ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ข้าราชการหลายหน่วยงาน เริ่มออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ล่าสุดประชาคมด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่ง เป็นการรวมกันของนักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นหัวกะทิของประเทศไทย ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการ ลาออก โดยยื่นคำขาดว่าหากไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง จะปฏิเสธที่จะร่วมทำงาน หรือช่วยงานรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้ แถลงการณ์ของประชาคมวิทยาศาสตร์ เรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการลาออกทันที เพื่อเปิดทางให้ประชาสังคมเข้ามาปฏิรูปประเทศ หากรัฐบาลรักษาการไม่ลาออก เครือข่ายประชาคมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม และไอซีที รวมถึงพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะปฏิเสธที่จะทำงานกับรัฐบาลรักษาการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแกนนำคนสำคัญของประชาคมวิทยาศาสตร์ อาทิ ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ อดีตประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิบัณฑิตสภา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดร. มาลี สุวรรณอัต อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโยโลยรชีวภาพแห่งชาติ ศ. ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ อดีตรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศ. ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโยโลยีชีวภาพแห่งชาติ ดร. นิศรา การุณอุทัยศิริ ประธานร่วมขององค์กรเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของโลก
**ดีเอสไอขอหมายจับ16แกนนำกปปส.
เวลา 13.30 น.วานนี้ (26ม.ค.) ที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศรส.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะคณะกรรมการ ศรส.แถลงผลการประชุม ศรส.ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส.เป็นประธานว่า ที่ประชุมหารือกันมีมติ 4 ข้อ ประกอบด้วย
1.ให้ดำเนินการจัดตั้งทีมเจรจาเพื่อขอคืนสถานที่ราชการที่ถูกปิดล้อมจากกลุ่ม กปปส.ให้สามารถเปิดบริการประชาชนได้ เช่นกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โดยชุดเจรจาดังกล่าวจะมีเจ้าของพื้นที่ เช่น ปลัดกระทรวง หรืออธิบดีกรม ตำรวจ ตัวแทนทหารจาก 3 เหล่าทัพเข้าร่วมการเจรจาทุกครั้ง และจะมีการแจ้งกำหนดการให้ทราบล่วงหน้ารวมถึงมีการเจรจาอย่างเปิดเผย ทาง ศรส.จะมีการดำเนินการเจรจาพร้อมกันในหลายจุดแยกรายเวที โดยจะมีการแจ้งให้ทราบ อีกครั้งภายหลัง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม หรือขอคืนพื้นที่โดยใช้กำลังอย่างเด็ดขาด
2.ศรส.ขอเตือนประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.ว่านอกจากจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนดห้ามตามประกาศ รวมถึงการขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า เนื่องจากพฤติกรรมที่ ศรส.พบเห็น ถึงแม้จะอ้างว่าเป็นการรณรงค์ แต่เจตนาและพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้นขอประชาชนอย่าได้ร่วมการกระทำดังกล่าว และอย่าตกเป็นเครื่องมือของแกนนำ เพราะต้องรับโทษตามกฎหมาย
3.ศรส.ขอเตือนไปยังกลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุนการชุมนุม และให้ที่พักพิงกับแกนนำกปปส.ให้หยุดการช่วยเหลือทุกรูปแบบ เพราะเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และล่าสุด ศรส.ได้มอบให้สำนักงานการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และดีเอสไอ ดำเนินการสืบสวนว่ากลุ่มทุน ห้างร้าน บริษัท และโรงแรมใดบ้างที่ให้การสนับสนุน และให้ที่หลบซ่อนแกนนำทั้ง 58 ราย หากตรวจสอบพบ จะทำการยึดและอายัดทรัพย์สินตามที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจ
4.ในวันที่ 27 ม.ค.นี้ ศรส.เตรียมขอศาลอนุมัติหมายจับ ฉ.แกนนำชุดแรก 16 ราย ซึ่งทั้ง 16 รายอยู่ในรายชื่อจำนวน 58 รายที่ขออนุมัติหมายจับต่อศาลไปก่อนหน้านี้ เบื้องต้นจะสามารถควบคุมตัวได้ 30 วัน ทั้งนี้ทันทีที่ได้หมายจับแกนนำ ทาง ศรส.จะวางมาตรการในการจับกุมต่อไป จึงฝากเตือนประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมว่าให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมชุมนุม เพราะหากมีการเข้าจับตัวแกนนำอาจเกิดการปะทะและนำไปสู่ความรุนแรง
ทั้งนี้ แกนนำกปปส.ที่ ดีเอสไอ จะพิจารณาดำเนินการ ขอศาลออกหมายจับ ประกอบด้วย 1. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2. นายสาธิต วงศ์หนองเตย 3. นายชุมพล จุลใส 4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ 5. นายอิสระ สมชัย 6. นายวิทยา แก้วภราดัย 7. นายถาวร เสนเนียม 8.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 9. นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์10. น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก 11. นายนิติธร ล้ำเหลือ 12. นายอุทัย ยอดมณี 13. เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ 14. พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ 15. นายรัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี หรือ นายอมร อมรรัตนานนท์ และ 16. นายกิตติชัย ใสสะอาด
ทั้งนี้ แถลงการณ์ของประชาคมวิทยาศาสตร์ เรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการลาออกทันที เพื่อเปิดทางให้ประชาสังคมเข้ามาปฏิรูปประเทศ หากรัฐบาลรักษาการไม่ลาออก เครือข่ายประชาคมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม และไอซีที รวมถึงพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะปฏิเสธที่จะทำงานกับรัฐบาลรักษาการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแกนนำคนสำคัญของประชาคมวิทยาศาสตร์ อาทิ ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ อดีตประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิบัณฑิตสภา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดร. มาลี สุวรรณอัต อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโยโลยรชีวภาพแห่งชาติ ศ. ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ อดีตรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศ. ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ อดีตผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโยโลยีชีวภาพแห่งชาติ ดร. นิศรา การุณอุทัยศิริ ประธานร่วมขององค์กรเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของโลก
**ดีเอสไอขอหมายจับ16แกนนำกปปส.
เวลา 13.30 น.วานนี้ (26ม.ค.) ที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศรส.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะคณะกรรมการ ศรส.แถลงผลการประชุม ศรส.ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส.เป็นประธานว่า ที่ประชุมหารือกันมีมติ 4 ข้อ ประกอบด้วย
1.ให้ดำเนินการจัดตั้งทีมเจรจาเพื่อขอคืนสถานที่ราชการที่ถูกปิดล้อมจากกลุ่ม กปปส.ให้สามารถเปิดบริการประชาชนได้ เช่นกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โดยชุดเจรจาดังกล่าวจะมีเจ้าของพื้นที่ เช่น ปลัดกระทรวง หรืออธิบดีกรม ตำรวจ ตัวแทนทหารจาก 3 เหล่าทัพเข้าร่วมการเจรจาทุกครั้ง และจะมีการแจ้งกำหนดการให้ทราบล่วงหน้ารวมถึงมีการเจรจาอย่างเปิดเผย ทาง ศรส.จะมีการดำเนินการเจรจาพร้อมกันในหลายจุดแยกรายเวที โดยจะมีการแจ้งให้ทราบ อีกครั้งภายหลัง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุม หรือขอคืนพื้นที่โดยใช้กำลังอย่างเด็ดขาด
2.ศรส.ขอเตือนประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.ว่านอกจากจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนดห้ามตามประกาศ รวมถึงการขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า เนื่องจากพฤติกรรมที่ ศรส.พบเห็น ถึงแม้จะอ้างว่าเป็นการรณรงค์ แต่เจตนาและพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้นขอประชาชนอย่าได้ร่วมการกระทำดังกล่าว และอย่าตกเป็นเครื่องมือของแกนนำ เพราะต้องรับโทษตามกฎหมาย
3.ศรส.ขอเตือนไปยังกลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุนการชุมนุม และให้ที่พักพิงกับแกนนำกปปส.ให้หยุดการช่วยเหลือทุกรูปแบบ เพราะเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และล่าสุด ศรส.ได้มอบให้สำนักงานการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และดีเอสไอ ดำเนินการสืบสวนว่ากลุ่มทุน ห้างร้าน บริษัท และโรงแรมใดบ้างที่ให้การสนับสนุน และให้ที่หลบซ่อนแกนนำทั้ง 58 ราย หากตรวจสอบพบ จะทำการยึดและอายัดทรัพย์สินตามที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจ
4.ในวันที่ 27 ม.ค.นี้ ศรส.เตรียมขอศาลอนุมัติหมายจับ ฉ.แกนนำชุดแรก 16 ราย ซึ่งทั้ง 16 รายอยู่ในรายชื่อจำนวน 58 รายที่ขออนุมัติหมายจับต่อศาลไปก่อนหน้านี้ เบื้องต้นจะสามารถควบคุมตัวได้ 30 วัน ทั้งนี้ทันทีที่ได้หมายจับแกนนำ ทาง ศรส.จะวางมาตรการในการจับกุมต่อไป จึงฝากเตือนประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมว่าให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมชุมนุม เพราะหากมีการเข้าจับตัวแกนนำอาจเกิดการปะทะและนำไปสู่ความรุนแรง
ทั้งนี้ แกนนำกปปส.ที่ ดีเอสไอ จะพิจารณาดำเนินการ ขอศาลออกหมายจับ ประกอบด้วย 1. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2. นายสาธิต วงศ์หนองเตย 3. นายชุมพล จุลใส 4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ 5. นายอิสระ สมชัย 6. นายวิทยา แก้วภราดัย 7. นายถาวร เสนเนียม 8.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 9. นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์10. น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก 11. นายนิติธร ล้ำเหลือ 12. นายอุทัย ยอดมณี 13. เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ 14. พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ 15. นายรัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี หรือ นายอมร อมรรัตนานนท์ และ 16. นายกิตติชัย ใสสะอาด