การเมืองฉุดยอดตั้งโรงงานใหม่เม.ย.วูบ 13.2% รวม 4 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 1,260 แห่งลดลง 9.81% เผยกลุ่มไฟฟ้าน่าห่วงเจอหลายเด้งหนีซบเพื่อนบ้านเลิกจ้างสูงสุด แปรรูปไม้ปิดกิจการสูงสุด
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า เดือนเม.ย. 2557 ที่ผ่านมา จำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ลดลงอยู่ที่ 321 แห่ง ติดลบ 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เงินลงทุนมาอยู่ที่ 4.49 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.65% เนื่องจากมีโรงงานขนาดใหญ่เปิดดำเนินการ ส่งผลให้ยอดเปิดโรงงานใหม่ 4 เดือนแรก(ม.ค.-เม.ย.57)มีโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ทั้งสิ้น 1,260 แห่ง ลดลง 9.81 % เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 9.24 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.38 %
ส่วนการขยายกิจการในเดือนเม.ย. อยู่ที่ 44 แห่ง ลดลง 10.20% เทียบกับเม.ย. ปี 2556 มูลค่าการลงทุน 1.96 หมื่นล้านบาท ลดลง 35.19% ทำให้ยอดการขยายกิจการใน 4 เดือนแรกอยู่ที่ 171 แห่ง ลดลง 15.76 % เงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท ลดลง 43.21 % ขณะที่ยอดการเลิกกิจการนั้น พบว่า ในเดือน เม.ย. มีโรงงานเลิกกิจการทั้งสิ้น 46 แห่ง ลดลง 63.49% เทียบกับเดือนเม.ย. 2556 ทำให้การเลิกกิจการโรงงานในช่วง 4 เดือน อยู่ที่ 278 แห่ง ลดลง 42 %
“สาเหตุหลักที่การลงทุนลดลงมาจากปัจจัยการเมือง และเศรษฐกิจชะลอตัวจากการบริโภคที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ส่วนการเลิกกิจการนั้นสามารถมายื่นช่วงใดก็ได้ซึ่งที่ผ่านมาราชการหยุดจากการชุมนุมทำให้อาจมากระจุกในช่วงนี้”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนตั้งโรงงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 120 แห่ง มูลค่าการลงทุน 2.17 หมื่นล้านบาท รองลงมากลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อโลหะ148 แห่ง ลงทุน 6,847 ล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 95แห่ง เงินลงทุน 3,792 ล้านบาท ฯลฯ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการขยายการลงทุนมากที่สุดใน 4 เดือนแรกคือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 30 แห่ง เงินลงทุน 2,268 ล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 19 แห่ง เงินลงทุน 3,244 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากพืช 18 แห่ง เงินลงทุนเพิ่ม 760ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เนื่องจากปัจจุบันสินค้าจีนเริ่มเข้ามีตีตลาดในประเทศทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น และเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือย รวมถึงต้นทุนในการดำเนินกิจการสูงขึ้นของผู้ประกอบการ จากค่าแรง ค่าไฟ จึงทำให้นักลงทุนหนีซบเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย ที่มีสิทธิประโยชน์เอื้อให้กับนักลงทุน
ขณะที่อุตสาหกรรมที่มีเลิกกิจการมากที่สุดใน 4 เดือนแรก คือ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 33 แห่ง ตามด้วยผลิตภัณฑ์อโลหะ 24 แห่ง แต่ถ้ามองในแง่การจ้างงานกลุ่มที่ปิดกิจการและต้องเลิกจ้างงานมากที่สุดคืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ปิด 2 แห่ง มีการจ้างงาน 3,344 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้าปิดกิจการ 11 แห่ง มีการจ้างงาน 1,958 คน อุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ปิด 33 แห่ง เลิกจ้าง 849 คน
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า เดือนเม.ย. 2557 ที่ผ่านมา จำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ลดลงอยู่ที่ 321 แห่ง ติดลบ 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เงินลงทุนมาอยู่ที่ 4.49 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.65% เนื่องจากมีโรงงานขนาดใหญ่เปิดดำเนินการ ส่งผลให้ยอดเปิดโรงงานใหม่ 4 เดือนแรก(ม.ค.-เม.ย.57)มีโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ทั้งสิ้น 1,260 แห่ง ลดลง 9.81 % เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการลงทุน 9.24 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.38 %
ส่วนการขยายกิจการในเดือนเม.ย. อยู่ที่ 44 แห่ง ลดลง 10.20% เทียบกับเม.ย. ปี 2556 มูลค่าการลงทุน 1.96 หมื่นล้านบาท ลดลง 35.19% ทำให้ยอดการขยายกิจการใน 4 เดือนแรกอยู่ที่ 171 แห่ง ลดลง 15.76 % เงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท ลดลง 43.21 % ขณะที่ยอดการเลิกกิจการนั้น พบว่า ในเดือน เม.ย. มีโรงงานเลิกกิจการทั้งสิ้น 46 แห่ง ลดลง 63.49% เทียบกับเดือนเม.ย. 2556 ทำให้การเลิกกิจการโรงงานในช่วง 4 เดือน อยู่ที่ 278 แห่ง ลดลง 42 %
“สาเหตุหลักที่การลงทุนลดลงมาจากปัจจัยการเมือง และเศรษฐกิจชะลอตัวจากการบริโภคที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ส่วนการเลิกกิจการนั้นสามารถมายื่นช่วงใดก็ได้ซึ่งที่ผ่านมาราชการหยุดจากการชุมนุมทำให้อาจมากระจุกในช่วงนี้”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนตั้งโรงงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 120 แห่ง มูลค่าการลงทุน 2.17 หมื่นล้านบาท รองลงมากลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อโลหะ148 แห่ง ลงทุน 6,847 ล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 95แห่ง เงินลงทุน 3,792 ล้านบาท ฯลฯ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการขยายการลงทุนมากที่สุดใน 4 เดือนแรกคือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 30 แห่ง เงินลงทุน 2,268 ล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 19 แห่ง เงินลงทุน 3,244 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากพืช 18 แห่ง เงินลงทุนเพิ่ม 760ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เนื่องจากปัจจุบันสินค้าจีนเริ่มเข้ามีตีตลาดในประเทศทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น และเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือย รวมถึงต้นทุนในการดำเนินกิจการสูงขึ้นของผู้ประกอบการ จากค่าแรง ค่าไฟ จึงทำให้นักลงทุนหนีซบเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย ที่มีสิทธิประโยชน์เอื้อให้กับนักลงทุน
ขณะที่อุตสาหกรรมที่มีเลิกกิจการมากที่สุดใน 4 เดือนแรก คือ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 33 แห่ง ตามด้วยผลิตภัณฑ์อโลหะ 24 แห่ง แต่ถ้ามองในแง่การจ้างงานกลุ่มที่ปิดกิจการและต้องเลิกจ้างงานมากที่สุดคืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ปิด 2 แห่ง มีการจ้างงาน 3,344 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้าปิดกิจการ 11 แห่ง มีการจ้างงาน 1,958 คน อุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ปิด 33 แห่ง เลิกจ้าง 849 คน