ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยมูลค่าการเรียกเก็บเงินตามเช็คลดลง 9.2% ผลจากภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และภัยแล้งส่งผลให้ค้าขายพืชผลทางเกษตรเสียหาย ขณะที่สัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมแง่ปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.1% จากเดือนก่อน 1.0% ระบุสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าพื้นที่ต่างจังหวัด ขณะที่ข้ามจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะปริมาณ ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑลทรงตัว
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตรของธปท.ได้ประกาศตัวเลขการเรียกเก็บเงินตามเช็คล่าสุดในเดือน เม.ย.ของปีนี้ พบว่า การหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งประเทศมีปริมาณ 6 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่าลดลงอยู่ที่ 9.2% และปริมาณลดลง 7.1%จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคประชาชนจากสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งผลกระทบจากภัยแล้งในหลายจังหวัด ทำให้พืชผลทางเกษตรได้รับความเสียหาย
ขณะที่สัดส่วนเช็คคืนไม่มีเงิน(เช็คเด้ง)ต่อเช็คเรียกเก็บรวมมีจำนวนรายการเพิ่มขึ้นเป็น 1.1% จากเดือนก่อน 1.0% แต่มูลค่าลดลงเล็กน้อย 0.28% จากเดือนก่อน 0.32% แต่ทั้งนี้ในเดือนเม.ย.มีปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 6.59 หมื่นรายการ และมูลค่า 8.77 พันล้านบาท โดยในต่างจังหวัดมีสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าเป็น 1.2% และ 0.6%
จากเดือนก่อน 1.1% และ0.5% ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งกลับลดลงอยู่ที่ 1.08 หมื่นรายการ และ 1.58 พันล้านบาท
สำหรับเช็คเรียกเก็บข้ามจังหวัดมีสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมในแง่ปริมาณเพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือนก่อน 2.0% ขณะที่มูลค่าลดลงเหลือ 2.4% จากเดือนก่อน 2.5% ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งข้ามจังหวัดดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 2.03 หมื่นรายการ และ1.83 พันล้านบาท ขณะที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมทั้งปริมาณและมูลค่าทรงตัวจากเดือนก่อน 0.8%
และ0.2% ทั้งนี้เช็คเด้งในพื้นที่ดังกล่าวมีทั้งสิ้น 3.48 หมื่นรายการ และ 5.36 พันล้านบาท
ส่วนเช็คเรียกเก็บในเขตภาคกลางมีมูลค่าสูงสุด 9.21 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 33%ของยอดรวม รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ 25.7%, 21.2% และ 20.0% ตามลำดับ ซึ่งจังหวัดที่มีมูลค่าเช็คเรียกเก็บสูงสุดของแต่ละภาค พบว่า จังหวัดชลบุรีมากที่สุด 37.1% นครราชสีมา 21.4% สงขลา 30.6% และเชียงใหม่ 36.9%
นอกจากนี้ ในเดือนนี้มีสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บทั้งประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.69% จากเดือนก่อน 0.66% หรือคิดเป็นมูลค่า 2.13 หมื่นล้านบาท จากเดือนก่อน2.06 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะสัดส่วนเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราสูง เป็นผลจากการคืนเช็คมูลค่าสูงที่เกิดจากข้อผิดพลาดของการส่งข้อมูลเรียกเก็บมากกว่ามูลค่าหน้าเช็คในเขตภาคเหนือ.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตรของธปท.ได้ประกาศตัวเลขการเรียกเก็บเงินตามเช็คล่าสุดในเดือน เม.ย.ของปีนี้ พบว่า การหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งประเทศมีปริมาณ 6 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่าลดลงอยู่ที่ 9.2% และปริมาณลดลง 7.1%จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคประชาชนจากสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งผลกระทบจากภัยแล้งในหลายจังหวัด ทำให้พืชผลทางเกษตรได้รับความเสียหาย
ขณะที่สัดส่วนเช็คคืนไม่มีเงิน(เช็คเด้ง)ต่อเช็คเรียกเก็บรวมมีจำนวนรายการเพิ่มขึ้นเป็น 1.1% จากเดือนก่อน 1.0% แต่มูลค่าลดลงเล็กน้อย 0.28% จากเดือนก่อน 0.32% แต่ทั้งนี้ในเดือนเม.ย.มีปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 6.59 หมื่นรายการ และมูลค่า 8.77 พันล้านบาท โดยในต่างจังหวัดมีสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าเป็น 1.2% และ 0.6%
จากเดือนก่อน 1.1% และ0.5% ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งกลับลดลงอยู่ที่ 1.08 หมื่นรายการ และ 1.58 พันล้านบาท
สำหรับเช็คเรียกเก็บข้ามจังหวัดมีสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมในแง่ปริมาณเพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือนก่อน 2.0% ขณะที่มูลค่าลดลงเหลือ 2.4% จากเดือนก่อน 2.5% ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งข้ามจังหวัดดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 2.03 หมื่นรายการ และ1.83 พันล้านบาท ขณะที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีสัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมทั้งปริมาณและมูลค่าทรงตัวจากเดือนก่อน 0.8%
และ0.2% ทั้งนี้เช็คเด้งในพื้นที่ดังกล่าวมีทั้งสิ้น 3.48 หมื่นรายการ และ 5.36 พันล้านบาท
ส่วนเช็คเรียกเก็บในเขตภาคกลางมีมูลค่าสูงสุด 9.21 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 33%ของยอดรวม รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ 25.7%, 21.2% และ 20.0% ตามลำดับ ซึ่งจังหวัดที่มีมูลค่าเช็คเรียกเก็บสูงสุดของแต่ละภาค พบว่า จังหวัดชลบุรีมากที่สุด 37.1% นครราชสีมา 21.4% สงขลา 30.6% และเชียงใหม่ 36.9%
นอกจากนี้ ในเดือนนี้มีสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บทั้งประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.69% จากเดือนก่อน 0.66% หรือคิดเป็นมูลค่า 2.13 หมื่นล้านบาท จากเดือนก่อน2.06 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะสัดส่วนเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราสูง เป็นผลจากการคืนเช็คมูลค่าสูงที่เกิดจากข้อผิดพลาดของการส่งข้อมูลเรียกเก็บมากกว่ามูลค่าหน้าเช็คในเขตภาคเหนือ.