วานนี้ (18 มี.ค.) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ (ภตช.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ภตช. กู้ชาติ รักษาแผ่นดิน ขจัดสิ้นคอร์รัปชัน เพื่อแสดงจุดยืนต่อสาธารณะ และเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆโดยขอให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน และให้ผู้บริหารประเทศ ต้องยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ยึดมั่นผลประโยชน์ชาติ และขอให้เร่งเข้าร่วม และลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 โดยให้ถือว่าการทุจริตทุกรูปแบบเป็นอาชญากรรม ส่วนนักการเมืองทุกพรรคต้องร่วมลงสัตยาบัน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อนโยบายการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน และอีกหลายกรณี ได้แก่
1. การทุจริตจัดซื้อ จัดจ้างครุภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งปี 53-55 วงเงิน 5,223 ล้านบาท (SP2) ที่ล่าสุด มติ อ.ก.พ.สกศ. มีมติปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตเลขา สอศ. ออกจากราชการไปแล้ว แต่กระบวนการทำทุจริตดังกล่าวยังพบผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. ที่ได้ลงนามในสัญญา และจ่ายเงินในโครงการดังกล่าว มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้อง ควรได้รับการตรวจสอบด้วย เช่นกัน
2. กรณีที่มีข่าวว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถือครองที่ดิน ซึ่งส่อว่าจะเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อสร้างบ้านพักต่างอากาศ และโฮมสเตย์ ชื่อว่า ฟีออร์เร่ ปาร์ค เลขที่ 444 หมู่ 1 บ้านกระหาด ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นั้น เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 55 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ตรวจสอบ พบการบุกรุกออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ ในนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่พบชื่อของ นายธาริต และนางวรรษมน เพ็งดิษฐ์ เป็นผู้ถือครองที่ดิน ทั้งที่ไม่ใช่เกษตรกร
ดังนั้นในกรณีของนายธาริตนั้น เข้าข่ายการบุกรุกพื้นที่ป่า ลักษณะเดียวกันกับกรณีของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เมื่อปี 2550 ดังนั้น
นายธาริต ควรส่งคืนที่ดินให้กรมป่าไม้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
แถลงการณ์ของ ภตช. ระบุด้วยว่า หน่วยงานภาครัฐ ควรเร่งรัดการจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นรายได้แผ่นดิน และปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด อย่าให้มีช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มจำนวน นอกจากนั้น ควรมีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บค่าภาคหลวงในพลังงานปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มฐานการจัดเก็บจากปัจจุบัน ที่มีเพียงร้อยละ 5-12 เท่านั้น และขอให้หน่วยงานของกระทรวงการคลัง ติดตามและตรวจสอบการเก็บภาษีกับองค์กรที่มีการเคลื่อนไหว อาทิ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.), กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, องค์การพิทักษ์สยาม, ชมรมคนรักอุดร, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), กองทัพธรรม, กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ, กลุ่มกปปส. เป็นต้น เพราะองค์กรดังกล่าวได้ใช้เงินจำนวนมากเพื่อการเคลื่อนไหว โดยไม่ทราบแหล่งที่มา และแกนนำขององค์กรดังกล่าวนั้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เพื่อให้เป็น มาตรฐานเดียวกันกับที่ ภตช. เคยถูกกระทรวงการคลัง ตรวจสอบเรื่องภาษีของหน่วยงาน
แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า กรณี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 55 ที่สำนักงานศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบังได้ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัท มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พบว่า ผู้นำเข้าสำแดง TOYOTA CKD COMPOMENT PARTS โดยแยกสำแดงชนิดสินค้า และประเภทพิกัดขั้นตอน และใช้สิทธิ์ยกเว้นอากร และอัตราอากร และยกเว้นอากร และลดอัตราอากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ถูกต้อง โดยรถยนต์โตโยต้า รุ่น พรีอูซส์ ไม่สามารถแยกชำระอากรตามรายชนิดสินค้าได้ และพบการนำเข้าสินค้าและเสียภาษีไม่ถูกต้องเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัทโตโยต้า และเป็นประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จึงควรออกมายอมรับ และแยกแยะต่อประเด็นผลประโยชน์ชาติ แยกออกจากธุรกิจ และควรแสดงจุดยืนในฐานะประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)
1. การทุจริตจัดซื้อ จัดจ้างครุภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งปี 53-55 วงเงิน 5,223 ล้านบาท (SP2) ที่ล่าสุด มติ อ.ก.พ.สกศ. มีมติปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตเลขา สอศ. ออกจากราชการไปแล้ว แต่กระบวนการทำทุจริตดังกล่าวยังพบผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. ที่ได้ลงนามในสัญญา และจ่ายเงินในโครงการดังกล่าว มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้อง ควรได้รับการตรวจสอบด้วย เช่นกัน
2. กรณีที่มีข่าวว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถือครองที่ดิน ซึ่งส่อว่าจะเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อสร้างบ้านพักต่างอากาศ และโฮมสเตย์ ชื่อว่า ฟีออร์เร่ ปาร์ค เลขที่ 444 หมู่ 1 บ้านกระหาด ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นั้น เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 55 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ตรวจสอบ พบการบุกรุกออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ ในนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่พบชื่อของ นายธาริต และนางวรรษมน เพ็งดิษฐ์ เป็นผู้ถือครองที่ดิน ทั้งที่ไม่ใช่เกษตรกร
ดังนั้นในกรณีของนายธาริตนั้น เข้าข่ายการบุกรุกพื้นที่ป่า ลักษณะเดียวกันกับกรณีของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เมื่อปี 2550 ดังนั้น
นายธาริต ควรส่งคืนที่ดินให้กรมป่าไม้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
แถลงการณ์ของ ภตช. ระบุด้วยว่า หน่วยงานภาครัฐ ควรเร่งรัดการจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นรายได้แผ่นดิน และปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด อย่าให้มีช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มจำนวน นอกจากนั้น ควรมีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บค่าภาคหลวงในพลังงานปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มฐานการจัดเก็บจากปัจจุบัน ที่มีเพียงร้อยละ 5-12 เท่านั้น และขอให้หน่วยงานของกระทรวงการคลัง ติดตามและตรวจสอบการเก็บภาษีกับองค์กรที่มีการเคลื่อนไหว อาทิ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.), กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, องค์การพิทักษ์สยาม, ชมรมคนรักอุดร, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), กองทัพธรรม, กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ, กลุ่มกปปส. เป็นต้น เพราะองค์กรดังกล่าวได้ใช้เงินจำนวนมากเพื่อการเคลื่อนไหว โดยไม่ทราบแหล่งที่มา และแกนนำขององค์กรดังกล่าวนั้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เพื่อให้เป็น มาตรฐานเดียวกันกับที่ ภตช. เคยถูกกระทรวงการคลัง ตรวจสอบเรื่องภาษีของหน่วยงาน
แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า กรณี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 55 ที่สำนักงานศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบังได้ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัท มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พบว่า ผู้นำเข้าสำแดง TOYOTA CKD COMPOMENT PARTS โดยแยกสำแดงชนิดสินค้า และประเภทพิกัดขั้นตอน และใช้สิทธิ์ยกเว้นอากร และอัตราอากร และยกเว้นอากร และลดอัตราอากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ถูกต้อง โดยรถยนต์โตโยต้า รุ่น พรีอูซส์ ไม่สามารถแยกชำระอากรตามรายชนิดสินค้าได้ และพบการนำเข้าสินค้าและเสียภาษีไม่ถูกต้องเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัทโตโยต้า และเป็นประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จึงควรออกมายอมรับ และแยกแยะต่อประเด็นผลประโยชน์ชาติ แยกออกจากธุรกิจ และควรแสดงจุดยืนในฐานะประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)