วานนี้ ( 5 ก.พ.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่มีนางอมรา พงศาพิชญ์ เป็นประธาน ได้ออกแถลงการณ์ประณามการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเห็นว่า กรณีเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นเด็ก 3 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 ราย และหนึ่งในผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส เป็นมารดาเด็กที่เสียชีวิตทั้ง 3 ราย ประกอบกับ มารดาอยู่ภาวะตั้งครรภ์ด้วยนั้น ถือเป็นความรุนแรงที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ผิดต่อกฎหมาย ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ซึ่งเป็นหลักสากลที่ทุกฝ่ายต้องยึดถือ อีกทั้งห้วงระยะเวลาที่ก่อความไม่สงบ เกิดขึ้นภายหลังที่ผู้สูญเสียกลับจากประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และผู้ที่เสียชีวิตเป็นเด็ก สตรี และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกสม. ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่เสียชีวิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงครอบครัวของบุคคลดังกล่าว
ทั้งนี้ กสม. มีข้อเสนอแนะให้ 1 . รัฐบาล กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานด้านความมั่นคง ต้องเร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวน หาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว และรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณชน
2. รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อย แก่ประชาชนในพื้นที่ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ กลุ่มเด็ก สตรี และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ต้องได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ด้วยความร่วมมือของภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง และการป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ในพื้นที่ให้กลับคืนมา
3. รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูจิตใจ และความบอบช้ำของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์ต่อไป
ทั้งนี้ กสม. มีข้อเสนอแนะให้ 1 . รัฐบาล กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานด้านความมั่นคง ต้องเร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวน หาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว และรายงานความคืบหน้าต่อสาธารณชน
2. รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อย แก่ประชาชนในพื้นที่ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ กลุ่มเด็ก สตรี และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ต้องได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ด้วยความร่วมมือของภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง และการป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ในพื้นที่ให้กลับคืนมา
3. รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูจิตใจ และความบอบช้ำของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์ต่อไป