**วันที่ 28 ก.พ.57 เป็นวันครอบรอบ 1 ปีของกระบวนการ“พูดคุยสันติภาพ”ที่เกิดขึ้นระหว่างขบวนการแบ่งแยกดินแดน“บีอาร์เอ็น โคออดิเนต (BRN)”กับตัวแทนของรัฐบาลไทยโดย“สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)” มีรัฐบาลมาเลเซียเป็น“คนกลาง”
ทั้งนี้ ก็เพื่อหาทางออกให้กับสถานการณ์ความรุนแรงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัญหามายาวนานกว่า 100 ปี และเริ่มคุกรุ่น รุนแรงขึ้นมาระลอกใหม่อีกครั้ง ตั้งแต่ปีต้น 2547 โดยความรุนแรงดังกล่าวได้ส่งผลให้มีผู้สังเวยชีวิตไปแล้วกว่า 5,000 ศพ ขณะที่มีผู้คนได้บาดเจ็บอีกกว่า 15,000 ราย
การ “พูดคุย”เพื่อก้าวไปสู่คำว่า “สันติภาพ”ที่ปลายด้ามขวานนั้น มีการดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง ก่อนที่มีเหตุให้ต้องหยุดไปในครั้งที่ 4 ทั้งที่กำหนดไว้แล้วในเดือน พ.ย.56 เนื่องจากปัญหาวุ่นวายภายในประเทศของไทยบานปลายขยายวง ถึงขั้นรัฐบาลต้องยุบสภาหนี ขณะที่การชุมมุมของกองทัพนกหวีด หรือ ม็อบกปปส. ก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น
**ทำให้ฝ่ายไทยโดย สมช.ไม่พร้อมที่จะดำเนินการสานต่อเวทีของการพูดคุยสันติภาพที่ชายแดนใต้ หรือกล่าวโดยนัยก็คือ ไม่พร้อมที่จะดูแลความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน เนื่องจากต้องไปให้ความสำคัญกับความมั่นคงของรัฐบาลก่อน
โดยข้อเท็จจริงการพูดคุยทั้ง 3 ครั้งอย่างเป็นทางการที่ผ่านมา ระหว่างฝ่ายบีอาร์เอ็น ที่นำโดย “ฮัสซัน ตอยิบ”กับตัวแทนของฝ่ายไทยที่มี “พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร”เลขาธิการ สมช.ไม่มีความคืบหน้าในการผลักดันให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด
แม้จะมีบางคราที่เห็นโอกาสที่จะเกิดสันติภาพขึ้นในชายแดนใต้ได้ โดยฝ่ายไทยได้เสนอข้อเรียกร้องให้บีอาร์เอ็น ลดการก่อเหตุต่อเป้าหมายที่ “อ่อนแอ”ในห้วงเดือน “รอมฎอน”ซึ่งเวลานั้นนับว่าเริ่มต้นมีสัญญาณที่ดีเป็นอย่างยิ่ง และมีการตอบรับจาก นายฮัสซัน ตอยิบ จะให้เดือนถือศีลอดของมุสลิมเป็นเดือนแห่งการลดความขัดแย้งก็ตาม แต่ในที่สุดก็มีเหตุให้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว
เนื่องเพราะข้อตกลงของบีอาร์เอ็น กับ สมช. ที่มีการประกาศไว้เพียง 2 สัปดาห์ ปรากฏว่าทั้ง “แกนนำ”และ “แนวร่วม”ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ แม้จะอยู่ภายใต้ร่มธงของบีอาร์เอ็นด้วย แต่พวกเขากลับไม่เชื่อฟังผู้นำบางคนของ บีอาร์เอ็น สถานการณ์ความรุนแรงที่ดูจะสงบลงในระยะสั้นๆ ก็ปะทุเดือดขึ้นอีกครั้ง
นอกจากนั้น ในครึ่งหลังของเดือนรอมฎอนกลับกลายเป็นว่า ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง รวมถึงประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ถือเป็นเป้าหมายอ่อนแอ ต่างก็ตกอยู่ในสภาพล้มตายเหมือน“ใบไม้ร่วง”ไปตามๆ กัน
ส่งผลให้สิ่งที่ตามมาคือ มีการประกาศไม่ยอมรับการพูดคุยสันติภาพดังกล่าวจากทั้งแกนนำ และแนวร่วมบางกลุ่มของขบวนการบีอาร์เอ็น รวมทั้งการออกมาร่วมผสมโรงของขบวนการอื่นๆ อาทิ พูโล บีไอพีพี และกลุ่ม “ภัยแทรกซ้อน”ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่พึ่งพิงอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรง
นอกจากนั้น ในการพูดคุยต่อเนื่องมา 3 หนที่ผ่านมา ข้อเสนอที่บีอาร์เอ็น นำเสนอต่อ สมช.ทั้ง 5 ข้อ ก็ล้วนเป็นข้อเสนอที่ฝ่ายไทยเพียงรับไว้เพื่อพิจารณา แต่ยังไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้ แม้แต่ข้อเดียว ทำให้บีอาร์เอ็น ต้องนำข้อเสนอเหล่านั้นทำเป็นคลิปเสนอผ่าน “ยูทิวบ์”เพื่อเป็นการกดดัน และเพื่อสื่อสารกับสังคมมุสลิมในพื้นที่ และทั่วโลกให้รับรู้ ในฐานะที่บีอาร์เอ็นอ้างว่า เป็นตัวแทนของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
**หลังการพูดคุยสันติภาพครั้งที่ 3 ฝ่ายบีอาร์เอ็น ได้ทำคลิปผ่านยูทิวบ์ ขู่รัฐไทยอีกว่า หาก สมช.ไม่รับข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ อาจจะมีการ “ชะลอ”หรือ “ยกเลิก”เวทีของการพูดคุยที่จะมีขึ้นในครั้งต่อๆ ไปเลยก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ดาโต๊ะ สรี ฮาหมัด ซำซามิง ฮาซัม อดีตเลขาธิการสำนักข่าวกรองแห่งชาติของมาเลเซีย ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ ได้แถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนในมาเลเซีย ว่า การพูดคุยระหว่างกลุ่มผู้เห็นต่างกับรัฐไทย ยังจะเดินหน้าต่อไป ยังไม่มีการ“ยกเลิก”เพียงแต่ “ชะลอ”ไว้ชั่วคราว ซึ่งต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ของไทยเข้ามาสานต่อ
ดาโต๊ะ สรี ฮาหมัด ซำซามิง ฮาซัม ยังกำชับด้วยว่า เพราะการพูดคุยสันติภาพเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความไม่สงบ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินภาคใต้ของไทย
นอกจากนี้ ยังมีการระบุจากผู้ประสานงานฝ่ายมาเลเซียด้วยว่า ในการพูดคุยครั้งต่อไป จะมีการดึงเอากลุ่มขบวนการที่เห็นต่างอื่นๆ เช่น พูโล บีไอพีพี กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และกลุ่มศาสนา ให้เข้าไปร่วมพูดคุยด้วย เพื่อหาแนวทางบรรลุถึงการสร้างสันติภาพ โดยประเทศมาเลเซีย ยังพร้อมที่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งได้ใช้เป็นเวทีของการแก้ปัญหา
อีกทั้งวันที่ 28ก.พ. ดาโต๊ะ สรี ฮาหมัด ซำซามิง ฮาซัม ยืนยัน จะเดินทางไปแถลงข่าวการสนับสนุนพูดคุยระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างที่ จ.เชียงใหม่
ในขณะที่ในเวลานี้สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอ ของจ.สงขลา ได้แก่ จะนะ นาทวี เทพา และ สะบ้าย้อย ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง และนับว่าดุเดือดไม่แพ้ช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะนับตั้งแต่ต้นปี 2557 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนผู้เป็นเป้าหมายอ่อนแอยังคงตกอยู่ในสภาพตายเป็นใบไม้ร่วง ไม่เว้นแม้กระทั่ง ครู พระ และผู้หญิง ซึ่งล้วนเป็นเป้าหมายที่สร้างความสะเทือนใจแบบสุดๆ ต่างก็ถูกเข่นฆ่าอย่างทารุณ บางเหตุการณ์เป็นการจงใจฆ่าแล้วเผาเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้น หากเวลานี้จะมีการสำรวจความรู้สึกของคนในพื้นที่ต่อ“เวทีการพูดคุยสันติภาพ”เพื่อหาทางออกให้กับวิกฤตไฟใต้ เสียงสนับสนุนจึงอาจจะไม่คึกคักเท่ากับช่วงเริ่มต้นในเดือน ก.พ.56 แน่นอน
**ยิ่งบริบทของการพูดคุยทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นอย่างที่คาดหวัง จึงยิ่งทำให้ผู้คนมองว่า การพูดคุยที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของ“การเมืองระหว่างประเทศ”เสียมากกว่า เพราะฝ่ายที่ได้ประโยชน์กับการพูดคุย ดูเหมือนจะเป็นมาเลเซียเท่านั้น
อีกทั้งมีเหตุผลที่สอดรับในเรื่องนี้ คือ เวลานี้มาเลเซียต้องการเล่นบท “ผู้นำมุสลิมโลก”จึงเพียงต้องการสร้างภาพลักษณ์ในมุมมองของประชาคมระหว่างประเทศ
นอกจากนี้แล้ว ในปี 2558 ที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง มาเลเซีย ยังได้ดำรงตำแหน่ง “ประธานอาเซียน”ด้วย
ก่อนหน้านี้มาเลเซียก็ภาพของการเป็นกลไกสำคัญในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งต่างก็มีปัญหาการต่อสู่อำนาจรัฐของฝ่ายเห็นต่างเหมือนกับพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย ถ้ามาเลเซียสามารถมีส่วนในการดับไฟใต้ให้ไทยได้ สิ่งนี้จะก่อประโยชน์ให้กับมาเลเซียในบทบาทการเป็นผู้นำอาเซียนในทุกด้าน
ดังนั้น มาเลเซียจึงแสดงบทบาทของ “คนกลาง”ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพในไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งบีอาร์เอ็น พูโล บีไอพีพี และกลุ่มเห็นต่างจากรัฐไทยอื่นๆ จะต้องทำตาม ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
เนื่องเพราะทุกขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือทุกกลุ่มก้อนที่เห็นต่างกับรัฐไทย พวกเขาต่างอาศัยมาเลเซียเป็น “หลังพิง”ในการปฏิบัติการทั้งการเมืองและการทหาร ต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั่นเอง
แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าฝ่ายมาเลเซีย หรือฝ่ายไทย จะวางบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศให้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอย่างไร แต่โต๊ะ “พูดคุยเพื่อดับไฟใต้”เชื่อว่าจะต้องมีการ “สานต่อ” ให้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันต่อไป
หรือสำหรับไทยเอง ไม่ว่ากลุ่มก๊วนการเมืองไหน หรือแม้กระทั่งคนกลางจะได้เข้าไปครองอำนาจรัฐ เชื่อว่ารัฐบาลชุดต่อไปย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้จลลงที่การให้กำลังและอาวุธ แต่จบลงที่การพูดคุยหรือการเจรจาบนโต๊ะทั้งสิ้น
**ที่สำคัญที่สุดคือ “วิกฤตไฟใต้”ก็ไม่อยู่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่กล่าวมานี้แต่ออย่างใด
ทั้งนี้ ก็เพื่อหาทางออกให้กับสถานการณ์ความรุนแรงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัญหามายาวนานกว่า 100 ปี และเริ่มคุกรุ่น รุนแรงขึ้นมาระลอกใหม่อีกครั้ง ตั้งแต่ปีต้น 2547 โดยความรุนแรงดังกล่าวได้ส่งผลให้มีผู้สังเวยชีวิตไปแล้วกว่า 5,000 ศพ ขณะที่มีผู้คนได้บาดเจ็บอีกกว่า 15,000 ราย
การ “พูดคุย”เพื่อก้าวไปสู่คำว่า “สันติภาพ”ที่ปลายด้ามขวานนั้น มีการดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง ก่อนที่มีเหตุให้ต้องหยุดไปในครั้งที่ 4 ทั้งที่กำหนดไว้แล้วในเดือน พ.ย.56 เนื่องจากปัญหาวุ่นวายภายในประเทศของไทยบานปลายขยายวง ถึงขั้นรัฐบาลต้องยุบสภาหนี ขณะที่การชุมมุมของกองทัพนกหวีด หรือ ม็อบกปปส. ก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น
**ทำให้ฝ่ายไทยโดย สมช.ไม่พร้อมที่จะดำเนินการสานต่อเวทีของการพูดคุยสันติภาพที่ชายแดนใต้ หรือกล่าวโดยนัยก็คือ ไม่พร้อมที่จะดูแลความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน เนื่องจากต้องไปให้ความสำคัญกับความมั่นคงของรัฐบาลก่อน
โดยข้อเท็จจริงการพูดคุยทั้ง 3 ครั้งอย่างเป็นทางการที่ผ่านมา ระหว่างฝ่ายบีอาร์เอ็น ที่นำโดย “ฮัสซัน ตอยิบ”กับตัวแทนของฝ่ายไทยที่มี “พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร”เลขาธิการ สมช.ไม่มีความคืบหน้าในการผลักดันให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด
แม้จะมีบางคราที่เห็นโอกาสที่จะเกิดสันติภาพขึ้นในชายแดนใต้ได้ โดยฝ่ายไทยได้เสนอข้อเรียกร้องให้บีอาร์เอ็น ลดการก่อเหตุต่อเป้าหมายที่ “อ่อนแอ”ในห้วงเดือน “รอมฎอน”ซึ่งเวลานั้นนับว่าเริ่มต้นมีสัญญาณที่ดีเป็นอย่างยิ่ง และมีการตอบรับจาก นายฮัสซัน ตอยิบ จะให้เดือนถือศีลอดของมุสลิมเป็นเดือนแห่งการลดความขัดแย้งก็ตาม แต่ในที่สุดก็มีเหตุให้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว
เนื่องเพราะข้อตกลงของบีอาร์เอ็น กับ สมช. ที่มีการประกาศไว้เพียง 2 สัปดาห์ ปรากฏว่าทั้ง “แกนนำ”และ “แนวร่วม”ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ แม้จะอยู่ภายใต้ร่มธงของบีอาร์เอ็นด้วย แต่พวกเขากลับไม่เชื่อฟังผู้นำบางคนของ บีอาร์เอ็น สถานการณ์ความรุนแรงที่ดูจะสงบลงในระยะสั้นๆ ก็ปะทุเดือดขึ้นอีกครั้ง
นอกจากนั้น ในครึ่งหลังของเดือนรอมฎอนกลับกลายเป็นว่า ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง รวมถึงประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ถือเป็นเป้าหมายอ่อนแอ ต่างก็ตกอยู่ในสภาพล้มตายเหมือน“ใบไม้ร่วง”ไปตามๆ กัน
ส่งผลให้สิ่งที่ตามมาคือ มีการประกาศไม่ยอมรับการพูดคุยสันติภาพดังกล่าวจากทั้งแกนนำ และแนวร่วมบางกลุ่มของขบวนการบีอาร์เอ็น รวมทั้งการออกมาร่วมผสมโรงของขบวนการอื่นๆ อาทิ พูโล บีไอพีพี และกลุ่ม “ภัยแทรกซ้อน”ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่พึ่งพิงอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรง
นอกจากนั้น ในการพูดคุยต่อเนื่องมา 3 หนที่ผ่านมา ข้อเสนอที่บีอาร์เอ็น นำเสนอต่อ สมช.ทั้ง 5 ข้อ ก็ล้วนเป็นข้อเสนอที่ฝ่ายไทยเพียงรับไว้เพื่อพิจารณา แต่ยังไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้ แม้แต่ข้อเดียว ทำให้บีอาร์เอ็น ต้องนำข้อเสนอเหล่านั้นทำเป็นคลิปเสนอผ่าน “ยูทิวบ์”เพื่อเป็นการกดดัน และเพื่อสื่อสารกับสังคมมุสลิมในพื้นที่ และทั่วโลกให้รับรู้ ในฐานะที่บีอาร์เอ็นอ้างว่า เป็นตัวแทนของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
**หลังการพูดคุยสันติภาพครั้งที่ 3 ฝ่ายบีอาร์เอ็น ได้ทำคลิปผ่านยูทิวบ์ ขู่รัฐไทยอีกว่า หาก สมช.ไม่รับข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ อาจจะมีการ “ชะลอ”หรือ “ยกเลิก”เวทีของการพูดคุยที่จะมีขึ้นในครั้งต่อๆ ไปเลยก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ดาโต๊ะ สรี ฮาหมัด ซำซามิง ฮาซัม อดีตเลขาธิการสำนักข่าวกรองแห่งชาติของมาเลเซีย ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ ได้แถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนในมาเลเซีย ว่า การพูดคุยระหว่างกลุ่มผู้เห็นต่างกับรัฐไทย ยังจะเดินหน้าต่อไป ยังไม่มีการ“ยกเลิก”เพียงแต่ “ชะลอ”ไว้ชั่วคราว ซึ่งต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ของไทยเข้ามาสานต่อ
ดาโต๊ะ สรี ฮาหมัด ซำซามิง ฮาซัม ยังกำชับด้วยว่า เพราะการพูดคุยสันติภาพเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความไม่สงบ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินภาคใต้ของไทย
นอกจากนี้ ยังมีการระบุจากผู้ประสานงานฝ่ายมาเลเซียด้วยว่า ในการพูดคุยครั้งต่อไป จะมีการดึงเอากลุ่มขบวนการที่เห็นต่างอื่นๆ เช่น พูโล บีไอพีพี กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และกลุ่มศาสนา ให้เข้าไปร่วมพูดคุยด้วย เพื่อหาแนวทางบรรลุถึงการสร้างสันติภาพ โดยประเทศมาเลเซีย ยังพร้อมที่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งได้ใช้เป็นเวทีของการแก้ปัญหา
อีกทั้งวันที่ 28ก.พ. ดาโต๊ะ สรี ฮาหมัด ซำซามิง ฮาซัม ยืนยัน จะเดินทางไปแถลงข่าวการสนับสนุนพูดคุยระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างที่ จ.เชียงใหม่
ในขณะที่ในเวลานี้สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอ ของจ.สงขลา ได้แก่ จะนะ นาทวี เทพา และ สะบ้าย้อย ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง และนับว่าดุเดือดไม่แพ้ช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะนับตั้งแต่ต้นปี 2557 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนผู้เป็นเป้าหมายอ่อนแอยังคงตกอยู่ในสภาพตายเป็นใบไม้ร่วง ไม่เว้นแม้กระทั่ง ครู พระ และผู้หญิง ซึ่งล้วนเป็นเป้าหมายที่สร้างความสะเทือนใจแบบสุดๆ ต่างก็ถูกเข่นฆ่าอย่างทารุณ บางเหตุการณ์เป็นการจงใจฆ่าแล้วเผาเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้น หากเวลานี้จะมีการสำรวจความรู้สึกของคนในพื้นที่ต่อ“เวทีการพูดคุยสันติภาพ”เพื่อหาทางออกให้กับวิกฤตไฟใต้ เสียงสนับสนุนจึงอาจจะไม่คึกคักเท่ากับช่วงเริ่มต้นในเดือน ก.พ.56 แน่นอน
**ยิ่งบริบทของการพูดคุยทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นอย่างที่คาดหวัง จึงยิ่งทำให้ผู้คนมองว่า การพูดคุยที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของ“การเมืองระหว่างประเทศ”เสียมากกว่า เพราะฝ่ายที่ได้ประโยชน์กับการพูดคุย ดูเหมือนจะเป็นมาเลเซียเท่านั้น
อีกทั้งมีเหตุผลที่สอดรับในเรื่องนี้ คือ เวลานี้มาเลเซียต้องการเล่นบท “ผู้นำมุสลิมโลก”จึงเพียงต้องการสร้างภาพลักษณ์ในมุมมองของประชาคมระหว่างประเทศ
นอกจากนี้แล้ว ในปี 2558 ที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง มาเลเซีย ยังได้ดำรงตำแหน่ง “ประธานอาเซียน”ด้วย
ก่อนหน้านี้มาเลเซียก็ภาพของการเป็นกลไกสำคัญในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งต่างก็มีปัญหาการต่อสู่อำนาจรัฐของฝ่ายเห็นต่างเหมือนกับพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย ถ้ามาเลเซียสามารถมีส่วนในการดับไฟใต้ให้ไทยได้ สิ่งนี้จะก่อประโยชน์ให้กับมาเลเซียในบทบาทการเป็นผู้นำอาเซียนในทุกด้าน
ดังนั้น มาเลเซียจึงแสดงบทบาทของ “คนกลาง”ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพในไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งบีอาร์เอ็น พูโล บีไอพีพี และกลุ่มเห็นต่างจากรัฐไทยอื่นๆ จะต้องทำตาม ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
เนื่องเพราะทุกขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือทุกกลุ่มก้อนที่เห็นต่างกับรัฐไทย พวกเขาต่างอาศัยมาเลเซียเป็น “หลังพิง”ในการปฏิบัติการทั้งการเมืองและการทหาร ต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั่นเอง
แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าฝ่ายมาเลเซีย หรือฝ่ายไทย จะวางบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศให้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอย่างไร แต่โต๊ะ “พูดคุยเพื่อดับไฟใต้”เชื่อว่าจะต้องมีการ “สานต่อ” ให้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันต่อไป
หรือสำหรับไทยเอง ไม่ว่ากลุ่มก๊วนการเมืองไหน หรือแม้กระทั่งคนกลางจะได้เข้าไปครองอำนาจรัฐ เชื่อว่ารัฐบาลชุดต่อไปย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้จลลงที่การให้กำลังและอาวุธ แต่จบลงที่การพูดคุยหรือการเจรจาบนโต๊ะทั้งสิ้น
**ที่สำคัญที่สุดคือ “วิกฤตไฟใต้”ก็ไม่อยู่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่กล่าวมานี้แต่ออย่างใด