ในขณะที่สถานการณ์ของชาวนาทั่วประเทศกำลังเผชิญกับทุกข์ทับถมทวีในชีวิต จากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล อันเป็นผลพวงจากนโยบายประชานิยมเบ็ดเสร็จที่ไม่มีเงิน (จากการขายหรือไม่ได้ขายข้าว) มาจ่ายชาวนา จึงไม่แปลกใจว่า ทำไมชาวนาตัวจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่มีทุนรอนสำรองชีวิตในระดับน้อย (ไม่ใช่ชาวนาระดับนายทุน) ถูกเบี้ยวเงินจากใบประทวนครั้งแล้วครั้งเล่า จนมีปรากฏการณ์ “ชาวนากระทำอัตวินิบาตกรรม” ตามข่าวร่วม 10 รายแล้ว อันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทยมาก่อนในยุคสังคมเกษตรกรรมที่ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่นำอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และจากปัญหาดังกล่าว จึงเป็นต้นตอของการวิ่งแบบไม่ลืมหูลืมตาเพื่อหาแหล่งเงินกู้ของรัฐบาลรักษาการ เพื่อหาเงินมาใช้หนี้ชาวนา จนเป็นที่สงสัยว่า ทำไมไม่นำเงินจากการขายข้าวมาจ่ายให้ชาวนา แทนที่จะไปหาแหล่งเงินทุนจากการกู้มาชำระหนี้ ก็ไม่แน่ใจว่า วิธีคิดจากการกระทำดังกล่าว จะเข้าข่ายหลอกลวงประชาชนหรือไม่
สภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นไปเพื่อสะท้อนภาพความยากลำบากของชีวิตชาวนา ผู้ซึ่งถูกกระทำจากรัฐบาลรักษาการ ผู้ซึ่งแถลงนโยบายดังกล่าวว่า จะทำทุกอย่างเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนา และจากโจทย์ปัญหานั้น ผู้เขียนจึงได้เชื่อมโยงปัญหาสู่บทเรียนในรายวิชา เพื่อให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมในโครงการ “นั่งรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว ช่วยชาวนา” เมื่อวันเสาร์กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด เข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในสังคม และตอบสนองกิจกรรมการเรียนรู้ตามความมุ่งหมายของสถาบันการศึกษา ที่นอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในภาควิชาการและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว ควรจะส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนอกห้องเรียน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิด เจตคติ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสังคมและสภาพแวดล้อม
กิจกรรมในโครงการ “นั่งรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว ช่วยชาวนา” ได้เดินทางโดยสารรถไฟจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ โดยนำผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ไปร่วมกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวที่บ้านควนกุฎ จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านได้อุทิศพื้นที่นาของตนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรสาธิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกิจกรรมดังกล่าว ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวโดยใช้ “แกละ” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บข้าว ซึ่งเก็บได้ทีละต้น ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้แกละในการเกี่ยวข้าว ทำให้สามารถมองเห็นต้นข้าวที่มีความสมบูรณ์และสามารถคัดเลือกไว้เป็นพันธุ์ข้าวในการปลูกครั้งต่อไปได้ รวมทั้งผู้เรียนได้ทำกิจกรรมคัดพันธุ์ข้าวสำคัญของจังหวัดพัทลุงในแปลงนา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง จนผู้เรียนได้สะท้อนความคิดออกมาว่า การทำนาเป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อยและลำบาก เพราะต้องอดทนสู้กับสภาพอากาศร้อน ดังนั้นผู้บริโภคข้าวควรตระหนักและรับประทานข้าวให้หมดทุกครั้ง เพราะการได้มาซึ่งข้าวแต่ละเมล็ดนั้น ผ่านความยากลำบาก
ผลการสนทนาและอ่านบันทึกของนักศึกษา จากการร่วมกิจกรรมในโครงการ “นั่งรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว ช่วยชาวนา” ทำให้ทราบว่านักศึกษามีความประทับใจที่ได้เรียนรู้นอกสถานที่และได้เรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติจริง รวมทั้งทำให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ ว่าอาชีพทำนา คืออาชีพที่มีเกียรติสูงสุด เพราะเป็นผู้หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในประเทศ
เมื่อได้ทราบจากชาวนาและผู้ใหญ่บ้านว่า ที่นี่ ไม่ได้นำข้าวเข้าโครงการรับจำนำข้าว เพราะส่วนใหญ่ทำนาแบบครบวงจรตามแนวปรัชญาพอเพียง คือปลูกเอง กินเอง ค้าขายกันเองในชุมชน พึ่งตนเองเป็นหลัก ไม่รอพึ่งรัฐมาช่วยเหลือ จึงทำให้ผู้เขียนคิดเห็นว่า อาชีพชาวนาลำบากมากพอแล้ว หากใครคิดโกงหรือกระทำย่ำแย่กับชาวนาซ้ำอีก ขอให้ผลการกระทำเลวร้ายนั้น ย้อนกลับไปสู่ผู้ทำชั่วเถิด
สภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นไปเพื่อสะท้อนภาพความยากลำบากของชีวิตชาวนา ผู้ซึ่งถูกกระทำจากรัฐบาลรักษาการ ผู้ซึ่งแถลงนโยบายดังกล่าวว่า จะทำทุกอย่างเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนา และจากโจทย์ปัญหานั้น ผู้เขียนจึงได้เชื่อมโยงปัญหาสู่บทเรียนในรายวิชา เพื่อให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมในโครงการ “นั่งรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว ช่วยชาวนา” เมื่อวันเสาร์กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด เข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในสังคม และตอบสนองกิจกรรมการเรียนรู้ตามความมุ่งหมายของสถาบันการศึกษา ที่นอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในภาควิชาการและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว ควรจะส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนอกห้องเรียน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการคิด เจตคติ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสังคมและสภาพแวดล้อม
กิจกรรมในโครงการ “นั่งรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว ช่วยชาวนา” ได้เดินทางโดยสารรถไฟจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ โดยนำผู้เรียนจากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ไปร่วมกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวที่บ้านควนกุฎ จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านได้อุทิศพื้นที่นาของตนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรสาธิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกิจกรรมดังกล่าว ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวโดยใช้ “แกละ” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บข้าว ซึ่งเก็บได้ทีละต้น ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้แกละในการเกี่ยวข้าว ทำให้สามารถมองเห็นต้นข้าวที่มีความสมบูรณ์และสามารถคัดเลือกไว้เป็นพันธุ์ข้าวในการปลูกครั้งต่อไปได้ รวมทั้งผู้เรียนได้ทำกิจกรรมคัดพันธุ์ข้าวสำคัญของจังหวัดพัทลุงในแปลงนา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง จนผู้เรียนได้สะท้อนความคิดออกมาว่า การทำนาเป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อยและลำบาก เพราะต้องอดทนสู้กับสภาพอากาศร้อน ดังนั้นผู้บริโภคข้าวควรตระหนักและรับประทานข้าวให้หมดทุกครั้ง เพราะการได้มาซึ่งข้าวแต่ละเมล็ดนั้น ผ่านความยากลำบาก
ผลการสนทนาและอ่านบันทึกของนักศึกษา จากการร่วมกิจกรรมในโครงการ “นั่งรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว ช่วยชาวนา” ทำให้ทราบว่านักศึกษามีความประทับใจที่ได้เรียนรู้นอกสถานที่และได้เรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติจริง รวมทั้งทำให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ ว่าอาชีพทำนา คืออาชีพที่มีเกียรติสูงสุด เพราะเป็นผู้หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในประเทศ
เมื่อได้ทราบจากชาวนาและผู้ใหญ่บ้านว่า ที่นี่ ไม่ได้นำข้าวเข้าโครงการรับจำนำข้าว เพราะส่วนใหญ่ทำนาแบบครบวงจรตามแนวปรัชญาพอเพียง คือปลูกเอง กินเอง ค้าขายกันเองในชุมชน พึ่งตนเองเป็นหลัก ไม่รอพึ่งรัฐมาช่วยเหลือ จึงทำให้ผู้เขียนคิดเห็นว่า อาชีพชาวนาลำบากมากพอแล้ว หากใครคิดโกงหรือกระทำย่ำแย่กับชาวนาซ้ำอีก ขอให้ผลการกระทำเลวร้ายนั้น ย้อนกลับไปสู่ผู้ทำชั่วเถิด