นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่ประชุม กกต. ได้มีการพิจารณากรณีพรรคการเมืองมีหนังสือหารือว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พรรคการเมือง และผู้สมัครส.ส. สามารถที่จะจัดพิธีรดน้ำดำหัว และมอบสิ่งของได้หรือไม่ ซึ่งกกต.เห็นว่า การจัดพิธีรดน้ำดำหัวเป็นประเพณีที่ดี สามารถดำเนินการได้ แต่การมอบสิ่งของต่าง พรรการเมือง และนักการเมืองพึงระมัดระวัง ว่าจะต้องเป็นสิ่งของที่ไม่มีมูลค่ามาก และ ไม่เป็นไปตามประเพณี เพราะแม้ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่พระราชกฤษฎีกายุบสภายังคงอยู่ ซึ่งกกต.มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. กกต. รวมถึง พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ต้องควบคุมดูแลให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเป็นไปด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม
ดังนั้นหากมีการแจกสิ่งของในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยไม่เป็นไปตามประเพณี ก็จะอาจจะทำให้เกิดการร้องเรียน และกลายเป็นสำนวนที่ต้องเชิญผู้ที่ถูกร้องมาชี้แจง
" ตามประเพณีสงกรานต์ ซึ่งจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การจะแจกสิ่งของเช่น ผ้าขาวม้า ผ้าถุง หรือน้ำอบ ติดป้ายชื่อ หรือสัญลักษณ์ของพรรคสามารถทำได้ เพราะถือเป็นการแจกสิ่งของตามประเพณี แต่ทั้งนี้การแจกสิ่งของที่มูลค่ามาก ก็ต้องพึ่งระมัดระวังเพราะอาจถูกร้องว่าไม่ได้เป็นตามประเพณี แต่เป็นการหวังผลในการเลือกตั้ง”
ทั้งนายภุชงค์ ยังกล่าวถึงการเชิญหัวหน้าหน่วยงานความมั่นคง มาหารือในวันที่ 8 เม.ย. เพื่อประเมินสถานการณ์สำหรับการจัดการเลือกตั้งใหม่ ว่า เพราะกกต. ต้องการรับฟังการประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริง พร้อมทั้งหารือถึงการเตรียมการก่อน ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง รวมทั้งเพื่อให้การประสานงานในการจัดการเลืออกตั้งเกิดประสิทธิภาพ จึงอยากขอให้หัวหน้าหน่วยงานฯเดินทางมาประชุมร่วมกับกกต.ด้วยตนเอง
เลขาธิการกกต.ยังยืนยันว่า ในวันที่ 8 เม.ย.กกต. จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ว. ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียน โดยจะมีการพิจารณาในช่วงเช้าและประกาศผลหลัง 12.00 เบื้องต้นมีเรื่องร้องเรียนรวม 22 เรื่องแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนสูงสุดกี่คน เพราะไม่อยากให้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะที่จะมีการเปิดประชุมวุฒิสภาเพื่อถอดถอนนักการเมือง ว่าจำนวนผู้ที่จะไม่ได้รับการรับรองส่งผลต่อจำนวนองค์ ประชุมของส.ว.ที่จะเปิดประชุมได้ตามกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า สำหรับเรื่องร้องเรียน 22 เรื่องนั้นมีจำนวนการร้องผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมาด้วยคะแนนสูงสุดไม่ถึง 7 คน จึงไม่น่าจะมีผลให้ไม่สามารถประชุมสมาชิกวุฒิสภาได้ ซึ่งใช้กฎหมายเทียบเคียงส.ส. ที่ว่าจะเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 95ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่พึ่งมี
** ปชป.ยังไม่เคาะเลือกตั้งหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ในวันนี้ตนได้เข้ามาติดตามงานประชุมใหญ่สามัญประจำปีเรื่อง10 ฐานราก พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่ 28-29 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวันอังคารที่ 8 เม.ย.นี้ ตนจะนัดประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านนโยบายและกรรมการบริหารพรรค โดยในเชิงนโยบายจะเป็นเรื่องพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศทั้งหมด และจะใช้วิธีการนำเสนอให้ประชาชนได้รับทราบเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น เพราะว่ารายละเอียดมีความคืบหน้าไปมาก และมีการรวมเรื่องของการปฏิรูป และเรื่องของนโยบายให้เห็นภาพอนาคตประเทศ ซึ่งคิดว่าขณะนี้น่าจะลงตัวแล้ว ส่วนจะมีการลงหรือไม่ลงเลือกตั้งอย่างไรนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการหารือภายในพรรค เพราะทุกคนเข้าใจดีว่าต้องมีกระบวนการพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาพูดคุยกัน ซึ่งทุกคนในพรรคเข้าใจดีว่า สิ่งที่ประชาธิปัตย์ต้องการคือ การเลือกตั้งที่เรียบร้อย ซึ่งเงื่อนไขที่จะเป็นไปได้ก็ยังมองไม่เห็นทาง นอกจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ต้องมีการพูดคุยกัน และนำประเด็นต่าง ๆ มาวางให้เกิดความชัดเจน หากน.ส.ยิ่งลักษณ์และนายสุเทพ ได้ทำอย่างที่เคยเสนอกันไว้ และมาเริ่มต้นกระบวนการจะเป็นแนวทางการหาคำตอบในเรื่องของการเลือกตั้งกับการปฏิรูปได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ที่กกต.จะนัดหารือในพรรคการเมืองนั้น พรรคปชป.จะเข้าร่วมหรือไม่ นายภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากกต.เป็นผู้นัด พรรคจะเข้าร่วมหารือเพราะที่ผ่านมาเราให้การร่วมมือมาโดยตลอด ซึ่งความคิดเห็นเราจะอยู่ในจุดเดิม แต่ตนหวังว่า ในวันนั้น จะมีบางฝ่ายขยับเพื่อให้เกิดการพูดคุยให้ได้มากขึ้น
ดังนั้นหากมีการแจกสิ่งของในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยไม่เป็นไปตามประเพณี ก็จะอาจจะทำให้เกิดการร้องเรียน และกลายเป็นสำนวนที่ต้องเชิญผู้ที่ถูกร้องมาชี้แจง
" ตามประเพณีสงกรานต์ ซึ่งจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การจะแจกสิ่งของเช่น ผ้าขาวม้า ผ้าถุง หรือน้ำอบ ติดป้ายชื่อ หรือสัญลักษณ์ของพรรคสามารถทำได้ เพราะถือเป็นการแจกสิ่งของตามประเพณี แต่ทั้งนี้การแจกสิ่งของที่มูลค่ามาก ก็ต้องพึ่งระมัดระวังเพราะอาจถูกร้องว่าไม่ได้เป็นตามประเพณี แต่เป็นการหวังผลในการเลือกตั้ง”
ทั้งนายภุชงค์ ยังกล่าวถึงการเชิญหัวหน้าหน่วยงานความมั่นคง มาหารือในวันที่ 8 เม.ย. เพื่อประเมินสถานการณ์สำหรับการจัดการเลือกตั้งใหม่ ว่า เพราะกกต. ต้องการรับฟังการประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริง พร้อมทั้งหารือถึงการเตรียมการก่อน ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง รวมทั้งเพื่อให้การประสานงานในการจัดการเลืออกตั้งเกิดประสิทธิภาพ จึงอยากขอให้หัวหน้าหน่วยงานฯเดินทางมาประชุมร่วมกับกกต.ด้วยตนเอง
เลขาธิการกกต.ยังยืนยันว่า ในวันที่ 8 เม.ย.กกต. จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ว. ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียน โดยจะมีการพิจารณาในช่วงเช้าและประกาศผลหลัง 12.00 เบื้องต้นมีเรื่องร้องเรียนรวม 22 เรื่องแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนสูงสุดกี่คน เพราะไม่อยากให้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะที่จะมีการเปิดประชุมวุฒิสภาเพื่อถอดถอนนักการเมือง ว่าจำนวนผู้ที่จะไม่ได้รับการรับรองส่งผลต่อจำนวนองค์ ประชุมของส.ว.ที่จะเปิดประชุมได้ตามกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า สำหรับเรื่องร้องเรียน 22 เรื่องนั้นมีจำนวนการร้องผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมาด้วยคะแนนสูงสุดไม่ถึง 7 คน จึงไม่น่าจะมีผลให้ไม่สามารถประชุมสมาชิกวุฒิสภาได้ ซึ่งใช้กฎหมายเทียบเคียงส.ส. ที่ว่าจะเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 95ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่พึ่งมี
** ปชป.ยังไม่เคาะเลือกตั้งหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ในวันนี้ตนได้เข้ามาติดตามงานประชุมใหญ่สามัญประจำปีเรื่อง10 ฐานราก พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่ 28-29 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวันอังคารที่ 8 เม.ย.นี้ ตนจะนัดประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านนโยบายและกรรมการบริหารพรรค โดยในเชิงนโยบายจะเป็นเรื่องพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศทั้งหมด และจะใช้วิธีการนำเสนอให้ประชาชนได้รับทราบเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น เพราะว่ารายละเอียดมีความคืบหน้าไปมาก และมีการรวมเรื่องของการปฏิรูป และเรื่องของนโยบายให้เห็นภาพอนาคตประเทศ ซึ่งคิดว่าขณะนี้น่าจะลงตัวแล้ว ส่วนจะมีการลงหรือไม่ลงเลือกตั้งอย่างไรนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการหารือภายในพรรค เพราะทุกคนเข้าใจดีว่าต้องมีกระบวนการพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาพูดคุยกัน ซึ่งทุกคนในพรรคเข้าใจดีว่า สิ่งที่ประชาธิปัตย์ต้องการคือ การเลือกตั้งที่เรียบร้อย ซึ่งเงื่อนไขที่จะเป็นไปได้ก็ยังมองไม่เห็นทาง นอกจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ต้องมีการพูดคุยกัน และนำประเด็นต่าง ๆ มาวางให้เกิดความชัดเจน หากน.ส.ยิ่งลักษณ์และนายสุเทพ ได้ทำอย่างที่เคยเสนอกันไว้ และมาเริ่มต้นกระบวนการจะเป็นแนวทางการหาคำตอบในเรื่องของการเลือกตั้งกับการปฏิรูปได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ที่กกต.จะนัดหารือในพรรคการเมืองนั้น พรรคปชป.จะเข้าร่วมหรือไม่ นายภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากกต.เป็นผู้นัด พรรคจะเข้าร่วมหารือเพราะที่ผ่านมาเราให้การร่วมมือมาโดยตลอด ซึ่งความคิดเห็นเราจะอยู่ในจุดเดิม แต่ตนหวังว่า ในวันนั้น จะมีบางฝ่ายขยับเพื่อให้เกิดการพูดคุยให้ได้มากขึ้น