ASTVผู้จัดการรายวัน - ลุ้นวันนี้ “กกต.” ประกาศรับรอง ส.ว.ล็อตแรก ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียน คาดได้ไม่เกิน 65 จังหวัด ส่งผลให้ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ที่จะเข้าไปรวมส.ว.สรรหายังไม่ถึง 95% ที่จะทำหน้าที่ได้ เปิด 16 จว.ติดหล่มถูกร้อง “หญิงเป็ด” ติดบ่วงด้วย
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กกต. วันนี้ (8 เม.ย.) จะมีการพิจารณาประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ส.ว.ล็อตแรก ในส่วนที่ไม่มีการร้องคัดค้าน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประกาศผลในส่วนนี้ภายใน 7 วันทำการนับจากวันเลือกตั้ง ซึ่งจะครบในวันที่ 9 เม.ย. ส่วนที่เหลือคือมีคำร้องค้างอยู่จะต้องประกาศรับรองภายใน 30 วันนับจากวันเลือกตั้ง
“เราจะตัดเส้นตายการรับคำร้องคัดค้านก่อนการประกาศรับรองผลไว้ใน 10.00 น. วันที่ 8 เม.ย. นี้ก่อนจะเริ่มการประชุม กกต. แล้วจะตรวจสอบอีกทีว่ามีคำร้องทั้งสิ้นกี่คำร้อง จากเมื่อวันเสาร์ที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมามีอยู่ 25 คำร้อง” นายภุชงค์ ระบุ
แหล่งข่าวระดับสูงใน กกต. เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ กกต. มีแนวโน้มที่จะประกาศรับรองได้ไม่เกิน 65 จังหวัด ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ที่เมื่อรวมกับ ส.ว. สรรหาที่มีเดิมแล้วจะทำให้มีส.ว.รวมร้อยละ 95 จากทั้งหมดที่พึงมีจนสามารถที่จะทำให้เปลี่ยนชุดกับ ส.ว. เลือกตั้งชุดเดิมตามกฎหมาย ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ส.ว.เลือกตั้งที่ได้รับการรับรองผลจาก กกต. แล้ว ก็จะสามารถไปรายงานตัวกับวุฒิสภาเพื่อรอการปฏิบัติหน้าที่เมื่อครบ 95 % ต่อไป
แหล่งข่าวระบุอีกว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. มีคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศรวมแล้ว 30 - 40 เรื่อง โดยในจำนวนนี้มีการร้องผู้ทีได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.มาด้วยคะแนนสูงสุด 16 จังหวัด ประกอบด้วย 1.กรุงเทพมหานคร ร้อง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 2.แม่ฮ่องสอน ร้อง นายสุรพล สันติโชตินันท์ 3. ลำปาง ร้อง นายวราวุฒิ หน่อคำ
4.ลำพูน ร้อง นายตรี ด่านไพบูลย์ 5.เพชรบูรณ์ ร้องนายพิพัฒน์ชัย ภัครัชตานนท์ 6.แพร่ ร้อง ด.ต.บุหลัน ราษฎร์คำพรรณ์ 7.ลพบุรี ร้อง นายประทวน สุทธิอำนวยเดช 8.สิงห์บุรี ร้องนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ 9.สมุทรปราการ ร้อง น.ส.วราภรณ์ อัศวเหม 10.ระนอง ร้อง นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ 11.สุราษฎรธานี ร้อง นายสุจินต์ แช่มน้อย 12 ชัยภูมิ ร้อง นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย 13.ศรีสะเกษ ร้อง น.ส.วีลดา อินฉัตร 14.หนองบังลำภู ร้อง นายประภาส นวนสำลี 15. อำนาจเจริญ ร้อง นางญาณีนาถ เข็มนาค และ 16.อุบลราชธานี ร้อง นายสมชาย เหล่าสายเชื้อ
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ข้อหาต่างๆที่ร้องเข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำผิดกฎหมายเรื่องอื่น ๆ ซึ่งน่าแปลกมากที่แทบไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการซื้อเสียง และหลายกรณีเป็นการร้องเพิ่มในผู้สมัครคนเดียวเพราะเมื่อรู้ว่าได้รับคะแนนสูงสุดก็กลัวคำร้องเดิมขาดน้ำหนัก ร้องในจังหวัดแล้วไม่พอก็มาร้องที่ กทม.อีก ทำให้ กกต.ต้องเพิ่มงานเพราะรับเรื่องแล้วก็ต้องส่งเรื่องกลับไปให้ทางจังหวัดพิจารณาก่อน
“กฎหมายที่ถูกแก้ไขภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นการแก้ไขบนความไม่ไว้วางใจ กกต. ทำให้อำนาจการให้ใบแดงของ กกต. ปฏิบัติได้ยากในความเป็นจริง เพราะแม้กฎหมายจะให้เวลา กกต. 30 วันในการพิจารณาการให้ใบแดงและเลือกตั้งใหม่ แต่ก็กำหนดเงื่อนไขให้ต้องส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบซึ่งต้องเผื่อเวลาให้ 5 วัน จากนั้นหากเห็นพ้องกับ กกต. ให้เป็นใบแดงก็ต้องเผื่อเวลาให้จัดการเลือกตั้งอีก 7 วัน รวมแล้ว กกต. คงต้องตัดสินใจก่อนวันที่ 15 เม.ย. นี้ถึงจะทันกระบวนการให้มีการเลือกตั้งใหมได้ 1 ครั้งก่อนประกาศรับรองผล”
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โดยข้อเท็จจริงหลังวันลงคะแนนเลือกตั้งหากมีเรื่องที่ร้องเข้ามาแล้ว กกต. รับคำร้อง มักยากมากที่จะดำเนินกระบวนการสืบสวนสอบสวน เปิดให้ผู้ถูกร้องชี้แจงข้อกล่าวหา เสนอพยาน สอบพยาน และจัดให้เลือกตั้งใหม่ให้ทันใน 30 วัน ทำให้ กกต. ต้องประกาศรับรองไปก่อนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสอยในภายหลัง
“ดังนั้นใครที่เข้าใจว่าร้องคัดค้านเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ อะไรที่สัพเพเหระก็ระดมร้องกันเข้ามา หวังว่าจะทำให้ผู้ถูกร้องมีโอกาสถูก กกต. พิจารณาตัดสิทธิ์มากขึ้น แต่ความจริงตรงกันข้าม เพราะผู้ถูกร้องรายเดียวกันหากร้องมาก่อนและ กกต. มีเวลาพิจารณาก่อนวันเลือกตั้งแต่กลับมีการร้องเพิ่มเข้ามาก่อนการตัดสิน กกต. ก็ต้องรวมคำร้องเป็นเรื่องเดียวกันและสืบสวนสอบสวนเรื่องที่ร้องเข้ามาใหม่ ซึ่งจะพลอยทำให้การใช้อำนาจของ กกต. ในการให้ใบแดงตัดสิทธิ์ทำไม่ทันใน 30 วัน และจะกลายเป็นกรณีให้ใบแดงภายหลังซึ่งต้องรอการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งซึ่งยิ่งจะยืดยาวออกไปอีก” แหล่งข่าวระบุ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กกต. วันนี้ (8 เม.ย.) จะมีการพิจารณาประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ส.ว.ล็อตแรก ในส่วนที่ไม่มีการร้องคัดค้าน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประกาศผลในส่วนนี้ภายใน 7 วันทำการนับจากวันเลือกตั้ง ซึ่งจะครบในวันที่ 9 เม.ย. ส่วนที่เหลือคือมีคำร้องค้างอยู่จะต้องประกาศรับรองภายใน 30 วันนับจากวันเลือกตั้ง
“เราจะตัดเส้นตายการรับคำร้องคัดค้านก่อนการประกาศรับรองผลไว้ใน 10.00 น. วันที่ 8 เม.ย. นี้ก่อนจะเริ่มการประชุม กกต. แล้วจะตรวจสอบอีกทีว่ามีคำร้องทั้งสิ้นกี่คำร้อง จากเมื่อวันเสาร์ที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมามีอยู่ 25 คำร้อง” นายภุชงค์ ระบุ
แหล่งข่าวระดับสูงใน กกต. เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ กกต. มีแนวโน้มที่จะประกาศรับรองได้ไม่เกิน 65 จังหวัด ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ที่เมื่อรวมกับ ส.ว. สรรหาที่มีเดิมแล้วจะทำให้มีส.ว.รวมร้อยละ 95 จากทั้งหมดที่พึงมีจนสามารถที่จะทำให้เปลี่ยนชุดกับ ส.ว. เลือกตั้งชุดเดิมตามกฎหมาย ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ส.ว.เลือกตั้งที่ได้รับการรับรองผลจาก กกต. แล้ว ก็จะสามารถไปรายงานตัวกับวุฒิสภาเพื่อรอการปฏิบัติหน้าที่เมื่อครบ 95 % ต่อไป
แหล่งข่าวระบุอีกว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. มีคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศรวมแล้ว 30 - 40 เรื่อง โดยในจำนวนนี้มีการร้องผู้ทีได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.มาด้วยคะแนนสูงสุด 16 จังหวัด ประกอบด้วย 1.กรุงเทพมหานคร ร้อง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 2.แม่ฮ่องสอน ร้อง นายสุรพล สันติโชตินันท์ 3. ลำปาง ร้อง นายวราวุฒิ หน่อคำ
4.ลำพูน ร้อง นายตรี ด่านไพบูลย์ 5.เพชรบูรณ์ ร้องนายพิพัฒน์ชัย ภัครัชตานนท์ 6.แพร่ ร้อง ด.ต.บุหลัน ราษฎร์คำพรรณ์ 7.ลพบุรี ร้อง นายประทวน สุทธิอำนวยเดช 8.สิงห์บุรี ร้องนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ 9.สมุทรปราการ ร้อง น.ส.วราภรณ์ อัศวเหม 10.ระนอง ร้อง นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ 11.สุราษฎรธานี ร้อง นายสุจินต์ แช่มน้อย 12 ชัยภูมิ ร้อง นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย 13.ศรีสะเกษ ร้อง น.ส.วีลดา อินฉัตร 14.หนองบังลำภู ร้อง นายประภาส นวนสำลี 15. อำนาจเจริญ ร้อง นางญาณีนาถ เข็มนาค และ 16.อุบลราชธานี ร้อง นายสมชาย เหล่าสายเชื้อ
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ข้อหาต่างๆที่ร้องเข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำผิดกฎหมายเรื่องอื่น ๆ ซึ่งน่าแปลกมากที่แทบไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการซื้อเสียง และหลายกรณีเป็นการร้องเพิ่มในผู้สมัครคนเดียวเพราะเมื่อรู้ว่าได้รับคะแนนสูงสุดก็กลัวคำร้องเดิมขาดน้ำหนัก ร้องในจังหวัดแล้วไม่พอก็มาร้องที่ กทม.อีก ทำให้ กกต.ต้องเพิ่มงานเพราะรับเรื่องแล้วก็ต้องส่งเรื่องกลับไปให้ทางจังหวัดพิจารณาก่อน
“กฎหมายที่ถูกแก้ไขภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นการแก้ไขบนความไม่ไว้วางใจ กกต. ทำให้อำนาจการให้ใบแดงของ กกต. ปฏิบัติได้ยากในความเป็นจริง เพราะแม้กฎหมายจะให้เวลา กกต. 30 วันในการพิจารณาการให้ใบแดงและเลือกตั้งใหม่ แต่ก็กำหนดเงื่อนไขให้ต้องส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบซึ่งต้องเผื่อเวลาให้ 5 วัน จากนั้นหากเห็นพ้องกับ กกต. ให้เป็นใบแดงก็ต้องเผื่อเวลาให้จัดการเลือกตั้งอีก 7 วัน รวมแล้ว กกต. คงต้องตัดสินใจก่อนวันที่ 15 เม.ย. นี้ถึงจะทันกระบวนการให้มีการเลือกตั้งใหมได้ 1 ครั้งก่อนประกาศรับรองผล”
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โดยข้อเท็จจริงหลังวันลงคะแนนเลือกตั้งหากมีเรื่องที่ร้องเข้ามาแล้ว กกต. รับคำร้อง มักยากมากที่จะดำเนินกระบวนการสืบสวนสอบสวน เปิดให้ผู้ถูกร้องชี้แจงข้อกล่าวหา เสนอพยาน สอบพยาน และจัดให้เลือกตั้งใหม่ให้ทันใน 30 วัน ทำให้ กกต. ต้องประกาศรับรองไปก่อนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสอยในภายหลัง
“ดังนั้นใครที่เข้าใจว่าร้องคัดค้านเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ อะไรที่สัพเพเหระก็ระดมร้องกันเข้ามา หวังว่าจะทำให้ผู้ถูกร้องมีโอกาสถูก กกต. พิจารณาตัดสิทธิ์มากขึ้น แต่ความจริงตรงกันข้าม เพราะผู้ถูกร้องรายเดียวกันหากร้องมาก่อนและ กกต. มีเวลาพิจารณาก่อนวันเลือกตั้งแต่กลับมีการร้องเพิ่มเข้ามาก่อนการตัดสิน กกต. ก็ต้องรวมคำร้องเป็นเรื่องเดียวกันและสืบสวนสอบสวนเรื่องที่ร้องเข้ามาใหม่ ซึ่งจะพลอยทำให้การใช้อำนาจของ กกต. ในการให้ใบแดงตัดสิทธิ์ทำไม่ทันใน 30 วัน และจะกลายเป็นกรณีให้ใบแดงภายหลังซึ่งต้องรอการตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งซึ่งยิ่งจะยืดยาวออกไปอีก” แหล่งข่าวระบุ