ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นไทยปิดลบ 6 จุด ตามปัจจัยลบในต่างประเทศ หลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาผิดคาด โบรกฯแนะจับตาประเด็น การเมืองส่อร้อนแรงขึ้นอีก จากคำตัดสินพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท พร้อมจับตาการประชุมกนง. กดดันหุ้นผันผวน ด้านนายกสมาคมโบรกฯ ชี้ปัญหาการเมืองทำการซื้อขายในตลาดหุ้นซบเซา คาดกำไร บจ.ทั้งปีต่ำกว่า 10% กดดัชนีหุ้นไทยปีนี้ต่ำกว่าศักยภาพที่สามารถเติบโตได้ดีกว่านี้
ตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10มี.ค.) ปิดที่ระดับ 1,349.05 จุด ลดลง 6.03 จุด หรือ -0.44% มูลค่าการซื้อขาย 30,844.44 ล้านบาท ภาพรวมดัชนีปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ หลังตัวเลขส่งออกของจีนออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ขณะที่การเมืองในประเทศยังคงกดดัน โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 1,355.90 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,338.48 จุด
โดยสถาบันขายสุทธิ 2,938.02 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 2,380.59 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 425.23 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 132.20 ล้านบาท
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยกลับมาให้น้ำหนัก กับปัจจัยต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศหลัก เช่น สหรัฐฯ หรือจีน ส่วนปัจจัยการเมือง ยังไม่มีอะไรคืบหน้า แต่ยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวลงแรงกว่าภูมิภาคของตลาดหุ้นไทย สะท้อนถึงความ เปราะบางของตลาดที่ภาพระยะยาวยังคลุมเครือจากปัญหาการเมือง
ด้านนายยศพณ แสงนิล บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงหลังจากที่ขึ้นมา อย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อน ประกอบกับในวันที่ 12 มี.ค.นี้ จะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่อง พ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท แม้ตลาดจะรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว แต่นักลงทุนยังจับตาอยู่ จึงทำให้ตลาดอาจจะปรับตัวขึ้นได้ไม่มากนัก
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ธนชาต กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้น ทั่วโลก หลังจากที่จีนเปิดเผยว่า ยอดส่งออกของจีนในเดือน ก.พ.57 ร่วงลง 18.1% จากปีก่อน ขณะที่การเมืองในประเทศ ยังไม่ความคืบหน้าอะไรเพิ่มเติม โดยแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(11 มี.ค.) ประเมินว่า ตลาดมีแนวโน้ม sideway ซึ่งยังต้องติดตามการประชุมกนง.ในวันที่ 12 มี.ค. นี้ ว่าจะมีการปรับลด หรือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
***สมาคมโบรกฯ คาดกำไร บจ. ปี 57 ต่ำกว่า 10%
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (บล.) ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ ขณะนี้เป็นปัจจัยหลักส่งผลกระทบต่อแรงซื้อขายในตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลง และเชื่อว่าจะเป็นแบบนี้อีกระยะหนึ่ง แม้ว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีจะมีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยจำนวนมาก และกลับเข้ามา ซื้อสุทธิเดือนมีนาคม ทำให้การไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
แต่เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย จึงคาดการณ์ว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปีนี้ จะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 10 ดังนั้น จึงมองว่าดัชนีตลาดหุ้นปีนี้จะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 1,300 จุด ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพของตลาดหุ้นไทยที่สามารถเติบโตได้ดีกว่านี้
“มองว่าหากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายและการมีรัฐบาลใหม่มีความชัดเจนมากขึ้น จะทำให้การซื้อขายในตลาดหุ้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่รัฐบาลใหม่จะต้องเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาโดยเร็ว รวมทั้งอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้กำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวขึ้น และให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง”
อย่างไรก็ตาม มองว่าการจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 12 มีนาคม 2557 นี้ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศอย่างที่หลายฝ่ายมีความเห็นนั้น จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น เพราะสิ่งที่จะกระตุ้นการบริโภคได้ดีที่สุด คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
ตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10มี.ค.) ปิดที่ระดับ 1,349.05 จุด ลดลง 6.03 จุด หรือ -0.44% มูลค่าการซื้อขาย 30,844.44 ล้านบาท ภาพรวมดัชนีปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ หลังตัวเลขส่งออกของจีนออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ขณะที่การเมืองในประเทศยังคงกดดัน โดยระหว่างวันแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 1,355.90 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,338.48 จุด
โดยสถาบันขายสุทธิ 2,938.02 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 2,380.59 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 425.23 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 132.20 ล้านบาท
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยกลับมาให้น้ำหนัก กับปัจจัยต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศหลัก เช่น สหรัฐฯ หรือจีน ส่วนปัจจัยการเมือง ยังไม่มีอะไรคืบหน้า แต่ยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวลงแรงกว่าภูมิภาคของตลาดหุ้นไทย สะท้อนถึงความ เปราะบางของตลาดที่ภาพระยะยาวยังคลุมเครือจากปัญหาการเมือง
ด้านนายยศพณ แสงนิล บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงหลังจากที่ขึ้นมา อย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อน ประกอบกับในวันที่ 12 มี.ค.นี้ จะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่อง พ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท แม้ตลาดจะรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว แต่นักลงทุนยังจับตาอยู่ จึงทำให้ตลาดอาจจะปรับตัวขึ้นได้ไม่มากนัก
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ธนชาต กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้น ทั่วโลก หลังจากที่จีนเปิดเผยว่า ยอดส่งออกของจีนในเดือน ก.พ.57 ร่วงลง 18.1% จากปีก่อน ขณะที่การเมืองในประเทศ ยังไม่ความคืบหน้าอะไรเพิ่มเติม โดยแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(11 มี.ค.) ประเมินว่า ตลาดมีแนวโน้ม sideway ซึ่งยังต้องติดตามการประชุมกนง.ในวันที่ 12 มี.ค. นี้ ว่าจะมีการปรับลด หรือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
***สมาคมโบรกฯ คาดกำไร บจ. ปี 57 ต่ำกว่า 10%
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (บล.) ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ ขณะนี้เป็นปัจจัยหลักส่งผลกระทบต่อแรงซื้อขายในตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลง และเชื่อว่าจะเป็นแบบนี้อีกระยะหนึ่ง แม้ว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีจะมีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยจำนวนมาก และกลับเข้ามา ซื้อสุทธิเดือนมีนาคม ทำให้การไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
แต่เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกที่จะเข้ามากระตุ้นให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย จึงคาดการณ์ว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปีนี้ จะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 10 ดังนั้น จึงมองว่าดัชนีตลาดหุ้นปีนี้จะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 1,300 จุด ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพของตลาดหุ้นไทยที่สามารถเติบโตได้ดีกว่านี้
“มองว่าหากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายและการมีรัฐบาลใหม่มีความชัดเจนมากขึ้น จะทำให้การซื้อขายในตลาดหุ้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่รัฐบาลใหม่จะต้องเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาโดยเร็ว รวมทั้งอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้กำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวขึ้น และให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง”
อย่างไรก็ตาม มองว่าการจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 12 มีนาคม 2557 นี้ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศอย่างที่หลายฝ่ายมีความเห็นนั้น จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น เพราะสิ่งที่จะกระตุ้นการบริโภคได้ดีที่สุด คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน