นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อม การเปิดรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในวันที่ 23 - 27 ธ.ค. และ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 28 ธ.ค. - 1 ม.ค. 57 ซึ่งทุกฝ่ายมีความพร้อม
ทั้งนี้ รูปแบบในการเปิดรับสมัคร จะยังคงเหมือนกับการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 3 ก.ค.54 เนื่องจากยังใช้กฎหมายเดิม และยังยืนยันที่จะใช้สถานที่ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพ (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง เป็นสถานที่รับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และใช้อาคารกีฬาเวสน์ 1 เป็นสถานที่รับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พร้อมกันนี้ ยังได้จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการรับสมัคร และดูแลความปลอดภัยไว้ทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางกกต. ไม่ได้มีการประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อขอกำลังตำรวจ ในการดูแลความปลอดภัยเพิ่มเติม แต่ปกติทุกครั้งที่มีการสมัครรับเลือกตั้งใหญ่ ทางสตช. ก็จะจัดกำลังมาดูแลความเรียบร้อยอยู่แล้ว
"จะต้องมีการย้ายสถานที่หรือไม่ กกต. ก็จะประเมินตามสถานการณ์ วันต่อวัน แต่เราก็ภาวนาว่า ขอให้ กกต.ได้จัดการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ เพราะการขัดขวาง มีความผิดทางอาญาตามมาตรา 76 และ มาตรา 152 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ขณะเดียวกัน กกต. ทั้ง 77 จังหวัด ก็ได้เตรียมความพร้อมไว้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ กกต.ก็ทราบว่าทางปลัดกระทรวงกลาโหม เตรียมจัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร เข้ามาช่วยดูแลการจัดการเลือกตั้ง ก็ถือเป็นเรื่องปกติของการจัดการเลือกตั้งทุกครั้ง โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้"
นายภุชงค์ ยังกล่าวด้วยว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า กกต.จะต้องประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่การรับสมัครภายในกี่วัน อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุสุดวิสัย ที่อาจทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่การรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อนั้น กกต.ก็มีช่องทางในการประกาศ พร้อมทั้งจะประสานไปทางพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันได้ทันที
“ผู้แทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประเมินว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะการรับสมัครการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นกลไกตามระบอบประชาธิปไตย โดยกกต. ก็คาดหวังว่า ไม่น่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้น เพราะกกต. ต้องทำตามพระราชกฤษฎีกา และหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด แต่กกต. ก็ได้เตรียมการรองรับไว้ หากเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย ก็อาจจะต้องมีการกำหนดสถานที่เปิดรับสมัครอีกครั้ง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้”
**ปชป.ส่งตัวแทนรับฟังการชี้แจง
ในวันเดียวกัน กกต.ก็ได้จัดประชุมชี้แจงการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยมีนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เป็นประธาน เพื่อเป็นการอธิบายถึงขั้นตอนการรับสมัคร และการเตรียมเอกสารหลักฐาน รวมทั้งชี้แจงเรื่องการหาเสียง ที่จะมีการหาเสียงทางโทรทัศน์ โดยกำหนดให้แต่ละพรรค มีเวลาหาเสียงเท่าๆ กัน และชี้แจงเรื่องสมุห์บัญชีของพรรคการเมือง ที่พรรคการเมืองจะต้องรายงานค่าใช้ในการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้มีพรรคการเมืองกว่า 40 พรรค จากทั้งหมด 70 พรรค มาร่วมประชุม อาทิ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายสาธิต อุไรเวโรจนากร จากพรรคชาติพัฒนา นายเกษม สรศักดิ์เกษม จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายนำชาติ ตาสระคู จากพรรคภูมิใจไทย และเป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ส่งตัวแทนมาร่วมประชุม คือน.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ และ น.ต.สุธรรม ระหงษ์
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ได้กล่าวในห้องประชุมว่า อยากให้ กกต.ประสานไปยัง ผบ.สส. และผู้บัญชาการทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ เพื่อขอให้ทหารเข้ามาดูแลความสงบเรียบร้อย จนกว่าจะเสร็จการเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดความสุจริต โปร่งใส กับทุกฝ่าย และสร้างความมั่นใจให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ด้วย
ขณะที่ น.ต.สุธรรม กล่าวก่อนเข้าร่วมประชุมว่า ที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แต่มาตามคำเชิญของกกต. เพื่อฟังรายละเอียด ข้อกฎหมาย จะได้นำไปเตรียมความพร้อมไว้ก่อน อย่างไรก็ตามในขณะนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่ตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ก็ต้องติดตามมติของพรรคต่อไป
** กกต.ตั้งทีมเจรจาม็อบ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะทำงานเตรียมการรับสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23-27 ธ.ค. ที่มีเลขาธิการกกต.เป็นประธานและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือกรณีอาจมีผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายต่อต้านการเลือกตั้ง และสนับสนุนการเลือกตั้งไปชุมนุม โดยทางผู้แทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า ทางการข่าวยืนยันว่าจะมีการชุมนุมของกลุ่มมวลชนจำนวนหนึ่งเพื่อไม่ให้มีการสมัครรับเลือกตั้งได้ และขอให้กกต.จัดตั้งทีมเจรจากับผู้ชุมนุมไว้ด้วย โดยสำนักงานตำรวจได้ให้ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นแม่งาน เบื้องต้นได้ขอกำลังสนับสนุนจาก 7-8 สน. ไปช่วยดูแล แต่จะไม่มีลักษณะเตรียมอาวุธที่พร้อมจะปะทะ และหากเห็นว่ากำลังที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ก็จะประสานของให้ทหารเข้าช่วยดูแลร่วมด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าเคลียร์พื้นที่ตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 22 ธ.ค.
ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มีการนำแผนผังของสนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง และอาคารกีฬาเวสน์ 2 ที่จะเป็นสถานที่รับสมัครมาพิจารณาทางเข้าออกว่านอกเหนือจาก 3 ทางเข้าออก ปกติ ยังมีช่องทางเข้าออกอีกกี่จุดที่สามารถนำคน และยานพาหนะออกได้ เพื่อการเตรียมการไว้กรณีมีการปิดล้อมของผู้ชุมนุม รวมถึงในวันรับสมัครได้ให้เจ้าหน้าที่ กกต.ที่จะทำหน้าที่รับสมัครแต่งชุดทำงานปกติ ซึ่งไม่ใช่ชุดข้าราชการเหมือนเช่นการรับสมัครทุกครั้ง เพื่อความสะดวกในการหลบหลีก หากเกิดเหตุความวุ่นวาย
อย่างไรก็ตามก็ตามกกต.ก็ได้ก็มีการพิจารณาสถานที่ใกล้เคียงอีก 2-3 แห่ง อาทิ สโมสรกองทัพบก ไว้เป็นสถานที่ กรณีหากในวันที่ 23 ธ.ค. ไม่สามารถรับสมัครได้ด้วย
นอกจากนี้ มีรายงานว่า สิ่งที่กกต.เป็นกังวลมากในขณะนี้ก็คือ กรณีหากไม่สามารถเปิดรับสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ หรือระบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ จะถือว่าทำให้กระบวนการจัดการเลือกตั้งเสียใหม่ทั้งระบบหรือไม่ และจะถือเป็นเหตุให้ต้องยุติการเลือกตั้ง หรือเลื่อนการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่
“มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.กำหนดว่าให้มีการเริ่มรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขตไม่เกิน 20 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใช้บังคับ ซึ่งวันที่ 28 ธ.ค. ที่ กกต.ประกาศให้เป็นวันสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตวันแรกนั้น ถือเป็นวันที่ 19 ของกรอบระยะเวลา 20 วันนับแต่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใช้บังคับ ดังนั้น ถ้าจะมีการเลื่อนก็จะสามารถเลื่อนได้เพียงวันเดียว คือเลื่อนจากวันที่ 28 ธ.ค. เป็นเริ่มสมัครแบบแบ่งเขตวันที่ 29 ธ.ค. สมมุติถ้าวันที่ 23 ธ.ค. มีการปิดล้อมของผู้ชุมนุม จนไม่สามารถมีการรับสมัครได้ แต่ปิดล้อมเพียงวันเดียว กกต.ก็ต้องเลื่อนวันสมัครแบบบัญชีรายชื่อไปเป็น 24-28 ธ.ค. และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 29 ธ.ค.-2 ม.ค. และย้ายสถานที่รับสมัคร กฎหมายก็กำหนดให้กกต.ต้องทำเป็นประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่ และกำหนดวันสมัครได้ภายในวันที่ 23 ธ.ค. ที่รับสมัครไม่ได้
ขณะเดียวกันการเลื่อนวันสมัครก็ยังมีผลกระทบไปถึงกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ที่กกต.จะต้องดำเนินการหลังจากนั้นด้วย แต่ถ้าหากมีการตามปิดล้อมสถานที่รับสมัครใหม่ที่ กกต.มีการย้ายจนทำให้ตลอดระยะเวลาที่ กกต.ประกาศรับสมัครไม่สามารถเกิดการรับสมัครได้ กกต.ก็จะพิจารณาในเวลานั้นว่ามีผลทำให้กระบวนการจัดการเลือกตั้งเสียไป และต้องดำเนินการอย่างใดต่อไป ซึ่งก็อาจจะต้องมีการเสนอเรื่องไปยังรัฐบาลทราบและให้รัฐบาลพิจารณาทางใดทางหนึ่งด้วย ” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ รูปแบบในการเปิดรับสมัคร จะยังคงเหมือนกับการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 3 ก.ค.54 เนื่องจากยังใช้กฎหมายเดิม และยังยืนยันที่จะใช้สถานที่ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพ (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง เป็นสถานที่รับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และใช้อาคารกีฬาเวสน์ 1 เป็นสถานที่รับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พร้อมกันนี้ ยังได้จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการรับสมัคร และดูแลความปลอดภัยไว้ทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางกกต. ไม่ได้มีการประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อขอกำลังตำรวจ ในการดูแลความปลอดภัยเพิ่มเติม แต่ปกติทุกครั้งที่มีการสมัครรับเลือกตั้งใหญ่ ทางสตช. ก็จะจัดกำลังมาดูแลความเรียบร้อยอยู่แล้ว
"จะต้องมีการย้ายสถานที่หรือไม่ กกต. ก็จะประเมินตามสถานการณ์ วันต่อวัน แต่เราก็ภาวนาว่า ขอให้ กกต.ได้จัดการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ เพราะการขัดขวาง มีความผิดทางอาญาตามมาตรา 76 และ มาตรา 152 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ขณะเดียวกัน กกต. ทั้ง 77 จังหวัด ก็ได้เตรียมความพร้อมไว้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ กกต.ก็ทราบว่าทางปลัดกระทรวงกลาโหม เตรียมจัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร เข้ามาช่วยดูแลการจัดการเลือกตั้ง ก็ถือเป็นเรื่องปกติของการจัดการเลือกตั้งทุกครั้ง โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้"
นายภุชงค์ ยังกล่าวด้วยว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า กกต.จะต้องประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่การรับสมัครภายในกี่วัน อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุสุดวิสัย ที่อาจทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่การรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อนั้น กกต.ก็มีช่องทางในการประกาศ พร้อมทั้งจะประสานไปทางพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันได้ทันที
“ผู้แทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประเมินว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะการรับสมัครการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นกลไกตามระบอบประชาธิปไตย โดยกกต. ก็คาดหวังว่า ไม่น่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้น เพราะกกต. ต้องทำตามพระราชกฤษฎีกา และหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด แต่กกต. ก็ได้เตรียมการรองรับไว้ หากเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย ก็อาจจะต้องมีการกำหนดสถานที่เปิดรับสมัครอีกครั้ง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้”
**ปชป.ส่งตัวแทนรับฟังการชี้แจง
ในวันเดียวกัน กกต.ก็ได้จัดประชุมชี้แจงการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยมีนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เป็นประธาน เพื่อเป็นการอธิบายถึงขั้นตอนการรับสมัคร และการเตรียมเอกสารหลักฐาน รวมทั้งชี้แจงเรื่องการหาเสียง ที่จะมีการหาเสียงทางโทรทัศน์ โดยกำหนดให้แต่ละพรรค มีเวลาหาเสียงเท่าๆ กัน และชี้แจงเรื่องสมุห์บัญชีของพรรคการเมือง ที่พรรคการเมืองจะต้องรายงานค่าใช้ในการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้มีพรรคการเมืองกว่า 40 พรรค จากทั้งหมด 70 พรรค มาร่วมประชุม อาทิ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายสาธิต อุไรเวโรจนากร จากพรรคชาติพัฒนา นายเกษม สรศักดิ์เกษม จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายนำชาติ ตาสระคู จากพรรคภูมิใจไทย และเป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ส่งตัวแทนมาร่วมประชุม คือน.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ และ น.ต.สุธรรม ระหงษ์
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ได้กล่าวในห้องประชุมว่า อยากให้ กกต.ประสานไปยัง ผบ.สส. และผู้บัญชาการทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ เพื่อขอให้ทหารเข้ามาดูแลความสงบเรียบร้อย จนกว่าจะเสร็จการเลือกตั้งทั่วประเทศ เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดความสุจริต โปร่งใส กับทุกฝ่าย และสร้างความมั่นใจให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ด้วย
ขณะที่ น.ต.สุธรรม กล่าวก่อนเข้าร่วมประชุมว่า ที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แต่มาตามคำเชิญของกกต. เพื่อฟังรายละเอียด ข้อกฎหมาย จะได้นำไปเตรียมความพร้อมไว้ก่อน อย่างไรก็ตามในขณะนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่ตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ก็ต้องติดตามมติของพรรคต่อไป
** กกต.ตั้งทีมเจรจาม็อบ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะทำงานเตรียมการรับสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23-27 ธ.ค. ที่มีเลขาธิการกกต.เป็นประธานและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือกรณีอาจมีผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายต่อต้านการเลือกตั้ง และสนับสนุนการเลือกตั้งไปชุมนุม โดยทางผู้แทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า ทางการข่าวยืนยันว่าจะมีการชุมนุมของกลุ่มมวลชนจำนวนหนึ่งเพื่อไม่ให้มีการสมัครรับเลือกตั้งได้ และขอให้กกต.จัดตั้งทีมเจรจากับผู้ชุมนุมไว้ด้วย โดยสำนักงานตำรวจได้ให้ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นแม่งาน เบื้องต้นได้ขอกำลังสนับสนุนจาก 7-8 สน. ไปช่วยดูแล แต่จะไม่มีลักษณะเตรียมอาวุธที่พร้อมจะปะทะ และหากเห็นว่ากำลังที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ก็จะประสานของให้ทหารเข้าช่วยดูแลร่วมด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าเคลียร์พื้นที่ตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 22 ธ.ค.
ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มีการนำแผนผังของสนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง และอาคารกีฬาเวสน์ 2 ที่จะเป็นสถานที่รับสมัครมาพิจารณาทางเข้าออกว่านอกเหนือจาก 3 ทางเข้าออก ปกติ ยังมีช่องทางเข้าออกอีกกี่จุดที่สามารถนำคน และยานพาหนะออกได้ เพื่อการเตรียมการไว้กรณีมีการปิดล้อมของผู้ชุมนุม รวมถึงในวันรับสมัครได้ให้เจ้าหน้าที่ กกต.ที่จะทำหน้าที่รับสมัครแต่งชุดทำงานปกติ ซึ่งไม่ใช่ชุดข้าราชการเหมือนเช่นการรับสมัครทุกครั้ง เพื่อความสะดวกในการหลบหลีก หากเกิดเหตุความวุ่นวาย
อย่างไรก็ตามก็ตามกกต.ก็ได้ก็มีการพิจารณาสถานที่ใกล้เคียงอีก 2-3 แห่ง อาทิ สโมสรกองทัพบก ไว้เป็นสถานที่ กรณีหากในวันที่ 23 ธ.ค. ไม่สามารถรับสมัครได้ด้วย
นอกจากนี้ มีรายงานว่า สิ่งที่กกต.เป็นกังวลมากในขณะนี้ก็คือ กรณีหากไม่สามารถเปิดรับสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ หรือระบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ จะถือว่าทำให้กระบวนการจัดการเลือกตั้งเสียใหม่ทั้งระบบหรือไม่ และจะถือเป็นเหตุให้ต้องยุติการเลือกตั้ง หรือเลื่อนการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่
“มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.กำหนดว่าให้มีการเริ่มรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขตไม่เกิน 20 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใช้บังคับ ซึ่งวันที่ 28 ธ.ค. ที่ กกต.ประกาศให้เป็นวันสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตวันแรกนั้น ถือเป็นวันที่ 19 ของกรอบระยะเวลา 20 วันนับแต่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใช้บังคับ ดังนั้น ถ้าจะมีการเลื่อนก็จะสามารถเลื่อนได้เพียงวันเดียว คือเลื่อนจากวันที่ 28 ธ.ค. เป็นเริ่มสมัครแบบแบ่งเขตวันที่ 29 ธ.ค. สมมุติถ้าวันที่ 23 ธ.ค. มีการปิดล้อมของผู้ชุมนุม จนไม่สามารถมีการรับสมัครได้ แต่ปิดล้อมเพียงวันเดียว กกต.ก็ต้องเลื่อนวันสมัครแบบบัญชีรายชื่อไปเป็น 24-28 ธ.ค. และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 29 ธ.ค.-2 ม.ค. และย้ายสถานที่รับสมัคร กฎหมายก็กำหนดให้กกต.ต้องทำเป็นประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่ และกำหนดวันสมัครได้ภายในวันที่ 23 ธ.ค. ที่รับสมัครไม่ได้
ขณะเดียวกันการเลื่อนวันสมัครก็ยังมีผลกระทบไปถึงกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ที่กกต.จะต้องดำเนินการหลังจากนั้นด้วย แต่ถ้าหากมีการตามปิดล้อมสถานที่รับสมัครใหม่ที่ กกต.มีการย้ายจนทำให้ตลอดระยะเวลาที่ กกต.ประกาศรับสมัครไม่สามารถเกิดการรับสมัครได้ กกต.ก็จะพิจารณาในเวลานั้นว่ามีผลทำให้กระบวนการจัดการเลือกตั้งเสียไป และต้องดำเนินการอย่างใดต่อไป ซึ่งก็อาจจะต้องมีการเสนอเรื่องไปยังรัฐบาลทราบและให้รัฐบาลพิจารณาทางใดทางหนึ่งด้วย ” แหล่งข่าวกล่าว