ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ก่อนที่จะไปดูงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมะพร้าวและโรคมะเร็งนั้น นับเป็นความทุกข์ยากประการสำคัญของผู้ป่วยมะเร็งและญาติของผู้ป่วยมะเร็งอยู่เสมอว่าห้ามรับประทานอะไร และควรจะรับประทานอะไร และหลายครั้งก็ดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยความสับสน และการโต้แย้งกันระหว่างแพทย์ทางเลือกกับแพทย์แผนปัจจุบันที่จะใช้ในการผ่าตัด ฉายแสง และการคีโมบำบัด
แม้แต่ในวงการแพทย์ทางเลือก ต่างก็เต็มไปด้วยความสับสนและการโต้แย้งซึ่งกันและกันว่าอะไรรับประทานได้ และอะไรรับประทานไม่ได้ จนหลายครั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยกลับเครียดกับปัญหาเหล่านี้มากกว่าอาการป่วยเสียอีก เพราะไม่รู้ว่าจะกินอะไรถึงจะปลอดภัยกันแน่
ตัวอย่างเช่น "ไขมัน" ที่ในวงการแพทย์ทางเลือกหลายสาขาระบุเอาไว้ว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง แต่ความเป็นจริงไขมันบางชนิดก็อาจจะช่วยผู้ป่วยมะเร็งก็ได้หากรับประทานได้อย่างพอเหมาะควบคู่กับการสมดุลด้านอื่น
ก่อนที่จะไปดูงานวิจัยที่เกี่ยวกับไขมันต่างๆกับโรคมะเร็ง เท่าที่ได้ศึกษามาถึงวิธีการที่น้ำมันมะพร้าวจะช่วยป้องกันหรือฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยมะเร็งได้นั้น มีคำอธิบายสรุปอยู่หลายเหตุผลดังต่อไปนี้
1.น้ำมันมะพร้าว เป็นไขมันอิ่มตัวที่ธาตุคาร์บอนได้จับไฮโดรเจนครบทุกแขนแล้ว ดังนั้นจึงไม่เปิดช่องให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาให้เกิดอนุมูลอิสระ ในขณะเดียวกันเมื่อโดนความร้อนก็ไม่เกิดกระบวนการเติมไฮโดรเจนและบิดตัวจนกลายเป็นไขมันทรานส์ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและโรคมะเร็ง
2.น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายปานกลางหลายชนิด โดยเฉพาะ กรดลอริกที่เมื่อย่อยแล้ว ได้สารที่ชื่อ โมโนลอริน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่ก่อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย ยิสต์ เชื้อรา โปรโตซัว เฉพาะที่ก่อโรค และรวมถึงแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดด้วย เช่น ไวรัส Human Papilloma virus (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก, ไวรัส Epstein-Barr virus ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งโพรงหลังจมูก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, ไวรัส Herpes Simplex Virus Type 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, หรือไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดเช่น Helicobacter Pyroli ซึ่งก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และอาจรวมถึงเชื้อราบางชนิด เช่น Aspergillus flava ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ เชื้อที่กล่าวนี้สามารถถูกทำลายหรือลดปริมาณลงด้วยโมโนลอรินที่ได้จากกรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวได้
ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงทำให้เม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดภาระในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ จึงมีความสามารถที่จะเยียวยาในส่วนอื่นๆของร่างกายได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบในงานวิจัยบางชิ้นด้วยว่าน้ำมันมะพร้าวกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วย โดยเฉพาะ T เซลล์ ที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ในมิตินี้จึงเท่ากับน้ำมันมะพร้าวช่วยฆ่าเชื้อก่อโรคทั้งหลาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจากการบำบัดด้วยคีโม
3.น้ำมันมะพร้าวมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่คอยปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระได้ ได้แก่ วิตามินอี สารฟีนอล สารไฟโตสเตอรอล
4. ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ Thomas Seyfried ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีงานเขียนเกี่ยวกับโรคมะเร็งหลายชิ้น ได้รณรงค์ให้ผู้ป่วยมะเร็งอดอาหารเป็นช่วงๆ และลดอาหารคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) และลดน้ำตาลให้น้อยที่สุด ลดโปรตีน และบริโภคไขมันให้สูงขึ้นเพื่อนำสารคีโตนที่ได้จากไขมันไปหล่อเลี้ยงเซลล์ดีโดยไม่ขยายเซลล์มะเร็ง เพราะเซลล์มะเร็งที่ต้องการทั้งน้ำตาลและโปรตีน
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ Thomas Seyfried ได้อธิบายต่อยอดจาก ทฤษฎีของ ด็อกเตอร์ ออตโต้ วอร์เบิร์ก นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่ได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี พ.ศ. 2474 ที่ค้นพบว่า
"เซลล์มะเร็งมีพื้นฐานมาจากความแตกต่างในเรื่องการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ น้ำตาลมีแน้วโน้มจะเป็นอาหารของก้อนเนื้อร้ายเหล่านี้"
นักวิทยาศาสตร์ในช่วงหลังยังค้นพบด้วยว่าไม่ใช่แค่กระบวนการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสเท่านั้น แม้แต่น้ำตาลจากผลไม้ที่เรียกว่าฟรุ๊คโตสก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนมะเร็งที่ตับนั้นสามารถขยายแบ่งตัวได้ด้วยน้ำตาลฟรุ๊คโตสด้วย อีกทั้งกระบวนการย่อยสลายกลูตามีนก็ได้จากกรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีนก็ทำให้มะเร็งเติบโตได้อีกเช่นกัน
ดังนั้น ศ.ดร.Thomas Seyfried ให้ความเห็นว่า"มะเร็งจะสามารถสร้างพลังงานได้จากกระบวนการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสและการย่อยสลายกลูตามีนี่ได้จากกรดอะมิโน เพื่อให้การผลักดันให้น้ำตาลมีมากพอในกระบวนการเผาผลาญให้เป็นพลังงาน ดังนั้นแป้งและน้ำตาลจะถูกแปลงเป็นกลูโคสตลอดจนโปรตีนทำให้มะเร็งเจริญเติบโตได้"
คำถามที่ตามมาก็คือถ้าต้องงดแป้ง น้ำตาล และลดโปรตีนให้น้อยลง คงจะเหลือการรับประทานได้เพียงแค่ผักกับผลไม้ที่ไม่หวานเท่านั้น แล้วจะบริโภคไขมันชนิดไหนที่จำไม่ทำให้เซลล์มะเร็งขยายตัวขึ้น?
การทดลองในปี พ.ศ. 2527 ของ โดย Bandaru S. Reddy และ Yoshiichi Maeura ในหัวข้อ Tumor promotion by dietary fat in azoxymethane-induced colon carcinogenesis in female F344 rats: influence of amount and source of dietary fat. ตีพิมพ์ใน วารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ J Natl Cancer Inst.1984 Mar;72(3):745-50 โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดสอบเรื่องเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้และน้ำมันชนิดต่างๆ
งานวิจัยข้างต้นนี้ได้ทำการทดลองโดยกระตุ้นหนูทดลองให้เกิดมะเร็งลำไส้ด้วยสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่ชื่อ azoxymethane โดยเปรียบเทียบในการเลี้ยงหนูด้วยน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะพร้าว และ ไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง และขั้นตอนการทดลองนี้เริ่มด้วยการให้หนูเหล่านี้เริ่มกินไขมันต่ำก่อน ประกอบไปด้วย น้ำมันข้าวโพด 5% น้ำมันดอกคำฝอย 5% หรือ น้ำมันมะกอก 5% ใน 2 สัปดาห์แรก และ 1 สัปดาห์หลังจากให้สารก่อมะเร็ง azoxymethane ในปริมาณสัดส่วน 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
หลังจาก 1 สัปดาห์ผ่านไปเมื่อหนู่ได้รับสารก่อมะเร็ง azoxymethane แล้วจึงเริ่มให้เลี้ยงด้วยไขมันในปริมาณที่สูงขึ้น ประกอบไปด้วย น้ำมันข้าวโพด 23.52% น้ำมันดอกคำฝอย 23.52% น้ำมันมะกอก 23.52% และน้ำมันมะพร้าว 23.52% หรือ น้ำมันข้าวโพด 5.88% ผสมไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง 17.64% ส่วนหนูที่เหลือก็ให้เลี้ยงไขมัต่ำต่อไปในระดับ 5%
ผลงานวิจัยนี้ได้พบเรื่องที่น่าสนใจดังนี้
1.การเกิดก้อนเนื้อในลำไส้หนูขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อถูกเลี้ยงด้วยไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในปริมาณที่สูง คือ น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอย เมื่อเทียบหนูที่ถูกเลี้ยงด้วยไขมันน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยในปริมาณไขมันต่ำ นั่นหมายความว่าไขมันกลุ่มนี้เมื่อกินมากจะมีผลโดยตรงทำให้การเกิดก้อนเนื้อเพิ่มมากขึ้น (หมายความว่าไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งทั้ง 2 ชนิดนี้ยิ่งเลี้ยงมากขึ้นมะเร็งในลำไส้ก็จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น)
2.น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่เป็นไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง (ซึ่งมีมากในน้ำมันมะพร้าว) ไม่ได้ส่งผลสนับสนุนอัตราการเกิดของมะเร็งในลำไส้ให้เพิ่มขึ้น แม้จะเลี้ยงในปริมาณที่มากก็ตาม
3.น้ำมันมะพร้าวเพียงอย่างเดียว มีผลทำให้หยุดเจริญเติบโตของมะเร็งลำไส้ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็ง ได้ดีกว่าน้ำมันไม่อิ่มตัวอย่างน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย และน้ำมันมะกอก ฯลฯ
4.ปริมาณของสารมะเร็ง (adenocarcinomas) ในลำไส้ของสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี มีความแตกต่างกัน 10 เท่า ระหว่างน้ำมันข้าวโพดที่พบปริมาณสารมะเร็ง 32% ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวพบเพียงแค่ 3%
5.ทั้งน้ำมันมะกอก และน้ำมันมะพร้าว ต่างก็สร้าง adenocarcinomas ในระดับต่ำที่เท่ากันคือ 3% แต่ในสัตว์ทดลองที่มีลำไส้เล็กที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว ไม่เกิดเนื้องอกเลย ในขณะที่หนูทดลองที่เลี้ยงน้ำมันมะกอกเกิดเนื้องอก 7%
6.ไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้มีผลกระตุ้นการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้ในน้ำมันพืชทุกชนิดยกเว้นน้ำมันมะพร้าว โดยเฉพาะขนาดและจำนวนเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลองนั้นมีมากหากถูกเลี้ยงด้วยน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอย
งานวิจัยชิ้นนี้จึงสรุปว่า น้ำมันมะพร้าวป้องกันการพัฒนาเซลล์มะเร็งในหนูทดลองได้!!!
แม้น้ำมันมะพร้าวจะไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาเซลล์มะเร็ง แต่เมื่อน้ำตาล โปรตีน และไขมันหลายชนิด (โดยเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) ทำให้มะเร็งเจริญเติบโตได้ เราก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคลด/งดอาหารแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง ตลอดจนงดอาหารผัดทอดจากกลุ่มพวกไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ และอดอาหารเป็นช่วงๆ
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเรื่องความเครียดที่จะทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นและมีภาวะความเป็นกรดมากขึ้นมะเร็งจึงขยายตัวเจริญเติบโตได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นคนจำนวนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งมักจะอาการทรุดอย่างเร็วเพราะเครียดและจิตตก
ดังนั้นดูแลด้วยอาหารอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลจิตใจของตัวเองได้ดีด้วย!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ก่อนที่จะไปดูงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมะพร้าวและโรคมะเร็งนั้น นับเป็นความทุกข์ยากประการสำคัญของผู้ป่วยมะเร็งและญาติของผู้ป่วยมะเร็งอยู่เสมอว่าห้ามรับประทานอะไร และควรจะรับประทานอะไร และหลายครั้งก็ดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยความสับสน และการโต้แย้งกันระหว่างแพทย์ทางเลือกกับแพทย์แผนปัจจุบันที่จะใช้ในการผ่าตัด ฉายแสง และการคีโมบำบัด
แม้แต่ในวงการแพทย์ทางเลือก ต่างก็เต็มไปด้วยความสับสนและการโต้แย้งซึ่งกันและกันว่าอะไรรับประทานได้ และอะไรรับประทานไม่ได้ จนหลายครั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยกลับเครียดกับปัญหาเหล่านี้มากกว่าอาการป่วยเสียอีก เพราะไม่รู้ว่าจะกินอะไรถึงจะปลอดภัยกันแน่
ตัวอย่างเช่น "ไขมัน" ที่ในวงการแพทย์ทางเลือกหลายสาขาระบุเอาไว้ว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง แต่ความเป็นจริงไขมันบางชนิดก็อาจจะช่วยผู้ป่วยมะเร็งก็ได้หากรับประทานได้อย่างพอเหมาะควบคู่กับการสมดุลด้านอื่น
ก่อนที่จะไปดูงานวิจัยที่เกี่ยวกับไขมันต่างๆกับโรคมะเร็ง เท่าที่ได้ศึกษามาถึงวิธีการที่น้ำมันมะพร้าวจะช่วยป้องกันหรือฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยมะเร็งได้นั้น มีคำอธิบายสรุปอยู่หลายเหตุผลดังต่อไปนี้
1.น้ำมันมะพร้าว เป็นไขมันอิ่มตัวที่ธาตุคาร์บอนได้จับไฮโดรเจนครบทุกแขนแล้ว ดังนั้นจึงไม่เปิดช่องให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาให้เกิดอนุมูลอิสระ ในขณะเดียวกันเมื่อโดนความร้อนก็ไม่เกิดกระบวนการเติมไฮโดรเจนและบิดตัวจนกลายเป็นไขมันทรานส์ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและโรคมะเร็ง
2.น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายปานกลางหลายชนิด โดยเฉพาะ กรดลอริกที่เมื่อย่อยแล้ว ได้สารที่ชื่อ โมโนลอริน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่ก่อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย ยิสต์ เชื้อรา โปรโตซัว เฉพาะที่ก่อโรค และรวมถึงแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดด้วย เช่น ไวรัส Human Papilloma virus (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก, ไวรัส Epstein-Barr virus ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งโพรงหลังจมูก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, ไวรัส Herpes Simplex Virus Type 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, หรือไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดเช่น Helicobacter Pyroli ซึ่งก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และอาจรวมถึงเชื้อราบางชนิด เช่น Aspergillus flava ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ เชื้อที่กล่าวนี้สามารถถูกทำลายหรือลดปริมาณลงด้วยโมโนลอรินที่ได้จากกรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวได้
ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงทำให้เม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดภาระในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ จึงมีความสามารถที่จะเยียวยาในส่วนอื่นๆของร่างกายได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบในงานวิจัยบางชิ้นด้วยว่าน้ำมันมะพร้าวกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วย โดยเฉพาะ T เซลล์ ที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ในมิตินี้จึงเท่ากับน้ำมันมะพร้าวช่วยฆ่าเชื้อก่อโรคทั้งหลาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจากการบำบัดด้วยคีโม
3.น้ำมันมะพร้าวมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่คอยปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระได้ ได้แก่ วิตามินอี สารฟีนอล สารไฟโตสเตอรอล
4. ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ Thomas Seyfried ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีงานเขียนเกี่ยวกับโรคมะเร็งหลายชิ้น ได้รณรงค์ให้ผู้ป่วยมะเร็งอดอาหารเป็นช่วงๆ และลดอาหารคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) และลดน้ำตาลให้น้อยที่สุด ลดโปรตีน และบริโภคไขมันให้สูงขึ้นเพื่อนำสารคีโตนที่ได้จากไขมันไปหล่อเลี้ยงเซลล์ดีโดยไม่ขยายเซลล์มะเร็ง เพราะเซลล์มะเร็งที่ต้องการทั้งน้ำตาลและโปรตีน
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ Thomas Seyfried ได้อธิบายต่อยอดจาก ทฤษฎีของ ด็อกเตอร์ ออตโต้ วอร์เบิร์ก นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่ได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี พ.ศ. 2474 ที่ค้นพบว่า
"เซลล์มะเร็งมีพื้นฐานมาจากความแตกต่างในเรื่องการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ น้ำตาลมีแน้วโน้มจะเป็นอาหารของก้อนเนื้อร้ายเหล่านี้"
นักวิทยาศาสตร์ในช่วงหลังยังค้นพบด้วยว่าไม่ใช่แค่กระบวนการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสเท่านั้น แม้แต่น้ำตาลจากผลไม้ที่เรียกว่าฟรุ๊คโตสก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนมะเร็งที่ตับนั้นสามารถขยายแบ่งตัวได้ด้วยน้ำตาลฟรุ๊คโตสด้วย อีกทั้งกระบวนการย่อยสลายกลูตามีนก็ได้จากกรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีนก็ทำให้มะเร็งเติบโตได้อีกเช่นกัน
ดังนั้น ศ.ดร.Thomas Seyfried ให้ความเห็นว่า"มะเร็งจะสามารถสร้างพลังงานได้จากกระบวนการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสและการย่อยสลายกลูตามีนี่ได้จากกรดอะมิโน เพื่อให้การผลักดันให้น้ำตาลมีมากพอในกระบวนการเผาผลาญให้เป็นพลังงาน ดังนั้นแป้งและน้ำตาลจะถูกแปลงเป็นกลูโคสตลอดจนโปรตีนทำให้มะเร็งเจริญเติบโตได้"
คำถามที่ตามมาก็คือถ้าต้องงดแป้ง น้ำตาล และลดโปรตีนให้น้อยลง คงจะเหลือการรับประทานได้เพียงแค่ผักกับผลไม้ที่ไม่หวานเท่านั้น แล้วจะบริโภคไขมันชนิดไหนที่จำไม่ทำให้เซลล์มะเร็งขยายตัวขึ้น?
การทดลองในปี พ.ศ. 2527 ของ โดย Bandaru S. Reddy และ Yoshiichi Maeura ในหัวข้อ Tumor promotion by dietary fat in azoxymethane-induced colon carcinogenesis in female F344 rats: influence of amount and source of dietary fat. ตีพิมพ์ใน วารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ J Natl Cancer Inst.1984 Mar;72(3):745-50 โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดสอบเรื่องเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้และน้ำมันชนิดต่างๆ
งานวิจัยข้างต้นนี้ได้ทำการทดลองโดยกระตุ้นหนูทดลองให้เกิดมะเร็งลำไส้ด้วยสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่ชื่อ azoxymethane โดยเปรียบเทียบในการเลี้ยงหนูด้วยน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะพร้าว และ ไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง และขั้นตอนการทดลองนี้เริ่มด้วยการให้หนูเหล่านี้เริ่มกินไขมันต่ำก่อน ประกอบไปด้วย น้ำมันข้าวโพด 5% น้ำมันดอกคำฝอย 5% หรือ น้ำมันมะกอก 5% ใน 2 สัปดาห์แรก และ 1 สัปดาห์หลังจากให้สารก่อมะเร็ง azoxymethane ในปริมาณสัดส่วน 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
หลังจาก 1 สัปดาห์ผ่านไปเมื่อหนู่ได้รับสารก่อมะเร็ง azoxymethane แล้วจึงเริ่มให้เลี้ยงด้วยไขมันในปริมาณที่สูงขึ้น ประกอบไปด้วย น้ำมันข้าวโพด 23.52% น้ำมันดอกคำฝอย 23.52% น้ำมันมะกอก 23.52% และน้ำมันมะพร้าว 23.52% หรือ น้ำมันข้าวโพด 5.88% ผสมไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง 17.64% ส่วนหนูที่เหลือก็ให้เลี้ยงไขมัต่ำต่อไปในระดับ 5%
ผลงานวิจัยนี้ได้พบเรื่องที่น่าสนใจดังนี้
1.การเกิดก้อนเนื้อในลำไส้หนูขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อถูกเลี้ยงด้วยไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในปริมาณที่สูง คือ น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอย เมื่อเทียบหนูที่ถูกเลี้ยงด้วยไขมันน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยในปริมาณไขมันต่ำ นั่นหมายความว่าไขมันกลุ่มนี้เมื่อกินมากจะมีผลโดยตรงทำให้การเกิดก้อนเนื้อเพิ่มมากขึ้น (หมายความว่าไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งทั้ง 2 ชนิดนี้ยิ่งเลี้ยงมากขึ้นมะเร็งในลำไส้ก็จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น)
2.น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่เป็นไตรกลีเซอไรด์สายปานกลาง (ซึ่งมีมากในน้ำมันมะพร้าว) ไม่ได้ส่งผลสนับสนุนอัตราการเกิดของมะเร็งในลำไส้ให้เพิ่มขึ้น แม้จะเลี้ยงในปริมาณที่มากก็ตาม
3.น้ำมันมะพร้าวเพียงอย่างเดียว มีผลทำให้หยุดเจริญเติบโตของมะเร็งลำไส้ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็ง ได้ดีกว่าน้ำมันไม่อิ่มตัวอย่างน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย และน้ำมันมะกอก ฯลฯ
4.ปริมาณของสารมะเร็ง (adenocarcinomas) ในลำไส้ของสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี มีความแตกต่างกัน 10 เท่า ระหว่างน้ำมันข้าวโพดที่พบปริมาณสารมะเร็ง 32% ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวพบเพียงแค่ 3%
5.ทั้งน้ำมันมะกอก และน้ำมันมะพร้าว ต่างก็สร้าง adenocarcinomas ในระดับต่ำที่เท่ากันคือ 3% แต่ในสัตว์ทดลองที่มีลำไส้เล็กที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว ไม่เกิดเนื้องอกเลย ในขณะที่หนูทดลองที่เลี้ยงน้ำมันมะกอกเกิดเนื้องอก 7%
6.ไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้มีผลกระตุ้นการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้ในน้ำมันพืชทุกชนิดยกเว้นน้ำมันมะพร้าว โดยเฉพาะขนาดและจำนวนเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลองนั้นมีมากหากถูกเลี้ยงด้วยน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอย
งานวิจัยชิ้นนี้จึงสรุปว่า น้ำมันมะพร้าวป้องกันการพัฒนาเซลล์มะเร็งในหนูทดลองได้!!!
แม้น้ำมันมะพร้าวจะไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาเซลล์มะเร็ง แต่เมื่อน้ำตาล โปรตีน และไขมันหลายชนิด (โดยเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) ทำให้มะเร็งเจริญเติบโตได้ เราก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคลด/งดอาหารแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง ตลอดจนงดอาหารผัดทอดจากกลุ่มพวกไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ฯลฯ และอดอาหารเป็นช่วงๆ
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเรื่องความเครียดที่จะทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นและมีภาวะความเป็นกรดมากขึ้นมะเร็งจึงขยายตัวเจริญเติบโตได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นคนจำนวนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งมักจะอาการทรุดอย่างเร็วเพราะเครียดและจิตตก
ดังนั้นดูแลด้วยอาหารอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลจิตใจของตัวเองได้ดีด้วย!!!