วานนี้ (22 พ.ค) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ที่เรียกร้องให้ สปส.เพิ่มสิทธิการรักษาพยาบาล ว่า หนึ่งในข้อเรียกร้องคือ เรื่องการให้เพิ่มสิทธิดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไหลไม่หยุด) เช่นเดียวกับสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ของประกันสังคม มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว โดยมีมติ เมื่อ 2 –3เดือนก่อนหน้านี้ ว่าให้จัดสรรเงินกองทุนไว้ส่วนหนึ่ง จำนวนกว่า 500 ล้านบาท โดยคิดจากค่าบริการทางการแพทย์ คนละ 50 บาท คูณด้วยจำนวนผู้ประกันตน กว่า 10 ล้านคน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายละเอียดในการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ ทั้งนี้คณะกรรมการการแพทย์ยังพิจารณาถึงยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีอาการแพ้ยาหรือต้องเปลี่ยนยา เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของทางโรงพยาบาล
รองเลขาธิการสปส. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่อยากให้สปส.คุ้มครองสิทธิและชดเชยเมื่อเกิดความเสียหายจากการรักษานั้น สปส.มีการดูแลในเรื่องการขาดรายได้อยู่แล้ว ไม่ว่าเหตุที่เกิดนั้นจะมาจากโรคหรือจะมาจากแพทย์รักษา หากส่งผลให้ขาดรายได้ก็จะมีการช่วยเหลือโดยการจ่ายเงินชดเชยระหว่างที่ยังทำงานไม่ได้ รวมถึงหากสูญเสียอวัยวะก็จะมีการจ่ายเงินชดเชยเป็นกรณีไป
" ส่วนการจ่ายเงินค่าทำคลอด ที่เรียกร้องให้จ่ายไปที่รพ.นั้น ที่ผ่านมาเคยกำหนดให้ผู้ประกันตนไปคลอดที่ รพ.ที่กำหนดแล้วทางสปส. จะจ่ายเงินไปที่ รพ.โดยตรง พบว่าผู้ประกันตนกว่าร้อยละ 90 ไม่ชอบวิธีนี้และขอให้ปรับเปลี่ยน เนื่องจากทางเลือกมีน้อย บางรายอยากจะเลือกคลอดที่รพ.เอกชนมากกว่า ทางสปส.จึงปรับเป็นการจ่ายให้ภายหลัง แต่กรณีที่ผู้ประกันตนไม่มีเงินจ่ายสามารถติดต่อมาที่สปส.เขตพื้นที่หรือจังหวัดด้วยตนเองหรือรพ.ติดต่อให้ก็ได้ สปส.ก็จะนำเงินไปจ่ายค่าคลอดให้ที่รพ." นพ.สุรเดช กล่าว
รองเลขาธิการสปส. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่อยากให้สปส.คุ้มครองสิทธิและชดเชยเมื่อเกิดความเสียหายจากการรักษานั้น สปส.มีการดูแลในเรื่องการขาดรายได้อยู่แล้ว ไม่ว่าเหตุที่เกิดนั้นจะมาจากโรคหรือจะมาจากแพทย์รักษา หากส่งผลให้ขาดรายได้ก็จะมีการช่วยเหลือโดยการจ่ายเงินชดเชยระหว่างที่ยังทำงานไม่ได้ รวมถึงหากสูญเสียอวัยวะก็จะมีการจ่ายเงินชดเชยเป็นกรณีไป
" ส่วนการจ่ายเงินค่าทำคลอด ที่เรียกร้องให้จ่ายไปที่รพ.นั้น ที่ผ่านมาเคยกำหนดให้ผู้ประกันตนไปคลอดที่ รพ.ที่กำหนดแล้วทางสปส. จะจ่ายเงินไปที่ รพ.โดยตรง พบว่าผู้ประกันตนกว่าร้อยละ 90 ไม่ชอบวิธีนี้และขอให้ปรับเปลี่ยน เนื่องจากทางเลือกมีน้อย บางรายอยากจะเลือกคลอดที่รพ.เอกชนมากกว่า ทางสปส.จึงปรับเป็นการจ่ายให้ภายหลัง แต่กรณีที่ผู้ประกันตนไม่มีเงินจ่ายสามารถติดต่อมาที่สปส.เขตพื้นที่หรือจังหวัดด้วยตนเองหรือรพ.ติดต่อให้ก็ได้ สปส.ก็จะนำเงินไปจ่ายค่าคลอดให้ที่รพ." นพ.สุรเดช กล่าว