นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะคณะกรรมการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศรส.) แถลงผลการประชุม ศรส.ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส.เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมหารือกันมีมติ 4 ข้อ ประกอบด้วย ให้ดำเนินการจัดตั้งทีมเจรจาเพื่อขอคืนสถานที่ราชการที่ถูกปิดล้อมจากกลุ่ม กปปส.ให้สามารถเปิดบริการประชาชนได้ เช่น กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โดยชุดเจรจาดังกล่าวจะมีเจ้าของพื้นที่ เช่น ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีกรม ตำรวจ ตัวแทนทหารจาก 3 เหล่าทัพเข้าร่วมการเจรจาทุกครั้ง และจะมีการแจ้งกำหนดการให้ทราบล่วงหน้า รวมถึงมีการเจรจาอย่างเปิดเผย
ทั้งนี้ ศรส.จะมีการดำเนินการเจรจาพร้อมกันในหลายจุดแยกรายเวที โดยจะมีการแจ้งให้ทราบอีกครั้งภายหลัง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุมหรือขอคืนพื้นที่โดยใช้กำลังอย่างเด็ดขาด
นอกจากนี้ ศรส.ขอเตือนประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.ว่านอกจากจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนเข้าในพื้นที่ที่กำหนดห้ามตามประกาศ รวมถึงการขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า เนื่องจากพฤติกรรมที่ ศรส.พบเห็น ถึงแม้จะอ้างว่าเป็นการรณรงค์ แต่เจตนาและพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้น ขอประชาชนอย่าได้ร่วมการกระทำดังกล่าว และอย่าตกเป็นเครื่องมือของแกนนำ เพราะต้องรับโทษตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ศรส.ขอเตือนไปยังกลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุนการชุมนุมและให้ที่พักพิงกับแกนนำ กปปส.ให้หยุดการช่วยเหลือทุกรูปแบบ เพราะเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และล่าสุด ศรส.ได้มอบให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และดีเอสไอดำเนินการสืบสวนว่า กลุ่มทุน ห้างร้าน บริษัท และโรงแรมใดบ้างที่ให้การสนับสนุนและให้ที่หลบซ่อนแกนนำทั้ง 58 ราย หากตรวจสอบพบ จะทำการยึดและอายัดทรัพย์สินตามที่ พรก.ฉุกเฉินให้อำนาจ
นายธาริต ยังกล่าวอีกว่า ในวันที่ 27 มกราคมนี้ ศรส.เตรียมขอศาลอนุมัติหมายจับ ฉ.แกนนำชุดแรก 16 ราย ซึ่งทั้ง 16 ราย อยู่ในรายชื่อจำนวน 58 รายที่ขออนุมัติหมายจับต่อศาลไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเบื้องต้นจะสามารถควบคุมตัวได้ 30 วัน ทั้งนี้ ทันทีที่ได้หมายจับแกนนำ ทาง ศรส.จะวางมาตรการในการจับกุมต่อไป จึงฝากเตือนประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมว่าให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมชุมนุมเพราะหากมีการเข้าจับตัวแกนนำอาจเกิดการปะทะและนำไปสู่ความรุนแรง
ทั้งนี้ ศรส.จะมีการดำเนินการเจรจาพร้อมกันในหลายจุดแยกรายเวที โดยจะมีการแจ้งให้ทราบอีกครั้งภายหลัง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าจะไม่มีการสลายการชุมนุมหรือขอคืนพื้นที่โดยใช้กำลังอย่างเด็ดขาด
นอกจากนี้ ศรส.ขอเตือนประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.ว่านอกจากจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนเข้าในพื้นที่ที่กำหนดห้ามตามประกาศ รวมถึงการขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า เนื่องจากพฤติกรรมที่ ศรส.พบเห็น ถึงแม้จะอ้างว่าเป็นการรณรงค์ แต่เจตนาและพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้น ขอประชาชนอย่าได้ร่วมการกระทำดังกล่าว และอย่าตกเป็นเครื่องมือของแกนนำ เพราะต้องรับโทษตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ศรส.ขอเตือนไปยังกลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุนการชุมนุมและให้ที่พักพิงกับแกนนำ กปปส.ให้หยุดการช่วยเหลือทุกรูปแบบ เพราะเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และล่าสุด ศรส.ได้มอบให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และดีเอสไอดำเนินการสืบสวนว่า กลุ่มทุน ห้างร้าน บริษัท และโรงแรมใดบ้างที่ให้การสนับสนุนและให้ที่หลบซ่อนแกนนำทั้ง 58 ราย หากตรวจสอบพบ จะทำการยึดและอายัดทรัพย์สินตามที่ พรก.ฉุกเฉินให้อำนาจ
นายธาริต ยังกล่าวอีกว่า ในวันที่ 27 มกราคมนี้ ศรส.เตรียมขอศาลอนุมัติหมายจับ ฉ.แกนนำชุดแรก 16 ราย ซึ่งทั้ง 16 ราย อยู่ในรายชื่อจำนวน 58 รายที่ขออนุมัติหมายจับต่อศาลไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเบื้องต้นจะสามารถควบคุมตัวได้ 30 วัน ทั้งนี้ ทันทีที่ได้หมายจับแกนนำ ทาง ศรส.จะวางมาตรการในการจับกุมต่อไป จึงฝากเตือนประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมว่าให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมชุมนุมเพราะหากมีการเข้าจับตัวแกนนำอาจเกิดการปะทะและนำไปสู่ความรุนแรง