“ผมขอเรียกยุทธศาสตร์การต่อสู้ของมวลมหาประชาชนว่าเป็น ทฤษฎีมะม่วงหล่น คือการใช้ความอดทนที่ยาวนานคือรอให้ผลไม้หล่นมาเอง ซึ่งดูเป็นการเรียกร้องที่เกินขีดความสามารถของมนุษย์ แต่หากเกิดขึ้นได้แม้โลกทั้งโลกก็คงจะประหลาดใจและนับถือความมหัศจรรย์ของมวลมหาประชาชนไทย ทั้งนี้ ผมไม่ใช่ กปปส. แต่ขอสนับสนุน และขอเป็นส่วนหนึ่งใน “สันติภิวัฒน์” ของมวลมหาประชาชนครั้งนี้” ธีรยุทธ บุญมี
ตอนนี้เริ่มมีคำถามเสียงดังมากขึ้นว่า การต่อสู้ของมวลมหาประชาชนจะจบลงเมื่อไหร่ และจะจบลงอย่างไร มะม่วงจะหล่นลงมาเมื่อไหร่
หลังจากเมื่อวานนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 สั่งให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ เนื่องจากเห็นว่าตามคำร้องอ้างว่า การเลือกตั้ง ส.ส. 2 ก.พ.มิได้ดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ขัดต่อหลักความเสมอภาค และคณะรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดและประกาศตามความใน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 เป็นการกระทำเพื่อให้นายกรัฐมนตรีกับพวก และผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยได้รับความนิยม และสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้งนั้น
โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า กรณีดังกล่าวยังไม่มีมูลกรณีที่จะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
ความหวังที่จะให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะมลายหายไปในพริบตา หนทางที่จะยับยั้งการเลือกตั้งเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปเสียก่อนเริ่มมองไม่เห็นหนทาง
นั่นหมายความว่า มวลมหาประชาชนจะต้องรอคอยมะม่วงลูกใหม่ต่อไป และเพิ่มความชอบธรรมให้รัฐบาลมากยิ่งขึ้นที่จะเรียกร้องให้ กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งในเขตที่เหลือต่อไป
ในขณะที่มวลมหาประชาชนที่อยู่หน้าเวทีเริ่มลดน้อยถอยลง หลายคนกลับไปปักหลักทำมาหากินรอสัญญาณเรียกครั้งใหม่จากกำนัน บางคนบอกว่าที่กำนันเรียกมาวันที่ 14-16 ก.พ.นี้เพื่อปฏิบัติการรักประเทศไทยนั้นยังจะไม่ออกมา เพราะไม่เห็นเป้าหมายที่ชัดเจน
ตอนนี้เวทีการชุมนุมก็เหมือนกับการต่อเวลาไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้เป้าหมาย การเรียกมวลชนถูกมองเป็นเหมือนกับจัดอีเวนท์ มองไม่เห็นหนทางของความสำเร็จ
ขณะเดียวกันพิสูจน์แล้วจากการระดมมวลชนออกมาหลายครั้งของกำนันสุเทพว่า ปริมาณของมวลมหาประชาชนไม่ใช่องค์ประกอบของชัยชนะ แม้จะมีมวลมหาประชาชนออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลมากที่สุดในโลกแล้วก็ว่าได้
หนทางที่มวลมหาประชาชนเรียกร้องคือให้ยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากรักษาการแทบไม่มี เพราะพวกยิ่งลักษณ์และรัฐบาลก็เชื่อว่าตัวเองยึดโยงอยู่กับประชาธิปไตยและความชอบธรรม
มวลมหาประชาชนแม้จะออกมามากเท่าไหร่พวกเขาก็มองเป็นคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบกับฐานเสียงที่เลือกพรรคเพื่อไทย
ตอนนี้มวลมหาประชาชนที่ปักหลักพักค้างอยู่ในบริเวณที่ชุมนุมก็เป็นมวลชนจากต่างจังหวัดซึ่งเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเต็มที หน่วยงานราชการที่มวลชนพากันไปชัตดาวน์ก็เริ่มกลับเข้ามาทำงานตามปกติ มองไม่ออกเลยว่า เป้าหมายที่จะโค่นล้มระบอบทักษิณเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองนั้นจะสำเร็จลงได้อย่างไร
ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในขณะที่มวลมหาประชาชนมองว่าระบอบทักษิณเป็นอุปสรรคของประเทศ เป็นระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาที่อำนาจชี้ขาดอยู่ที่ทักษิณซึ่งเป็นนายทุนพรรคคนเดียวไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณก็มองว่า ฝ่ายมวลมหาประชาชนเป็นพวกขัดขวางระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องอำนาจนอกระบบไม่ยอมรับการเลือกตั้ง มองไม่เห็นค่าของความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน
ฝ่ายระบอบทักษิณมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความชอบธรรม เมื่อมองจากสายตาของต่างชาติ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลยิ่งเชื่อมั่นว่าตัวเองเป็นฝ่ายที่ถูกต้องและยิ่งไม่สนใจต่อเสียงร้องของมวลมหาประชาชน ขณะเดียวกันยังมีนักวิชาการและสื่อมวลชนกลุ่มหนึ่งที่ออกมาสนับสนุนให้ท้ายเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบทักษิณ
ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาศัยเปลือกนอกที่เป็นประชาธิปไตย เสียงสนับสนุนจากนักวิชาการและสื่อมวลชนห่อหุ้มปกปิดความเน่าเฟะของตัวเองเอาไว้
พูดง่ายๆ ก็คือ ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนระบอบทักษิณและฝ่ายที่ต่อต้านมีความก้ำกึ่งกัน มีฐานมวลชนที่พอๆ กัน มีฐานทางวิชาการที่พอๆ กัน นี่แหละเป็นเหตุผลที่ยากที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะได้ และสังคมไทยไม่มีวันที่จะมีฉันทามติร่วมกันอีกแล้ว ไม่ว่าฝ่ายไหนจะชนะก็ยากที่จะปกครองอีกฝ่ายหนึ่งได้
การเรียกร้องหาคนกลางก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะทุกวันนี้ไม่มีคนกลางที่มีบารมีพอหลงเหลืออยู่แล้ว เพราะถ้าไม่ยืนอยู่ฝ่ายระบอบทักษิณก็ยืนอยู่ฝั่งตรงข้าม ไม่มีใครที่จะเป็นที่ไว้วางใจของคนสองกลุ่มที่กำลังแตกแยกอยู่ในสังคมไทย
ต้องยอมรับว่าถึงตอนนี้ต่างฝ่ายต่างก็อ้างความชอบธรรมคนละชุด แม้เราจะเห็นว่าระบอบทักษิณเป็นระบอบชั่วร้ายที่กัดกินประเทศไทย ระบอบทักษิณก็ยังมีหลังพิงกับพลังทางสากลว่าพวกเขามาจากการเลือกตั้งของประชาชนในประเทศที่มีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
ทั้งที่ระบอบทักษิณสร้างพรรคด้วยการใช้เงินซื้อ ส.ส. ซื้อพรรคการเมือง ซื้อหัวคะแนน แล้วใช้ประชานิยมหว่านล้อมประชาชนในชนบทที่ไม่รู้เท่าทันและหวังผลประโยชน์เพียงเฉพาะหน้า
ความชอบธรรมที่ต่างฝ่ายต่างอ้าง บวกกับกลยุทธ์ของกำนันสุเทพที่อาศัยเพียงการซื้อเวลาไปเรื่อยๆ พูดตรงๆ ครับชัยชนะของมวลมหาประชาชนเริ่มริบหรี่และมองไม่เห็นหนทาง แม้จะยังมีคนยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย ดูเหมือนจะมีหนทางเดียวที่เป็นหนทางแห่งความหวังก็คือ การรอคอยให้มะม่วงหล่นตามทฤษฎีของธีรยุทธ บุญมี
แต่ท่ามกลางการรอคอยมะม่วงลูกต่อไปนั้น ผมอยากเรียกร้องไปยังกำนันสุเทพว่า สิ่งที่เราต้องทำก็คือ การนำเสนอพิมพ์เขียวของการปฏิรูปการเมืองออกมา เพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งซึ่งยืนอยู่ตรงข้ามได้มองเห็นว่า สิ่งที่มวลมหาประชาชนต่อสู้นั้น ยึดโยงอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศไม่ใช่การชนะคะคานทางการเมืองที่แบ่งฝ่ายกันไปแล้ว
หยุดเสียทีที่จะบอกว่า ต้องโค่นล้มระบอบทักษิณให้ได้ก่อน จึงค่อยมาคิดว่าจะปฏิรูปอย่างไร เพราะเป้าหมายสำคัญของการต่อสู้ทางการเมืองก็คือ การเสนอทางออกที่มวลชนทุกฝ่ายไม่สามารถปฏิเสธได้ และต้องยอมรับเสียทีว่า ท่ามกลางความแตกแยกของชนในชาติแบบนี้ไม่ว่าฝ่ายไหนชนะก็ไม่สามารถปกครองได้
พูดง่ายๆ ก็คือ เราชนะโดยมองเห็นมวลชนอีกครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นศัตรูไม่ได้
ข้อเสนอที่จะชนะใจมวลชนให้ได้ทุกฝ่ายเท่านั้นที่จะทำให้เป้าหมายการปฏิรูปประเทศของมวลมหาประชาชนเป็นจริง
ตอนนี้เริ่มมีคำถามเสียงดังมากขึ้นว่า การต่อสู้ของมวลมหาประชาชนจะจบลงเมื่อไหร่ และจะจบลงอย่างไร มะม่วงจะหล่นลงมาเมื่อไหร่
หลังจากเมื่อวานนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 สั่งให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ เนื่องจากเห็นว่าตามคำร้องอ้างว่า การเลือกตั้ง ส.ส. 2 ก.พ.มิได้ดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ขัดต่อหลักความเสมอภาค และคณะรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดและประกาศตามความใน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 เป็นการกระทำเพื่อให้นายกรัฐมนตรีกับพวก และผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยได้รับความนิยม และสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้งนั้น
โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า กรณีดังกล่าวยังไม่มีมูลกรณีที่จะเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
ความหวังที่จะให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะมลายหายไปในพริบตา หนทางที่จะยับยั้งการเลือกตั้งเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปเสียก่อนเริ่มมองไม่เห็นหนทาง
นั่นหมายความว่า มวลมหาประชาชนจะต้องรอคอยมะม่วงลูกใหม่ต่อไป และเพิ่มความชอบธรรมให้รัฐบาลมากยิ่งขึ้นที่จะเรียกร้องให้ กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งในเขตที่เหลือต่อไป
ในขณะที่มวลมหาประชาชนที่อยู่หน้าเวทีเริ่มลดน้อยถอยลง หลายคนกลับไปปักหลักทำมาหากินรอสัญญาณเรียกครั้งใหม่จากกำนัน บางคนบอกว่าที่กำนันเรียกมาวันที่ 14-16 ก.พ.นี้เพื่อปฏิบัติการรักประเทศไทยนั้นยังจะไม่ออกมา เพราะไม่เห็นเป้าหมายที่ชัดเจน
ตอนนี้เวทีการชุมนุมก็เหมือนกับการต่อเวลาไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้เป้าหมาย การเรียกมวลชนถูกมองเป็นเหมือนกับจัดอีเวนท์ มองไม่เห็นหนทางของความสำเร็จ
ขณะเดียวกันพิสูจน์แล้วจากการระดมมวลชนออกมาหลายครั้งของกำนันสุเทพว่า ปริมาณของมวลมหาประชาชนไม่ใช่องค์ประกอบของชัยชนะ แม้จะมีมวลมหาประชาชนออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลมากที่สุดในโลกแล้วก็ว่าได้
หนทางที่มวลมหาประชาชนเรียกร้องคือให้ยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากรักษาการแทบไม่มี เพราะพวกยิ่งลักษณ์และรัฐบาลก็เชื่อว่าตัวเองยึดโยงอยู่กับประชาธิปไตยและความชอบธรรม
มวลมหาประชาชนแม้จะออกมามากเท่าไหร่พวกเขาก็มองเป็นคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบกับฐานเสียงที่เลือกพรรคเพื่อไทย
ตอนนี้มวลมหาประชาชนที่ปักหลักพักค้างอยู่ในบริเวณที่ชุมนุมก็เป็นมวลชนจากต่างจังหวัดซึ่งเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเต็มที หน่วยงานราชการที่มวลชนพากันไปชัตดาวน์ก็เริ่มกลับเข้ามาทำงานตามปกติ มองไม่ออกเลยว่า เป้าหมายที่จะโค่นล้มระบอบทักษิณเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองนั้นจะสำเร็จลงได้อย่างไร
ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในขณะที่มวลมหาประชาชนมองว่าระบอบทักษิณเป็นอุปสรรคของประเทศ เป็นระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาที่อำนาจชี้ขาดอยู่ที่ทักษิณซึ่งเป็นนายทุนพรรคคนเดียวไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณก็มองว่า ฝ่ายมวลมหาประชาชนเป็นพวกขัดขวางระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องอำนาจนอกระบบไม่ยอมรับการเลือกตั้ง มองไม่เห็นค่าของความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน
ฝ่ายระบอบทักษิณมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองมีความชอบธรรม เมื่อมองจากสายตาของต่างชาติ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลยิ่งเชื่อมั่นว่าตัวเองเป็นฝ่ายที่ถูกต้องและยิ่งไม่สนใจต่อเสียงร้องของมวลมหาประชาชน ขณะเดียวกันยังมีนักวิชาการและสื่อมวลชนกลุ่มหนึ่งที่ออกมาสนับสนุนให้ท้ายเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบทักษิณ
ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาศัยเปลือกนอกที่เป็นประชาธิปไตย เสียงสนับสนุนจากนักวิชาการและสื่อมวลชนห่อหุ้มปกปิดความเน่าเฟะของตัวเองเอาไว้
พูดง่ายๆ ก็คือ ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนระบอบทักษิณและฝ่ายที่ต่อต้านมีความก้ำกึ่งกัน มีฐานมวลชนที่พอๆ กัน มีฐานทางวิชาการที่พอๆ กัน นี่แหละเป็นเหตุผลที่ยากที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะได้ และสังคมไทยไม่มีวันที่จะมีฉันทามติร่วมกันอีกแล้ว ไม่ว่าฝ่ายไหนจะชนะก็ยากที่จะปกครองอีกฝ่ายหนึ่งได้
การเรียกร้องหาคนกลางก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะทุกวันนี้ไม่มีคนกลางที่มีบารมีพอหลงเหลืออยู่แล้ว เพราะถ้าไม่ยืนอยู่ฝ่ายระบอบทักษิณก็ยืนอยู่ฝั่งตรงข้าม ไม่มีใครที่จะเป็นที่ไว้วางใจของคนสองกลุ่มที่กำลังแตกแยกอยู่ในสังคมไทย
ต้องยอมรับว่าถึงตอนนี้ต่างฝ่ายต่างก็อ้างความชอบธรรมคนละชุด แม้เราจะเห็นว่าระบอบทักษิณเป็นระบอบชั่วร้ายที่กัดกินประเทศไทย ระบอบทักษิณก็ยังมีหลังพิงกับพลังทางสากลว่าพวกเขามาจากการเลือกตั้งของประชาชนในประเทศที่มีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
ทั้งที่ระบอบทักษิณสร้างพรรคด้วยการใช้เงินซื้อ ส.ส. ซื้อพรรคการเมือง ซื้อหัวคะแนน แล้วใช้ประชานิยมหว่านล้อมประชาชนในชนบทที่ไม่รู้เท่าทันและหวังผลประโยชน์เพียงเฉพาะหน้า
ความชอบธรรมที่ต่างฝ่ายต่างอ้าง บวกกับกลยุทธ์ของกำนันสุเทพที่อาศัยเพียงการซื้อเวลาไปเรื่อยๆ พูดตรงๆ ครับชัยชนะของมวลมหาประชาชนเริ่มริบหรี่และมองไม่เห็นหนทาง แม้จะยังมีคนยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย ดูเหมือนจะมีหนทางเดียวที่เป็นหนทางแห่งความหวังก็คือ การรอคอยให้มะม่วงหล่นตามทฤษฎีของธีรยุทธ บุญมี
แต่ท่ามกลางการรอคอยมะม่วงลูกต่อไปนั้น ผมอยากเรียกร้องไปยังกำนันสุเทพว่า สิ่งที่เราต้องทำก็คือ การนำเสนอพิมพ์เขียวของการปฏิรูปการเมืองออกมา เพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งซึ่งยืนอยู่ตรงข้ามได้มองเห็นว่า สิ่งที่มวลมหาประชาชนต่อสู้นั้น ยึดโยงอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศไม่ใช่การชนะคะคานทางการเมืองที่แบ่งฝ่ายกันไปแล้ว
หยุดเสียทีที่จะบอกว่า ต้องโค่นล้มระบอบทักษิณให้ได้ก่อน จึงค่อยมาคิดว่าจะปฏิรูปอย่างไร เพราะเป้าหมายสำคัญของการต่อสู้ทางการเมืองก็คือ การเสนอทางออกที่มวลชนทุกฝ่ายไม่สามารถปฏิเสธได้ และต้องยอมรับเสียทีว่า ท่ามกลางความแตกแยกของชนในชาติแบบนี้ไม่ว่าฝ่ายไหนชนะก็ไม่สามารถปกครองได้
พูดง่ายๆ ก็คือ เราชนะโดยมองเห็นมวลชนอีกครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นศัตรูไม่ได้
ข้อเสนอที่จะชนะใจมวลชนให้ได้ทุกฝ่ายเท่านั้นที่จะทำให้เป้าหมายการปฏิรูปประเทศของมวลมหาประชาชนเป็นจริง