เมื่อเวลา 15.45 น. วานนี้ (17ก.พ.) ที่พรรคเพื่อไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผอ.เลือกตั้ง พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรค ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายจารุพงศ์ อ่านแถลงการณ์พรรคเพื่อไทย ว่า ตามที่ กกต. โดยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้เชิญให้ผู้แทนพรรคเพื่อไทย ร่วมประชุมหารือ ซึ่งผลการประชุมพอสรุปได้ว่า กกต.ได้อธิบายเหตุผลว่า เหตุใดจึงเห็นควรให้มีการเลือกตั้งสำหรับเขตที่การเลือกตั้งยังไม่เรียบร้อย ในวันที่ 20 เม.ย. และ 27 เม.ย. โดยพรรคเพื่อไทยได้ยืนยันไปว่า กกต. มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ เพื่อเปิดประชุมสภาให้ได้ ภายใน 30 วัน หลังวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ดังนั้นการที่ กกต.เสนอจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 20 เม.ย. และ 27 เม.ย. จึงเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 โดยชัดแจ้ง อีกทั้งการว่างเว้น ไม่มีรัฐบาลเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอย่างมากมาย โดยเฉพาะความเสียหายทางเศรษฐกิจ เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณ การอนุมัติโครงการ การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ อีกทั้งยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้ กกต. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1 . กกต. ต้องจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เปิดสภาได้ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. คือต้องเปิดประชุมสภาได้ไม่เกินวันที่ 4 มี.ค.
2. สำหรับเขตเลือกตั้ง 28 เขต ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ เพราะ กปปส.ไปขัดขวาง กกต.มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และมาตรา 236 และตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่จะจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้เลย โดยไม่ต้องออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ตามที่กกต.เสนอ เพราะการทำเช่นนั้น จะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดให้วันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั้งประเทศ และจะทำให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นโมฆะทั้งหมด
3. พรรคเพื่อไทย ขอเรียกร้องให้ กกต. จัดการเลือกตั้งที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อเปิดประชุมสภา และจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศต่อไป
"การที่กลุ่มผู้ชุมนุมไปเทปูนหน้าทำเนียบฯ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ และเคยเกิดขึ้นมาแล้วสมัยนายกฯ สมัคร นายกฯ สมชาย เค้าโครงวิธีการล้มรัฐบาล เดินมาเหมือนปี 2548-2549 ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ แต่ระวังว่า คราวที่แล้ว กกต.ติดคุก 3 คน คราวนี้อาจติดคุกเหลือคนเดียว" นายจารุพงศ์ กล่าว
** กกต.จัดเลือกตั้งไม่ได้ ก็ลาออกไป
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่ นายสมชัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ตั้งคำถามถึงการจัดการเลือกตั้งให้ลุล่วง 7 คำถามนั้น เป็นคำถามเดิมๆ ที่ กกต. ต้องตอบ และมองว่าการตั้งคำถามดังกล่าว เป็นการประจานการทำงานของกกต.เอง ที่ไม่สามารถทำให้การเลือกตั้งเรียบร้อยได้ และ กกต. มองไม่ออกหรือว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะมีการชุมนุมขัดขวางการเลือกตั้ง จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนดังกล่าว วันนี้กกต.พยายามขอความร่วมมือฝ่ายต่างๆ แต่มองว่า กกต. น่าจะมีเจตนาพิเศษ ปกป้องความผิดของตัวเอง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะกกต. ไม่ทำตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ และคำถามทั้ง 7 ข้อ ก็ควรต้องไปถามตัวเองว่า ได้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ ไม่อยากให้กกต. โยนภาระมาให้รัฐบาล พรรคการเมือง นักวิชาการ วันนี้ กกต. ต้องเร่งประชุม และประกาศรับรองคุณสมบัติผู้สมัครใน 28 เขต ที่มีปัญหา และกำหนดวันเลือกตั้งออกมา ไม่เช่นนั้นกกต. จะทำขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง และหาก กกต.ยังไม่ทำหน้าที่ การประชุมวันนี้ ก็จะไร้ประโยชน์ หากยังไม่ทำหน้าที่ก็ขอให้ลาออกไป แล้วเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามาทำหน้าที่แทน
**”มาร์ค”เตือน”ปู”เลิกดันทุรัง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์ความเห็นต่างเรื่องการจัดการเลือกตั้งว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลและ กกต.ต้องสร้างทางออกร่วมกัน ถ้าข้อกฏหมายไม่ตรงกัน ก็ต้องหาข้อยุติ ซึ่งปัญหาวันนี้คือ คนจำนวนมากเห็นว่าทำไม่ได้ และเป็นไปไม่ได้ ด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย วันนี้ถ้ารัฐบาล และกกต.ไม่สื่อสารหาทางออกอย่างเป็นทางการ คงลงตัวยาก โดยวันนี้ถ้ากกต.เห็นว่าความคิดเห็นระหว่าง กกต. และรัฐบาลยังขัดแย้งกันอยู่ ก็สามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
ส่วนที่รัฐบาลพยายามยืนยันว่า จะไม่ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง (พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง) 28 เขต ในพื้นที่ภาคใต้ ที่ยังไม่มีผู้สมัครนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากกต.ยืนยันว่า ต้องออก แต่รัฐบาลไม่ยอมออก ก็ถือเป็นความขัดแย้ง ถามต่อว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้แล้วว่า มีความขัดแย้ง รัฐบาลต้องทำตามหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับคำถามว่า คนถามจะถามอย่างไร ตนไปคาดการณ์ไม่ได้ แต่ถามแล้วคำตอบก็ผูกมัดทุกองค์กร บอกตรงๆ ว่า จำเป็นหรือที่เราต้องปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อ และต้องไปจบลงที่ศาล และเดี๋ยวจะมีกระบวนการลดความน่าเชื่อถือของศาลอีก จากฝ่ายที่ไม่พอใจ วันนี้มีกี่คนที่เชื่อว่า จะสามารถเลือกตั้งเพื่อจะเปิดสภาได้ภายใน 30 วัน มีกี่คนเชื่อว่า เมื่อ 28 เขต ที่ไม่สามารถเปิดรับผู้สมัครได้ จะมีผู้แทนได้ร้อยละ 95 มีกี่คนที่เชื่อว่า จะสามารถมี ส.ส.บัญชีรายชื่อได้
"เหตุใดไม่ย้อนไปดูเหตุการณ์ วันที่ 2 ก.พ.ว่าคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ตัดสินใจที่จะไม่ไปเลือกตั้ง หรือไปใช่สิทธิ์ แต่ไม่ไปเลือกพรรคการเมืองใดเลย ผมว่าปัจจัยเหล่านี้ คงเป็นสิ่งที่สามารถหาคำตอบทางการเมือง ที่เป็นทางอื่นมากกว่าที่จะผลักดันในสิ่งที่มีปัญหา ทั้งข้อกฏหมาย มีทั้งความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งบานปลาย สุ่มเสี่ยงความสูญเสีย และไม่เป็นผลดีกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาประชาชน แต่คงเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลว่า ที่ตัดสินใจผลักดันเรื่องนี้เพราะอะไร นอกจากรักษาสถานะของตนเอง หรือพยายามเอาชนะทางการเมือง ขอย้ำว่าถ้าเหตุการณ์ยืดเยื้อ รัฐบาลจะแก้ปัญหาประเทศไม่ได้ ความขัดแย้งจะสะสม ความเกลียดชังมากขึ้น ถ้าพยายามรักษาอำนาจรัฐของตนเองไว้ คงไม่เป็นการแก้ปัญหาให้ประเทศ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**แนะเปิดทางรัฐบาลเฉพาะกาล
เมื่อถามว่า รัฐบาลพยายามโยนเรื่องการจัดการเลือกตั้งให้ กกต. โดยอ้างว่ามีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กกต. ก็ต้องทำ แต่ทำเท่าที่รัฐธรรมนูญ และกฏหมายกำหนดให้ทำได้ นี่คือสิ่งที่กกต.พูด ไม่ใช่ว่า กกต. มีอำนาจแล้วไม่ยอมใช้ แต่เขามีปัญหากับความเห็นทางกฏหมายของเขา ว่าเขาไม่มีอำนาจ วันที่ กกต.เชิญนักการเมืองเข้าไปพูดคุย ก็ได้อธิบายว่า กกต.จำเป็นจะต้องใช้บุคลากรภาครัฐ ซึ่งเขาไม่สามารถจะสั่งการได้ วันนั้น ที่ไปประชุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ก็พูดชัดว่า หลายครั้งขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาช่วยงาน แต่เจ้าหน้าที่รัฐบอกว่า ต้องให้รัฐบาลสั่งก่อน แต่รัฐบาลก็ไม่ยอมสั่งการใดๆ
เมื่อถามต่อว่า การมีรัฐบาลรักษาการ กับการเปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะกาล เข้ามาเป็นคนกลาง รูปแบบใดดีกว่ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลปัจจุบันทำงานเช่นนี้ การเปิดทางให้มีทางออกของประเทศดีกว่าแน่นอน แต่ตนทราบว่า รัฐบาลไม่ยอมรับการให้มีคนกลางเข้ามา และปัญหาคือ รัฐบาลทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะมีทางออกอย่างไรให้ประเทศ
พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้ กกต. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1 . กกต. ต้องจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เปิดสภาได้ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. คือต้องเปิดประชุมสภาได้ไม่เกินวันที่ 4 มี.ค.
2. สำหรับเขตเลือกตั้ง 28 เขต ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ เพราะ กปปส.ไปขัดขวาง กกต.มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และมาตรา 236 และตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่จะจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้เลย โดยไม่ต้องออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ตามที่กกต.เสนอ เพราะการทำเช่นนั้น จะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่กำหนดให้วันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั้งประเทศ และจะทำให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นโมฆะทั้งหมด
3. พรรคเพื่อไทย ขอเรียกร้องให้ กกต. จัดการเลือกตั้งที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อเปิดประชุมสภา และจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศต่อไป
"การที่กลุ่มผู้ชุมนุมไปเทปูนหน้าทำเนียบฯ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ และเคยเกิดขึ้นมาแล้วสมัยนายกฯ สมัคร นายกฯ สมชาย เค้าโครงวิธีการล้มรัฐบาล เดินมาเหมือนปี 2548-2549 ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ แต่ระวังว่า คราวที่แล้ว กกต.ติดคุก 3 คน คราวนี้อาจติดคุกเหลือคนเดียว" นายจารุพงศ์ กล่าว
** กกต.จัดเลือกตั้งไม่ได้ ก็ลาออกไป
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่ นายสมชัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ตั้งคำถามถึงการจัดการเลือกตั้งให้ลุล่วง 7 คำถามนั้น เป็นคำถามเดิมๆ ที่ กกต. ต้องตอบ และมองว่าการตั้งคำถามดังกล่าว เป็นการประจานการทำงานของกกต.เอง ที่ไม่สามารถทำให้การเลือกตั้งเรียบร้อยได้ และ กกต. มองไม่ออกหรือว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะมีการชุมนุมขัดขวางการเลือกตั้ง จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนดังกล่าว วันนี้กกต.พยายามขอความร่วมมือฝ่ายต่างๆ แต่มองว่า กกต. น่าจะมีเจตนาพิเศษ ปกป้องความผิดของตัวเอง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะกกต. ไม่ทำตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ และคำถามทั้ง 7 ข้อ ก็ควรต้องไปถามตัวเองว่า ได้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ ไม่อยากให้กกต. โยนภาระมาให้รัฐบาล พรรคการเมือง นักวิชาการ วันนี้ กกต. ต้องเร่งประชุม และประกาศรับรองคุณสมบัติผู้สมัครใน 28 เขต ที่มีปัญหา และกำหนดวันเลือกตั้งออกมา ไม่เช่นนั้นกกต. จะทำขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง และหาก กกต.ยังไม่ทำหน้าที่ การประชุมวันนี้ ก็จะไร้ประโยชน์ หากยังไม่ทำหน้าที่ก็ขอให้ลาออกไป แล้วเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามาทำหน้าที่แทน
**”มาร์ค”เตือน”ปู”เลิกดันทุรัง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์ความเห็นต่างเรื่องการจัดการเลือกตั้งว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลและ กกต.ต้องสร้างทางออกร่วมกัน ถ้าข้อกฏหมายไม่ตรงกัน ก็ต้องหาข้อยุติ ซึ่งปัญหาวันนี้คือ คนจำนวนมากเห็นว่าทำไม่ได้ และเป็นไปไม่ได้ ด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย วันนี้ถ้ารัฐบาล และกกต.ไม่สื่อสารหาทางออกอย่างเป็นทางการ คงลงตัวยาก โดยวันนี้ถ้ากกต.เห็นว่าความคิดเห็นระหว่าง กกต. และรัฐบาลยังขัดแย้งกันอยู่ ก็สามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
ส่วนที่รัฐบาลพยายามยืนยันว่า จะไม่ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง (พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง) 28 เขต ในพื้นที่ภาคใต้ ที่ยังไม่มีผู้สมัครนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากกต.ยืนยันว่า ต้องออก แต่รัฐบาลไม่ยอมออก ก็ถือเป็นความขัดแย้ง ถามต่อว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้แล้วว่า มีความขัดแย้ง รัฐบาลต้องทำตามหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับคำถามว่า คนถามจะถามอย่างไร ตนไปคาดการณ์ไม่ได้ แต่ถามแล้วคำตอบก็ผูกมัดทุกองค์กร บอกตรงๆ ว่า จำเป็นหรือที่เราต้องปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อ และต้องไปจบลงที่ศาล และเดี๋ยวจะมีกระบวนการลดความน่าเชื่อถือของศาลอีก จากฝ่ายที่ไม่พอใจ วันนี้มีกี่คนที่เชื่อว่า จะสามารถเลือกตั้งเพื่อจะเปิดสภาได้ภายใน 30 วัน มีกี่คนเชื่อว่า เมื่อ 28 เขต ที่ไม่สามารถเปิดรับผู้สมัครได้ จะมีผู้แทนได้ร้อยละ 95 มีกี่คนที่เชื่อว่า จะสามารถมี ส.ส.บัญชีรายชื่อได้
"เหตุใดไม่ย้อนไปดูเหตุการณ์ วันที่ 2 ก.พ.ว่าคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ตัดสินใจที่จะไม่ไปเลือกตั้ง หรือไปใช่สิทธิ์ แต่ไม่ไปเลือกพรรคการเมืองใดเลย ผมว่าปัจจัยเหล่านี้ คงเป็นสิ่งที่สามารถหาคำตอบทางการเมือง ที่เป็นทางอื่นมากกว่าที่จะผลักดันในสิ่งที่มีปัญหา ทั้งข้อกฏหมาย มีทั้งความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งบานปลาย สุ่มเสี่ยงความสูญเสีย และไม่เป็นผลดีกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และปัญหาประชาชน แต่คงเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลว่า ที่ตัดสินใจผลักดันเรื่องนี้เพราะอะไร นอกจากรักษาสถานะของตนเอง หรือพยายามเอาชนะทางการเมือง ขอย้ำว่าถ้าเหตุการณ์ยืดเยื้อ รัฐบาลจะแก้ปัญหาประเทศไม่ได้ ความขัดแย้งจะสะสม ความเกลียดชังมากขึ้น ถ้าพยายามรักษาอำนาจรัฐของตนเองไว้ คงไม่เป็นการแก้ปัญหาให้ประเทศ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**แนะเปิดทางรัฐบาลเฉพาะกาล
เมื่อถามว่า รัฐบาลพยายามโยนเรื่องการจัดการเลือกตั้งให้ กกต. โดยอ้างว่ามีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กกต. ก็ต้องทำ แต่ทำเท่าที่รัฐธรรมนูญ และกฏหมายกำหนดให้ทำได้ นี่คือสิ่งที่กกต.พูด ไม่ใช่ว่า กกต. มีอำนาจแล้วไม่ยอมใช้ แต่เขามีปัญหากับความเห็นทางกฏหมายของเขา ว่าเขาไม่มีอำนาจ วันที่ กกต.เชิญนักการเมืองเข้าไปพูดคุย ก็ได้อธิบายว่า กกต.จำเป็นจะต้องใช้บุคลากรภาครัฐ ซึ่งเขาไม่สามารถจะสั่งการได้ วันนั้น ที่ไปประชุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ก็พูดชัดว่า หลายครั้งขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาช่วยงาน แต่เจ้าหน้าที่รัฐบอกว่า ต้องให้รัฐบาลสั่งก่อน แต่รัฐบาลก็ไม่ยอมสั่งการใดๆ
เมื่อถามต่อว่า การมีรัฐบาลรักษาการ กับการเปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะกาล เข้ามาเป็นคนกลาง รูปแบบใดดีกว่ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลปัจจุบันทำงานเช่นนี้ การเปิดทางให้มีทางออกของประเทศดีกว่าแน่นอน แต่ตนทราบว่า รัฐบาลไม่ยอมรับการให้มีคนกลางเข้ามา และปัญหาคือ รัฐบาลทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะมีทางออกอย่างไรให้ประเทศ