจจะมีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ
วันเดียวกัน พล.ท.ภาณุวัชร นาควงษ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายพลเรือน เผยว่า ในวันที่ 26 พ.ค. เวลา 10.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ครส.) จะรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้เป็นหัวหน้าคณะครส. จากนั้นจะมีธรรมนูญปกครองชั่วคราว และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเพื่อบริหารประเทศ โดยจะมีสภานิติบัญญัติและสภาปฏิรูปต่อไป รายละเอียด พล.อ.ประยุทธ์จะแถลงต่อสื่อมวลชนหลังรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ.