**ป้ายปลุกระดมที่ผุดขึ้นทั่วประเทศในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรม “ความยุติธรรมไม่มี สามัคคีไม่เกิด”หรือ “ไม่เอารัฐประหารโดย ตลก.” เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ขบวนการใต้ดินเล่นนอกกฎหมายออกลายข่มขู่ทั้งศาล องค์กรอิสระ และคนไทยทั่วประเทศ ว่า
หาก"ความยุติธรรมไม่สามารถยุติที่ความพึงพอใจของระบอบทักษิณได้ บ้านเมืองนี้ก็อย่าหวังว่าจะยุติความวุ่นวายได้เลย"
สิ่งสำคัญที่จะประคับประคองเพื่อเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่ระบอบทักษิณกำลังจะล่มสลายลงให้เกิดความเสียหายต่อชาติน้อยที่สุด ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องช่วยกันคิด
ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 ก.ค. 2533 ความว่า
**“ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางที่จะแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ ก็ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้หลาย ๆ คน หลาย ๆทางด้วยความร่วมมือปรองดองกันปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางและบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน”
จะเห็นได้ว่า การเมืองล้มเหลวที่กำลังจะนำบ้านเมืองไปสู่ความล้มละลายมีส่วนสำคัญมาจากการไร้สำนึกความรับผิดชอบขาดธรรมาภิบาลของผู้มีอำนาจ ในขณะที่สังคมส่วนใหญ่นิ่งดูดายปล่อยให้คนชั่วส่งเสียง ส่วนคนดีเงียบเฉย เพราะเกรงว่าภัยจะมาถึงตัว แม้จะมีประชาชนจำนวนมากที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อขจัดความชั่วร้ายออกจากสังคมไทย แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ยังมีคนอีกจำนวนมากเช่นกันที่เห็นว่า ธุระไม่ใช่ พอใจกับการดำรงชีวิตตามปกติของตัวเองไปวัน ๆ โดยลืมคิดไปว่า “หากชาติไม่มีอนาคตแล้ว คนไทยจะมีอนาคตได้อย่างไร”
ขณะเดียวกัน ทุกภาคส่วนที่ล้วนแต่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศก็ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาเต็มความสามารถ เพื่อให้เครื่องยนต์ที่ชื่อประเทศไทยเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การโยนความรับผิดชอบกันไปมาระหว่าง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผ่านคำให้การของ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. จากการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะหรือไม่ และการโจมตีตอบโต้กันหลังศาลฯ สั่งเลือกตั้งเป็นโมฆะ เป็นอีกบทสะท้อนที่แสดงให้เห็นว่า
บุคลากรที่ทำหน้าที่สำคัญในบ้านเมืองยังหมกมุ่นอยู่กับการปกป้องตัวเองมากกว่าที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยพยายามที่จะกันตัวเองออกจากความผิดมากกว่าการหาทางออกให้กับบ้านเมือง
**สถานการณ์ต่อจากนี้จะยิ่งทวีความแหลมคมมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีใครรู้ว่า “คม” นั้นจะบาดชาติจนร้าวลึกอีกมากขนาดไหนเพราะ “ใบสั่ง”จากนักโทษชัดเจนแล้วว่า “ลั่นกลองรบ”ประกาศทำศึกสงครามกับ คนไทย และระบบตรวจสอบ
ไม่เว้นแม้กระทั่งอำนาจของฝ่ายตุลาการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในยามนี้ทุกภาคส่วนที่อยู่ในกลไกขับเคลื่อนประเทศจึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาการทำหน้าที่ของตัวเองว่าได้ทำอย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วหรือยัง เพราะหากทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองโดยสุจริตก็จะช่วยนำพาชาติบ้านเมืองออกจาก“หลุมดำ” ที่ระบอบทักษิณขุดเป็นกับดักประเทศได้
ศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำหน้าที่สำคัญในการวินิจฉัยเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จากพฤติกรรมบริหารประเทศและการใช้อำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในหลายกรณี ต่อจากประเด็นร้อนที่สุดในขณะนี้คือ คำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะไปเมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา
ส่วนป.ป.ช.กำลังจะชี้มูลความผิด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในเรื่องโกงจำนำข้าว และอีกหลายคดี ที่รอต่อคิวยาวเป็นหางว่าว
ขณะที่ กกต. ก็ต้องพิจารณาถึงการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในหลายประเด็น ทั้งพฤติกรรมการใช้อำนาจของตัว ยิ่งลักษณ์ การใช้สื่อรัฐของคนในพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานสำคัญให้เกิดแนวปฏิบัติที่ถูกต้องของผู้มีอำนาจในระหว่างที่มีประกาศพ.ร.ฎ. ยุบสภา
และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การทำหน้าที่ของศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ตัดสินเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับบ้านเมืองภายใต้ข้อเท็จจริงและกรอบของกฎหมาย เพราะในขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ปกครองประเทศด้วย “รัฐตำรวจ” องค์กรสีกากีกลายเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณในการใช้กฎหมายทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้าม ปกป้องพรรคพวกตัวเอง ใช้ ดีเอสไอ เป็นกองกำลังพิเศษจัดการศัตรูทางการเมืองไม่เว้นแม้แต่ประชาชนโดยปล่อยปละละเลยให้นักเลงออกมาอาละวาดได้ตามใจชอบ ย่อมเป็นความท้าทายไปถึงศาลสถิตยุติธรรมว่า จะยุติกระบวนการยุติธรรมตั้งต้นที่กำลังล้มเหลวอยู่ในขณะนี้ได้ อย่างไรตามกรอบภาระหน้าที่ที่พึงมีและพึงกระทำ
**การเปลี่ยนแปลงตัวประธาน นปช.จาก ธิดา ถาวรเศรษฐ์ มาเป็น จตุพร พรหมพันธุ์ พร้อมกับบทบาทหัวหมู่ทะลวงฟันที่ จตุพร ถูกวางตัวให้เดินหน้าท้าชนองค์กรอิสระ ศาล และสังคมไทย อยู่ในขณะนี้นั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของศาลอาญา ที่จะต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมของจตุพรรวมถึงแกนนำเสื้อแดงคนอื่นเข้าข่ายขัดเงื่อนไขการประกันตัวและต้องมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวหรือไม่
หากยังจำกันได้ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยยื่นคำร้องขอให้มีการถอนประกันตัว ก่อแก้ว พิกุลทอง สำเร็จมาแล้ว โดยศาลอาญามีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 56 ว่า ก่อแก้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว มีพฤติกรรมปราศรัยข่มขู่กดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จงใจยั่วยุ ปลุกปั่น สร้างความวุ่นวาย จนต้องเดินคอตกเข้าซังเตมาแล้ว
แต่น่าประหลาดใจ ที่ศาลอาญากลับยกคำร้องของ สาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยื่นคำร้องให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวจตุพร และณัฐวุฒิ โดยศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ร้อง (สาธิต) ไม่ได้เป็นคู่ความ หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีแต่อย่างใดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จึงให้ยกคำร้อง
แต่กรณีดังกล่าวถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ให้ข้อมูลกล่าวอ้างแก่ศาลว่าบุคคลทั้งสองกระทำการอันเข้าข่ายฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวของศาลจึงเห็นควรไต่สวนพยานหลักฐานให้ได้ความเป็นที่กระจ่างชัดว่าเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของศาลหรือไม่ โดยให้นัดไต่สวนในวันที่ 18 เม.ย.นี้ เวลา 9.30 น.
ทำให้มีคำถามว่า ทำไม นิพิฏฐ์ ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อแก้วเช่นเดียวกับที่สาธิต ไม่ได้เป็นคู่กรณีของ จตุพรและณัฐวุฒิแต่ศาลกลับรับคำร้องไว้พิจารณาจนกระทั่งสุดท้ายมีคำสั่งให้เพิกถอนการประกันตัวของก่อแก้วตามมา
ส่วนกรณีจตุพร และณัฐวุฒิ ศาลกลับยกคำร้อง แต่ยังนัดที่จะไต่สวนคำร้องนี้โดยทอดเวลาออกไปนานกว่า1 เดือนซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยยะสำคัญ
**คนไทยเรามีสุภาษิตเป็นเครื่องเตือนใจมากมาย อาทิ ตัดไฟแต่ต้นลม แต่น่าเสียดายที่เรามักปล่อยให้ไฟโหมกระพือลามไปทั่วจนดับไม่ได้แล้ว ค่อยตาลีตาเหลือกวิ่งหาน้ำมาดับไฟ จึงหวังว่าในสถานการณ์คับขันของชาติทุกฝ่ายจะทำหน้าที่ตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่ไฟจะเผาผลาญชาติจนวายวอดกันไปทั้งประเทศ
หาก"ความยุติธรรมไม่สามารถยุติที่ความพึงพอใจของระบอบทักษิณได้ บ้านเมืองนี้ก็อย่าหวังว่าจะยุติความวุ่นวายได้เลย"
สิ่งสำคัญที่จะประคับประคองเพื่อเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่ระบอบทักษิณกำลังจะล่มสลายลงให้เกิดความเสียหายต่อชาติน้อยที่สุด ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องช่วยกันคิด
ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 ก.ค. 2533 ความว่า
**“ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางที่จะแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ ก็ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้หลาย ๆ คน หลาย ๆทางด้วยความร่วมมือปรองดองกันปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางและบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน”
จะเห็นได้ว่า การเมืองล้มเหลวที่กำลังจะนำบ้านเมืองไปสู่ความล้มละลายมีส่วนสำคัญมาจากการไร้สำนึกความรับผิดชอบขาดธรรมาภิบาลของผู้มีอำนาจ ในขณะที่สังคมส่วนใหญ่นิ่งดูดายปล่อยให้คนชั่วส่งเสียง ส่วนคนดีเงียบเฉย เพราะเกรงว่าภัยจะมาถึงตัว แม้จะมีประชาชนจำนวนมากที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อขจัดความชั่วร้ายออกจากสังคมไทย แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ยังมีคนอีกจำนวนมากเช่นกันที่เห็นว่า ธุระไม่ใช่ พอใจกับการดำรงชีวิตตามปกติของตัวเองไปวัน ๆ โดยลืมคิดไปว่า “หากชาติไม่มีอนาคตแล้ว คนไทยจะมีอนาคตได้อย่างไร”
ขณะเดียวกัน ทุกภาคส่วนที่ล้วนแต่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศก็ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาเต็มความสามารถ เพื่อให้เครื่องยนต์ที่ชื่อประเทศไทยเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การโยนความรับผิดชอบกันไปมาระหว่าง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผ่านคำให้การของ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. จากการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะหรือไม่ และการโจมตีตอบโต้กันหลังศาลฯ สั่งเลือกตั้งเป็นโมฆะ เป็นอีกบทสะท้อนที่แสดงให้เห็นว่า
บุคลากรที่ทำหน้าที่สำคัญในบ้านเมืองยังหมกมุ่นอยู่กับการปกป้องตัวเองมากกว่าที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยพยายามที่จะกันตัวเองออกจากความผิดมากกว่าการหาทางออกให้กับบ้านเมือง
**สถานการณ์ต่อจากนี้จะยิ่งทวีความแหลมคมมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีใครรู้ว่า “คม” นั้นจะบาดชาติจนร้าวลึกอีกมากขนาดไหนเพราะ “ใบสั่ง”จากนักโทษชัดเจนแล้วว่า “ลั่นกลองรบ”ประกาศทำศึกสงครามกับ คนไทย และระบบตรวจสอบ
ไม่เว้นแม้กระทั่งอำนาจของฝ่ายตุลาการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในยามนี้ทุกภาคส่วนที่อยู่ในกลไกขับเคลื่อนประเทศจึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาการทำหน้าที่ของตัวเองว่าได้ทำอย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วหรือยัง เพราะหากทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองโดยสุจริตก็จะช่วยนำพาชาติบ้านเมืองออกจาก“หลุมดำ” ที่ระบอบทักษิณขุดเป็นกับดักประเทศได้
ศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำหน้าที่สำคัญในการวินิจฉัยเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จากพฤติกรรมบริหารประเทศและการใช้อำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในหลายกรณี ต่อจากประเด็นร้อนที่สุดในขณะนี้คือ คำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะไปเมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา
ส่วนป.ป.ช.กำลังจะชี้มูลความผิด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในเรื่องโกงจำนำข้าว และอีกหลายคดี ที่รอต่อคิวยาวเป็นหางว่าว
ขณะที่ กกต. ก็ต้องพิจารณาถึงการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในหลายประเด็น ทั้งพฤติกรรมการใช้อำนาจของตัว ยิ่งลักษณ์ การใช้สื่อรัฐของคนในพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานสำคัญให้เกิดแนวปฏิบัติที่ถูกต้องของผู้มีอำนาจในระหว่างที่มีประกาศพ.ร.ฎ. ยุบสภา
และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การทำหน้าที่ของศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ตัดสินเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับบ้านเมืองภายใต้ข้อเท็จจริงและกรอบของกฎหมาย เพราะในขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ปกครองประเทศด้วย “รัฐตำรวจ” องค์กรสีกากีกลายเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณในการใช้กฎหมายทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้าม ปกป้องพรรคพวกตัวเอง ใช้ ดีเอสไอ เป็นกองกำลังพิเศษจัดการศัตรูทางการเมืองไม่เว้นแม้แต่ประชาชนโดยปล่อยปละละเลยให้นักเลงออกมาอาละวาดได้ตามใจชอบ ย่อมเป็นความท้าทายไปถึงศาลสถิตยุติธรรมว่า จะยุติกระบวนการยุติธรรมตั้งต้นที่กำลังล้มเหลวอยู่ในขณะนี้ได้ อย่างไรตามกรอบภาระหน้าที่ที่พึงมีและพึงกระทำ
**การเปลี่ยนแปลงตัวประธาน นปช.จาก ธิดา ถาวรเศรษฐ์ มาเป็น จตุพร พรหมพันธุ์ พร้อมกับบทบาทหัวหมู่ทะลวงฟันที่ จตุพร ถูกวางตัวให้เดินหน้าท้าชนองค์กรอิสระ ศาล และสังคมไทย อยู่ในขณะนี้นั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของศาลอาญา ที่จะต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมของจตุพรรวมถึงแกนนำเสื้อแดงคนอื่นเข้าข่ายขัดเงื่อนไขการประกันตัวและต้องมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวหรือไม่
หากยังจำกันได้ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยยื่นคำร้องขอให้มีการถอนประกันตัว ก่อแก้ว พิกุลทอง สำเร็จมาแล้ว โดยศาลอาญามีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 56 ว่า ก่อแก้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว มีพฤติกรรมปราศรัยข่มขู่กดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จงใจยั่วยุ ปลุกปั่น สร้างความวุ่นวาย จนต้องเดินคอตกเข้าซังเตมาแล้ว
แต่น่าประหลาดใจ ที่ศาลอาญากลับยกคำร้องของ สาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยื่นคำร้องให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวจตุพร และณัฐวุฒิ โดยศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ร้อง (สาธิต) ไม่ได้เป็นคู่ความ หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีแต่อย่างใดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จึงให้ยกคำร้อง
แต่กรณีดังกล่าวถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ให้ข้อมูลกล่าวอ้างแก่ศาลว่าบุคคลทั้งสองกระทำการอันเข้าข่ายฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวของศาลจึงเห็นควรไต่สวนพยานหลักฐานให้ได้ความเป็นที่กระจ่างชัดว่าเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของศาลหรือไม่ โดยให้นัดไต่สวนในวันที่ 18 เม.ย.นี้ เวลา 9.30 น.
ทำให้มีคำถามว่า ทำไม นิพิฏฐ์ ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อแก้วเช่นเดียวกับที่สาธิต ไม่ได้เป็นคู่กรณีของ จตุพรและณัฐวุฒิแต่ศาลกลับรับคำร้องไว้พิจารณาจนกระทั่งสุดท้ายมีคำสั่งให้เพิกถอนการประกันตัวของก่อแก้วตามมา
ส่วนกรณีจตุพร และณัฐวุฒิ ศาลกลับยกคำร้อง แต่ยังนัดที่จะไต่สวนคำร้องนี้โดยทอดเวลาออกไปนานกว่า1 เดือนซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยยะสำคัญ
**คนไทยเรามีสุภาษิตเป็นเครื่องเตือนใจมากมาย อาทิ ตัดไฟแต่ต้นลม แต่น่าเสียดายที่เรามักปล่อยให้ไฟโหมกระพือลามไปทั่วจนดับไม่ได้แล้ว ค่อยตาลีตาเหลือกวิ่งหาน้ำมาดับไฟ จึงหวังว่าในสถานการณ์คับขันของชาติทุกฝ่ายจะทำหน้าที่ตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่ไฟจะเผาผลาญชาติจนวายวอดกันไปทั้งประเทศ