โครงการเมกะโปรเจกต์ 10 ปี สธ.ใช้งบ 1-2 แสนล้านบาท หวังพัฒนาระบบสาธารณสุขภาพรวม หลังเดินหน้า 12 เขตบริการสุขภาพ มอบ สวรส.ทำมาตรฐานให้เท่าเทียมทุกเขต พร้อมเพิ่มกำลังคน ดึงมหาวิทยาลัยเข้าร่วม คาดทำแผนเสร็จ พ.ย.นี้
วันนี้ (13 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม “การพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระทรวงสาธารณสุข 12 เขตบริการสุขภาพ” ซึ่งมีสภาวิชาชีพต่างๆ และผู้แทนคณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมประชุม ว่า รัฐบาลกำลังทำแผนเมกะโปรเจกต์เพื่อพัฒนาสาธารณสุขประเทศในภาพรวม คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1-2 แสนล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558 โดย สธ.แบ่งการดำเนินการออกเป็น 12 เขตบริการสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีค่ามาตรฐาน จึงให้จัดทำแผนสร้างมาตรฐานให้ทุกเขต เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ได้รับการรักษาที่มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทุกเขตจะต้องมีศูนย์รักษาโรคหัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์มะเร็ง เนื่องจากเป็นโรคและภัยที่เกิดขึ้นมากที่สุดของคนไทย โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เป็นผู้จัดทำแผนดังกล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เมื่อได้แผนพัฒนามาตรฐานกลางแล้ว จะต้องพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะต้องมีแพทย์ประจำทุกแห่ง ซึ่งการผลิตแพทย์จะใช้เวลา 6 ปี โดยตั้งเป้า 3 ปีแรกจะผลิตแพทย์ให้ได้ 1 ต่อ 7,000 ประชากร และ 3 ปีหลัง เป็น 1 ต่อ 6,000 ประชากร ทั้งนี้ เมกะโปรเจกต์จะต้องค่อยๆ ดำเนินการ ซึ่งปีนี้ได้วางรากฐานด้วยการจัดเขตบริการสุขภาพแล้ว จากนั้นก็จะเริ่มดำเนินการ ซึ่งได้มอบให้ปลัด สธ.ไปจัดทำแผนที่การแบ่งบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วน เช่น พื้นที่เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศักยภาพสร้างศูนย์โรคหัวใจ ทางโรงพยาบาลจังหวัดของ สธ.ก็ไม่ต้องสร้าง ซึ่งรัฐบาลก็จะนำเงินไปสนับสนุน ม.เชียงใหม่ แทน ทั้งหมดจะทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขเป็นองค์รวม คาดว่าโครงการเมกะโปรเจกต์จะชัดเจนเริ่มได้ในปี 2558
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ในส่วนของ สธ.จะแบ่งโรงพยาบาลออกแบ่ง 3 ระดับ คือ ระดับตติยภูมิ มีโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) 116 แห่ง ระดับทุติยภูมิ เป็นโรงพยาบาลชุมชน 774 แห่ง และระดับปฐมภูมิ เป็น รพ.สต.ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) และสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 10,174 แห่ง โดยเป้าหมายโรงพยาบาลทุกระดับจะต้องลดอัตราป่วยตาย ค่าใช้จ่าย พัฒนามาตรฐานการบริการ และให้ประชาชนเข้าถึงการบริการ และต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในเขตบริการสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ สังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ เบื้องต้นได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ สธ.แต่ละเขตไปหารือกับโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยในสัปดาห์หน้า และกลับมาจัดทำแผนงานกำหนดบทบาทหน้าที่ ความต้องการของแต่ละเขตบริการสุขภาพว่า แห่งไหนจะมีศูนย์เฉพาะทางด้านใดบ้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแผนการลงทุนที่ทาง สธ.จัดทำเพื่อเสนอรัฐบาลในการทำเมกะโปรเจกต์พัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับประเทศ จะมีการลงทุนพื้นฐานในสถานบริการ (รพ.) 33,000 ล้านบาท ลงทุนใน Service plan แผนบริการสุขภาพ 21,000 ล้านบาท และลงทุนในเมดิคัลฮับอีก 46,000 ล้านบาท รวมประมาณการลงทุน 100,000 ล้านบาท
วันนี้ (13 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม “การพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระทรวงสาธารณสุข 12 เขตบริการสุขภาพ” ซึ่งมีสภาวิชาชีพต่างๆ และผู้แทนคณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมประชุม ว่า รัฐบาลกำลังทำแผนเมกะโปรเจกต์เพื่อพัฒนาสาธารณสุขประเทศในภาพรวม คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1-2 แสนล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558 โดย สธ.แบ่งการดำเนินการออกเป็น 12 เขตบริการสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีค่ามาตรฐาน จึงให้จัดทำแผนสร้างมาตรฐานให้ทุกเขต เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ได้รับการรักษาที่มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทุกเขตจะต้องมีศูนย์รักษาโรคหัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์มะเร็ง เนื่องจากเป็นโรคและภัยที่เกิดขึ้นมากที่สุดของคนไทย โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เป็นผู้จัดทำแผนดังกล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เมื่อได้แผนพัฒนามาตรฐานกลางแล้ว จะต้องพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะต้องมีแพทย์ประจำทุกแห่ง ซึ่งการผลิตแพทย์จะใช้เวลา 6 ปี โดยตั้งเป้า 3 ปีแรกจะผลิตแพทย์ให้ได้ 1 ต่อ 7,000 ประชากร และ 3 ปีหลัง เป็น 1 ต่อ 6,000 ประชากร ทั้งนี้ เมกะโปรเจกต์จะต้องค่อยๆ ดำเนินการ ซึ่งปีนี้ได้วางรากฐานด้วยการจัดเขตบริการสุขภาพแล้ว จากนั้นก็จะเริ่มดำเนินการ ซึ่งได้มอบให้ปลัด สธ.ไปจัดทำแผนที่การแบ่งบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วน เช่น พื้นที่เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศักยภาพสร้างศูนย์โรคหัวใจ ทางโรงพยาบาลจังหวัดของ สธ.ก็ไม่ต้องสร้าง ซึ่งรัฐบาลก็จะนำเงินไปสนับสนุน ม.เชียงใหม่ แทน ทั้งหมดจะทำให้การทำงานด้านสาธารณสุขเป็นองค์รวม คาดว่าโครงการเมกะโปรเจกต์จะชัดเจนเริ่มได้ในปี 2558
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ในส่วนของ สธ.จะแบ่งโรงพยาบาลออกแบ่ง 3 ระดับ คือ ระดับตติยภูมิ มีโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) 116 แห่ง ระดับทุติยภูมิ เป็นโรงพยาบาลชุมชน 774 แห่ง และระดับปฐมภูมิ เป็น รพ.สต.ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) และสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.) 10,174 แห่ง โดยเป้าหมายโรงพยาบาลทุกระดับจะต้องลดอัตราป่วยตาย ค่าใช้จ่าย พัฒนามาตรฐานการบริการ และให้ประชาชนเข้าถึงการบริการ และต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในเขตบริการสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ สังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ เบื้องต้นได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ สธ.แต่ละเขตไปหารือกับโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยในสัปดาห์หน้า และกลับมาจัดทำแผนงานกำหนดบทบาทหน้าที่ ความต้องการของแต่ละเขตบริการสุขภาพว่า แห่งไหนจะมีศูนย์เฉพาะทางด้านใดบ้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแผนการลงทุนที่ทาง สธ.จัดทำเพื่อเสนอรัฐบาลในการทำเมกะโปรเจกต์พัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับประเทศ จะมีการลงทุนพื้นฐานในสถานบริการ (รพ.) 33,000 ล้านบาท ลงทุนใน Service plan แผนบริการสุขภาพ 21,000 ล้านบาท และลงทุนในเมดิคัลฮับอีก 46,000 ล้านบาท รวมประมาณการลงทุน 100,000 ล้านบาท