วานนี้ (22เม.ย.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา โดยมีนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ได้มีการหารือในเรื่องภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยเชิญนักวิชาการ และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง มาชี้แจง
ทั้งนี้ นายคำนูณ กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ มีความน่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลจะไม่สามารถออก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ได้ทันในช่วงเดือนก.ย. ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 166 จะบัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อนได้ แต่จะมีรายละเอียดในทางปฏิบัติอีก คือ มาตรา 16 ของพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่า ถ้าพ.ร.บ.งบ ประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี ทว่าปัจจุบัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีสถานะเป็นรักษาการ ทำให้จะเกิดการตีความว่า จะมีอำนาจอนุมัติตามกฎหมายได้หรือไม่
"นายกรัฐมนตรีมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) กำหนดให้รัฐบาลรักษาการต้องไม่อนุมัติอะไรที่มีผลผูกพันในอนาคต ซึ่งการอนุมัติงบประมาณ ย่อมมีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดใหม่อย่างแน่นอน แม้จะเป็นความจำเป็นของประเทศก็ตาม" นายคำนูณ กล่าว
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ อดีต รมช.คลัง กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เคยประสบกับสถานการณ์แบบนี้มาก่อน เพราะในอดีตเคยกรณีที่ออกกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ทัน แต่จะอยู่ในภาวะที่ประเทศมีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม แม้จะมีบางช่วงที่เป็นรัฐบาลจากการรัฐประหารก็ตาม สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ถือว่าอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจเต็ม ประกอบกับรัฐธรรมนูญอนุญาตให้รักษาการแต่ไม่สามารถดำเนินการกิจกรรมใดๆได้
"ในแง่ของรัฐธรรมนูญ คงไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหานี้มาก่อนที่จะต้องมาตีความกัน ซึ่งถ้าเอาอย่างสุดโต่งเลย คือ ต้องแบบสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ต้องชัตดาวน์กันหมด เพราะว่าไม่มีอำนาจ และประธานาธิบดี บารัก โอบามา ก็ไม่มีอำนาจจ่ายเงิน แต่ผมเชื่อว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มีความต้องการให้เกิดความคล่องตัว และละมุนละม่อมที่ถือว่าเป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐธรรมนูญสามารถให้ใช้เงินได้เพราะถ้าไม่ทำ จะเกิดความเสียหาย เพราะไม่มีเงิน จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการ" นายพิสิฐ กล่าว
นายพิสิฐ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวมองว่าวีธีเดียวที่รัฐบาลรักษาการจะแก้ไขได้ คือ การไปขออนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้อนุมัติงบประมาณ
นายคำนูณ กล่าวว่า กรณีนี้มีลักษณะเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) ที่ห้ามไม่ให้ดำเนินการอนุมัติใดๆ ที่จะมีผลผูกพันในอนาคต จึงคิดว่า กกต.ไม่น่าจะสามารถให้ความเห็นได้ เหมือนกับกรณีที่ กกต.ไม่ได้ตอบข้อหารือของรัฐบาล เมื่อครั้งจะดำเนินการกู้เงินเพื่อจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
"บางท่านก็ตำหนิผมว่า อย่าไปคิดให้มันมีปัญหา แต่ผมบอกว่า ผมไม่ได้คิด แต่มันมีประเด็นอยู่แล้ว และผมถามว่า นายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตัวจริง ท่านจะกล้าเซ็นอนุมัติหรือ ถ้าท่านเซ็นอนุมัติ มันจะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าจะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งไปเอาความผิดกับท่าน แม้จะรู้ว่าเป็นความจำเป็นก็ตาม" นายคำนูณ กล่าว
นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีหารือกับสำนักงบประมาณได้ข้อสรุปเบื้องต้น ว่ามีแนวโน้มว่าอย่างเร็วที่สุดจะสามารถงบประมาณปี 2558 จะแล้วเสร็จในเดือน เม.ย.ปี 58 โดยช่วงใช้เงินงบประมาณจะอยู่ในช่วงเดือน มิ.ย.ไปจนถึงก.ย. หรือประมาณ 5 เดือน ภายใต้สมมติฐานที่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เสร็จในช่วงเดือน พ.ย.57
"ภาครัฐจะใช้เงินงบประมาณของปีที่แล้วไปพลางก่อน หน่วยงานไหนเคยได้งบประมาณเท่าไร ก็ใช้ได้เท่ากับวงเงินที่เคยใช้เมื่อปีงบประมาณ 2557 เช่น สมมติว่าสบน. มีงบประมาณชำระหนี้ 1 แสนล้านบาท ก็จะต้องใช้อยู่ในกรอบดังกล่าวไปก่อน แต่ส่วนเกินอาจจะต้องหาเงินจากทางอื่น หรือ ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินจริงๆ คงต้องไปของบกลาง”นายสุวิชญ กล่าว
ทั้งนี้ นายคำนูณ กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ มีความน่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลจะไม่สามารถออก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ได้ทันในช่วงเดือนก.ย. ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 166 จะบัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อนได้ แต่จะมีรายละเอียดในทางปฏิบัติอีก คือ มาตรา 16 ของพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่า ถ้าพ.ร.บ.งบ ประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี ทว่าปัจจุบัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีสถานะเป็นรักษาการ ทำให้จะเกิดการตีความว่า จะมีอำนาจอนุมัติตามกฎหมายได้หรือไม่
"นายกรัฐมนตรีมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) กำหนดให้รัฐบาลรักษาการต้องไม่อนุมัติอะไรที่มีผลผูกพันในอนาคต ซึ่งการอนุมัติงบประมาณ ย่อมมีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดใหม่อย่างแน่นอน แม้จะเป็นความจำเป็นของประเทศก็ตาม" นายคำนูณ กล่าว
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ อดีต รมช.คลัง กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เคยประสบกับสถานการณ์แบบนี้มาก่อน เพราะในอดีตเคยกรณีที่ออกกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ทัน แต่จะอยู่ในภาวะที่ประเทศมีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม แม้จะมีบางช่วงที่เป็นรัฐบาลจากการรัฐประหารก็ตาม สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ถือว่าอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจเต็ม ประกอบกับรัฐธรรมนูญอนุญาตให้รักษาการแต่ไม่สามารถดำเนินการกิจกรรมใดๆได้
"ในแง่ของรัฐธรรมนูญ คงไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหานี้มาก่อนที่จะต้องมาตีความกัน ซึ่งถ้าเอาอย่างสุดโต่งเลย คือ ต้องแบบสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ต้องชัตดาวน์กันหมด เพราะว่าไม่มีอำนาจ และประธานาธิบดี บารัก โอบามา ก็ไม่มีอำนาจจ่ายเงิน แต่ผมเชื่อว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มีความต้องการให้เกิดความคล่องตัว และละมุนละม่อมที่ถือว่าเป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐธรรมนูญสามารถให้ใช้เงินได้เพราะถ้าไม่ทำ จะเกิดความเสียหาย เพราะไม่มีเงิน จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการ" นายพิสิฐ กล่าว
นายพิสิฐ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวมองว่าวีธีเดียวที่รัฐบาลรักษาการจะแก้ไขได้ คือ การไปขออนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้อนุมัติงบประมาณ
นายคำนูณ กล่าวว่า กรณีนี้มีลักษณะเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) ที่ห้ามไม่ให้ดำเนินการอนุมัติใดๆ ที่จะมีผลผูกพันในอนาคต จึงคิดว่า กกต.ไม่น่าจะสามารถให้ความเห็นได้ เหมือนกับกรณีที่ กกต.ไม่ได้ตอบข้อหารือของรัฐบาล เมื่อครั้งจะดำเนินการกู้เงินเพื่อจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
"บางท่านก็ตำหนิผมว่า อย่าไปคิดให้มันมีปัญหา แต่ผมบอกว่า ผมไม่ได้คิด แต่มันมีประเด็นอยู่แล้ว และผมถามว่า นายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตัวจริง ท่านจะกล้าเซ็นอนุมัติหรือ ถ้าท่านเซ็นอนุมัติ มันจะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าจะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งไปเอาความผิดกับท่าน แม้จะรู้ว่าเป็นความจำเป็นก็ตาม" นายคำนูณ กล่าว
นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีหารือกับสำนักงบประมาณได้ข้อสรุปเบื้องต้น ว่ามีแนวโน้มว่าอย่างเร็วที่สุดจะสามารถงบประมาณปี 2558 จะแล้วเสร็จในเดือน เม.ย.ปี 58 โดยช่วงใช้เงินงบประมาณจะอยู่ในช่วงเดือน มิ.ย.ไปจนถึงก.ย. หรือประมาณ 5 เดือน ภายใต้สมมติฐานที่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เสร็จในช่วงเดือน พ.ย.57
"ภาครัฐจะใช้เงินงบประมาณของปีที่แล้วไปพลางก่อน หน่วยงานไหนเคยได้งบประมาณเท่าไร ก็ใช้ได้เท่ากับวงเงินที่เคยใช้เมื่อปีงบประมาณ 2557 เช่น สมมติว่าสบน. มีงบประมาณชำระหนี้ 1 แสนล้านบาท ก็จะต้องใช้อยู่ในกรอบดังกล่าวไปก่อน แต่ส่วนเกินอาจจะต้องหาเงินจากทางอื่น หรือ ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินจริงๆ คงต้องไปของบกลาง”นายสุวิชญ กล่าว