ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำ นปช.ปราศรัยหมิ่นเบื้องสูง ด้านทนายความยื่นหลักทรัพย์เดิมเงินสด 5 แสนประกันตัว รอลุ้นศาลฎีกาชี้ขาดคดี
วานนี้ (1 พ.ค.) ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อ.2740/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และจำเลยคดีก่อการร้าย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 2, 8 และ12
โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2553 จำเลยได้ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช.เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้วยเครื่องกระจายเสียงและมีการติดตั้งจอภาพต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ยุบสภาของอภิสิทธิ์นี่มันยากเพราะอะไร เพราะปัจจัยหลายๆ อย่างที่ออกมา เปรมก็ไม่ยอมและอาจมีเหนือกว่านั้น ผมก็ไม่รู้ ไม่กล้าพูด แต่พี่น้องที่อยู่ที่นี่ (ใช้มือจับปากของตัวเอง และกิริยาที่สื่อให้ผู้รับฟังเห็นว่าอย่าพูดไป หรือพูดไม่ได้) คิดอะไรกันอยู่นะ ผมร้อนใน ผมจับปากก่อน ไม่มีใครรู้หรอกครับ เพราะปัจจัยที่ไอ้อภิสิทธิ์ไม่กล้ายุบสภา 1. เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ยอมยุบ 2. พรรคร่วมรัฐบาล 3. ทหาร 4. สุเทพ 5. เนวิน พวกนี้คอยบีบคอสุเทพ คอยบีบคออภิสิทธิ์ไว้” ซึ่งคำพูดของจำเลยย่อมทำให้ประชาชนเข้าใจว่า ผู้ที่อยู่เหนือกว่าและอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งประธานองคมนตรี ทรงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง อยู่เบื้องหลังไม่ยอมให้นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรียุบสภาตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง คำพูดดังกล่าวจึงเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง เกลียดชัง เหตุเกิดแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. และให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษคดีก่อการร้าย หมายเลขดำ อ.2542/2553 ของศาลอาญาด้วย ซึ่งครั้งแรกจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ภายหลังให้การปฏิเสธสู้คดี
ขณะที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2556 ว่าพฤติการณ์ที่จำเลย กล่าว “เปรมก็ไม่ยอมและอาจมีเหนือกว่านั้น” แม้จำเลยไม่ได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่ขณะกล่าวข้อความดังกล่าวจำเลยได้ใช้มือจับปากและลิ้นของจำเลย ที่สื่อให้เห็นว่ายังมีผู้ที่อยู่เหนือกว่าหรืออยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรมอีกซึ่งผู้นั้นต้องมีศักดิ์ฐานะที่สูงอย่างยิ่งองคมนตรี ขณะที่การปราศรัยของจำเลยทำให้ผู้ฟังเข้าใจลักษณะใส่ความพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี และขอให้ลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษ โดยอ้างว่าจำเลยเคยร่วมกิจกรรมถวายพระพรเฉลิมพระเกียรติโดยตลอด
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนและประชุมปรึกษาหารือกัน เห็นว่าที่จำเลยอุทธรณ์ประเด็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นฟังไม่ขึ้น โดยฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 112 ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่เป็นความผิดนั้น เห็นว่าการที่จำเลยใช้มือจับปากและลิ้นของจำเลย สื่อให้เห็นว่ายังมีผู้ที่อยู่เหนือกว่าหรืออยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรมอีก ซึ่งผู้นั้นต้องมีศักดิ์ฐานะที่สูงอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นจำเลยต้องระบุชื่อบุคคลเหล่านั้นออกมาแล้ว เพราะแม้แต่ พล.อ.เปรม ที่มีตำแหน่งประธานองคมนตรี และนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ยังถูกจำเลยปราศรัยโจมตีอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ตำแหน่งประธานองคมนตรีของ พล.อ.เปรม ทราบกันทั่วไปว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เดียวเท่านั้นที่มีพระราชอำนาจแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจการบัญชาของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ เมื่อประมวลถ้อยคำปราศรัยจำเลยแล้วทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม อาจหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การกระทำของจำเลยเป็นการปราศรัยใส่ความให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
นอกจากนี้ โจทก์ยังมีพยาน 6 ปากที่เป็นประชาชนรับฟังการปราศรัยของจำเลย เบิกความมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ถ้อยคำปราศรัยของจำเลย เป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งพยานโจทก์เบิกความไปตามความสุจริต ส่วนที่จำเลยอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างลอยๆ การที่จำเลยกล่าวปราศรัยข้อความตามฟ้องก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม โดยการที่จำเลยแสดงท่าทางลักษณะไม่กล้าพูดซึ่งหมายถึงพูดไม่ได้แล้ว ย่อมแสดงเจตนาของจำเลย
ส่วนที่จำเลยอ้างพยานว่า จำเลยมีความจงรักภักดีโดยเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยตลอด 15 ปีนั้น พฤติการณ์แสดงออกต้องพิจารณาถึงความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่เพียงคำพูดของจำเลย เมื่อพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยแล้วเห็นว่า หากมีความจงรักภักดีจริงก็ไม่ควรพูดถึงสถาบันเบื้องสูง ประกอบกับตามบทบบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 2 และมาตรา 8 ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ประกอบกับมาตรา 70 และ 77 ยังบัญญัติให้บุคคลและรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ ขณะที่โดยสำนึกของประชาชนทั่วไปก็มีความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้มั่นคง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นสถาบันฯ จึงสมควรให้ลงโทษไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ที่ศาลชั้นต้นให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหมาะสมแล้ว อุทธรณ์จำเลยที่ขอให้ลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษนั้นฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายยศวริศมีใบหน้าเคร่งเครียดอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เดิมเป็นเงินสดจำนวน 500,000 บาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างการยื่นฎีกาสู้คดี
วานนี้ (1 พ.ค.) ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อ.2740/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และจำเลยคดีก่อการร้าย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 2, 8 และ12
โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2553 จำเลยได้ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช.เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้วยเครื่องกระจายเสียงและมีการติดตั้งจอภาพต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ยุบสภาของอภิสิทธิ์นี่มันยากเพราะอะไร เพราะปัจจัยหลายๆ อย่างที่ออกมา เปรมก็ไม่ยอมและอาจมีเหนือกว่านั้น ผมก็ไม่รู้ ไม่กล้าพูด แต่พี่น้องที่อยู่ที่นี่ (ใช้มือจับปากของตัวเอง และกิริยาที่สื่อให้ผู้รับฟังเห็นว่าอย่าพูดไป หรือพูดไม่ได้) คิดอะไรกันอยู่นะ ผมร้อนใน ผมจับปากก่อน ไม่มีใครรู้หรอกครับ เพราะปัจจัยที่ไอ้อภิสิทธิ์ไม่กล้ายุบสภา 1. เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ยอมยุบ 2. พรรคร่วมรัฐบาล 3. ทหาร 4. สุเทพ 5. เนวิน พวกนี้คอยบีบคอสุเทพ คอยบีบคออภิสิทธิ์ไว้” ซึ่งคำพูดของจำเลยย่อมทำให้ประชาชนเข้าใจว่า ผู้ที่อยู่เหนือกว่าและอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งประธานองคมนตรี ทรงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง อยู่เบื้องหลังไม่ยอมให้นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรียุบสภาตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง คำพูดดังกล่าวจึงเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง เกลียดชัง เหตุเกิดแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. และให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษคดีก่อการร้าย หมายเลขดำ อ.2542/2553 ของศาลอาญาด้วย ซึ่งครั้งแรกจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ภายหลังให้การปฏิเสธสู้คดี
ขณะที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2556 ว่าพฤติการณ์ที่จำเลย กล่าว “เปรมก็ไม่ยอมและอาจมีเหนือกว่านั้น” แม้จำเลยไม่ได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่ขณะกล่าวข้อความดังกล่าวจำเลยได้ใช้มือจับปากและลิ้นของจำเลย ที่สื่อให้เห็นว่ายังมีผู้ที่อยู่เหนือกว่าหรืออยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรมอีกซึ่งผู้นั้นต้องมีศักดิ์ฐานะที่สูงอย่างยิ่งองคมนตรี ขณะที่การปราศรัยของจำเลยทำให้ผู้ฟังเข้าใจลักษณะใส่ความพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี และขอให้ลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษ โดยอ้างว่าจำเลยเคยร่วมกิจกรรมถวายพระพรเฉลิมพระเกียรติโดยตลอด
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนและประชุมปรึกษาหารือกัน เห็นว่าที่จำเลยอุทธรณ์ประเด็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นฟังไม่ขึ้น โดยฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 112 ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่เป็นความผิดนั้น เห็นว่าการที่จำเลยใช้มือจับปากและลิ้นของจำเลย สื่อให้เห็นว่ายังมีผู้ที่อยู่เหนือกว่าหรืออยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรมอีก ซึ่งผู้นั้นต้องมีศักดิ์ฐานะที่สูงอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นจำเลยต้องระบุชื่อบุคคลเหล่านั้นออกมาแล้ว เพราะแม้แต่ พล.อ.เปรม ที่มีตำแหน่งประธานองคมนตรี และนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ยังถูกจำเลยปราศรัยโจมตีอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ตำแหน่งประธานองคมนตรีของ พล.อ.เปรม ทราบกันทั่วไปว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เดียวเท่านั้นที่มีพระราชอำนาจแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจการบัญชาของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ เมื่อประมวลถ้อยคำปราศรัยจำเลยแล้วทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม อาจหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การกระทำของจำเลยเป็นการปราศรัยใส่ความให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
นอกจากนี้ โจทก์ยังมีพยาน 6 ปากที่เป็นประชาชนรับฟังการปราศรัยของจำเลย เบิกความมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ถ้อยคำปราศรัยของจำเลย เป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งพยานโจทก์เบิกความไปตามความสุจริต ส่วนที่จำเลยอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างลอยๆ การที่จำเลยกล่าวปราศรัยข้อความตามฟ้องก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม โดยการที่จำเลยแสดงท่าทางลักษณะไม่กล้าพูดซึ่งหมายถึงพูดไม่ได้แล้ว ย่อมแสดงเจตนาของจำเลย
ส่วนที่จำเลยอ้างพยานว่า จำเลยมีความจงรักภักดีโดยเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยตลอด 15 ปีนั้น พฤติการณ์แสดงออกต้องพิจารณาถึงความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่เพียงคำพูดของจำเลย เมื่อพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยแล้วเห็นว่า หากมีความจงรักภักดีจริงก็ไม่ควรพูดถึงสถาบันเบื้องสูง ประกอบกับตามบทบบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 มาตรา 2 และมาตรา 8 ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ประกอบกับมาตรา 70 และ 77 ยังบัญญัติให้บุคคลและรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ ขณะที่โดยสำนึกของประชาชนทั่วไปก็มีความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้มั่นคง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นสถาบันฯ จึงสมควรให้ลงโทษไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ที่ศาลชั้นต้นให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหมาะสมแล้ว อุทธรณ์จำเลยที่ขอให้ลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษนั้นฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายยศวริศมีใบหน้าเคร่งเครียดอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เดิมเป็นเงินสดจำนวน 500,000 บาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างการยื่นฎีกาสู้คดี