ASTVผู้จัดการรายวัน-"วันกอเดร์ เจะมาน" อดีตประธานเบอร์ซาตู-ประธานบีไอพีพี เข้าโครงการ "พาคนกลับบ้าน" เผยผู้เห็นต่างในมาเลเซียไม่ทราบข้อเท็จจริง เหตุคนใส่ไฟแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง จนแกนนำ-แนวร่วมเข้าใจผิด รับหมดยุคแบ่งแยกดินแดน เห็นด้วยพูดคุยยุติความรุนแรง แต่ไทยคุยผิดคนตั้งแต่นัดเจอแกนนำ ยัน"ฮาซัน ตอยิบ" ไม่มีอำนาจ สั่งการไม่ได้ แนะต้องคุยแกนนำจริงๆ ใช้พื้นที่ประเทศไทย หากผ่านมาเลเซียอีก 20 ปีก็ไม่จบ กอ.รมน.ภาค 4 แถลงรมว.ต่างประเทศโอไอซี ชื่นชมวิธีแก้ปัญหาชายแดนใต้
วานนี้ (25 ธ.ค.) ที่กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินทร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ให้การต้อนรับนายวันกอเดร์ เจะมาน นักวิชาการด้านการศึกษา อดีตประธานขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (เบอร์ซาตู) และประธานขบวนการแบ่งแยกดินแดนแนวร่วมอิสลามปลดปล่อยปัตตานี (บีไอพีพี) ซึ่งเข้าสู่ขบวนการ "พาคนกลับบ้าน" โดยไม่ดำเนินคดีอาญา
นายวันกอเดร์ กล่าวว่า ไม่ได้กลับบ้านเกิดอ.สายบุรี จ.ปัตตานี กว่า 20 ปี กลับมาครั้งนี้ พบว่าเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว โดยเฉพาะนโยบายของรัฐที่ปฏิบัติต่อประชาชน แต่ผู้เห็นต่างที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย ไม่มีโอกาสรับรู้ข้อเท็จจริง เพราะผู้ที่นำเรื่องในชายแดนภาคใต้ไปบอกเล่า ไม่ได้บอกเล่าในเรื่องดี บอกแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์กลับกลุ่มผู้เห็นต่าง จึงทำให้แกนนำและแนวร่วมส่วนใหญ่เข้าใจผิดและต่อต้านด้วยการก่อความไม่สงบ
"การเดินทางกลับบ้านครั้งนี้ เพราะเห็นว่า แนวทางการแบ่งแยกดินแดนด้วยวิธีรุนแรงไม่เกิดประโยชน์ และไม่มีทางได้รับชัยชนะ เพราะสู้กันมากว่า 50 ปีแล้ว ยังไม่ชนะ ผู้ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ก็เป็นคนกลุ่มเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว ส่วนใหญ่ต้องการอยู่แบบเดิม ผมเห็นด้วยกับสันติวิธี แก้ปัญหาด้วยการพูดคุย เพื่อยุติความรุนแรง หยุดการเสียชีวิต เพราะตลอดเวลาผู้เสียชีวิต ผู้เดือดร้อนไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพี่น้องชาวมุสลิมด้วยกัน ซึ่งเสียชีวิตมากกว่าคนไทยพุทธ"
นายวันกอเดร์ได้แสดงความเห็นต่อการพูดคุยสันติภาพระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับขบวนการบีอาร์เอ็น ว่า ไทยเดินถูกทาง คือ พูดคุยกับผู้เห็นต่าง แต่ผิดที่ไปพูดคุยกับกลุ่มที่ไม่มีอำนาจในขบวนการ โดยนายฮาซัน ตอยิบ ไม่สามารถสั่งการได้ พูดคุยครั้งนี้ ผิดฝาผิดตัว ตั้งแต่วันที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นัดเจอแกนนำ 16 คน เพื่อพูดคุยกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และเมื่อคัดเลือกเหลือ 8 คน เพื่อพูดคุยอย่างเป็นทางการ จึงพบว่าเอาคนที่ไม่มีบทบาทมาพูดคุย จึงทำให้ไม่เกิดประโยชน์
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคสื่อมวลชน ตั้งข้อสงสัยกับนายวันกอเดร์ว่า การเลือกเอาบุคคลมาพูดคุยสันติภาพ เป็นการประสานงานของฝ่ายมาเลเซีย ไม่ใช่เป็นการเลือกโดย สมช. ถ้ามาเลเซียนำเอาคนที่ไม่มีบทบาท ไม่มีอำนาจ ไม่สามารถสั่งการได้ แสดงว่ามาเลเซียไม่มีความจริงใจ และมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่ใช่หรือไม่ นายวันกอเดร์ ตอบว่า ถ้ารัฐไทยยังไว้วางใจให้มาเลเซียเป็นผู้ประสานงาน เป็นคนกลาง และใช้พื้นที่ในประเทศมาเลเซียต่อไป อีก 20 ปีปัญหาก็จะไม่จบ ตนบอกได้แค่นี้
เมื่อถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะแก้อย่างไร นายวันกอเดร์ กล่าวว่า ต้องเปลี่ยนวิธีการ อย่าให้ความสำคัญกับองค์กรมากกว่าบุคคล เพราะองค์กรต่างๆ นั้น ผู้นำไม่มีบทบาท ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจและบทบาทอยู่ที่ตัวบุคคล รัฐไทยต้องพูดคุยกับแกนนำ แนวร่วมในพื้นที่ให้มากกว่าในต่างประเทศ เพราะผู้ที่มีอำนาจ มีบทบาทสั่งการอยู่ใน 3 จังหวัด แต่ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยเพื่อพูดคุยในประเทศไทย ไม่ควรใช้พื้นที่ของประเทศอื่น
นายวันกอเดร์ กล่าวว่า นักการเมืองก็มีส่วนในการสร้างปัญหา ยกตัวอย่างการตั้งที่ปรึกษาของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรมว.แรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ที่ตั้งที่ปรึกษา 9 คน แต่เป็นคนที่มาจากกลุ่มเดียวกัน ขณะที่กลุ่มผู้ขัดแย้ง ซึ่งเห็นต่างจากรัฐไทยมีถึง 4 กลุ่ม การยุติปัญหาจึงต้องพูดคุยกับคนทั้ง 4 กลุ่ม สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียง 30% เท่านั้น ที่เป็นการกระทำของขบวนการ อีก 70% เป็นความขัดแย้งเรื่องอื่น
นายวันกอเดร์กล่าวถึงเงินสนับสนุนการก่อการร้ายว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ ส่วนที่กล่าวกันว่าเป็นเงินจากการค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อนนั้น ตนไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เพราะเพิ่งกลับมา อย่างไรก็ตาม ขบวนการทั้ง 4 กลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่มีกองกำลัง มีเพียงบีอาร์เอ็นที่มีกองกำลังและปฏิบัติการก่อการร้าย แต่น่าเสียดายที่รัฐไทยพูดคุยหรือเจรจาไม่ถูกตัว ถ้าพูดคุยถูกตัวจะแก้ปัญหาได้
"ผมจะพยายามสื่อสารกับกลุ่มคนเห็นต่างที่ผมรู้จัก และพูดคุยกันได้ เพื่อให้รู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้คนเหล่านั้นเข้าใจ และเดินทางกลับบ้านตามนโยบายของรัฐบาล เพราะวันนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว วิธีคิดก็เปลี่ยนไปแล้ว เรื่องการแบ่งแยกดินแดนเลิกคิดได้แล้ว เพราะไม่มีทางประสบความสำเร็จ วิธีเดียว คือ ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน"
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกอ.รมน.ภาค 4 กล่าวว่า ตามที่องค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ครั้งที่ 40 วันที่ 9-11 ธ.ค. ที่สาธารณรัฐกินี ทวีปแอฟริกา มติที่ประชุมได้ชื่นชมการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะการพูดคุยสันติภาพ และยังชื่นชมความพยายามของเลขาธิการโอไอซี ในการประสานกับรัฐบาลไทย และผู้แทนชาวมุสลิม เพื่อให้ชาวมุสลิมมีโอกาสประกอบกิจตามหลักศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ โดยเคารพต่อรัฐธรรมนูญ และอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศโอไอซี ได้ประกาศจุดยืนในการเดินทางมาเยือนไทยทั้ง 3 ครั้งว่าความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้เกิดจากประเด็นทางศาสนา ตามที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงนำมากล่าวอ้าง พร้อมทั้งประณามว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพราะการฆ่าผู้บริสุทธิ์ 1 คน เท่ากับเป็นการฆ่ามวลมนุษย์ทั้งโลก
วานนี้ (25 ธ.ค.) ที่กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินทร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ให้การต้อนรับนายวันกอเดร์ เจะมาน นักวิชาการด้านการศึกษา อดีตประธานขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (เบอร์ซาตู) และประธานขบวนการแบ่งแยกดินแดนแนวร่วมอิสลามปลดปล่อยปัตตานี (บีไอพีพี) ซึ่งเข้าสู่ขบวนการ "พาคนกลับบ้าน" โดยไม่ดำเนินคดีอาญา
นายวันกอเดร์ กล่าวว่า ไม่ได้กลับบ้านเกิดอ.สายบุรี จ.ปัตตานี กว่า 20 ปี กลับมาครั้งนี้ พบว่าเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว โดยเฉพาะนโยบายของรัฐที่ปฏิบัติต่อประชาชน แต่ผู้เห็นต่างที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย ไม่มีโอกาสรับรู้ข้อเท็จจริง เพราะผู้ที่นำเรื่องในชายแดนภาคใต้ไปบอกเล่า ไม่ได้บอกเล่าในเรื่องดี บอกแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์กลับกลุ่มผู้เห็นต่าง จึงทำให้แกนนำและแนวร่วมส่วนใหญ่เข้าใจผิดและต่อต้านด้วยการก่อความไม่สงบ
"การเดินทางกลับบ้านครั้งนี้ เพราะเห็นว่า แนวทางการแบ่งแยกดินแดนด้วยวิธีรุนแรงไม่เกิดประโยชน์ และไม่มีทางได้รับชัยชนะ เพราะสู้กันมากว่า 50 ปีแล้ว ยังไม่ชนะ ผู้ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ก็เป็นคนกลุ่มเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว ส่วนใหญ่ต้องการอยู่แบบเดิม ผมเห็นด้วยกับสันติวิธี แก้ปัญหาด้วยการพูดคุย เพื่อยุติความรุนแรง หยุดการเสียชีวิต เพราะตลอดเวลาผู้เสียชีวิต ผู้เดือดร้อนไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพี่น้องชาวมุสลิมด้วยกัน ซึ่งเสียชีวิตมากกว่าคนไทยพุทธ"
นายวันกอเดร์ได้แสดงความเห็นต่อการพูดคุยสันติภาพระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับขบวนการบีอาร์เอ็น ว่า ไทยเดินถูกทาง คือ พูดคุยกับผู้เห็นต่าง แต่ผิดที่ไปพูดคุยกับกลุ่มที่ไม่มีอำนาจในขบวนการ โดยนายฮาซัน ตอยิบ ไม่สามารถสั่งการได้ พูดคุยครั้งนี้ ผิดฝาผิดตัว ตั้งแต่วันที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นัดเจอแกนนำ 16 คน เพื่อพูดคุยกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และเมื่อคัดเลือกเหลือ 8 คน เพื่อพูดคุยอย่างเป็นทางการ จึงพบว่าเอาคนที่ไม่มีบทบาทมาพูดคุย จึงทำให้ไม่เกิดประโยชน์
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคสื่อมวลชน ตั้งข้อสงสัยกับนายวันกอเดร์ว่า การเลือกเอาบุคคลมาพูดคุยสันติภาพ เป็นการประสานงานของฝ่ายมาเลเซีย ไม่ใช่เป็นการเลือกโดย สมช. ถ้ามาเลเซียนำเอาคนที่ไม่มีบทบาท ไม่มีอำนาจ ไม่สามารถสั่งการได้ แสดงว่ามาเลเซียไม่มีความจริงใจ และมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่ใช่หรือไม่ นายวันกอเดร์ ตอบว่า ถ้ารัฐไทยยังไว้วางใจให้มาเลเซียเป็นผู้ประสานงาน เป็นคนกลาง และใช้พื้นที่ในประเทศมาเลเซียต่อไป อีก 20 ปีปัญหาก็จะไม่จบ ตนบอกได้แค่นี้
เมื่อถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะแก้อย่างไร นายวันกอเดร์ กล่าวว่า ต้องเปลี่ยนวิธีการ อย่าให้ความสำคัญกับองค์กรมากกว่าบุคคล เพราะองค์กรต่างๆ นั้น ผู้นำไม่มีบทบาท ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจและบทบาทอยู่ที่ตัวบุคคล รัฐไทยต้องพูดคุยกับแกนนำ แนวร่วมในพื้นที่ให้มากกว่าในต่างประเทศ เพราะผู้ที่มีอำนาจ มีบทบาทสั่งการอยู่ใน 3 จังหวัด แต่ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยเพื่อพูดคุยในประเทศไทย ไม่ควรใช้พื้นที่ของประเทศอื่น
นายวันกอเดร์ กล่าวว่า นักการเมืองก็มีส่วนในการสร้างปัญหา ยกตัวอย่างการตั้งที่ปรึกษาของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรมว.แรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ที่ตั้งที่ปรึกษา 9 คน แต่เป็นคนที่มาจากกลุ่มเดียวกัน ขณะที่กลุ่มผู้ขัดแย้ง ซึ่งเห็นต่างจากรัฐไทยมีถึง 4 กลุ่ม การยุติปัญหาจึงต้องพูดคุยกับคนทั้ง 4 กลุ่ม สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียง 30% เท่านั้น ที่เป็นการกระทำของขบวนการ อีก 70% เป็นความขัดแย้งเรื่องอื่น
นายวันกอเดร์กล่าวถึงเงินสนับสนุนการก่อการร้ายว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ ส่วนที่กล่าวกันว่าเป็นเงินจากการค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อนนั้น ตนไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เพราะเพิ่งกลับมา อย่างไรก็ตาม ขบวนการทั้ง 4 กลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่มีกองกำลัง มีเพียงบีอาร์เอ็นที่มีกองกำลังและปฏิบัติการก่อการร้าย แต่น่าเสียดายที่รัฐไทยพูดคุยหรือเจรจาไม่ถูกตัว ถ้าพูดคุยถูกตัวจะแก้ปัญหาได้
"ผมจะพยายามสื่อสารกับกลุ่มคนเห็นต่างที่ผมรู้จัก และพูดคุยกันได้ เพื่อให้รู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้คนเหล่านั้นเข้าใจ และเดินทางกลับบ้านตามนโยบายของรัฐบาล เพราะวันนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว วิธีคิดก็เปลี่ยนไปแล้ว เรื่องการแบ่งแยกดินแดนเลิกคิดได้แล้ว เพราะไม่มีทางประสบความสำเร็จ วิธีเดียว คือ ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน"
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกอ.รมน.ภาค 4 กล่าวว่า ตามที่องค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ครั้งที่ 40 วันที่ 9-11 ธ.ค. ที่สาธารณรัฐกินี ทวีปแอฟริกา มติที่ประชุมได้ชื่นชมการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะการพูดคุยสันติภาพ และยังชื่นชมความพยายามของเลขาธิการโอไอซี ในการประสานกับรัฐบาลไทย และผู้แทนชาวมุสลิม เพื่อให้ชาวมุสลิมมีโอกาสประกอบกิจตามหลักศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ โดยเคารพต่อรัฐธรรมนูญ และอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศโอไอซี ได้ประกาศจุดยืนในการเดินทางมาเยือนไทยทั้ง 3 ครั้งว่าความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้เกิดจากประเด็นทางศาสนา ตามที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงนำมากล่าวอ้าง พร้อมทั้งประณามว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพราะการฆ่าผู้บริสุทธิ์ 1 คน เท่ากับเป็นการฆ่ามวลมนุษย์ทั้งโลก