ในขณะที่ประชาชนในนาม กปปส.ภายใต้การนำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 8 คนได้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อให้พ้นไปจากการเป็นรัฐบาล โดยหวังให้เป็นสุญญากาศทางการเมืองแล้วจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ โดยใช้ระยะเวลาหนึ่งปีหรือสองปีแล้วจัดการเลือกตั้งทั่วไป และจัดตั้งรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แต่รัฐบาลรักษาการอันเกิดจากการยุบสภาเพื่อหนีการกดดันจาก กปปส.เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ไม่สนใจและไม่ใส่ใจข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะมีผู้ชุมนุมออกมามากมายขนาดไหน ยังคงเดินหน้ากดดันให้ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งให้ได้ ทั้งๆ ที่เคยล้มเหลวถึงขั้นเป็นโมษะมาแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจาก กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้ครบทุกเขตทั่วประเทศในวันเดียวกันได้
ในท่ามกลางเสียงคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปจาก กปปส.และเสียงกดดันให้ กกต.จัดการเลือกตั้งจากรัฐบาลรักษาการ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะจัดให้มีได้เมื่อใด และจัดขึ้นแล้วจะเกิดความวุ่นวายล้มเหลวในทำนองเดียวกันกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหรือไม่ ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในทางการเมืองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้กลายเป็นประเด็นดังทางการเมืองที่สำคัญประการหนึ่ง
เหตุการณ์ที่ว่านี้ก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งประกาศไม่ลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้แสดงท่าทีเห็นด้วยกับการเลือกตั้งว่าเป็นสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ จึงทำให้เข้าใจว่าจัดให้มีการเลือกตั้งแล้วทำการปฏิรูปก็ได้ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับที่พรรคเพื่อไทยเรียกร้อง
แต่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มิได้บอกให้ชัดเจนว่า พรรคประชาธิปัตย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นก่อนการปฏิรูปหรือไม่ ทั้งทางพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงทำให้บางคนในพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาบอกว่า การเคลื่อนไหวของนายอภิสิทธิ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าในการแสดงความคิดเห็นหรือการไปพบบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องส่วนบุคคล มิใช่ในนามพรรค
ถึงแม้ว่าจะเป็นการแสดงออกของนายอภิสิทธิ์ จะเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับพรรค แต่ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นภาพลบในทางการเมือง ทั้งในส่วนตัวของผู้แสดงออก และในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ค่อนข้างมาก ทั้งนี้อนุมานได้จากเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ฐานเสียงทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่อยู่ภาคใต้ และกรุงเทพฯ ซึ่งประชาชนทั้งสองพื้นที่นี้ได้ออกมาร่วมชุมนุมกับ กปปส.
ดังนั้นการที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแสดงท่าทีเห็นด้วยกับการให้มีการเลือกตั้งในช่วงนี้ จึงเท่ากับสวนกระแสมวลชนโดยสิ้นเชิง
2. เมื่อเทียบพลังแห่งศรัทธาระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และในฐานะเลขาธิการ กปปส.ในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เหนือกว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลายเท่าตัว
ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาแสดงท่าทีสวนทางการปลุกกระแสมวลชนให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในครั้งนี้ จึงเท่ากับการฆ่าตัวตายในทางการเมืองโดยไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่าในการเสี่ยง ทั้งในทางสังคม และในทางการเมือง จึงทำให้ผู้คนหลายคนในสังคม รวมทั้งผู้เขียนซึ่งนิยมพรรคประชาธิปัตย์ผิดหวัง และคิดไม่ออกว่าทำไปเพื่ออะไร และใครคิดให้ทำเช่นนี้
3. การออกมาแสดงท่าทีของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนคนทั่วไปซึ่งไม่สนใจพฤติกรรมของนักการเมืองในเชิงลึก รู้แต่เพียงว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย และไปเลือกตั้งทุกครั้งเริ่มมองเห็นสัจธรรมทางการเมืองข้อหนึ่งคือ มูลเหตุจูงใจให้นักการเมืองลงเลือกตั้งคือ ความอยากมี ความอยากเป็น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการได้รับเลือกตั้ง โดยไม่คำนึงว่าประเทศจะได้หรือเสียอะไรจากการเลือกตั้ง
ดังนั้น ถ้ามีการเลือกตั้ง และรู้ว่าลงเลือกตั้งแล้วได้รับเลือก และได้รับเลือกแล้วมีโอกาสจะเป็นสิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว นักการเมืองจะลงเลือกตั้งโดยไม่คิดว่าประเทศชาติจะเสียอะไรจากการจัดให้มีการเลือกตั้ง จึงเป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าแท้จริงแล้ว การเลือกตั้งก็เพื่อแสวงหาสิ่งที่ตนเองต้องการนั่นเอง ส่วนที่อ้างว่าเพื่อเป็นประชาธิปไตยนั้นเป็นเพียงรูปแบบในการปราศรัยหาเสียงเท่านั้น
ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงท่าทีเห็นด้วยกับการเลือกตั้งในช่วงนี้ จึงเท่ากับทำให้ธาตุแท้ของความเป็นนักการเมืองปรากฏให้เห็นว่าไม่แตกต่างไปจากนักการเมืองรุ่นเก่าที่ผู้คนเบื่อหน่าย และอยากให้หมดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดก่อนหน้านี้ที่ว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็ดี การแสดงความคิดเห็นอันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบทักษิณ ก็ดี จึงเป็นเพียงการแสดงบทสร้างภาพทางการเมืองเท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนไม่ต้องการเห็นนักการเมืองน้ำดีเช่นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพลี่ยงพล้ำทางการเมือง และตกเป็นเหยื่อให้ระบอบทักษิณใช้หลอกประชาชนเพื่อกลบเกลื่อนความล้มเหลวและเลวร้ายของระบอบทักษิณ และคิดว่ายังไม่สายเกินไป ถ้าจะออกมาแสดงจุดยืนให้ชัดเจนเพื่อเรียกภาพลักษณ์คืนมา ก่อนที่จะเป็นขยะการเมืองที่พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องเขี่ยทิ้งไปเหมือนกับอดีต ส.ส.หลายคนของพรรคนี้ เพราะจะต้องไม่ลืมว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความถนัดและจัดเจนในการเสียสละคนเพื่อรักษาพรรค
แต่รัฐบาลรักษาการอันเกิดจากการยุบสภาเพื่อหนีการกดดันจาก กปปส.เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ไม่สนใจและไม่ใส่ใจข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะมีผู้ชุมนุมออกมามากมายขนาดไหน ยังคงเดินหน้ากดดันให้ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งให้ได้ ทั้งๆ ที่เคยล้มเหลวถึงขั้นเป็นโมษะมาแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจาก กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้ครบทุกเขตทั่วประเทศในวันเดียวกันได้
ในท่ามกลางเสียงคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปจาก กปปส.และเสียงกดดันให้ กกต.จัดการเลือกตั้งจากรัฐบาลรักษาการ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะจัดให้มีได้เมื่อใด และจัดขึ้นแล้วจะเกิดความวุ่นวายล้มเหลวในทำนองเดียวกันกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหรือไม่ ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในทางการเมืองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้กลายเป็นประเด็นดังทางการเมืองที่สำคัญประการหนึ่ง
เหตุการณ์ที่ว่านี้ก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งประกาศไม่ลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้แสดงท่าทีเห็นด้วยกับการเลือกตั้งว่าเป็นสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ จึงทำให้เข้าใจว่าจัดให้มีการเลือกตั้งแล้วทำการปฏิรูปก็ได้ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับที่พรรคเพื่อไทยเรียกร้อง
แต่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มิได้บอกให้ชัดเจนว่า พรรคประชาธิปัตย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นก่อนการปฏิรูปหรือไม่ ทั้งทางพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงทำให้บางคนในพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาบอกว่า การเคลื่อนไหวของนายอภิสิทธิ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าในการแสดงความคิดเห็นหรือการไปพบบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องส่วนบุคคล มิใช่ในนามพรรค
ถึงแม้ว่าจะเป็นการแสดงออกของนายอภิสิทธิ์ จะเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับพรรค แต่ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นภาพลบในทางการเมือง ทั้งในส่วนตัวของผู้แสดงออก และในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ค่อนข้างมาก ทั้งนี้อนุมานได้จากเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ฐานเสียงทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่อยู่ภาคใต้ และกรุงเทพฯ ซึ่งประชาชนทั้งสองพื้นที่นี้ได้ออกมาร่วมชุมนุมกับ กปปส.
ดังนั้นการที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแสดงท่าทีเห็นด้วยกับการให้มีการเลือกตั้งในช่วงนี้ จึงเท่ากับสวนกระแสมวลชนโดยสิ้นเชิง
2. เมื่อเทียบพลังแห่งศรัทธาระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และในฐานะเลขาธิการ กปปส.ในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เหนือกว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลายเท่าตัว
ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาแสดงท่าทีสวนทางการปลุกกระแสมวลชนให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในครั้งนี้ จึงเท่ากับการฆ่าตัวตายในทางการเมืองโดยไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่าในการเสี่ยง ทั้งในทางสังคม และในทางการเมือง จึงทำให้ผู้คนหลายคนในสังคม รวมทั้งผู้เขียนซึ่งนิยมพรรคประชาธิปัตย์ผิดหวัง และคิดไม่ออกว่าทำไปเพื่ออะไร และใครคิดให้ทำเช่นนี้
3. การออกมาแสดงท่าทีของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนคนทั่วไปซึ่งไม่สนใจพฤติกรรมของนักการเมืองในเชิงลึก รู้แต่เพียงว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย และไปเลือกตั้งทุกครั้งเริ่มมองเห็นสัจธรรมทางการเมืองข้อหนึ่งคือ มูลเหตุจูงใจให้นักการเมืองลงเลือกตั้งคือ ความอยากมี ความอยากเป็น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการได้รับเลือกตั้ง โดยไม่คำนึงว่าประเทศจะได้หรือเสียอะไรจากการเลือกตั้ง
ดังนั้น ถ้ามีการเลือกตั้ง และรู้ว่าลงเลือกตั้งแล้วได้รับเลือก และได้รับเลือกแล้วมีโอกาสจะเป็นสิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว นักการเมืองจะลงเลือกตั้งโดยไม่คิดว่าประเทศชาติจะเสียอะไรจากการจัดให้มีการเลือกตั้ง จึงเป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าแท้จริงแล้ว การเลือกตั้งก็เพื่อแสวงหาสิ่งที่ตนเองต้องการนั่นเอง ส่วนที่อ้างว่าเพื่อเป็นประชาธิปไตยนั้นเป็นเพียงรูปแบบในการปราศรัยหาเสียงเท่านั้น
ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงท่าทีเห็นด้วยกับการเลือกตั้งในช่วงนี้ จึงเท่ากับทำให้ธาตุแท้ของความเป็นนักการเมืองปรากฏให้เห็นว่าไม่แตกต่างไปจากนักการเมืองรุ่นเก่าที่ผู้คนเบื่อหน่าย และอยากให้หมดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดก่อนหน้านี้ที่ว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็ดี การแสดงความคิดเห็นอันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบทักษิณ ก็ดี จึงเป็นเพียงการแสดงบทสร้างภาพทางการเมืองเท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนไม่ต้องการเห็นนักการเมืองน้ำดีเช่นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพลี่ยงพล้ำทางการเมือง และตกเป็นเหยื่อให้ระบอบทักษิณใช้หลอกประชาชนเพื่อกลบเกลื่อนความล้มเหลวและเลวร้ายของระบอบทักษิณ และคิดว่ายังไม่สายเกินไป ถ้าจะออกมาแสดงจุดยืนให้ชัดเจนเพื่อเรียกภาพลักษณ์คืนมา ก่อนที่จะเป็นขยะการเมืองที่พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องเขี่ยทิ้งไปเหมือนกับอดีต ส.ส.หลายคนของพรรคนี้ เพราะจะต้องไม่ลืมว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความถนัดและจัดเจนในการเสียสละคนเพื่อรักษาพรรค