คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศระดมพลอีกครั้งหนึ่งแล้ว คราวนี้นัดกันวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม โดยประกาศเป้าหมายชัดเจนคือ การขับไล่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าใจว่าคุณสุเทพเพิ่งนึกได้ว่า ที่ออกประกาศ กปปส.ไป 2 ครั้งราวกับเป็นฝ่ายยึดอำนาจได้แล้วนั้น มันยังไม่สามารถเป็นความจริงได้ เพราะยิ่งลักษณ์ยังอยู่ในตำแหน่งและยังสั่งราชการอยู่
พูดง่ายๆ ก็คือ อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ยังอยู่ในมือยิ่งลักษณ์
แต่บอกตรงๆ นะครับว่า ผมยังไม่เห็นทางจะสัมฤทธิผลในเป้าหมายเลย ว่าเราจะขับไล่ยิ่งลักษณ์ที่หน้าด้านมึนชาไปได้อย่างไร นัดกันวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.ก็แล้วมวลชนมาก็สูญเปล่ากลายเป็นการแสดงสัญลักษณ์ในเชิงปริมาณเฉยๆ มานัดกันอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 9 ธ.ค. ยิ่งลักษณ์ก็แก้ลำด้วยการยุบสภา นัดกันวันอาทิตย์นี้คำถามที่ตามมาก็คือ “แล้วยังไง”
ผมยังมองไม่เห็นความสำเร็จเลย แม้เราจะมากันมากกว่า 5 ล้านคนก็ตาม และยังไม่เห็นว่า เราจะไล่รัฐบาลหรือหยุดการเลือกตั้งครั้งนี้ได้อย่างไร
ที่พูดนี่ไม่ได้หมายความว่า จะขัดขากำนันสุเทพนะครับ ผมก็เรียกร้องให้ออกมามากๆ ตามคำเชิญชวนของกำนันแหละครับ ออกมาให้มากกว่าครั้งก่อน แม้จะยังมองไม่เห็นความสำเร็จไม่ว่าคนจะออกมามากแค่ไหนก็ตาม
ผมคิดว่าตอนนี้มวลชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ล้านเสียง และพันธมิตรฯ ที่เคยโหวตโน 2 ล้านเสียง เข้าใจแนวทางของกำนันสุเทพแล้วนะครับ แต่ที่ฝ่ายโน้นเขายังมั่นใจว่า เขายังเป็นเสียงข้างมากเพราะมี 15 ล้านเสียง เราไม่ต้องดึงให้พวกเขามาเป็นพวกเราหรอกครับ แต่ผมคิดว่า เป้าหมายสำคัญก็คือจะทำอย่างไรให้คนที่เป็นกลางๆ เข้าใจแนวทางของ กปปส.ให้มากขึ้น
ผมคิดว่า สิ่งที่ต้องทำไปคู่กับการระดมมวลชนก็คือ กปปส.ต้องอธิบายให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ชอบธรรมอย่างไร แม้จะบอกอยู่แล้วว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่เคารพศาลรัฐธรรมนูญเป็นรัฐบาลที่ไม่เคารพกฎหมาย แต่ฝ่ายโน้นเขาก็มีนักวิชาการที่รับใช้พวกเขาออกมาโต้แย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินหน้าที่ เมื่อความเห็นทางวิชาการมันปะทะกันต่างฝ่ายต่างก็คิดว่าฝ่ายตัวเองถูก ถือเหตุผลกันคนละด้าน
ถ้าเราไปกดดันเขาด้วยมวลชนเขาก็คุยทับกลับมาว่ามวลชนฝ่ายเขามีมากกว่า แล้วย้อนกลับมาว่าถ้าฝ่ายมวลมหาประชาชนมั่นใจว่ามวลชนของตัวเองมีมากกว่า ทำไมกลัวการเลือกตั้ง
จริงอยู่ครับ ฝ่ายกำนันพยายามอธิบายว่า ไม่ใช่กลัวเลือกตั้งแต่ต้องทำกติกาใหม่ก่อนแล้วกลับไปเลือกตั้ง ต้องทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงมีโทษหนักขึ้น ถ้าเลือกตั้งในกติกาแบบเดิมฝ่ายที่ซื้อเสียงเข้ามาก็ชนะการเลือกตั้งอีก
แต่กำนันก็ไม่ได้ลงรายละเอียดให้มากกว่านี้
ความไม่ชัดเจนในแนวทางที่ฝ่าย กปปส.เรียกร้องนี่แหละกลายเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายตรงข้าม ว่า เป็นการฝักใฝ่เผด็จการ ฝ่ายโน้นเขาก็ถามกลับว่า ที่ฝ่ายกำนันสุเทพบอกว่า จะทำให้ “คนดี” ได้ปกครองประเทศนั้นทำอย่างไร ทำไมไม่เคารพสิทธิ 1 คน 1 เสียงของประชาชน ทำไมมองไม่เห็นว่า ประชาชนมีความเท่าเทียมกัน
สิ่งที่ผมได้ยินเรื่องสภาประชาชนจากปากคำของกำนันสุเทพบอกตรงๆ แม้ว่าผมจะสนับสนุนกำนันสุเทพเห็นด้วยกับมวลมหาประชาชน แต่พอได้ยินที่มาของสภาประชาชนผมก็กังขานะครับ กำนันบอกว่ามาจากการเลือกตั้งของสาขาวิชาชีพจำนวน 300 คน แล้ว กปปส.จะแต่งตั้งเอง 100 คน คำถามที่ตามมาทันทีก็คือ เอ้ย แล้ว กปปส.เป็นใคร เอาอำนาจอะไรมาแต่งตั้งตัวแทนของประชาชน
ยังไม่ได้พูดถึงว่า ไอ้ที่บอกว่า 300 วิชาชีพนั้นจะแบ่งสรรกันอย่างไรให้เกิดความยุติธรรม
ขนาดผมเป็นแนวร่วมที่พร้อมยืนเคียงข้างยังกังขา ฝ่ายโน้นที่เขาเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ยิ่งจะหยิบมาโจมตีว่า เป็นวิธีของเผด็จการ ผมคิดว่า กปปส.น่าจะเอากลับไปขบคิดนะครับว่า จะทำอย่างไรให้ไม่เป็นที่ครหา ทำอย่างไรให้เขาเชื่อว่า ฝ่ายเราก็ยังยึดหลักการของระบอบประชาธิปไตย เราสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองไปในแนวทางที่ดี
นอกจากที่มาของสภาประชาชนจะต้องโปร่งใสและมีความเป็นประชาธิปไตยแล้ว กำนันควรจะอธิบายให้ชัดเจนว่า ถ้านายกฯ และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากรักษาการและเกิดสุญญากาศขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร รัฐบาลที่มารักษาการจะมาจากไหน ไม่ใช่บอกแต่ว่า เอา “คนดี” มาดูแลบ้านเมืองเพื่อร่างกติกากันใหม่ เพราะ “คนดี” ในสภาวการณ์ที่ขัดแย้งแบ่งฝักฝ่ายกันนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน
อย่าลืมว่า ในขณะที่เราคิดว่า ฝ่ายเราเป็นฝ่ายถูก ทุกวันนี้พวกเขาก็คิดว่า ฝ่ายเขาถูกต้อง เป็นฝ่ายก้าวหน้าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยแล้วชี้หน้าว่า พวกเราเป็นฝ่ายล้าหลัง เป็นพวกจารีตนิยม ทักษิณที่พวกเราชี้หน้าว่า เป็น “คนชั่ว” ก็เป็น “คนดี” ของพวกเขา
แน่นอนว่า เราดึงฝ่ายตรงข้ามให้สวิงมาเป็นฝ่ายเราไม่ได้แน่ แต่เราทำอย่างไรให้คนกลางๆ ที่ยังไม่ตัดสินใจได้มองเห็นว่า พวกเราต่างหากที่เป็นฝ่ายก้าวหน้า เป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องการความโปร่งใสและกติกาที่เป็นธรรม
และชี้ให้คนกลางๆ เห็นว่า แม้ฝ่ายทักษิณจะเรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย แต่ระบอบทักษิณนั้น แท้จริงแล้วเป็นประชาธิปไตยแต่เปลือก ข้อดีของพวกเขาคือมาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อได้อำนาจแล้วพวกเขาก็ใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม
การเสียบบัตรแทนกัน การใช้เสียงข้างมากทำลายหลักการของระบอบประชาธิปไตยปิดปากเสียงข้างน้อย การพยายามแก้กฎหมายล้างผิดให้ตัวเอง ก็คือ การใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม ไม่ใช่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
วันนี้ที่ได้ยินกำนันสุเทพพูดชัดก็คือ คดีคอร์รัปชันต้องไม่มีอายุความ แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดไปว่า การคัดสรร “คนดี” ให้มาเป็นผู้ปกครองนั้นมีรูปธรรมอย่างไร เพราะความรู้สึกของคนทั่วไปก็คือ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็มีการคอร์รัปชันเหมือนกัน
ทุกวันนี้ผมคิดว่า ฝ่ายเรานั้นเข้าใจแล้วแหละครับว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่มีความหมายแค่การเลือกตั้ง ชนะเลือกตั้งแล้วคนที่จะเข้าไปใช้อำนาจรัฐจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ แต่ต้องใช้อำนาจอย่างชอบธรรมด้วย ถ้าใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงก็มีสิทธิ์ที่จะลุกขึ้นมาขับไล่
ดังนั้นการอ้างว่า เป็นฝ่ายประชาธิปไตยเพราะมาจากการเลือกตั้งจึงนำมาอ้างไม่ได้ถ้าไม่ได้ใช้อำนาจอย่างชอบธรรม เพราะคนที่ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมก็เป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน
โดยสรุปก็คือ กปปส.ต้องทำให้คนกลางๆ เข้าใจว่า นอกจากต้องการกติกาใหม่ที่โปร่งใสแล้ว เรายังคงยึดมั่นหลักการของระบอบประชาธิปไตย และความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามหยิบมาโจมตีว่า ฝักใฝ่เผด็จการ
ชี้ให้เห็นว่าระบอบทักษิณคือระบบผลประโยชน์ของพวกพ้องและวงศ์วานที่อาศัยเครื่องแบบประชาธิปไตย แต่มวลมหาประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้เปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การปฏิรูปเพื่อเป้าหมายของคนไทยทุกคน ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เอาใจช่วยกำนันสุเทพนะครับ ล้มยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณให้ได้ เอาประเทศไทยของมวลมหาประชาชนคืนมา
พูดง่ายๆ ก็คือ อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ยังอยู่ในมือยิ่งลักษณ์
แต่บอกตรงๆ นะครับว่า ผมยังไม่เห็นทางจะสัมฤทธิผลในเป้าหมายเลย ว่าเราจะขับไล่ยิ่งลักษณ์ที่หน้าด้านมึนชาไปได้อย่างไร นัดกันวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.ก็แล้วมวลชนมาก็สูญเปล่ากลายเป็นการแสดงสัญลักษณ์ในเชิงปริมาณเฉยๆ มานัดกันอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 9 ธ.ค. ยิ่งลักษณ์ก็แก้ลำด้วยการยุบสภา นัดกันวันอาทิตย์นี้คำถามที่ตามมาก็คือ “แล้วยังไง”
ผมยังมองไม่เห็นความสำเร็จเลย แม้เราจะมากันมากกว่า 5 ล้านคนก็ตาม และยังไม่เห็นว่า เราจะไล่รัฐบาลหรือหยุดการเลือกตั้งครั้งนี้ได้อย่างไร
ที่พูดนี่ไม่ได้หมายความว่า จะขัดขากำนันสุเทพนะครับ ผมก็เรียกร้องให้ออกมามากๆ ตามคำเชิญชวนของกำนันแหละครับ ออกมาให้มากกว่าครั้งก่อน แม้จะยังมองไม่เห็นความสำเร็จไม่ว่าคนจะออกมามากแค่ไหนก็ตาม
ผมคิดว่าตอนนี้มวลชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ล้านเสียง และพันธมิตรฯ ที่เคยโหวตโน 2 ล้านเสียง เข้าใจแนวทางของกำนันสุเทพแล้วนะครับ แต่ที่ฝ่ายโน้นเขายังมั่นใจว่า เขายังเป็นเสียงข้างมากเพราะมี 15 ล้านเสียง เราไม่ต้องดึงให้พวกเขามาเป็นพวกเราหรอกครับ แต่ผมคิดว่า เป้าหมายสำคัญก็คือจะทำอย่างไรให้คนที่เป็นกลางๆ เข้าใจแนวทางของ กปปส.ให้มากขึ้น
ผมคิดว่า สิ่งที่ต้องทำไปคู่กับการระดมมวลชนก็คือ กปปส.ต้องอธิบายให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ชอบธรรมอย่างไร แม้จะบอกอยู่แล้วว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่เคารพศาลรัฐธรรมนูญเป็นรัฐบาลที่ไม่เคารพกฎหมาย แต่ฝ่ายโน้นเขาก็มีนักวิชาการที่รับใช้พวกเขาออกมาโต้แย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินหน้าที่ เมื่อความเห็นทางวิชาการมันปะทะกันต่างฝ่ายต่างก็คิดว่าฝ่ายตัวเองถูก ถือเหตุผลกันคนละด้าน
ถ้าเราไปกดดันเขาด้วยมวลชนเขาก็คุยทับกลับมาว่ามวลชนฝ่ายเขามีมากกว่า แล้วย้อนกลับมาว่าถ้าฝ่ายมวลมหาประชาชนมั่นใจว่ามวลชนของตัวเองมีมากกว่า ทำไมกลัวการเลือกตั้ง
จริงอยู่ครับ ฝ่ายกำนันพยายามอธิบายว่า ไม่ใช่กลัวเลือกตั้งแต่ต้องทำกติกาใหม่ก่อนแล้วกลับไปเลือกตั้ง ต้องทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงมีโทษหนักขึ้น ถ้าเลือกตั้งในกติกาแบบเดิมฝ่ายที่ซื้อเสียงเข้ามาก็ชนะการเลือกตั้งอีก
แต่กำนันก็ไม่ได้ลงรายละเอียดให้มากกว่านี้
ความไม่ชัดเจนในแนวทางที่ฝ่าย กปปส.เรียกร้องนี่แหละกลายเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายตรงข้าม ว่า เป็นการฝักใฝ่เผด็จการ ฝ่ายโน้นเขาก็ถามกลับว่า ที่ฝ่ายกำนันสุเทพบอกว่า จะทำให้ “คนดี” ได้ปกครองประเทศนั้นทำอย่างไร ทำไมไม่เคารพสิทธิ 1 คน 1 เสียงของประชาชน ทำไมมองไม่เห็นว่า ประชาชนมีความเท่าเทียมกัน
สิ่งที่ผมได้ยินเรื่องสภาประชาชนจากปากคำของกำนันสุเทพบอกตรงๆ แม้ว่าผมจะสนับสนุนกำนันสุเทพเห็นด้วยกับมวลมหาประชาชน แต่พอได้ยินที่มาของสภาประชาชนผมก็กังขานะครับ กำนันบอกว่ามาจากการเลือกตั้งของสาขาวิชาชีพจำนวน 300 คน แล้ว กปปส.จะแต่งตั้งเอง 100 คน คำถามที่ตามมาทันทีก็คือ เอ้ย แล้ว กปปส.เป็นใคร เอาอำนาจอะไรมาแต่งตั้งตัวแทนของประชาชน
ยังไม่ได้พูดถึงว่า ไอ้ที่บอกว่า 300 วิชาชีพนั้นจะแบ่งสรรกันอย่างไรให้เกิดความยุติธรรม
ขนาดผมเป็นแนวร่วมที่พร้อมยืนเคียงข้างยังกังขา ฝ่ายโน้นที่เขาเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ยิ่งจะหยิบมาโจมตีว่า เป็นวิธีของเผด็จการ ผมคิดว่า กปปส.น่าจะเอากลับไปขบคิดนะครับว่า จะทำอย่างไรให้ไม่เป็นที่ครหา ทำอย่างไรให้เขาเชื่อว่า ฝ่ายเราก็ยังยึดหลักการของระบอบประชาธิปไตย เราสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองไปในแนวทางที่ดี
นอกจากที่มาของสภาประชาชนจะต้องโปร่งใสและมีความเป็นประชาธิปไตยแล้ว กำนันควรจะอธิบายให้ชัดเจนว่า ถ้านายกฯ และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากรักษาการและเกิดสุญญากาศขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร รัฐบาลที่มารักษาการจะมาจากไหน ไม่ใช่บอกแต่ว่า เอา “คนดี” มาดูแลบ้านเมืองเพื่อร่างกติกากันใหม่ เพราะ “คนดี” ในสภาวการณ์ที่ขัดแย้งแบ่งฝักฝ่ายกันนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน
อย่าลืมว่า ในขณะที่เราคิดว่า ฝ่ายเราเป็นฝ่ายถูก ทุกวันนี้พวกเขาก็คิดว่า ฝ่ายเขาถูกต้อง เป็นฝ่ายก้าวหน้าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยแล้วชี้หน้าว่า พวกเราเป็นฝ่ายล้าหลัง เป็นพวกจารีตนิยม ทักษิณที่พวกเราชี้หน้าว่า เป็น “คนชั่ว” ก็เป็น “คนดี” ของพวกเขา
แน่นอนว่า เราดึงฝ่ายตรงข้ามให้สวิงมาเป็นฝ่ายเราไม่ได้แน่ แต่เราทำอย่างไรให้คนกลางๆ ที่ยังไม่ตัดสินใจได้มองเห็นว่า พวกเราต่างหากที่เป็นฝ่ายก้าวหน้า เป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องการความโปร่งใสและกติกาที่เป็นธรรม
และชี้ให้คนกลางๆ เห็นว่า แม้ฝ่ายทักษิณจะเรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย แต่ระบอบทักษิณนั้น แท้จริงแล้วเป็นประชาธิปไตยแต่เปลือก ข้อดีของพวกเขาคือมาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อได้อำนาจแล้วพวกเขาก็ใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม
การเสียบบัตรแทนกัน การใช้เสียงข้างมากทำลายหลักการของระบอบประชาธิปไตยปิดปากเสียงข้างน้อย การพยายามแก้กฎหมายล้างผิดให้ตัวเอง ก็คือ การใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม ไม่ใช่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
วันนี้ที่ได้ยินกำนันสุเทพพูดชัดก็คือ คดีคอร์รัปชันต้องไม่มีอายุความ แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดไปว่า การคัดสรร “คนดี” ให้มาเป็นผู้ปกครองนั้นมีรูปธรรมอย่างไร เพราะความรู้สึกของคนทั่วไปก็คือ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็มีการคอร์รัปชันเหมือนกัน
ทุกวันนี้ผมคิดว่า ฝ่ายเรานั้นเข้าใจแล้วแหละครับว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่มีความหมายแค่การเลือกตั้ง ชนะเลือกตั้งแล้วคนที่จะเข้าไปใช้อำนาจรัฐจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ แต่ต้องใช้อำนาจอย่างชอบธรรมด้วย ถ้าใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงก็มีสิทธิ์ที่จะลุกขึ้นมาขับไล่
ดังนั้นการอ้างว่า เป็นฝ่ายประชาธิปไตยเพราะมาจากการเลือกตั้งจึงนำมาอ้างไม่ได้ถ้าไม่ได้ใช้อำนาจอย่างชอบธรรม เพราะคนที่ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมก็เป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน
โดยสรุปก็คือ กปปส.ต้องทำให้คนกลางๆ เข้าใจว่า นอกจากต้องการกติกาใหม่ที่โปร่งใสแล้ว เรายังคงยึดมั่นหลักการของระบอบประชาธิปไตย และความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามหยิบมาโจมตีว่า ฝักใฝ่เผด็จการ
ชี้ให้เห็นว่าระบอบทักษิณคือระบบผลประโยชน์ของพวกพ้องและวงศ์วานที่อาศัยเครื่องแบบประชาธิปไตย แต่มวลมหาประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้เปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การปฏิรูปเพื่อเป้าหมายของคนไทยทุกคน ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เอาใจช่วยกำนันสุเทพนะครับ ล้มยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณให้ได้ เอาประเทศไทยของมวลมหาประชาชนคืนมา