ASTVผู้จัดการรายวัน - ถกกันไม่จบ เรื่องมูลค่าคูปองทีวีดิจิตอล ได้แค่ 4 แนวทางเบื้องต้นนำคูปองไปใช้ โดย กสท.นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 เม.ย.นี้ คาดทำให้การแจกคูปองเลื่อนไปเป็นต้นเดือนก.ค.57
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ประชุมยังคงไม่สามารถได้ข้อสรุปเรื่องหลักเกณฑ์ และรายละเอียดการแจกคูปองเงินเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทยทั้ง 22 ล้านครัวเรือนซึ่งเป็นนโยบายสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของกสทช.เนื่องจากยังมีความเห็นแตกต่างใน 2 ประเด็นคือ 1. มูลค่าของคูปอง และ2.การรับชมผ่านกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะต้องสามารถรับชมโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลสำหรับบริการประเภทชุมชมได้ ส่งผลทำให้ต้องมีการประชุมบอร์ดกสท.นัดพิเศษในช่วงเย็นวันที่ 22 เม.ย.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้เบื้องต้นคาดว่าจะไม่สามารถนำวาระเรื่องคูปองเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.ในวันที่ 23 เม.ย.ได้ทันซึ่งจะส่งผลให้กรอบระยะเวลาในการแจกคูปองเดิมที่กำหนดไว้ล่าช้าออกไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ คือ ราวปลายเดือนมิ.ย.หรือต้นเดือนก.ค.2557 เนื่องจากใน 2 ประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจะต้องทำให้ทุกอย่างเคลียร์ให้เรียบร้อยหมดอย่างรอบคอบ เพราะเป็นประเด็นที่อ่อนไหวได้ง่ายโดยเฉพาะเรื่องของมูลค่าคูปอง
“ยอมรับว่าการแจกคูปองสนับสนุนของกสทช.ในครั้งนี้ก็เป็นเสมือนการกำหนดอนาคตของ ตลาดไปด้วย ดังนั้นกสทช.จะต้องออกแบบตลาดในวันนี้ให้ดี และรอบคอบที่สุด”
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นที่ประชุมได้สรุปเงื่อนไขกำหนดแนวทางการนำคูปองไปแลกซื้อ 4 แนวทางประกอบด้วย 1.ทีวีเครื่องใหม่ที่สามารถรองรับระบบดิจิตอลในเครื่อง 2.กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน(DVB-T2) หรือ เซ็ตท็อปบอกซ์ทีวีดิจิตอล 3. กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่รับสัญญาณผ่านระบบดาวเทียม และ4.กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่ผ่านสาย และระบบเคเบิล
โดยแนวทางที่ 3. และ 4. หากผู้ประกอบการสนใจอยากจะเข้าร่วมให้ได้รับการสนับสนุนจากกสทช. จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 3 ข้อคือ 1.กล่องรับสัญญาณดังกล่าวจะต้องสามารถรับชมในระบบความคมชัดสูง (HD) ได้ 2. จะต้องมีการจัดเรียงช่องรายการโทรทัศน์ตามที่กสทช.กำหนดทั้ง 36 ช่องรายการ คือช่อง 1- 12 สำหรับบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจตั้งแต่ ช่อง13-36 และ3.กล่องรับสัญญาณจะต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่กล่องของผู้ประกอบการคือต้องเป็นกล่องรับสัญญาณที่ขายขาดโดยไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนนั่นเอง
“จุดยืนของกสทช.คือต้องการให้ประชาชนสามารถรับบริการทีวีดิจิตอลได้ทั้งหมดทุกช่องทาง ไม่ใช่เฉพาะอาศัยประกาศการเผยแพร่กิจการโทรทัศน์เป็นการทั่วไป หรือ Must Carry เท่านั้น แต่ก็ไม่ต้องการเข้าไปทำลายอุตสาหกรรมดาวเทียม และเคเบิลทีวีด้วย”
ส่วนกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมจานดำแบบFee-to-airนั้น กสทช.จะไม่ได้ครอบคลุมรวมไปถึงด้วยเนื่องจากเป็นการแข่งขันในตลาดเดียวกับโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
พ.อ.นที กล่าวว่าส่วนประเด็นเรื่องทีวีชุมชนที่ยังไม่ได้ข้อสรุปนั้นตนมองว่าทีวีชุมชนจะเกิดได้นั้นก็ต่อเมื่อไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อก ซึ่งล่าสุดไทยพีบีเอสก็ออกมาเปิดเผยว่าจะยุติออกอากาศได้ต้องอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ1. หลังจากที่มีการให้บริการทีวีดิจิตอลในพื้นที่แล้วราว 1-2 ปี และ2.ประชาชนในพื้นที่จะต้องรับชมทีวีดิจิตอลได้อย่างน้อย 95%ของจำนวนประชากรในพื้นที่
อนึ่งปัจจุบันประชาชนจำนวนมากรับชมโทรทัศน์ผ่านทางจานดาวเทียม และเคเบิลทีวี ดังนั้นการแลกคูปองจะต้องครอบคลุมไปถึงกล่องรับสัญญาณดังกล่าวด้วย อาทิ กล่องรับสัญญาณพีเอสไอ และกล่องจีเอ็มเอ็มที่ไม่ต้องเสียค่าบริการแบบรายเดือน แต่ที่สำคัญกล่องรับสัญญาณดังกล่าวต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กสทช.กำหนดด้วยทั้ง 3 ข้อ ส่วนกล่องรับสัญญาณที่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนอาทิกล่องทรูวิชั่นถือว่าไม่ได้อยู่ในเงื่อนการแลกคูปองแต่อย่างใด
ด้านน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ขอโทษผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวหลังการประชุมบอร์ดกสท. เมื่อวันนี้ 21 เม.ย. หลังไม่ได้ข้อสรุปรูปแบบกล่องรับสัญญาณ เนื่องจากข้อกังวลของตนเอง ที่อยากให้กล่องรับสัญญาณสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 48 ช่อง เปิดทางทีวีดิจิตอลชุมชนเกิดอย่างเป็นรูปธรรมก่อนหมดวาระ
“ความคิดเห็นของทุกฝ่ายได้มีการถกเถียงในที่ประชุมบอร์ด กสท.เช้าวันนี้ (21เม.ย.) แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เลยยังไม่ได้ข้อสรุป ไว้รอท่านประธานแถลง เรื่องนี้เรื่องใหญ่เราไม่อยากจบลงด้วยการโหวต แต่เนื่องจากยังหามติเอกฉันท์ไม่ได้ เลยขอเลื่อนไปพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ (22 เม.ย.) และอาจจะส่งผลให้ไม่ทันส่งเรื่องเข้าบอร์ด กสทช.ที่จะประชุมในวันพุธที่ 23 เม.ย. สุดท้ายถ้าต้องลงมติจริงๆแล้วดิฉันยังมีความเห็นต่างอยู่ ก็จะทำบันทึกสงวนความเห็นไว้ เพื่อให้เรื่องเดินหน้าไปได้ รอฟังพรุ่งนี้อีกครั้ง”
“ไม่ได้ตั้งใจทำให้กระบวนการล่าช้าแต่มีบางประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ก็ลำบากใจ โดยจุดยืนดิฉันคือทุกกล่องต้องรับได้ 48 ช่องรวมทีวีชุมชน หากแต่ข้อจำกัดของกล่องทีวีดาวเทียม S2 คือไม่สามารถรับทีวีดิจิตอลชุมชนได้ สำหรับดิฉันคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จึงยังลงมติไม่ได้ เงื่อนไขเรื่องอื่นๆยอมรับได้แล้ว แต่ส่วนตัวคาใจเรื่องS2 รับทีวีชุมชนไม่ได้ ขออภัยที่ทำให้กระบวนการล่าช้า”
“คนที่จะได้ประโยชน์จากกล่อง pay TV คือคนชั้นกลาง ส่วนทีวีชุมชนภาคพื้นคือโอกาสของคนท้องถิ่น กสทช. มีหน้าที่ต้องส่งเสริมด้วยเช่นกัน และถ้าครัวเรือนรับทีวีชุมชนไม่ได้ โอกาสในการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนของภาคประชาชนที่จะคานดุลกับทีวีสาธารณะและทีวีธุรกิจก็จะล่าช้าออกไป ในวาระที่เหลือของการเป็น กสทช. ดิฉันอยากเห็นการจัดสรรคลื่นทีวีชุมชนเกิดขึ้น เรื่องนี้จึงผูกพันเรื่องคูปอง เป็น critical point ในการตัดสินใจ”
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ประชุมยังคงไม่สามารถได้ข้อสรุปเรื่องหลักเกณฑ์ และรายละเอียดการแจกคูปองเงินเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทยทั้ง 22 ล้านครัวเรือนซึ่งเป็นนโยบายสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของกสทช.เนื่องจากยังมีความเห็นแตกต่างใน 2 ประเด็นคือ 1. มูลค่าของคูปอง และ2.การรับชมผ่านกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะต้องสามารถรับชมโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลสำหรับบริการประเภทชุมชมได้ ส่งผลทำให้ต้องมีการประชุมบอร์ดกสท.นัดพิเศษในช่วงเย็นวันที่ 22 เม.ย.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้เบื้องต้นคาดว่าจะไม่สามารถนำวาระเรื่องคูปองเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.ในวันที่ 23 เม.ย.ได้ทันซึ่งจะส่งผลให้กรอบระยะเวลาในการแจกคูปองเดิมที่กำหนดไว้ล่าช้าออกไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ คือ ราวปลายเดือนมิ.ย.หรือต้นเดือนก.ค.2557 เนื่องจากใน 2 ประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจะต้องทำให้ทุกอย่างเคลียร์ให้เรียบร้อยหมดอย่างรอบคอบ เพราะเป็นประเด็นที่อ่อนไหวได้ง่ายโดยเฉพาะเรื่องของมูลค่าคูปอง
“ยอมรับว่าการแจกคูปองสนับสนุนของกสทช.ในครั้งนี้ก็เป็นเสมือนการกำหนดอนาคตของ ตลาดไปด้วย ดังนั้นกสทช.จะต้องออกแบบตลาดในวันนี้ให้ดี และรอบคอบที่สุด”
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นที่ประชุมได้สรุปเงื่อนไขกำหนดแนวทางการนำคูปองไปแลกซื้อ 4 แนวทางประกอบด้วย 1.ทีวีเครื่องใหม่ที่สามารถรองรับระบบดิจิตอลในเครื่อง 2.กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน(DVB-T2) หรือ เซ็ตท็อปบอกซ์ทีวีดิจิตอล 3. กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่รับสัญญาณผ่านระบบดาวเทียม และ4.กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่ผ่านสาย และระบบเคเบิล
โดยแนวทางที่ 3. และ 4. หากผู้ประกอบการสนใจอยากจะเข้าร่วมให้ได้รับการสนับสนุนจากกสทช. จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 3 ข้อคือ 1.กล่องรับสัญญาณดังกล่าวจะต้องสามารถรับชมในระบบความคมชัดสูง (HD) ได้ 2. จะต้องมีการจัดเรียงช่องรายการโทรทัศน์ตามที่กสทช.กำหนดทั้ง 36 ช่องรายการ คือช่อง 1- 12 สำหรับบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจตั้งแต่ ช่อง13-36 และ3.กล่องรับสัญญาณจะต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่กล่องของผู้ประกอบการคือต้องเป็นกล่องรับสัญญาณที่ขายขาดโดยไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนนั่นเอง
“จุดยืนของกสทช.คือต้องการให้ประชาชนสามารถรับบริการทีวีดิจิตอลได้ทั้งหมดทุกช่องทาง ไม่ใช่เฉพาะอาศัยประกาศการเผยแพร่กิจการโทรทัศน์เป็นการทั่วไป หรือ Must Carry เท่านั้น แต่ก็ไม่ต้องการเข้าไปทำลายอุตสาหกรรมดาวเทียม และเคเบิลทีวีด้วย”
ส่วนกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมจานดำแบบFee-to-airนั้น กสทช.จะไม่ได้ครอบคลุมรวมไปถึงด้วยเนื่องจากเป็นการแข่งขันในตลาดเดียวกับโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
พ.อ.นที กล่าวว่าส่วนประเด็นเรื่องทีวีชุมชนที่ยังไม่ได้ข้อสรุปนั้นตนมองว่าทีวีชุมชนจะเกิดได้นั้นก็ต่อเมื่อไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อก ซึ่งล่าสุดไทยพีบีเอสก็ออกมาเปิดเผยว่าจะยุติออกอากาศได้ต้องอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ1. หลังจากที่มีการให้บริการทีวีดิจิตอลในพื้นที่แล้วราว 1-2 ปี และ2.ประชาชนในพื้นที่จะต้องรับชมทีวีดิจิตอลได้อย่างน้อย 95%ของจำนวนประชากรในพื้นที่
อนึ่งปัจจุบันประชาชนจำนวนมากรับชมโทรทัศน์ผ่านทางจานดาวเทียม และเคเบิลทีวี ดังนั้นการแลกคูปองจะต้องครอบคลุมไปถึงกล่องรับสัญญาณดังกล่าวด้วย อาทิ กล่องรับสัญญาณพีเอสไอ และกล่องจีเอ็มเอ็มที่ไม่ต้องเสียค่าบริการแบบรายเดือน แต่ที่สำคัญกล่องรับสัญญาณดังกล่าวต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กสทช.กำหนดด้วยทั้ง 3 ข้อ ส่วนกล่องรับสัญญาณที่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนอาทิกล่องทรูวิชั่นถือว่าไม่ได้อยู่ในเงื่อนการแลกคูปองแต่อย่างใด
ด้านน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ขอโทษผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวหลังการประชุมบอร์ดกสท. เมื่อวันนี้ 21 เม.ย. หลังไม่ได้ข้อสรุปรูปแบบกล่องรับสัญญาณ เนื่องจากข้อกังวลของตนเอง ที่อยากให้กล่องรับสัญญาณสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 48 ช่อง เปิดทางทีวีดิจิตอลชุมชนเกิดอย่างเป็นรูปธรรมก่อนหมดวาระ
“ความคิดเห็นของทุกฝ่ายได้มีการถกเถียงในที่ประชุมบอร์ด กสท.เช้าวันนี้ (21เม.ย.) แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เลยยังไม่ได้ข้อสรุป ไว้รอท่านประธานแถลง เรื่องนี้เรื่องใหญ่เราไม่อยากจบลงด้วยการโหวต แต่เนื่องจากยังหามติเอกฉันท์ไม่ได้ เลยขอเลื่อนไปพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ (22 เม.ย.) และอาจจะส่งผลให้ไม่ทันส่งเรื่องเข้าบอร์ด กสทช.ที่จะประชุมในวันพุธที่ 23 เม.ย. สุดท้ายถ้าต้องลงมติจริงๆแล้วดิฉันยังมีความเห็นต่างอยู่ ก็จะทำบันทึกสงวนความเห็นไว้ เพื่อให้เรื่องเดินหน้าไปได้ รอฟังพรุ่งนี้อีกครั้ง”
“ไม่ได้ตั้งใจทำให้กระบวนการล่าช้าแต่มีบางประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ก็ลำบากใจ โดยจุดยืนดิฉันคือทุกกล่องต้องรับได้ 48 ช่องรวมทีวีชุมชน หากแต่ข้อจำกัดของกล่องทีวีดาวเทียม S2 คือไม่สามารถรับทีวีดิจิตอลชุมชนได้ สำหรับดิฉันคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จึงยังลงมติไม่ได้ เงื่อนไขเรื่องอื่นๆยอมรับได้แล้ว แต่ส่วนตัวคาใจเรื่องS2 รับทีวีชุมชนไม่ได้ ขออภัยที่ทำให้กระบวนการล่าช้า”
“คนที่จะได้ประโยชน์จากกล่อง pay TV คือคนชั้นกลาง ส่วนทีวีชุมชนภาคพื้นคือโอกาสของคนท้องถิ่น กสทช. มีหน้าที่ต้องส่งเสริมด้วยเช่นกัน และถ้าครัวเรือนรับทีวีชุมชนไม่ได้ โอกาสในการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนของภาคประชาชนที่จะคานดุลกับทีวีสาธารณะและทีวีธุรกิจก็จะล่าช้าออกไป ในวาระที่เหลือของการเป็น กสทช. ดิฉันอยากเห็นการจัดสรรคลื่นทีวีชุมชนเกิดขึ้น เรื่องนี้จึงผูกพันเรื่องคูปอง เป็น critical point ในการตัดสินใจ”