"อดีตพระยันตระ" ยังคงพำนักที่บ้านพักน้องสาวที่ปากพนัง เพื่อดูแลพระอุปัชฌาจารย์ที่กำลังอาพาธด้วยความชราภาพ ขณะที่ภิกษุ แม่ชี และญาติโยมที่ศรัทธายังคงเดินทางเข้าแสดงความเคารพไม่ขาดสาย ไม่สนใจว่า "นายวินัย" จะอยู่ในสถานะพระสงฆ์หรือไม่
วานนี้ (24 เม.ย.) ที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังจากการปรากฏตัวของนายวินัย ละอองสุวรรณ หรืออดีตพระยันตระ อมโรภิกขุ ที่เดินทางกลับมายังบ้านเกิดอย่างเงียบๆ และมาพำนักยังอาศรมที่ปลูกสร้าง ภายในบ้านพักของนางสำลี ละอองสุวรรณ น้องสาวของนายวินัย ริมแม่น้ำปากพนัง เขตเทศบาลเมืองปากพนัง ต.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยตั้งแต่ช่วงเช้าปรากฏว่า ยังคงมีผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวของนายวินัย ละอองสุวรรณ มารอพบกับนายวินัย เช่นเดียวกับพระสงฆ์ ภิกษุณี และแม่ชี โดยมีหลายคนในจำนวนนี้ได้เดินทางมาจาก จ.กาญจนบุรี เพื่อมากราบนายวินัยโดยเฉพาะ ขณะที่บ้านพักของนางสำลีนั้น ได้มีการทำครัวเพื่อเลี้ยงภัตตาหารเพลกับพระสงฆ์ที่มาฉันภัตตาหารร่วมกับนายวินัย รวมทั้งจัดเลี้ยงผู้ที่มาเยือนอย่างพร้อมพรั่ง
โดยเวลา 10.30 น.ซึ่งได้เวลาเพล นายวินัย ได้เดินออกมาจากอาศรม มีพระสงฆ์เดินตามออกมาและพบปะทักทายกับญาติโยมที่มารออยู่จนถึงบริเวณโต๊ะอาหาร โดยหลายคนได้ร่วมมอบพวงมาลัยดอกไม่สด มอบเงินสดเป็นการทำบุญ ตลอดทางเดินก่อนที่นายวินัย จะร่วมโต๊ะกับพระสงฆ์ที่ร่วมกันฉันภัตตาหารเพล
ชาวปากพนังรายหนึ่งแสดงความเห็นว่า แม้ว่าอดีตพระยันตระ จะอยู่ในสถานะพระสงฆ์หรือไม่ หรืออยู่ในสถานะเป็นผู้ทรงศีลอย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต่างยังเคารพนับถือ เนื่องจากตลอดมายังคงมีวัตรปฏิบัติเช่นผู้ทรงศีล ทำวัตรสวดมนต์ตามเวลาวัตรเช้า และวัตรค่ำ การแต่งกายเป็นเรื่องของภายนอกและเชื่อมั่นว่า เรื่องราวในอดีตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริง เห็นได้จากความศรัทธาทั้งจากพระสงฆ์ ภิกษุณี หรือแม่ชี ผู้ทรงศีลต่างๆ ยังคงให้ความเคารพศรัทธานับถือเช่นเดิมตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ขณะที่ผู้ใกล้ชิดนายวินัยระบุว่า นายวินัย ยังคงพำนักในปากพนังต่อไป ด้วยความเป็นห่วงพระครูสุธรรมาจารย์ หรือพ่อท่านเชื่อง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ ของนายวินัยเมื่อคราวอุปสมบทเป็นครั้งแรก ที่กำลังอยู่ในวัยกว่า 90 ปี และมีอาการอาพาธด้วยความชราภาพ และได้ให้คำสัญญากับชาวปากพนังที่เคารพศรัทธาว่า จะอยู่ปากพนังต่อไปจนถึงราวสิ้นเดือนเม.ย.จากนั้นมีกำหนดเดินทางไป จ.ภูเก็ตเพื่อรักษาฟันกับทันตแพทย์ และเตรียมงานบุญก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเตรียมแผนที่จะเดินทางกลับมาพำนักในประเทศไทยอย่างถาวร ที่วัดป่าสุญญตาราม ใน จ.กาญจนบุรี
ด้านนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีอดีตพระยันตระว่า จากการตรวจสอบข้อมูลคดีความของอดีตพระยันตระ พบว่า คดีหมิ่นประมาทได้หมดอายุความลงไปแล้ว ส่วนคดีของการไม่ทำตามมติมหาเถรสมาคมให้สึกจากความเป็นพระ เนื่องจากปาราชิกนั้น พศ.ต้องขอไปตรวจสอบข้อมูลว่าเรื่องเกิดขึ้นมากว่า 20 ปี และกรมการศาสนา (ศน.) ในขณะนั้นได้มีการแจ้งความดำเนินคดีอดีตพระยันตระไว้เมื่อใดและคดีหมดอายุความแล้วหรือไม่คงต้องมีตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนอีกครั้ง
ส่วนมีข้อถามมายัง พศ.ว่า ปาราชิกแล้วกลับมาบวชใหม่ได้หรือไม่ ตอบได้ว่า พระธรรมวินัยได้กำหนดไว้ว่าหากภิกษุ ต้องปาราชิก แล้วไม่สามารถกลับมาบวชใหม่ในพระพุทธศาสนา ได้ตลอดชีวิต ส่วนกรณีที่พบว่าพระบางรูปที่ต้องปาราชิกแล้วกลับมาบวชใหม่นั้นต้องไปถามอุปัชฌาย์ ซึ่งตามหลักการแล้ว ผู้ที่เป็นอุปัชฌาย์ จะต้องสืบประวัติผู้ที่บวชต้องรู้ประวัติเบื้องต้นว่า เคยปาราชิกหรือไม่ หากเคยก็ไม่สามารถบวชให้ได้ แต่ถ้ายังบวชทั้งที่รู้อยู่แล้ว พระอุปัชฌาย์ถือว่ามีความผิดเช่นกัน ทั้งนี้ ในส่วนกรณีของอดีตพระยันตระ ก็ไม่สามารถมาบวชใหม่ได้ เพราะถือว่า ต้องปาราชิก หากมีพระอุปัชฌาย์รูปใดบวชให่ถือว่ามีความผิดเนื่องจากจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ประวัติอดีตพระยันตระ
วานนี้ (24 เม.ย.) ที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังจากการปรากฏตัวของนายวินัย ละอองสุวรรณ หรืออดีตพระยันตระ อมโรภิกขุ ที่เดินทางกลับมายังบ้านเกิดอย่างเงียบๆ และมาพำนักยังอาศรมที่ปลูกสร้าง ภายในบ้านพักของนางสำลี ละอองสุวรรณ น้องสาวของนายวินัย ริมแม่น้ำปากพนัง เขตเทศบาลเมืองปากพนัง ต.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยตั้งแต่ช่วงเช้าปรากฏว่า ยังคงมีผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวของนายวินัย ละอองสุวรรณ มารอพบกับนายวินัย เช่นเดียวกับพระสงฆ์ ภิกษุณี และแม่ชี โดยมีหลายคนในจำนวนนี้ได้เดินทางมาจาก จ.กาญจนบุรี เพื่อมากราบนายวินัยโดยเฉพาะ ขณะที่บ้านพักของนางสำลีนั้น ได้มีการทำครัวเพื่อเลี้ยงภัตตาหารเพลกับพระสงฆ์ที่มาฉันภัตตาหารร่วมกับนายวินัย รวมทั้งจัดเลี้ยงผู้ที่มาเยือนอย่างพร้อมพรั่ง
โดยเวลา 10.30 น.ซึ่งได้เวลาเพล นายวินัย ได้เดินออกมาจากอาศรม มีพระสงฆ์เดินตามออกมาและพบปะทักทายกับญาติโยมที่มารออยู่จนถึงบริเวณโต๊ะอาหาร โดยหลายคนได้ร่วมมอบพวงมาลัยดอกไม่สด มอบเงินสดเป็นการทำบุญ ตลอดทางเดินก่อนที่นายวินัย จะร่วมโต๊ะกับพระสงฆ์ที่ร่วมกันฉันภัตตาหารเพล
ชาวปากพนังรายหนึ่งแสดงความเห็นว่า แม้ว่าอดีตพระยันตระ จะอยู่ในสถานะพระสงฆ์หรือไม่ หรืออยู่ในสถานะเป็นผู้ทรงศีลอย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต่างยังเคารพนับถือ เนื่องจากตลอดมายังคงมีวัตรปฏิบัติเช่นผู้ทรงศีล ทำวัตรสวดมนต์ตามเวลาวัตรเช้า และวัตรค่ำ การแต่งกายเป็นเรื่องของภายนอกและเชื่อมั่นว่า เรื่องราวในอดีตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริง เห็นได้จากความศรัทธาทั้งจากพระสงฆ์ ภิกษุณี หรือแม่ชี ผู้ทรงศีลต่างๆ ยังคงให้ความเคารพศรัทธานับถือเช่นเดิมตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ขณะที่ผู้ใกล้ชิดนายวินัยระบุว่า นายวินัย ยังคงพำนักในปากพนังต่อไป ด้วยความเป็นห่วงพระครูสุธรรมาจารย์ หรือพ่อท่านเชื่อง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ ของนายวินัยเมื่อคราวอุปสมบทเป็นครั้งแรก ที่กำลังอยู่ในวัยกว่า 90 ปี และมีอาการอาพาธด้วยความชราภาพ และได้ให้คำสัญญากับชาวปากพนังที่เคารพศรัทธาว่า จะอยู่ปากพนังต่อไปจนถึงราวสิ้นเดือนเม.ย.จากนั้นมีกำหนดเดินทางไป จ.ภูเก็ตเพื่อรักษาฟันกับทันตแพทย์ และเตรียมงานบุญก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเตรียมแผนที่จะเดินทางกลับมาพำนักในประเทศไทยอย่างถาวร ที่วัดป่าสุญญตาราม ใน จ.กาญจนบุรี
ด้านนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีอดีตพระยันตระว่า จากการตรวจสอบข้อมูลคดีความของอดีตพระยันตระ พบว่า คดีหมิ่นประมาทได้หมดอายุความลงไปแล้ว ส่วนคดีของการไม่ทำตามมติมหาเถรสมาคมให้สึกจากความเป็นพระ เนื่องจากปาราชิกนั้น พศ.ต้องขอไปตรวจสอบข้อมูลว่าเรื่องเกิดขึ้นมากว่า 20 ปี และกรมการศาสนา (ศน.) ในขณะนั้นได้มีการแจ้งความดำเนินคดีอดีตพระยันตระไว้เมื่อใดและคดีหมดอายุความแล้วหรือไม่คงต้องมีตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนอีกครั้ง
ส่วนมีข้อถามมายัง พศ.ว่า ปาราชิกแล้วกลับมาบวชใหม่ได้หรือไม่ ตอบได้ว่า พระธรรมวินัยได้กำหนดไว้ว่าหากภิกษุ ต้องปาราชิก แล้วไม่สามารถกลับมาบวชใหม่ในพระพุทธศาสนา ได้ตลอดชีวิต ส่วนกรณีที่พบว่าพระบางรูปที่ต้องปาราชิกแล้วกลับมาบวชใหม่นั้นต้องไปถามอุปัชฌาย์ ซึ่งตามหลักการแล้ว ผู้ที่เป็นอุปัชฌาย์ จะต้องสืบประวัติผู้ที่บวชต้องรู้ประวัติเบื้องต้นว่า เคยปาราชิกหรือไม่ หากเคยก็ไม่สามารถบวชให้ได้ แต่ถ้ายังบวชทั้งที่รู้อยู่แล้ว พระอุปัชฌาย์ถือว่ามีความผิดเช่นกัน ทั้งนี้ ในส่วนกรณีของอดีตพระยันตระ ก็ไม่สามารถมาบวชใหม่ได้ เพราะถือว่า ต้องปาราชิก หากมีพระอุปัชฌาย์รูปใดบวชให่ถือว่ามีความผิดเนื่องจากจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้ประวัติอดีตพระยันตระ