ASTVผู้จัดการรายวัน - “ปู” ปากหวานอ้อนเหล่าทัพขอความร่วมมือทำความเข้าใจกับผู้จัดรายการ นำเสนอข่าว “ปึ้ง” อ้าง จะยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ขึ้นอยู่กับม็อบ ด้าน”เหลิม ดาวเทียม” ทำเก่งอัดภาคเอกชนไม่เลิก “องอาจ” แย้มรัฐมีเอี่ยวก่อเหตุรุนแรงรายวัน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหม ที่หอประชุม 80 ปี กองทัพอากาศ โดยก่อนการประชุมนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา พร้อมกล่าวขอบคุณกองทัพที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะการรณรงค์ให้กำลังพล และครอบครัวออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงการเลือกตั้ง ส.ว. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคมนี้ โดยขอให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพ กำชับกำลังพลอย่าตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง และให้ออกมาใช้สิทธิ์ตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังขอความร่วมมือเหล่าทัพที่มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในสังกัด ทำความเข้าใจกับผู้จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ให้ใช้ดุลยพินิจ ความละเอียด และรอบคอบในการนำเสนอข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ตามที่ กสทช. ขอความร่วมมือมา เพื่อให้สาธารณชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
ขณะที่การหารือนอกรอบ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เปิดเผยว่า ได้มีการหารือ ถึงเรื่องการจัดทำบัญชีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายทหารกลางปี ซึ่งคาดว่า ในสัปดาห์หน้าจะสามารถนำส่งให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ภายในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะยังหารือถึง ความเคลื่อนไหวการชุมนุมทางการเมืองของ กลุ่ม กปปส. และการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการแบ่งแยกดินแดนด้วย
**** “ปึ้ง” จ่อยื่นอุทธรณ์ 9 ข้อ
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณี 7 องค์กรภาคเอกชน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า การที่ภาคเอกชนระบุว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นความเสียหายที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณกว่า 8 หมื่นล้านบาท จึงอยากฝากภาคเอกชนทั้ง 7 สถาบันว่า ถ้าภาคเอกชนสามารถสื่อสารกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ให้ยุติการชุมนุมได้ ตนจะได้ทำหน้าที่เดินสายไปสร้างความเชื่อมั่นกับต่างชาติ เพื่อให้กลับมาลงทุนในประเทศไทยเอง
สิ่งที่ภาคเอกชนเรียกร้องนั้น รัฐบาลได้ยิน และพร้อมจะให้การสนับสนุนตามคำขอ แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้ชุมนุมกปปส. จะดำเนินการตามคำเรียกร้องด้วยหรือไม่ หากนายสุเทพ ยังเคลื่อนไหวอยู่อย่างนี้ ตนก็ไม่รู้จะแบกหน้าไปอธิบายให้คนต่างชาติเข้าใจอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ กปปส. ยุบเวทีเหลือเพียงแค่สวนลุมพินีแห่งเดียว จะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ถ้าความวุ่นวายไม่เกิดขึ้น เช่น กรณีมือที่สามเข้ามาสร้างความรุนแรง ขว้างระเบิดใส่ศาลอาญา คิดว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่สภาวะสงบได้ แต่หากเหตุการณ์ยังเป็นอย่างนี้ ในมุมมองของตนจำเป็นต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างต่อเนื่อง แต่ในอนาคตหากเหตุการณ์เบาบางลง การเลือกตั้งเดินหน้าได้ ก็อาจจะยกเลิก
ส่วนคำสั่งศาลแพ่ง 9 ข้อ ภายในสัปดาห์นี้ เราจะยื่นอุทธรณ์ คิดว่าศาลคงต้องพิจารณาใหม่ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า กปปส.ชุมนุมโดยสงบ ที่ศาลแพ่งอ้างไว้ตอนแรก เป็นช่วงเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน
*** “เหลิม”ปากดีอัดภาคเอกชน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณี 7 องค์กรภาคเอกชน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า ตนแสดงความเห็นไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเข้าครม. โดยนายกฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนตนปฏิบัติตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับนี้ บังคับใช้ไม่เข้มข้น เหมือนกับสมัยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เพราะจากคำสั่งห้าม 9 ข้อ ของศาลแพ่ง แทบจะทำอะไรไม่ได้ กปปส.จึงฮึกเหิมเหมือนอันธพาล ถ้า 7 องค์กรภาคเอกชน มีใจเป็นธรรม มีวิจารณญาณ จะไม่ออกมาพูด และ เมื่อปี 53 ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้สมบูรณ์แบบ แล้ว 7 องค์กรนี้ไปอยู่ที่ไหน วันนี้เหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากรัฐบาล แต่เป็นกลุ่มที่อกหักอยากมีอำนาจ ออกมาชุมนุม
“จากข้อห้ามของศาลแพ่ง 7 องค์กรภาคเอกชนได้ตรวจสอบหรือไม่ หรือพูดด้วยความสนุก เอาแต่ได้ ต้องนึกถึงหัวอกรัฐบาลเหมือนกัน เพราะพ.ร.ก.ฉบับนี้ เป็นพ.ร.ก.เป็ดง่อย ไอ้พวกนี้มันวงการเดียวกันหมด จะเอาพรรคพวกมาเป็นนายกฯ 7 องค์กร รับงานมา ทำเป็นธุรกิจการค้ากระทบ ที่มันยุ่งเพราะผู้ชุมนุม ไม่ใช่รัฐบาล”ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า สำหรับกรณีศาลอาญารับคดีญาติผู้ชุมนุมฟ้องนายกฯ และผู้เกี่ยวข้อง จากเหตุปะทะที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศนั้น ผู้ชุมนุมมีสิทธิ์ไปฟ้อง แต่ตนไม่เข้าใจว่า ทนายความที่ร่างคำฟ้องนายกฯ ไปฟ้อง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ด้วย ได้อย่างไร เพราะไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งตน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และผู้ปฏิบัติหน้าที่นั้น ยังเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นการฟ้องเหวี่ยงแห
อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้สั่งฆ่าคนอย่างสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีร่างคำสั่งให้ใช้อาวุธ สลายการชุมนุม และวันนี้ยังไม่รู้ว่า ผู้ตายเสียชีวิตเนื่องจากอาวุธอะไร ใครทำให้ตาย การชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ และมาฟ้องนายกฯ กับตนได้อย่างไร อีกทั้งฝ่ายตำรวจ ก็ตายเช่นกัน โดยตนพร้อมที่จะขึ้นศาลด้วยตัวเอง
** รัฐมีเอี่ยวก่อเหตุรุนแรงรายวัน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเหตุปาระเบิดใส่ขบวนรถ กปปส. และศาลอาญา รวมถึงการข่มขู่ผู้ที่มีความเห็นต่าง เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 57 ว่า มีแนวโน้มจะขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนเป้าหมาย จากการก่อความรุนแรงกับคนระดับแกนนำมาเป็นการก่อเหตุรุนแรงกระจายไปในที่สาธารณะมากขึ้น จึงเป็นสัญญาณความรุนแรงที่พรรคตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดผู้ก่อการสามารถดำเนินการในเวลากลางวัน โดยสามารถรอดสายตาเจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้ แสดงว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ธรรมดา เป็นไปได้หรือไม่ว่า คนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ
ในขณะเดียวกันความรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็เกิดอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการชุมนุมของกปปส. แต่สถานการณ์ใช้ความรุนแรงกับองค์กรอิสระ กลับเพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่เห็นความเอาจริงเอาจังในการดำเนินการเรื่องนี้จาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อระงับความรุนแรงแต่อย่างใด
" ขอเรียกร้องให้นายกฯ เอาจริงเอาจังกับการป้องกันและปราบปรามการใชัอาวุธสงครามในที่สาธารณะ ต่อผู้ที่มีความเห็นต่างกับรัฐบาล หรือคิดว่าเป็นนายกฯ สปป.ล้านนาแล้ว จึงปล่อยให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศไทย" นายองอาจ กล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหม ที่หอประชุม 80 ปี กองทัพอากาศ โดยก่อนการประชุมนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา พร้อมกล่าวขอบคุณกองทัพที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะการรณรงค์ให้กำลังพล และครอบครัวออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงการเลือกตั้ง ส.ว. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคมนี้ โดยขอให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพ กำชับกำลังพลอย่าตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง และให้ออกมาใช้สิทธิ์ตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังขอความร่วมมือเหล่าทัพที่มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในสังกัด ทำความเข้าใจกับผู้จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ให้ใช้ดุลยพินิจ ความละเอียด และรอบคอบในการนำเสนอข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ตามที่ กสทช. ขอความร่วมมือมา เพื่อให้สาธารณชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
ขณะที่การหารือนอกรอบ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เปิดเผยว่า ได้มีการหารือ ถึงเรื่องการจัดทำบัญชีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายทหารกลางปี ซึ่งคาดว่า ในสัปดาห์หน้าจะสามารถนำส่งให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ภายในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะยังหารือถึง ความเคลื่อนไหวการชุมนุมทางการเมืองของ กลุ่ม กปปส. และการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการแบ่งแยกดินแดนด้วย
**** “ปึ้ง” จ่อยื่นอุทธรณ์ 9 ข้อ
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณี 7 องค์กรภาคเอกชน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า การที่ภาคเอกชนระบุว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นความเสียหายที่มากสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณกว่า 8 หมื่นล้านบาท จึงอยากฝากภาคเอกชนทั้ง 7 สถาบันว่า ถ้าภาคเอกชนสามารถสื่อสารกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ให้ยุติการชุมนุมได้ ตนจะได้ทำหน้าที่เดินสายไปสร้างความเชื่อมั่นกับต่างชาติ เพื่อให้กลับมาลงทุนในประเทศไทยเอง
สิ่งที่ภาคเอกชนเรียกร้องนั้น รัฐบาลได้ยิน และพร้อมจะให้การสนับสนุนตามคำขอ แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้ชุมนุมกปปส. จะดำเนินการตามคำเรียกร้องด้วยหรือไม่ หากนายสุเทพ ยังเคลื่อนไหวอยู่อย่างนี้ ตนก็ไม่รู้จะแบกหน้าไปอธิบายให้คนต่างชาติเข้าใจอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ กปปส. ยุบเวทีเหลือเพียงแค่สวนลุมพินีแห่งเดียว จะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ถ้าความวุ่นวายไม่เกิดขึ้น เช่น กรณีมือที่สามเข้ามาสร้างความรุนแรง ขว้างระเบิดใส่ศาลอาญา คิดว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่สภาวะสงบได้ แต่หากเหตุการณ์ยังเป็นอย่างนี้ ในมุมมองของตนจำเป็นต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างต่อเนื่อง แต่ในอนาคตหากเหตุการณ์เบาบางลง การเลือกตั้งเดินหน้าได้ ก็อาจจะยกเลิก
ส่วนคำสั่งศาลแพ่ง 9 ข้อ ภายในสัปดาห์นี้ เราจะยื่นอุทธรณ์ คิดว่าศาลคงต้องพิจารณาใหม่ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า กปปส.ชุมนุมโดยสงบ ที่ศาลแพ่งอ้างไว้ตอนแรก เป็นช่วงเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน
*** “เหลิม”ปากดีอัดภาคเอกชน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณี 7 องค์กรภาคเอกชน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า ตนแสดงความเห็นไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเข้าครม. โดยนายกฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนตนปฏิบัติตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับนี้ บังคับใช้ไม่เข้มข้น เหมือนกับสมัยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เพราะจากคำสั่งห้าม 9 ข้อ ของศาลแพ่ง แทบจะทำอะไรไม่ได้ กปปส.จึงฮึกเหิมเหมือนอันธพาล ถ้า 7 องค์กรภาคเอกชน มีใจเป็นธรรม มีวิจารณญาณ จะไม่ออกมาพูด และ เมื่อปี 53 ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้สมบูรณ์แบบ แล้ว 7 องค์กรนี้ไปอยู่ที่ไหน วันนี้เหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากรัฐบาล แต่เป็นกลุ่มที่อกหักอยากมีอำนาจ ออกมาชุมนุม
“จากข้อห้ามของศาลแพ่ง 7 องค์กรภาคเอกชนได้ตรวจสอบหรือไม่ หรือพูดด้วยความสนุก เอาแต่ได้ ต้องนึกถึงหัวอกรัฐบาลเหมือนกัน เพราะพ.ร.ก.ฉบับนี้ เป็นพ.ร.ก.เป็ดง่อย ไอ้พวกนี้มันวงการเดียวกันหมด จะเอาพรรคพวกมาเป็นนายกฯ 7 องค์กร รับงานมา ทำเป็นธุรกิจการค้ากระทบ ที่มันยุ่งเพราะผู้ชุมนุม ไม่ใช่รัฐบาล”ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า สำหรับกรณีศาลอาญารับคดีญาติผู้ชุมนุมฟ้องนายกฯ และผู้เกี่ยวข้อง จากเหตุปะทะที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศนั้น ผู้ชุมนุมมีสิทธิ์ไปฟ้อง แต่ตนไม่เข้าใจว่า ทนายความที่ร่างคำฟ้องนายกฯ ไปฟ้อง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ด้วย ได้อย่างไร เพราะไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งตน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และผู้ปฏิบัติหน้าที่นั้น ยังเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นการฟ้องเหวี่ยงแห
อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้สั่งฆ่าคนอย่างสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีร่างคำสั่งให้ใช้อาวุธ สลายการชุมนุม และวันนี้ยังไม่รู้ว่า ผู้ตายเสียชีวิตเนื่องจากอาวุธอะไร ใครทำให้ตาย การชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ และมาฟ้องนายกฯ กับตนได้อย่างไร อีกทั้งฝ่ายตำรวจ ก็ตายเช่นกัน โดยตนพร้อมที่จะขึ้นศาลด้วยตัวเอง
** รัฐมีเอี่ยวก่อเหตุรุนแรงรายวัน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเหตุปาระเบิดใส่ขบวนรถ กปปส. และศาลอาญา รวมถึงการข่มขู่ผู้ที่มีความเห็นต่าง เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 57 ว่า มีแนวโน้มจะขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนเป้าหมาย จากการก่อความรุนแรงกับคนระดับแกนนำมาเป็นการก่อเหตุรุนแรงกระจายไปในที่สาธารณะมากขึ้น จึงเป็นสัญญาณความรุนแรงที่พรรคตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดผู้ก่อการสามารถดำเนินการในเวลากลางวัน โดยสามารถรอดสายตาเจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้ แสดงว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ธรรมดา เป็นไปได้หรือไม่ว่า คนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ
ในขณะเดียวกันความรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็เกิดอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการชุมนุมของกปปส. แต่สถานการณ์ใช้ความรุนแรงกับองค์กรอิสระ กลับเพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่เห็นความเอาจริงเอาจังในการดำเนินการเรื่องนี้จาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อระงับความรุนแรงแต่อย่างใด
" ขอเรียกร้องให้นายกฯ เอาจริงเอาจังกับการป้องกันและปราบปรามการใชัอาวุธสงครามในที่สาธารณะ ต่อผู้ที่มีความเห็นต่างกับรัฐบาล หรือคิดว่าเป็นนายกฯ สปป.ล้านนาแล้ว จึงปล่อยให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศไทย" นายองอาจ กล่าว