วานนี้ (17มี.ค.) นายไทกร พลสุวรรณ และ นายเศวต ทินกูล แกนนำเครือข่ายกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ(กปท.) เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย โฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้พิจารณา และเสนอเรื่องพร้อมความเห็น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244 และ มาตรา 245 ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณี กกต.ไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง 2ก.พ.57 จนทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 และ มาตรา 172 ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี ที่ยังคงอยู่หลัง 30 วัน นับแต่วันที่ไม่สามารถเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกได้ เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ และหากรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยังคงรักษาการต่อไป จะรักษาการไปถึงเมื่อใด เนื่องจากขณะนี้บ้านเมืองเกิดวิกฤตทางการเมืองรุนแรง มีความพยายามที่จะแบ่งแยกประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาดังกล่าว โดยตนได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยกคำร้อง เนื่องจากยื่นไม่ถูกช่องทาง จึงต้องมาขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตบ้านเมือง
ขณะเดียวกัน นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาชน (กวป.) ก็ได้ยื่นหนังสือขอให้ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ชี้แจงกรณีจะประชุม และแถลงข่าวทางออกประเทศในวันนี้ ( 17 มี.ค.) ว่าเป็นการนำภาษีประชาชนมาใช้โดยสิ้นเปลืองหรือไม่ ทั้งที่ประชาชนยังประสบสภาวะเดือดร้อน ชาวนายังไมได้รับเงินจำนำข้าว ซึ่งองค์กรที่เข้าร่วม ก็ไม่น่าเชื่อถือ ทั้งสิ่งที่จะทำก็เกินอำนาจหน้าที่ ที่รัฐธรรมนูญกำหนด รวมทั้งเห็นว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ พวกพ้องและตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า กรณีที่ขอให้ 7 องค์กรอิสระ ชี้แจงที่มาของการประชุมหาทางออกประเทศนั้น ก็จะได้นำหนังสือส่งให้กับที่ประชุมทราบ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะมาให้ผู้ตรวจดำเนินการตรวจสอบอะไร เพียงแต่มีการขอใช้สถานทีเท่านั้น ส่วนคำร้องของนายไทกร นั้น ในวัที่ 18 มี.ค. จะมีการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ตนก็จะได้แจ้งต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณาต่อไป
**คปท.จี้"นิคม -อนันต์"ยุติปฏิบัติหน้าที่
ในวันเดียวกันนี้ กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดย นายนิติธร ล้ำเหลือ และ นายอุทัย ยอดมณี พร้อมมวลชนไปชุมนุมที่หน้าอาคารรัฐสภา เพื่อเตรียมยื่นหนังสือถึงนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และ นายอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ รองประธานวุฒิสภา ให้ยุติการทำหน้าที่ รวมทั้งยื่นหนังสือถึง เลขาธิการวุฒิสภา ในเรื่องเดียวกัน โดยเอกสารของกลุ่มคปท. ที่ยื่นนั้น ระบุถึงหนังสือของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ที่อ้างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า ประธาน และรองประธานวุฒิสภา ย่อมสามารถที่จะดำรงตำแหน่ง จนถึงก่อนวันเลือกประธาน และรองประธานวุฒิสภาใหม่นั้น เป็นการตีความคลาดเคลื่อน เพื่อประโยชน์ให้กับประธาน และรองประธานวุฒิสภา ซึ่งทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณประจำตำแหน่ง จึงขอให้ทบทวนแนวทางดังกล่าว แต่ภายหลังมีการแถลงท่าทีแล้ว ยังไม่มีใครมารับหนังสือ ทางแกนนำจึงประกาศให้ผู้ชุมนุมนำแท่งปูน มาปิดทางเข้าออกรัฐสภาไว้ ทำให้ นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจภายนอก ต้องรีบเดินทางมารับหนังสือจากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุมพอใจ และเดินทางออกจากรัฐสภาไป
** กกต.สรุปคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงาน กกต. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรวบรวมเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการขัดขวางการเลือกตั้งส.ส. ทั้งในส่วนของการขัดขวางการรับสมัครส.ส. ทั่วประเทศ รวมถึงการฟ้องร้องทางแพ่ง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่น ดินแดง และคดีต่างๆที่ กกต.ถูกฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีทั้งสิ้น 170 กว่าคดี และ ยืนยันว่ากกต. จะดำเนินการให้เร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาชน (กวป.) ก็ได้ยื่นหนังสือขอให้ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ชี้แจงกรณีจะประชุม และแถลงข่าวทางออกประเทศในวันนี้ ( 17 มี.ค.) ว่าเป็นการนำภาษีประชาชนมาใช้โดยสิ้นเปลืองหรือไม่ ทั้งที่ประชาชนยังประสบสภาวะเดือดร้อน ชาวนายังไมได้รับเงินจำนำข้าว ซึ่งองค์กรที่เข้าร่วม ก็ไม่น่าเชื่อถือ ทั้งสิ่งที่จะทำก็เกินอำนาจหน้าที่ ที่รัฐธรรมนูญกำหนด รวมทั้งเห็นว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ พวกพ้องและตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า กรณีที่ขอให้ 7 องค์กรอิสระ ชี้แจงที่มาของการประชุมหาทางออกประเทศนั้น ก็จะได้นำหนังสือส่งให้กับที่ประชุมทราบ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะมาให้ผู้ตรวจดำเนินการตรวจสอบอะไร เพียงแต่มีการขอใช้สถานทีเท่านั้น ส่วนคำร้องของนายไทกร นั้น ในวัที่ 18 มี.ค. จะมีการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ตนก็จะได้แจ้งต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณาต่อไป
**คปท.จี้"นิคม -อนันต์"ยุติปฏิบัติหน้าที่
ในวันเดียวกันนี้ กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดย นายนิติธร ล้ำเหลือ และ นายอุทัย ยอดมณี พร้อมมวลชนไปชุมนุมที่หน้าอาคารรัฐสภา เพื่อเตรียมยื่นหนังสือถึงนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และ นายอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ รองประธานวุฒิสภา ให้ยุติการทำหน้าที่ รวมทั้งยื่นหนังสือถึง เลขาธิการวุฒิสภา ในเรื่องเดียวกัน โดยเอกสารของกลุ่มคปท. ที่ยื่นนั้น ระบุถึงหนังสือของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ที่อ้างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า ประธาน และรองประธานวุฒิสภา ย่อมสามารถที่จะดำรงตำแหน่ง จนถึงก่อนวันเลือกประธาน และรองประธานวุฒิสภาใหม่นั้น เป็นการตีความคลาดเคลื่อน เพื่อประโยชน์ให้กับประธาน และรองประธานวุฒิสภา ซึ่งทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณประจำตำแหน่ง จึงขอให้ทบทวนแนวทางดังกล่าว แต่ภายหลังมีการแถลงท่าทีแล้ว ยังไม่มีใครมารับหนังสือ ทางแกนนำจึงประกาศให้ผู้ชุมนุมนำแท่งปูน มาปิดทางเข้าออกรัฐสภาไว้ ทำให้ นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจภายนอก ต้องรีบเดินทางมารับหนังสือจากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุมพอใจ และเดินทางออกจากรัฐสภาไป
** กกต.สรุปคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงาน กกต. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรวบรวมเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการขัดขวางการเลือกตั้งส.ส. ทั้งในส่วนของการขัดขวางการรับสมัครส.ส. ทั่วประเทศ รวมถึงการฟ้องร้องทางแพ่ง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่น ดินแดง และคดีต่างๆที่ กกต.ถูกฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีทั้งสิ้น 170 กว่าคดี และ ยืนยันว่ากกต. จะดำเนินการให้เร็วที่สุด