สื่อนอกชี้ความรุนแรงในไทยขยายวง หวังดึง"ยูเอ็น"เป็นคนกลาง ยุติปัญหานองเลือด เผยก่อนหน้านี้การเจรจาล้มเหลวเพราะ"ทักษิณ"ยื่นเงื่อนไขต้องได้เงินคืน และรื้อคดีทุจริตใหม่ ด้าน "ยิ่งลักษณ์" ไม่รับคำท้า "สุเทพ" เจรจาสองต่อสอง ออกทีวี อ้างต้องยุติชุมนุม เปิดทางให้มีการเลือกตั้งเสร็จก่อน "สุเทพ"เย้ยไม่สามารถตัดสินในเองแต่ยังมาชวน
วอยซ์ออฟอเมริการายงานเมื่อ วันอังคาร (25 ก.พ.)ว่า การเจรจาที่มีเป้าหมายยุติความรุนแรงระหว่างรัฐบาลไทย และผู้ประท้วงเกิดขึ้นในวันจันทร์ (24ก.พ.) และใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมง โดยการหารือครั้งนี้ นำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับสูงของไทย(นายสมชัย ศรีสุทธิยากร) และมีสมาชิกระดับอาวุโสจากพรรคเพื่อไทย (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ )กับพระสงฆ์ (หลวงปู่พุทธะอิสระ) ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำของกปปส. เข้าร่วม
สื่อแห่งนี้รายงานต่อว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในวันอังคาร (25ก.พ.) ว่าการเจรจา จบลงด้วยทั้งสองฝ่ายเรียกร้องให้มีการหารือเพิ่มเติม ตราบใดที่ความรุนแรงลดลง อย่างไรก็ตาม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ประกาศในวันเดียวกันว่า เขาจะไม่เจรจาต่อรองกับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมกล่าวหารัฐบาลพัวพันกับกลุ่มมือปืน ที่เกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีนองเลือดในช่วงที่ผ่านมา
วอยซ์ออฟอเมริกา ระบุว่า การเจรจาครั้งนี้มีขึ้น หลังจากช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุความรุนแรงที่สะเทือนใจคนทั้งประเทศ เมื่อกลุ่มมือปืนกราดยิง และปาระเบิดเข้าใส่เวทีชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในจังหวัดตราด คร่าชีวิตเด็กน้อยวัย 5 ขวบ และบาดเจ็บหลายสิบคน จากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุโจมตีในใจกลางกรุงเทพฯ ทำเด็กน้อย 2 คน ที่กำลังช้อปปิ้งใกล้เวทีชุมนุม เสียชีวิต
ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักรัฐศาสตร์ และอดีตโฆษกรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กับวอยซ์ออฟอเมริกา ว่า การเจรจาที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของรัฐบาล ที่ต้องการลดกระแสความกดดันที่มีต่อตนเอง
"พรรคเพื่อไทยกำลังวางแผนยืดอายุรัฐบาล ด้วยการเลือกคนในคณะรัฐมนตรีขึ้นมาแทนยิ่งลักษณ์" ดร.ปณิธาน กล่าว
"พวกเขาจะพยายามและทดสอบความเป็นไปได้ในทางเลือกนี้ ด้วยการเจรจากับแกนนำกปปส. ที่มีความยืดหยุ่นกว่า อย่างเช่น หลวงปู่พุทธะอิสระ"
สื่อแห่งรัฐของอเมริการะบุว่า การเจรจาครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากความพยายามเจรจาก่อนหน้านี้กับ ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีอันต้องพับฐานลงไป ด้วยนักวิเคราะห์ชี้ว่า ทักษิณ ปฏิเสธการเจรจา หากเขาไม่ได้เงินที่ถูกอายัดไปคืน และรื้อคดีคอร์รัปชัน ที่มีต่อตัวเขา ขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้วอยซ์ออฟอเมริกา ให้ข้อมูลด้วยว่า ทักษิณ หลบหนีโทษจำคุกข้อหาคอร์รัปชัน ไปพำนักในต่างแดน แต่เขายังคงมีอิทธิพลมหาศาลเหนือรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา บอกกับวอยซ์ออฟอเมริกา ว่า เงื่อนไขของทักษิณ คืออุปสรรคสำคัญ "ทักษิณ เห็นพ้องต่อรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ แน่นอนว่า นั่นคือการลาออกของน้องสาวของเขา (ยิ่งลักษณ์) แต่เขาวางเงื่อนไขที่ไม่สมเหตุสมผล นั่นคือ ต้องได้เงินคืนหรือไม่ก็ คดีนี้ต้องนำไปพิจาณาในศาลปกติ ด้วยผู้พิพากษาคนเดียว และไม่ตัดสินโดยศาลฎีกา" เขากล่าว พร้อมย้ำว่า "แน่นอนว่า มันเป็นไปไม่ได้ มันคือทางตัน"
อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อเหตุความรุนแรงที่อาจเลวร้ายลง ทำให้ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ยื่นข้อเสนอให้สำนักงานของเขา เป็นคนกลางเจรจาคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง ด้วยวอยซ์ออฟอเมริกาอ้างว่า ทั้งรัฐบาลและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน ต่างยินดีต่อข้อเสนอดังกล่าว พร้อมเรียกร้องให้ยูเอ็น ดำเนินการอย่างเร่งด่วน
"ปู"ปัดเจรจา"สุเทพ"ตัวต่อตัว
ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเวลา 13.40 น. วานนี้ (27ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงข้อเสนอของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ที่ประกาศท้าให้นายกฯ มาเจรจาด้วยตัวเอง สองต่อสอง โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ด้วย ว่า "ก่อนอื่นต้องขอถามกลับไปถึง นายสุเทพ ว่า พร้อมที่จะเจรจาภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายสุเทพ จะหยุดชุมนุม เพื่อให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินไปตามระบอบ และกรอบของประชาธิปไตยหรือไม่"
เมื่อถามว่า ถ้านายสุเทพ พร้อมทำตามที่นายกฯ บอก ก็พร้อมที่จะเจรจาเลย ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า โดยหลักต้องขอเรียนว่า การพูดคุยจะต้องมีกรอบในการพูดคุย ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยว่า เราควรจะใช้วิธีการพูดคุยกัน แต่ต้องมีกรอบและมีคำถามกลับไปก่อน
เมื่อถามว่า การเจรจาเพื่อหาทางออกควรจะเป็นในรูปแบบใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คงตอบไม่ได้ เพราะไม่มีสูตรสำเร็จ แต่สิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องค่อยๆ พูดกันไป เราอาจจะมีความต่างกันในหลายประเด็น แต่บางประเด็นอะไรที่ที่สามารถคุยกันได้ ก็ควรมีการตีกรอบให้แคบลง
เมื่อถามว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ นายสุเทพ ประกาศปิดประตูตายในการเจรจา นายกฯ กล่าวว่าอย่างที่พูดไว้ว่า ถ้ามีกรอบ ที่ตรงกัน การพูดคุยกันก็สามารถเป็นไปได้ แต่ถ้ากรอบที่ต่างคนต่างไม่ตรงกัน ก็เป็นสิ่งที่ยากในการที่จะพูดคุย
เมื่อถามว่ากรอบที่ตรงกันในที่นี้หมายถึงประเด็นใดบ้าง นายกฯ กล่าวว่า วันนี้คำถาม คือ การพูดคุยจะอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะถ้าไม่อยู่ภายใต้นอกกรอบของรัฐธรรนูญแล้ว ตนก็ไม่สามารถปฏิบัติได้
"ในส่วนของดิฉันเอง ก็ต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วยเหลือ ว่าจะมีมุมมองในการแก้ไขปัญหาอย่างไร จึงไม่ได้หมายความว่า เราจะปิดกรอบทั้งหมด เพียงแต่ ต้องมีผู้ที่รู้ เข้ามาช่วย ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถชี้แจงได้ ที่สำคัญสิ่งที่ทุกคนต้องการคือ การยุติการชุมนุม และอยากให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินต่อไป ไม่เช่นนั้นเราก็ไม่สามารถตอบคำถามจากนานาประเทศได้ ว่าเราจะรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ถือเป็นหลักใหญ่ที่เราต้องยึด ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับหลักการในการพูดคุย และหลักการเจรจาโดยสันติ " นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าโดยหลักของการเจรจา จะต้องมีการถ่ายทอดสด หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คงต้องเรียนว่า ตนเพียงคนเดียวคงตอบไมได้ ควรจะมีการพูดคุยกันหลายๆ คนน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะว่าต้องมีผู้รู้เข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากตนเองไม่สามารถจะตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้ เพราะมีทั้งเรื่องกฎกติกา และรายละเอียดต่างๆ
"ดังนั้น ก่อนที่จะมีการเจรจา เราจะต้องมีกรอบออกมาก่อนในระดับหนึ่ง ถ้าเราไม่มีกรอบเลย พูดเท่าไร ก็ไม่จบ แต่ถ้ามีกรอบออกมาในระดับหนึ่งและมีใจ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตรงกัน มาหาวิธีการ ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ทุกอย่างก็จะเดินไปได้ แต่ถ้าต่างคนต่างวางตัวเป็นเส้นคู่ขนาน คุยอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์"
เมื่อถามว่า รัฐบาลจะเป็นฝ่ายเริ่มในการเจรจาก่อนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่ารัฐบาลเปิดในทุกๆ ออฟชั่น และรัฐบาลก็ยินดีในการให้แต่ละท่านมาช่วยกันที่จะแก้ปัญหา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น คือปัญหาของบ้านเมือง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นแนวทางใด รัฐบาลยินดีที่จะเปิดรับอย่างทุกวันนี้ ซึ่งมีนักวิชาการหลายๆ ท่านออกมาแสดงความคิดเห็นรัฐบาลก็ยินดีรับฟัง แต่บางอย่างก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด จึงต้องขอร้องให้ทุกคนมาพูดคุยเพื่อหาแนวทางร่วมกัน
เมื่อถามว่า ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ได้แสดงความเห็นว่า อยากจะเชิญตัวแทนองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มาเป็นคนกลางในการพูดคุย และให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา นายกฯ กล่าวว่า ทางยูเอ็น ก็มีแนวทางการศึกษาจากหลายๆ ประเทศ การรับฟังในเรื่องของมุมมอง และการแลกเปลี่ยนจากหลายๆ ประเทศนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีไม่ควรจะปิดกั้น แต่สุดท้ายแล้วเราเองก็ต้องมาพูดคุยกันภายในประเทศ
เมื่อถามว่า คิดว่าการรักษาประชาธิปไตยของนายกฯ ในวันนี้ คิดว่าจะชนะฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "เราไม่มีคำว่าแพ้ชนะ เรามีแต่คำว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถประคองประเทศ และสถานการณ์เดินไปได้ สิ่งที่ถือเป็นชัยชนะคือ ประชาชนและประเทศต่างหาก ที่เราอยากเห็น ไม่อยากจะพูดว่า ฝ่ายหนึ่งแพ้ ฝ่ายหนึ่งชนะ ถ้าเรามีทิฐิต่อกัน ก็ไม่มีทางที่จะทำให้เส้นทางที่เป็นคู่ขนานมาบรรจบกันได้
"สุเทพ"ชี้นปช.แยกปท.คือกบฏ
เมื่อเวลา 19.00 น. วานนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ได้ปราศรัยที่เวทีปทุมวัน โดยท้า นปช.กลุ่มคนเสื้อแดง นัดชุมนุมแข่งกันใครแพ้กลับบ้าน ยุติการเคลื่อนไหว พร้อมกันนี้ยังได้โจมตีประเด็นการแบ่งแยกประเทศอย่าง ดุเดือด อีกทั้งยังได้ล้อเลียนกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามที่ได้ท้าเจรจาสองต่อสอง และมีการถ่ายทอดสด
นายสุเทพ กล่าวว่า มีเรื่องใหญ่ที่ต้องพูดเรื่องแรกคือ กลุ่มนปช. ประกาศตั้งกองกำลังติดอาวุธ จะลงมากรุงเทพฯ ทำสงครามกลางเมืองชิงประเทศกับพวกเรา และมีแผนแบ่งแยกประเทศไทยเป็นแผนสอง และ แผนสาม คือ ถ้าสู้ไม่ได้ จะไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่ต่างประเทศ ทั้งหมดนี้มีการทำกันเป็นกระบวนการ โดยออกจากปากแกนนำพรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เอง
จากนั้น นายสุเทพ ได้เปิดคลิปการชุมนุม "นปช.ลั่นกลองรบ" ที่ จ.นครราชสีมา ที่มีการปราศรัยสนับสนุนให้มีการแบ่งแยกประเทศ
นายสุเทพ กล่าวว่า รัฐบาลนี้ตั้งข้อหาตนว่า เป็นกบฏ ทั้งที่ตนไม่เคยบอกว่าจะแบ่งแยกประเทศ หรือ จับอาวุธ ในทางตรงกันข้ามพวกเราประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่า การชุมนุมครั้งนี้ เป็นการต่อสู้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เคยคิดแบ่งแยกประเทศ หรือแบ่งแยกสี เราจึงไม่ใช่กบฏ และเราไม่เคยคิดทำสงครามชิงเมือง ไม่ต่อสู้ด้วยอาวุธเด็ดขาด
"แต่พวกคุณอย่ากระหยิ่มยิ้มย่อง อย่าฮึกเหิม ยกทัพ ถืออาวุธมา จะเจอของแข็ง เราไม่ได้มีของแข็งอะไรหรอก แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว แบ่งแยกไม่ได้เด็ดขาด ใครแบ่งแยก ถือเป็นกบฏ ต้องถูกปราบ ดังนั้นคนมีหน้าที่ด้านความมั่นคง ทั้ง ทหาร ตำรวจ ต้องจัดการปราบกบฏ" นายสุเทพ กล่าว และว่า ถ้าพวกนปช. ยกทัพมากรุงเทพฯ ตนก็จะพาพี่น้องกลับบ้าน แล้วจะดูว่า พวกนปช. จะถูกจับข้อหากบฏกี่คน ดังนั้น อย่าเพ้อเจ้อให้มากนัก
เย้ย"ปู"ตัดสินใจเองไม่ได้ต้องถามทักษิณ
นายสุเทพ ยังกล่าวโจมตี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ถามอะไร ตอบอะไร ก็ไม่เข้าใจ แล้วจะมาเสนอให้เจรจาทำไม ที่นายกฯ บอกจะไปคิดดูก่อน ก็หมายถึงต้องไปถาม พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนว่าจะเอายังไง ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ก็สะกดคำว่าแพ้ไม่ได้ สำหรับพวกโลกสวย ที่บอกประเทศจะสงบได้ต้องเจรจากันนั้น วันนี้ตนเลยตัดสินใจที่เวทีสีลมไปว่า เมื่อยิ่งลักษณ์ เรียกร้องให้เจรจา เราก็จะเจรจาดู แต่เจรจากันตัวต่อตัว แล้วตั้งเวทีกันอย่างเปิดเผย ถ่ายทอดทีวีทุกช่อง เพราะนี่เป็นผลประโยชน์ชาติ เป็นอนาคตของทุกคน แต่ล่าสุด นายกฯ ก็ให้สัมภาษณ์ว่า "การเจรจาต้องอยู่ในกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ และต้องมีผู้รู้มาช่วยในการเจรจา เพราะไม่สามารถตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้"
"ก็ในเมื่อคุณตัดสินใจเองไม่ได้ แล้วจะชวนผมเจรจาไปหาอะไรกัน แล้วที่คุณบอกว่า ต้องเลิกการชุมนุมก่อนนั้น ถ้าคุณตั้งเงื่อนไขแบบนี้ ผมจะมากินกลางดิน นอนกลางถนน 3-4 เดือนกันทำไม นี่คุณบ้าหรือผมบ้ากันแน่ ทั้งหมดนี้ ซื้อเวลาหวังฟลุก ผมบอกเลย ไม่มีฟลุกอีกแล้ว มีแต่เจ๊ง คุณไปไม่รอดแล้ว ฉะนั้นต่อไปท่านที่มองโลกสวยทั้งหลาย อย่ามาตำหนิมวลมหาประชาชน และกำนันสุเทพ เป็นพวกไม่ยอมเจรจา เรายินดีเจรจา แต่ต้องเจรจาเปิดเผย ทำงุบงิบเจรจากัน ไม่ได้" นายสุเทพ กล่าว
"เสื้อแดง"ไม่อยากได้ยูเอ็น คนกลาง
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ทำหนังสือเชิญเลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เพื่อให้เป็นตัวกลางในการประสานความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และกปปส. ว่า โดยหลักแล้วเมื่อนายกฯ ยุบสภา และมีการเลือกตั้ง ได้รัฐบาลใหม่ก็จะจบ แต่นี่ไม่จบ และมีความรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งปกติก่อนที่จะสงบต้องมีคนกลาง ซึ่งคนกลางไม่จำเป็นต้องเป็นต่างชาติ เป็นคนไทยก็ได้ ถ้ามีบารมีที่สามารถลงมาเจรจาได้ และไม่ใช่ว่าในประเทศไทย เราจะหาคนไทยไม่ได้แล้ว ตนเชื่อว่ายังมีอยู่ ซึ่งการที่จะให้ต่างชาติมาเป็นตัวกลาง สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินของเขาว่าจะมาหรือไม่ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกเป็นแบบนี้ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติมาเป็นคนกลาง คำตอบทีได้คือ ต้องมีการเลือกตั้งอยู่ดี
เมื่อถามการที่ให้ต่างประเทศเข้ามายุ่งกิจการภายในประเทศดูแล้วจะไม่เหมาะสมหรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่ถ้าจำเป็นต้องเกิดก็ต้องเกิด สุดท้ายคือต้องพูดคุยกัน ส่วนตัวมองว่า การที่ยูเอ็นเข้ามานั้น ยูเอ็น มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของทุกประเทศในโลก แต่ขึ้นอยู่กับว่าดีกรีเป็นอย่างไร
"สมชัย"เดินหน้าเป็นคนกลางจัดเจรจา
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง ความคืบหน้าการเจรจาเพื่อหาทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองที่ตนเองเป็นคนกลางว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการประสานเชิญตัวแทนของสองซีกการเมืองมาเจรจาเพิ่มเติมอีก 2 คน จากเดิมที่มี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และหลวงปู่พุทธะอิสระ เท่ากับว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 คน ส่วน 2 คนใหม่ จะเป็นบุคคลใดนั้น ขอให้ติดตาม แต่ยืนยันว่าจะเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการหาทางออกของประเทศ
ส่วนก่อนหน้านี้ระบุว่า การเจรจาครั้งต่อไปจะไม่เกิดขึ้น หากเกิดเหตุความรุนแรง ขอทำความเข้าใจว่าขณะนี้ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น จึงอยากสื่อสารไปยังตัวแทนของสองซีกฝ่ายการเมือง ที่จะเข้าร่วมเจรจา อยากให้มองว่า แม้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจะไม่ลดลง และอาจจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจำเป็นต้องเร่งให้เกิดการเจรจาเพื่อหาทางออกโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเริ่มมีความพร้อมที่จะเริ่มหันมาเจรจาต่อกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การเจรจาเป็นการหาทางออกของประเทศ ไม่ใช่เป็นการตกลงเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายการเมือง เพราะถ้าเป็นการเจรจาเพื่อตกลงผลประโยชน์ของฝ่ายการเมือง กกต.ก็จะไม่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง เพื่อเจรจาแน่นอน
เมื่อถามว่า บุคคลที่จะเชิญมาเจรจาด้วยนั้นคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ขอไม่ระบุตัวบุคคลว่าเป็นใคร ขอให้รอดูในช่วงสัปดาห์หน้า
วอยซ์ออฟอเมริการายงานเมื่อ วันอังคาร (25 ก.พ.)ว่า การเจรจาที่มีเป้าหมายยุติความรุนแรงระหว่างรัฐบาลไทย และผู้ประท้วงเกิดขึ้นในวันจันทร์ (24ก.พ.) และใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมง โดยการหารือครั้งนี้ นำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับสูงของไทย(นายสมชัย ศรีสุทธิยากร) และมีสมาชิกระดับอาวุโสจากพรรคเพื่อไทย (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ )กับพระสงฆ์ (หลวงปู่พุทธะอิสระ) ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำของกปปส. เข้าร่วม
สื่อแห่งนี้รายงานต่อว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในวันอังคาร (25ก.พ.) ว่าการเจรจา จบลงด้วยทั้งสองฝ่ายเรียกร้องให้มีการหารือเพิ่มเติม ตราบใดที่ความรุนแรงลดลง อย่างไรก็ตาม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ประกาศในวันเดียวกันว่า เขาจะไม่เจรจาต่อรองกับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมกล่าวหารัฐบาลพัวพันกับกลุ่มมือปืน ที่เกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีนองเลือดในช่วงที่ผ่านมา
วอยซ์ออฟอเมริกา ระบุว่า การเจรจาครั้งนี้มีขึ้น หลังจากช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุความรุนแรงที่สะเทือนใจคนทั้งประเทศ เมื่อกลุ่มมือปืนกราดยิง และปาระเบิดเข้าใส่เวทีชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในจังหวัดตราด คร่าชีวิตเด็กน้อยวัย 5 ขวบ และบาดเจ็บหลายสิบคน จากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุโจมตีในใจกลางกรุงเทพฯ ทำเด็กน้อย 2 คน ที่กำลังช้อปปิ้งใกล้เวทีชุมนุม เสียชีวิต
ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักรัฐศาสตร์ และอดีตโฆษกรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กับวอยซ์ออฟอเมริกา ว่า การเจรจาที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของรัฐบาล ที่ต้องการลดกระแสความกดดันที่มีต่อตนเอง
"พรรคเพื่อไทยกำลังวางแผนยืดอายุรัฐบาล ด้วยการเลือกคนในคณะรัฐมนตรีขึ้นมาแทนยิ่งลักษณ์" ดร.ปณิธาน กล่าว
"พวกเขาจะพยายามและทดสอบความเป็นไปได้ในทางเลือกนี้ ด้วยการเจรจากับแกนนำกปปส. ที่มีความยืดหยุ่นกว่า อย่างเช่น หลวงปู่พุทธะอิสระ"
สื่อแห่งรัฐของอเมริการะบุว่า การเจรจาครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากความพยายามเจรจาก่อนหน้านี้กับ ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีอันต้องพับฐานลงไป ด้วยนักวิเคราะห์ชี้ว่า ทักษิณ ปฏิเสธการเจรจา หากเขาไม่ได้เงินที่ถูกอายัดไปคืน และรื้อคดีคอร์รัปชัน ที่มีต่อตัวเขา ขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้วอยซ์ออฟอเมริกา ให้ข้อมูลด้วยว่า ทักษิณ หลบหนีโทษจำคุกข้อหาคอร์รัปชัน ไปพำนักในต่างแดน แต่เขายังคงมีอิทธิพลมหาศาลเหนือรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา บอกกับวอยซ์ออฟอเมริกา ว่า เงื่อนไขของทักษิณ คืออุปสรรคสำคัญ "ทักษิณ เห็นพ้องต่อรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ แน่นอนว่า นั่นคือการลาออกของน้องสาวของเขา (ยิ่งลักษณ์) แต่เขาวางเงื่อนไขที่ไม่สมเหตุสมผล นั่นคือ ต้องได้เงินคืนหรือไม่ก็ คดีนี้ต้องนำไปพิจาณาในศาลปกติ ด้วยผู้พิพากษาคนเดียว และไม่ตัดสินโดยศาลฎีกา" เขากล่าว พร้อมย้ำว่า "แน่นอนว่า มันเป็นไปไม่ได้ มันคือทางตัน"
อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อเหตุความรุนแรงที่อาจเลวร้ายลง ทำให้ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ยื่นข้อเสนอให้สำนักงานของเขา เป็นคนกลางเจรจาคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง ด้วยวอยซ์ออฟอเมริกาอ้างว่า ทั้งรัฐบาลและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน ต่างยินดีต่อข้อเสนอดังกล่าว พร้อมเรียกร้องให้ยูเอ็น ดำเนินการอย่างเร่งด่วน
"ปู"ปัดเจรจา"สุเทพ"ตัวต่อตัว
ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเวลา 13.40 น. วานนี้ (27ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงข้อเสนอของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ที่ประกาศท้าให้นายกฯ มาเจรจาด้วยตัวเอง สองต่อสอง โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ด้วย ว่า "ก่อนอื่นต้องขอถามกลับไปถึง นายสุเทพ ว่า พร้อมที่จะเจรจาภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายสุเทพ จะหยุดชุมนุม เพื่อให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินไปตามระบอบ และกรอบของประชาธิปไตยหรือไม่"
เมื่อถามว่า ถ้านายสุเทพ พร้อมทำตามที่นายกฯ บอก ก็พร้อมที่จะเจรจาเลย ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า โดยหลักต้องขอเรียนว่า การพูดคุยจะต้องมีกรอบในการพูดคุย ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยว่า เราควรจะใช้วิธีการพูดคุยกัน แต่ต้องมีกรอบและมีคำถามกลับไปก่อน
เมื่อถามว่า การเจรจาเพื่อหาทางออกควรจะเป็นในรูปแบบใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คงตอบไม่ได้ เพราะไม่มีสูตรสำเร็จ แต่สิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องค่อยๆ พูดกันไป เราอาจจะมีความต่างกันในหลายประเด็น แต่บางประเด็นอะไรที่ที่สามารถคุยกันได้ ก็ควรมีการตีกรอบให้แคบลง
เมื่อถามว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ นายสุเทพ ประกาศปิดประตูตายในการเจรจา นายกฯ กล่าวว่าอย่างที่พูดไว้ว่า ถ้ามีกรอบ ที่ตรงกัน การพูดคุยกันก็สามารถเป็นไปได้ แต่ถ้ากรอบที่ต่างคนต่างไม่ตรงกัน ก็เป็นสิ่งที่ยากในการที่จะพูดคุย
เมื่อถามว่ากรอบที่ตรงกันในที่นี้หมายถึงประเด็นใดบ้าง นายกฯ กล่าวว่า วันนี้คำถาม คือ การพูดคุยจะอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะถ้าไม่อยู่ภายใต้นอกกรอบของรัฐธรรนูญแล้ว ตนก็ไม่สามารถปฏิบัติได้
"ในส่วนของดิฉันเอง ก็ต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วยเหลือ ว่าจะมีมุมมองในการแก้ไขปัญหาอย่างไร จึงไม่ได้หมายความว่า เราจะปิดกรอบทั้งหมด เพียงแต่ ต้องมีผู้ที่รู้ เข้ามาช่วย ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถชี้แจงได้ ที่สำคัญสิ่งที่ทุกคนต้องการคือ การยุติการชุมนุม และอยากให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินต่อไป ไม่เช่นนั้นเราก็ไม่สามารถตอบคำถามจากนานาประเทศได้ ว่าเราจะรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ถือเป็นหลักใหญ่ที่เราต้องยึด ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับหลักการในการพูดคุย และหลักการเจรจาโดยสันติ " นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าโดยหลักของการเจรจา จะต้องมีการถ่ายทอดสด หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คงต้องเรียนว่า ตนเพียงคนเดียวคงตอบไมได้ ควรจะมีการพูดคุยกันหลายๆ คนน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะว่าต้องมีผู้รู้เข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากตนเองไม่สามารถจะตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้ เพราะมีทั้งเรื่องกฎกติกา และรายละเอียดต่างๆ
"ดังนั้น ก่อนที่จะมีการเจรจา เราจะต้องมีกรอบออกมาก่อนในระดับหนึ่ง ถ้าเราไม่มีกรอบเลย พูดเท่าไร ก็ไม่จบ แต่ถ้ามีกรอบออกมาในระดับหนึ่งและมีใจ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตรงกัน มาหาวิธีการ ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ทุกอย่างก็จะเดินไปได้ แต่ถ้าต่างคนต่างวางตัวเป็นเส้นคู่ขนาน คุยอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์"
เมื่อถามว่า รัฐบาลจะเป็นฝ่ายเริ่มในการเจรจาก่อนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่ารัฐบาลเปิดในทุกๆ ออฟชั่น และรัฐบาลก็ยินดีในการให้แต่ละท่านมาช่วยกันที่จะแก้ปัญหา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น คือปัญหาของบ้านเมือง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นแนวทางใด รัฐบาลยินดีที่จะเปิดรับอย่างทุกวันนี้ ซึ่งมีนักวิชาการหลายๆ ท่านออกมาแสดงความคิดเห็นรัฐบาลก็ยินดีรับฟัง แต่บางอย่างก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด จึงต้องขอร้องให้ทุกคนมาพูดคุยเพื่อหาแนวทางร่วมกัน
เมื่อถามว่า ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ได้แสดงความเห็นว่า อยากจะเชิญตัวแทนองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มาเป็นคนกลางในการพูดคุย และให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา นายกฯ กล่าวว่า ทางยูเอ็น ก็มีแนวทางการศึกษาจากหลายๆ ประเทศ การรับฟังในเรื่องของมุมมอง และการแลกเปลี่ยนจากหลายๆ ประเทศนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีไม่ควรจะปิดกั้น แต่สุดท้ายแล้วเราเองก็ต้องมาพูดคุยกันภายในประเทศ
เมื่อถามว่า คิดว่าการรักษาประชาธิปไตยของนายกฯ ในวันนี้ คิดว่าจะชนะฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "เราไม่มีคำว่าแพ้ชนะ เรามีแต่คำว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถประคองประเทศ และสถานการณ์เดินไปได้ สิ่งที่ถือเป็นชัยชนะคือ ประชาชนและประเทศต่างหาก ที่เราอยากเห็น ไม่อยากจะพูดว่า ฝ่ายหนึ่งแพ้ ฝ่ายหนึ่งชนะ ถ้าเรามีทิฐิต่อกัน ก็ไม่มีทางที่จะทำให้เส้นทางที่เป็นคู่ขนานมาบรรจบกันได้
"สุเทพ"ชี้นปช.แยกปท.คือกบฏ
เมื่อเวลา 19.00 น. วานนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ได้ปราศรัยที่เวทีปทุมวัน โดยท้า นปช.กลุ่มคนเสื้อแดง นัดชุมนุมแข่งกันใครแพ้กลับบ้าน ยุติการเคลื่อนไหว พร้อมกันนี้ยังได้โจมตีประเด็นการแบ่งแยกประเทศอย่าง ดุเดือด อีกทั้งยังได้ล้อเลียนกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามที่ได้ท้าเจรจาสองต่อสอง และมีการถ่ายทอดสด
นายสุเทพ กล่าวว่า มีเรื่องใหญ่ที่ต้องพูดเรื่องแรกคือ กลุ่มนปช. ประกาศตั้งกองกำลังติดอาวุธ จะลงมากรุงเทพฯ ทำสงครามกลางเมืองชิงประเทศกับพวกเรา และมีแผนแบ่งแยกประเทศไทยเป็นแผนสอง และ แผนสาม คือ ถ้าสู้ไม่ได้ จะไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่ต่างประเทศ ทั้งหมดนี้มีการทำกันเป็นกระบวนการ โดยออกจากปากแกนนำพรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เอง
จากนั้น นายสุเทพ ได้เปิดคลิปการชุมนุม "นปช.ลั่นกลองรบ" ที่ จ.นครราชสีมา ที่มีการปราศรัยสนับสนุนให้มีการแบ่งแยกประเทศ
นายสุเทพ กล่าวว่า รัฐบาลนี้ตั้งข้อหาตนว่า เป็นกบฏ ทั้งที่ตนไม่เคยบอกว่าจะแบ่งแยกประเทศ หรือ จับอาวุธ ในทางตรงกันข้ามพวกเราประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่า การชุมนุมครั้งนี้ เป็นการต่อสู้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เคยคิดแบ่งแยกประเทศ หรือแบ่งแยกสี เราจึงไม่ใช่กบฏ และเราไม่เคยคิดทำสงครามชิงเมือง ไม่ต่อสู้ด้วยอาวุธเด็ดขาด
"แต่พวกคุณอย่ากระหยิ่มยิ้มย่อง อย่าฮึกเหิม ยกทัพ ถืออาวุธมา จะเจอของแข็ง เราไม่ได้มีของแข็งอะไรหรอก แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว แบ่งแยกไม่ได้เด็ดขาด ใครแบ่งแยก ถือเป็นกบฏ ต้องถูกปราบ ดังนั้นคนมีหน้าที่ด้านความมั่นคง ทั้ง ทหาร ตำรวจ ต้องจัดการปราบกบฏ" นายสุเทพ กล่าว และว่า ถ้าพวกนปช. ยกทัพมากรุงเทพฯ ตนก็จะพาพี่น้องกลับบ้าน แล้วจะดูว่า พวกนปช. จะถูกจับข้อหากบฏกี่คน ดังนั้น อย่าเพ้อเจ้อให้มากนัก
เย้ย"ปู"ตัดสินใจเองไม่ได้ต้องถามทักษิณ
นายสุเทพ ยังกล่าวโจมตี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ถามอะไร ตอบอะไร ก็ไม่เข้าใจ แล้วจะมาเสนอให้เจรจาทำไม ที่นายกฯ บอกจะไปคิดดูก่อน ก็หมายถึงต้องไปถาม พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนว่าจะเอายังไง ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ก็สะกดคำว่าแพ้ไม่ได้ สำหรับพวกโลกสวย ที่บอกประเทศจะสงบได้ต้องเจรจากันนั้น วันนี้ตนเลยตัดสินใจที่เวทีสีลมไปว่า เมื่อยิ่งลักษณ์ เรียกร้องให้เจรจา เราก็จะเจรจาดู แต่เจรจากันตัวต่อตัว แล้วตั้งเวทีกันอย่างเปิดเผย ถ่ายทอดทีวีทุกช่อง เพราะนี่เป็นผลประโยชน์ชาติ เป็นอนาคตของทุกคน แต่ล่าสุด นายกฯ ก็ให้สัมภาษณ์ว่า "การเจรจาต้องอยู่ในกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ และต้องมีผู้รู้มาช่วยในการเจรจา เพราะไม่สามารถตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้"
"ก็ในเมื่อคุณตัดสินใจเองไม่ได้ แล้วจะชวนผมเจรจาไปหาอะไรกัน แล้วที่คุณบอกว่า ต้องเลิกการชุมนุมก่อนนั้น ถ้าคุณตั้งเงื่อนไขแบบนี้ ผมจะมากินกลางดิน นอนกลางถนน 3-4 เดือนกันทำไม นี่คุณบ้าหรือผมบ้ากันแน่ ทั้งหมดนี้ ซื้อเวลาหวังฟลุก ผมบอกเลย ไม่มีฟลุกอีกแล้ว มีแต่เจ๊ง คุณไปไม่รอดแล้ว ฉะนั้นต่อไปท่านที่มองโลกสวยทั้งหลาย อย่ามาตำหนิมวลมหาประชาชน และกำนันสุเทพ เป็นพวกไม่ยอมเจรจา เรายินดีเจรจา แต่ต้องเจรจาเปิดเผย ทำงุบงิบเจรจากัน ไม่ได้" นายสุเทพ กล่าว
"เสื้อแดง"ไม่อยากได้ยูเอ็น คนกลาง
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ทำหนังสือเชิญเลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เพื่อให้เป็นตัวกลางในการประสานความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และกปปส. ว่า โดยหลักแล้วเมื่อนายกฯ ยุบสภา และมีการเลือกตั้ง ได้รัฐบาลใหม่ก็จะจบ แต่นี่ไม่จบ และมีความรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งปกติก่อนที่จะสงบต้องมีคนกลาง ซึ่งคนกลางไม่จำเป็นต้องเป็นต่างชาติ เป็นคนไทยก็ได้ ถ้ามีบารมีที่สามารถลงมาเจรจาได้ และไม่ใช่ว่าในประเทศไทย เราจะหาคนไทยไม่ได้แล้ว ตนเชื่อว่ายังมีอยู่ ซึ่งการที่จะให้ต่างชาติมาเป็นตัวกลาง สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินของเขาว่าจะมาหรือไม่ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกเป็นแบบนี้ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติมาเป็นคนกลาง คำตอบทีได้คือ ต้องมีการเลือกตั้งอยู่ดี
เมื่อถามการที่ให้ต่างประเทศเข้ามายุ่งกิจการภายในประเทศดูแล้วจะไม่เหมาะสมหรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่ถ้าจำเป็นต้องเกิดก็ต้องเกิด สุดท้ายคือต้องพูดคุยกัน ส่วนตัวมองว่า การที่ยูเอ็นเข้ามานั้น ยูเอ็น มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของทุกประเทศในโลก แต่ขึ้นอยู่กับว่าดีกรีเป็นอย่างไร
"สมชัย"เดินหน้าเป็นคนกลางจัดเจรจา
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง ความคืบหน้าการเจรจาเพื่อหาทางออกของความขัดแย้งทางการเมืองที่ตนเองเป็นคนกลางว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการประสานเชิญตัวแทนของสองซีกการเมืองมาเจรจาเพิ่มเติมอีก 2 คน จากเดิมที่มี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และหลวงปู่พุทธะอิสระ เท่ากับว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 คน ส่วน 2 คนใหม่ จะเป็นบุคคลใดนั้น ขอให้ติดตาม แต่ยืนยันว่าจะเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการหาทางออกของประเทศ
ส่วนก่อนหน้านี้ระบุว่า การเจรจาครั้งต่อไปจะไม่เกิดขึ้น หากเกิดเหตุความรุนแรง ขอทำความเข้าใจว่าขณะนี้ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น จึงอยากสื่อสารไปยังตัวแทนของสองซีกฝ่ายการเมือง ที่จะเข้าร่วมเจรจา อยากให้มองว่า แม้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจะไม่ลดลง และอาจจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจำเป็นต้องเร่งให้เกิดการเจรจาเพื่อหาทางออกโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเริ่มมีความพร้อมที่จะเริ่มหันมาเจรจาต่อกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การเจรจาเป็นการหาทางออกของประเทศ ไม่ใช่เป็นการตกลงเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายการเมือง เพราะถ้าเป็นการเจรจาเพื่อตกลงผลประโยชน์ของฝ่ายการเมือง กกต.ก็จะไม่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง เพื่อเจรจาแน่นอน
เมื่อถามว่า บุคคลที่จะเชิญมาเจรจาด้วยนั้นคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ขอไม่ระบุตัวบุคคลว่าเป็นใคร ขอให้รอดูในช่วงสัปดาห์หน้า